ถึงเวลาของการ ‘จด’ จัดระเบียบชีวิต และการทำงานให้เรียบร้อยกว่าเดิม!
ด้วยเทคนิคที่ชื่อว่า ‘Bullet Journal’ หรือ BUJO ที่จะมาจัดการความคิดให้เป็นระบบมากขึ้น โดยการปูพื้นฐาน 101 ให้เข้าใจและลองไปด้วยกันตั้งแต่เริ่มต้น!
ก่อนอื่น ลองหาสมุดสักเล่มรอบตัวของเพื่อน ๆ แล้วมาเริ่มจดกันดีกว่า! 😁 ☀️
วันนี้ขอแนะนำ 2 คำง่าย ๆ คือ ‘Planner’ และ ‘BUJO’
🎯 1. สมุด Planner ที่คุณโจ้แนะนำคือ ประเภทที่มีเราไม่ต้องดีไซน์เอง แต่ในหนังสือแพลนเนอร์จะชวนให้เราเริ่มทำ ชวนทำตามคอนเซปต์ หรือชวนเรา Repeat เพื่อให้จดได้อย่างต่อเนื่อง
ทริคที่น่าสนใจในการเลือกแพลนเนอร์คือ ‘รูปแบบกระดาษ’ Paper Matters
👉 รูปแบบกระดาษขาว เกลี้ยงๆ เหมาะกับคนจดเป็นรูปภาพ วาดต่าง ๆ
👉 รูปแบบกระดาษ Dot คือเป็นจุด เหมาะกับการจดเป็นตัวหนังสือ เพราะมีจุดไกด์ให้ ใครทำงาน UX,UI มักจะชอบ เพราะวาดเป็นกล่อง เป็น Flowchart ได้
👉 รูปแบบกราฟ ช่วยในเรื่องความเป็นระเบียบในการจด
👉 รูปแบบเส้นบรรทัด คือเส้นตีข้างซ้าย ที่เรามักใช้ตั้งแต่สมัยเรียน จดง่ายเหมาะกับมือใหม่
คำแนะนำ: การเลือกกระดาษ ลองหารูทีนที่เหมาะกับการจดของเรา หรือความหนา รูปแบบกระดาษ ลองเลือกในแบบที่ถูกจริตของเรา เพราะการเริ่มจากความถนัด หรือสิ่งที่ชอบ จะช่วยให้เราสนุกกับการจดได้ต่อเนื่องมากขึ้น
🎯 2. BUJO คือการจดเป็นข้อสั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมาจากคำว่า
👉 BUllet การจดเป็นข้อสั้น ๆ
👉 JOurnal บันทึกเป็นสัดส่วน สม่ำเสมอ
โดยคุณ Ryder Carroll นักเขียนชาวอเมริกา ซึ่งคิดค้น BUJO จากการที่เขาเป็นคนสมาธิสั้น และตัวเขาเองก็เป็นคนมีความคิดในหัวเยอะ จดจำทั้งหมดไม่ได้ จึงต้องหาวิธีการเพื่อให้ไอเดียที่เยอะจดได้ และทำได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่มาของ Bullet Journal ซึ่งนั่นคือ BUJO ที่สามารถจดได้เยอะ ๆ และทำได้อย่างต่อเนื่อง
🎯 องค์ประกอบของ BUJO -> BUllet
- (•) สัญลักษณ์ ‘วงกลมทึบ’ แทน Task หรือสิ่งที่จะต้องทำ
- (o) สัญลักษณ์ ‘วงกลมโปร่ง’ หรือตัว o แทน Event หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- (-) สัญลักษณ์ ‘ขีด’ แทน Note หรือสิ่งที่ต้องการจดทั่วไป
🎯 ตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน เช่น
• โทรหาพี่เอ้ ให้ไปรับอินดี้ อันดา ตอน 4 โมงเย็น
• เตือนจูนให้ส่ง Quotation ใหม่ให้คุณออย
- Payment term แบ่ง 2 งวด
• ชวนพี่มิ่ง ให้ลงทะเบียนไปงานแบงก์
o 10:00 The Organice Content plan meeting
o Happy birthday พี่เก่ง
🎯 BUllet เมื่อลงมือทำจริงจะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘ความคืบหน้า’ หรือ สถานะของ task
X สัญลักษณ์ ‘กากบาท’ แทนคำว่า เสร็จแล้ว!
> สัญลักษณ์ ‘มากกว่า’ แทนคำว่า เลื่อนไปพรุ่งนี้
< สัญลักษณ์ ‘น้อยกว่า’ แทนคำว่า ย้อนแบบต้องวางแผนใหม่
— สัญลักษณ์ ‘ขีดฆ่า’ แทนคำว่า ยกเลิก, ไม่ต้องการแล้ว
* สัญลักษณ์ ‘ดอกจัน’ แทนคำว่า สำคัญนะ เรื่องนี้
🎯 ตัวอย่างรูปแบบการใช้ สถานะ หรือ ความคืบหน้า
X โทรหาพี่เอ้ ให้ไปรับอินดี้ อันดา ตอน 4 โมงเย็น
> เตือนจูนให้ส่ง Quotation ใหม่ให้คุณออย
< ชวนพี่มิ่ง ให้ลงทะเบียนไปงานแบงก์
o (ใช้การขีดฆ่าทับตัวอักษร เพื่อระบุว่ายกเลิก) 10:00 The Organice Content plan meeting
o *Happy birthday อินดี้
ข้อสังเกต: แต่ละ BUllet มักจะสั้น เน้นเป็น Verb ทั้งหมด เพื่อบอกว่าเราทำอะไร หรือเตือนให้คนอื่นทำ เช่น เช็คอีเมล, โทรหา, เตือน, ชวน เป็นต้น
ลองนำเทคนิค BUllet ไปลองปรับใช้เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอกันดูน๊า และใน EP. หน้า! รายการ The ORGANICE จะกลับมาเจาะลึกกันต่อในส่วนของคำว่า ‘JOurnal’ แบบเจาะลึก เพื่อที่จะประกอบเป็นเล่ม และรู้รูปแบบของการจดนั่นเอง
อย่าลืมใส่ *ดอกจันให้กับรายการ The ORGANICE ในสัปดาห์! ทุกวันพุธ เวลา 8 โมงเช้า ด้วยน้าาา 😊 🫰
เพื่อน ๆ สามารถรับชมรายการ The ORGANICE มือใหม่หัดจด เริ่มต้น BUJO และ Planner อย่างไรให้เวิร์คได้ที่นี่เลย
เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ