แต่ ณ ปัจจุบัน Marvel กำลังก้าวเข้าสู่เฟสที่ 5 ด้วยภาพยนตร์ Ant-Man and the Wasp: Quantumania พวกเขากลายเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จอย่างไม่ต้องสงสัย อะไรที่ชุบชีวิต Marvel ให้กลับมาได้? CREATIVE TALK จะพาไปไขความลับนี้กัน
ในหนังที่เราดูมา ซูเปอร์ฮีโร่มักจะต้องมีช่วงเวลาที่มืดหม่นเสมอ ซึ่งผู้สร้างซูเปอร์ฮีโร่อย่าง Marvel นั้นก็เคยอยู่ในจุดตกต่ำเช่นกัน ต้องย้อนไปถึงปี 1939 โดย Marvel Comics ในเวลานั้นได้วางจำหน่ายหนังสือเล่มแรกออกมา และด้วยความโดดเด่นของเนื้อหา ก็ทำให้แบรนด์ Marvel ตีตลาดนักอ่านได้ทันที
40 ปีต่อมา พวกเขากลายเป็นสำนักพิมพ์เบอร์ต้น ๆ ช่วงเวลาอันรุ่งโรจน์ของ Marvel Comics กำลังมา ทำให้ตอนนั้นพวกเขาคิดการใหญ่ เร่งขยายกิจการและพาตัวเองเข้าตลาดหลักทรัพย์ ทว่าอเมริกาดันเกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ผนวกกับการขยายกิจการเร็วเกินไป ทำให้ Marvel เกิดขาดทุน จนต้องขายลิขสิทธิ์ซูเปอร์ฮีโร่ที่มีอยู่ในมือไปให้คนอื่น
ในช่วงเวลาหลายปี มีการซื้อลิขสิทธิ์ซูเปอร์ฮีโร่ของ Marvel มาดัดแปลงเป็นหนังอยู่หลายเรื่อง ทว่าผลงานเหล่านี้กลับอยู่ในมือผู้สร้างที่ไม่มีความเข้าใจในเนื้อหาคอมิกส์มากพอ ทำให้หนังที่ดัดแปลงจากคอมิกส์ซูเปอร์ฮีโร่มักจะเป็นหนังคุณภาพต่ำเสียส่วนใหญ่
จนกระทั่งช่วงปี 2000 หนังตระกูล X-Men และ Spider-Man ได้กลายเป็นหนึ่งในหนังซูเปอร์ฮีโร่ที่ได้รับคำวิจารณ์ที่ดี หนังเหล่านี้ทำกำไรไปอย่างงดงาม แต่ทว่า Marvel เอง กลับได้เงินจากหนังเหล่านี้น้อยมาก เพราะในเวลานั้นลิขสิทธิ์ของหนังยังอยู่ที่สตูดิโออื่น ที่สุดแล้วพวกเขาจึงตัดสินใจที่จะสร้างภาพยนตร์ของตัวเองด้วยการก่อตั้ง Marvel Entertainment
การก่อตั้ง Marvel Entertainment ถือเป็นโปรเจกต์ที่เสี่ยงสุด ๆ เพราะพวกเขานำลิขสิทธิ์ของซูเปอร์ฮีโร่ตัวเองไปค้ำประกันเพื่อกู้เงินมาสร้างหนัง และแล้ว Marvel ก็ได้เลือก Ironman ซูเปอร์ฮีโร่เกรดรองในเวลานั้นมาเป็นตัวเปิดจักรวาล และหลังจากนั้นประวัติศาสตร์ของจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลก็เริ่มขึ้น
Marvel สามารถทำรายได้จากหนังเป็นกอบเป็นกำ พวกเขาประสบความสำเร็จในการสร้างจักรวาลที่ร้อยเรียงเนื้อหาเข้าสู่ด้วยกัน ดึงดูดผู้ชมมากมายมหาศาลและทำรายได้ทะลุหลักหมื่นล้าน ซึ่งพวกเขาสร้างหนังด้วยหลักการใหญ่ 4 ข้อ
เลือกคนไม่มีประสบการณ์ แต่มีทักษะโดดเด่น
Marvel ล้มล้างทฤษฏีที่บอกว่าการจะทำหนังดีได้ คุณต้องเป็นผู้กำกับดัง เพราะผู้กำกับกว่า 80% ที่พวกเขาเลือกมาสร้างหนัง มักไม่ใช่ผู้กำกับที่โด่งดังเลย พวกเขาเป็นเพียงผู้กำกับหนังอินดี้ ซึ่งมีผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจนและสามารถทำงานภายใต้งบประมาณที่จำกัดได้
ฉะนั้น Marvel จึงมักเลือกคนที่ไม่มีประสบการณ์ แต่มีทักษะโดดเด่นมาร่วมงาน นั่นเพราะผู้กำกับเหล่านี้ สามารถทำหนังให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ภายใต้คำจำกัดของแบรนด์ Marvel ได้
เปิดรับความคิดสร้างสรรค์
ในอดีตหนังซูเปอร์ฮีโร่เป็นหนึ่งในสิ่งที่นักแสดงหลายคนขยาด แต่ทว่า Marvel สามารถดึงดูดนักแสดงดังมากมาย ให้มาร่วมแสดงภาพยนตร์ของพวกเขาได้ นั่นไม่ใช่เพราะจักรวาลของพวกเขาดังหรือกว้างใหญ่ แต่เพราะว่า Marvel เปิดโอกาสให้นักแสดงทุกคน สามารถใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงในตัวละครของพวกเขาได้ การเปิดกว้างทางความคิดนี้ ทำให้นักแสดงรู้สึกว่า พวกเขาไม่ใช่แค่คนที่เล่นตามบท แต่ยังเป็นศิลปินผู้ช่วยสร้างมิติให้กับหนังได้
ความคิดสร้างสรรค์ เป็นแรงจูงใจให้นักแสดงหลายคนอยากทำงานกับ Marvel เพราะพวกเขาเปิดโอกาสให้นักแสดงได้ทดลองทำสิ่งต้องการ โดยไม่เสียแกนหลักของเรื่องราว
ทดลองไอเดียใหม่ ๆ อยู่เสมอ
องค์กรหลายที่ เมื่อมีสิ่งที่ประสบความสำเร็จ พวกเขามักจะไม่ชอบที่จะเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ เพราะมักจะติดอยู่ในกับดักของความสำเร็จ แต่ไม่ใช่กับ Marvel เพราะทุกครั้งที่หนังของพวกเขาประสบความสำเร็จ Marvel ยังคงพยายามหาแง่มุมใหม่ ๆ เพื่อสร้างภาพยนตร์ภาคต่อไปเสมอ
แน่ละ เราต่างรู้ดีว่าหนัง Marvel มักมีสูตรสำเร็จที่ตายตัวอยู่แล้ว แต่ทุกครั้งที่สร้างหนังออกมา Marvel ยังคงทดลองเพื่อเพื่อหาแนวทางในการนำเสนอรสชาติใหม่ ๆ ให้กับคนดู นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ไม่ว่าหนัง Marvel จะดำเนินไปถึงเฟสไหน ผ่านเหตุการณ์มามากมายเท่าไหร่ จักรวาลนี้ก็ยังคงมีผู้ชมหน้าใหม่ ถูกดึงดูงเข้ามาชมอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันแฟรนไชน์ ที่ยึดติดอยู่กับสูตรสำเร็จเดิม ๆ ก็มักจะประสบปัญหาเมื่อพวกเขาพยายามจะสร้างสิ่งใหม่
ปลูกฝังความอยากรู้อยากเห็นของคนดู
ไม้ตายสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของจักรวาล นั่นคือการใส่เอนเครดิตและอีสเตอร์เอ้กลงในหนัง โดยตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ ฉากหลังเครดิตของ Ironman ซึ่งการปรากฏตัวของ นิก ฟิวรี่ ทำให้คนดูได้ทราบว่า Iron Man เป็นเพียงส่วนหนึ่งของจักรวาลที่ใหญ่กว่า
ไม้ตายนี้สำคัญอย่างไร มันกระตุ้นคนดูทำให้พวกเราอยากรู้เรื่องราวในจักรวาลมากขึ้น หลังดูหนังเสร็จแล้ว ผุ้ชมไม่จบ มีการตั้งกลุ่มเพื่อพูดคุยกัน เกิดเป็นเป็น Comunity ที่ทำให้เกิดการรับรู้ของแบรนด์มากขึ้น ดังนั้นแล้ว ความอยากรู้อยากเห็น จึงเป็นเหมือนไม้ตายที่ไม่เพียงเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน แต่ยังเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับผลิตภัณฑ์ให้ได้รับประสบการณ์ที่ใหญ่ขึ้น
Key Succes ของ Marvel คือการปล่อยให้พนักงาน สร้างสรรค์เนื้อหาได้ตามใจภายใต้ข้อจำกัดของแบรนด์ แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขายังคงพยายามเชื่อมโยงตัวเองกับลูกค้าอยู่เสมอ และด้วยหลักการ 4 ข้อนี้ จึงทำให้ Marvel สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองจากแบรนด์ที่ล้มละลาย พาตัวเองไปได้ไกลอย่างน่าทึ่ง เสมือนซูเปอร์ฮีโร่ที่รอดพ้นจากช่วงเวลาที่มืดหม่น