1. ชีวิตเกิดจากเหตุ เกิดจากการกระทำของเราเอง ทั้งการกระทำทางกาย ทางใจ โดยไม่ได้เกิดจากคนอื่น
ชีวิตจะง่ายขึ้นถ้าเข้าใจหลักเหตุ หลักผล เช่น ถ้าน้ำตกส่งผลเรื่องการงาน แล้วมีผลต่อการใช้ชีวิตจริง ๆ ก็ย้ายออฟฟิศไปอยู่อุทยานแห่งชาติ ก็จบ!
2. อยากรวยต้องทำงานเยอะ ๆ มันเป็นหลักเป็นเหตุผล เพราะบางคนทำงานหนักแต่ได้เงินน้อยก็มี กับอีกคนทำงานเยอะเหมือนกัน แต่เลือกงานที่ทำ เพื่อให้ได้จำนวนเงินที่มากกว่า สุดท้ายแล้วเรื่องนี้เกิดจากความรู้ที่ตัวเรามี และทักษะความสามารถของแต่ละคน
3. อยากประสบความสำเร็จในชีวิต แน่นอนว่าคุณต้องทำมากกว่าคนอื่น! แต่คำว่ามากกว่าคนอื่นต้องประกอบด้วย คุณต้องมีสติสัมปชัญญะมากกว่าคนอื่น, คุณต้องมีความรู้ความสามารถมากกว่าคนอื่น และการลงมือทำก็ต้องมากกว่าคนอื่น นั่นหมายถึงเขาต้องคิดเก่งกว่าคนอื่น และลงมือทำเพื่อทำให้สำเร็จ
4. อย่ามาใช้คำว่า Balance คือการนอน อันนั้นเรียกขี้เกียจ ชีวิตจะบาลานซ์ได้แล้วประสบความสำเร็จ ต้องเกิดจากความรู้ความสามารถเหนือกว่าคนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แค่กินเงินเดือนไปวัน ๆ คำว่า Work Life Balance ให้ประสบความสำเร็จ คุณต้องบาลานซ์ทักษะการใช้ชีวิตด้วย ทั้งการลงมือวางแผนการจัดการตัวเอง ต้องเข้าใจทักษะตัวเอง รู้ว่าตัวเองเก่งอะไร เอาความสามารถนั้นไปแลกเป็นมูลค่าได้อย่างไร
5. หลักเหตุหลักผลสำคัญตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ลงมือทำการกระทำ ทางกาย วาจา ใจ ของตน โดยอาศัยสติสัมปชัญญะ และปัญญา ในการเข้าไปรู้เห็นความเป็นจริง ว่าตัวเองเป็นอย่างไร แล้วทักษะในโลกเป็นอย่างไร แล้วเอามารวมกันให้เป็นการกระทำของเราโดยสมบูรณ์
6. คนประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะ ‘นอนน้อย’ เหตุเพราะเขาเอาชีวิตส่วนใหญ่ไปกับการทำงาน, การประชุม, การวางแผนในชีวิต, การขวนขวายทำงานกับลูกน้องบริวารหรือพาทเนอร์
7. อีกส่วนที่เห็นบ่อย ๆ คือ คนที่ประสบความสำเร็จ มักจะมีความคิดในหัวอยู่ตลอดเวลา มีการวางแผนในหัว ทำงานในสมอง แล้วไม่ได้เอาตัวเองลงไปทำทั้งหมด เพราะถ้าหากเขาลงไปทำทั้งหมดเรียกว่าทำงานไม่ฉลาด จะขาดการบริหารจัดการทีม ไม่ยอมเอาตัวไปงานระดับมหภาค ที่ต้องใช้การวิเคราะห์ในภาพรวมใหญ่ เพื่อนำงานไปให้ลูกน้องทำในระดับจุลภาค
8. สติ = โฟกัส (Focus) ความหมายคือ เป็นการทิ้งความคิด หรืออารมณ์ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจุบันขนาดนั้นที่เราต้องโฟกัสอะไรสักอย่าง ดังนั้นสติคือการรู้ตัว เช่น เรากำลังวางแผนประชุมงาน เรากำลังโฟกัส และไม่ไหลไปตามอารมณ์ จะไม่หลุดไปคิดเรื่องอื่น
9. หากไม่มีสติสัมปชัญญะ ก็จะเกิดความผิดพลาด, คิดงานผิด, คิดงานไม่ออก ไม่มีปัญญาเพียงพอในการมีไอเดียเข้าไปรู้กับงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จ หรือขายงานได้ ดังนั้นสติจะช่วยลดข้อผิดพลาดของการทำงาน เพื่อจดจ่อต่อการทำงานไม่คิดอย่างอื่น จึงทำให้รู้เห็น รู้แจ้ง ต่องานที่เราทำอยู่
10. สติ ทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิจะทำให้ดึงปัญญาออกมาใช้กับงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
11. เวลาเราไปขายงานแล้วลูกค้ามาชอบเรา แล้วเราก็ปล่อยให้ลูกค้าจีบ ซึ่งรู้ทั้งรู้ว่าเรามีแฟน แต่สิ่งที่ทำไปเพื่อให้เราขายงานง่าย มีงานเข้าอยู่เสมอ สิ่งนี้เรียกว่า “การมีเจตนาแอบแฝง” ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าสอนให้เรา “ทำอะไรก็ตามต้องตรงไปตรงมา โปร่งใส ไม่ให้ทำอะไรที่มีเจตนาเคลือบแคลงจิตใจ” เพราะใจมนุษย์มีมโนกรรมที่เรียกว่าความรู้สึกนึกคิดทางใจมันปรุงแต่ง เราไม่ได้ซื่อสัตย์ แต่ทำเพื่อหวังผลประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดี และไม่ยั่งยืน
12. ถ้าเรามีเจตนาแอบแฝง แล้วเจตนาแอบแฝงไม่ประสบความสำเร็จ เรามักจะทุกข์ใจ ถ้าทุกอย่างออกมาไม่ดี ไม่ตรงตามความพอใจ คนที่ทุกข์คือตัวเราเอง เพราะเราอยากไปได้ผลประโยชน์จากเขาเอง ซึ่งสิ่งต่อมาที่จะเกิดคือ ‘การขาดสติ’ นี่แหละจะนำไปสู่การหาวิธีทุกอย่างเพื่อเบียดเบียนเดือดร้อนเขาทันที เริ่มแสดงความโลภ และสุดท้ายเขาจะเห็นสันดานเรา เขาจะตีตัวออกห่างเรื่อย ๆ เพราะเราไม่ซื่อสัตย์กับเขา ทำให้เสียการงานในที่สุด
13. การเสียกิจการงาน ไปโดยจากความโลภเพ่งเล็งอยากได้ผลประโยชน์จากคนอื่น ซึ่งการกระทำนี้อยู่ในกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งหมายถึง หลักธรรมในพุทธศาสนาที่ชี้แนะการทำความดี 10 ประการ โดยอยู่ในกลุ่มข้อแรกมโนกรรมคือ ‘ใจ’ โลภเพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์จากคนอื่นเขา ซึ่งออกมาทางกายกรรม วจีกรรม เราคิดกับคนอื่นอย่างไร การกระทำก็จะออกจากคนอื่นแบบนั้น
14. จากเหตุการณ์ข้อ 11 ทางที่ดีถ้าเรามีแฟน หรือแต่งงานแล้ว ควรหลบเลี่ยง ไม่เจอส่วนตัว หรือทางเกิดหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราสามารถไปได้ แต่ต้องไปด้วยสติสัมปชัญญะและระมัดระวังเนื้อตัว, ใจ ไม่ให้พลั้งเผลอเกิดเป็นเรื่องที่ไม่ดี สำคัญคือคุณต้องละอายชั่วกลัวบาป
15. สันดานป้าข้างบ้าน หรือชอบเม้าท์นินทาคนอื่น เป็นสิ่งที่ไม่ควรพึงกระทำ พระพุทธเจ้าหลักคุณธรรม 4 อย่าง ของการเป็นคนดีพูดคุยกับคนอื่น ซึ่งควรอย่างมากในการมาปรับใช้ชีวิตของเรา
- ความดีต่อคนอื่น แม้ไม่มีใครถามก็ตามพูดความดีของคนอื่นเยอะ ๆ
- ความดีของตัวเอง แม้มีคนพยายามถาม ไม่ต้องพูด หลีกเลี่ยงการพูดเพราะจะเป็นสันดานทำให้คนอื่นรังเกียจเรา
- ความชั่วความเลวคนอื่นไม่ต้องพูด เงียบ ๆ ไว้ อย่าไปพูดให้ชาวบ้านฟัง
- ความชั่วความเลวตัวเอง แม้ไม่มีคนถาม รีบพูดให้เร็ว ๆ เป็นการประจานสันดานตัวเอง จะได้ละอายชั่วกลัวบาป ไม่กล้าทำสิ่งนี้อีก
16. เวลาคุยกับลูกค้าแม้เราจะไม่ชอบเขา หรือเขาพูดจาไม่ดีกับเรา อย่า! ไปพูดเรื่องไม่ดีของลูกค้า ให้คนอื่นฟัง เมื่อวันนึงลูกค้ารู้จะเกิดความเสียหาย ตัวเราจะต้องรับผลจากการกระทำวาจาตัวเอง โดนไล่ออกบ้าง โดนตำหนิบ้าง โดยความจริงเกิดจากสันดานและตัวเองล้วน ๆ ดังนั้นไม่ต้องพูด!
17. เรื่องที่ไม่ดีของคนอื่น อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์เขา เรารู้แค่ตัวเราเองพอ แต่กลับกันหากเราทำสิ่งที่ไม่ดี เราทำเลว เรากลับไม่กล้าพูดออกมา เหตุผลที่พระพุทธเจ้าบอกถึงการให้กล้าพูดความชั่วความเลวตัวเอง เพราะเราจะได้ละอายในสิ่งที่ทำ ไม่กล้าทำในสันดานชั่วเลวแบบนั้น เพราะคนเราติดนิสัยเม้าท์มอย ซุบซิบ นินทา จำไว้ว่าวิบากกรรมมันมี ควรเลิกทำได้แล้วในสังคม องค์กร
18. พระพุทธเจ้าสอนการขูดเกลากิเลส เรียกว่า ‘สัลเลขธรรม’ แม้เราจะโกรธเกลียดเขาแค่ไหน แต่ในใจทิ้งอารมณ์ความเกลียดออกไป แล้วแสดงสีหน้าทำให้รู้สึกว่าเราชอบเขา แต่จำไว้ว่าอย่าไปดัดจริต ทำแบบสีหน้ายิ้มแต่ใจบ่นทอต่อหน้า จำไว้ว่าการสร้างความปรารถนาดี เมตตาต่อกัน สงสารต่อเขา ดีที่สุด เราต้องขูดเกลากิเลส ความไม่ดี ความอาฆาตต่าง ๆ ออกจากตัวให้ได้มากที่สุด
19. หากเราเคลียร์ใจตัวเองได้ ในวันที่เราโกรธ เกลียดใครสักคนแบบสุด ๆ หากทำได้เมื่อนั้นคุณจะไม่โกรธใครอีกเลย เหตุผลของการทำสิ่งนี้ให้สำเร็จ เพราะเราจะสงสารเขา เขาน่าสงสารจริง ๆ คนที่ทำไม่ดีกับเรา ลองเปลี่ยนอารมณ์ใหม่ในฝ่ายกุศล เมตาต่อเขามาก ๆ ถ้าเขาด่าเรา เราก็รับฟัง เราต้องคิดว่าเขามีปมแหละ เขาอาจไม่มีที่ระบาย มาระบายกับเรา มาว่าเรา ดังนั้นเปลี่ยนมาเป็นสงสารมันดีกว่า ขอให้มีความสุขนะ พ้นจากความทุกข์ที่มีกับเรานะ ตั้งเจตนาที่ดีต่อเขาดีกว่า เพราะการกระทำของเราเกิดจากการยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาดี เพราะเราจะเคลียร์ใจได้ เราจะสงสารเขาเพราะเขาน่าสงสารจริง ๆ
20. พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า ‘คำว่าเมตตาคือการไม่มีประมาณ’ ความเมตตาจะเป็นตัวข่มความโกรธ เกลียด และช่วยลบล้างจิตใจมัวเมาต่อการทำร้ายคนอื่น แม้คนอื่นด่าเรา ถ้าเราเมตตาสงสาร เราจะเกลียดเขาไม่ลง เช่น เวลาขับรถ เราอาจจะผ่านเห็นรถขนเล้าหมู ที่ส่งไปโรงเชือด เราที่เห็นก็จะสงสารหมู อาการนี้แหละคือการปรารถนาดี ไม่อยากให้เขาไปตาย อยากจะช่วยเหลือเขา จำความรู้สึกนี้ไว้!
21. เมตตา + สงสาร = การให้อภัยคนที่เกลียดเรา แม้วันนี้เราไปทำงาน เราจะโดนหัวหน้าใช้งานหนัก พูดไม่ดีกับเรา แต่อยากให้รู้ไว้ว่า ถ้าเรามี เมตตา + สงสาร เราจะให้อภัยเขาได้ คิดกลับกันว่าหัวหน้างานอาจจะทะเลาะกับภรรยาที่บ้านมาก็ได้ หรือเขาอาจจะเก็บกดจากความกดดัน มีวุฒิภาวะไม่มากพอ ดังนั้นเราจะเป็นผู้มีวุฒิภาวะแทนเขาเองด้วยการกระทำที่ตัวเราเอง ไม่แก้ไขเขา แล้วเมื่อรับมาก็จะทิ้งอารมณ์ออกไปในที่สุด
22. ในกรณีที่เราเจอคนที่รู้สึกได้เลยว่าจะเกิดอคติ เกิดอกุศลจิต มีแต่ความทุกข์เศร้าหมอง ให้เดินหนีไปเลย ไปทำตัวทำใจให้ดีก่อน หมั่นฝึกตัวเองในการทิ้งอารมณ์ออก แล้วค่อยเดินกลับไปใหม่ได้ เพราะเราได้เตรียมความพร้อมแล้ว จำไว้ว่ากลับมาแก้ไขที่ตัวเองก่อน เพราะในโลกความเป็นจริงการหนีไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด
23. เราสามารถฝึกฝนการทิ้งอารมณ์ขุ่นมัว, เศร้าหมอง, โกรธ ได้ ซึ่งการฝึกทิ้งอารมณ์ ซึ่งทำที่บ้านได้ หมั่นทำบ่อย ๆ ปล่อยวางทิ้งอารมณ์บ่อย ๆ เพราะการได้ทำบ่อย จะเป็นการฝึกการเตรียมตัว ในวันที่เจอเหตุการณ์นี้เราจะปล่อยวางได้ ซึ่งกลับไปที่เรื่องของ เมตตา + สงสาร = การให้อภัยคนที่เกลียดเรานั่นเอง
24. เมื่อเราคาดหวัง ย่อมเกิดสิ่งที่เรียกว่าความผิดหวัง ดังนั้นคนที่ไม่คาดหวังอะไรเลย แค่เดินตามเหตุ ตามปัจจัย แต่เราสามารถตั้งเป้าหมายได้นะ เพราะต้นเหตุของความผิดหวัง คือตัณหา = ความอยาก นี่คือตัวใหญ่ที่สุด ถ้าเราไม่มีความอยาก เราจะไม่ยึดมั่นถือมั่น
25. คำว่า ‘ฉันต้องได้ ฉันต้องมี’ มันคือการยึดมั่นถือมั่น กังวลกับอนาคต ว่าเขาจะต้องได้สิ่งเหล่านี้ คำถามคืออนาคตถึงยัง และยังทำปัจจุบันไม่ดีพอ เพราะไปยึดถือกับอนาคตมากเกินไป จึงทำให้ลืมวิธีสร้างเหตุปัจจุบัน พระพุทธเจ้าบอกไว้ว่า ใครก็ตามที่มัวแต่ไปหวนหาอดีต และรอคอยความหวังอนาคต บุคคลนั้นจะได้รับความทุกข์แสนสาหัส เพราะเขาไม่มีสติสัมปชัญญะ ไม่ยอมสร้างเหตุสร้างปัจจัยในปัจจุบัน จนลืมไปว่าในปัจจุบันคุณทำสิ่งเหล่านี้ดีที่สุดแล้วหรือยัง
26. ไม่มีใครห้ามเราในการคาดหวัง แต่เมื่อเราคาดหวังย่อมต้องมีการผิดหวัง คนไม่คาดหวังย่อยไม่ผิดหวัง คนแต่….ที่ไม่คาดหวัง ไม่ผิดหวัง แต่สามารถวางหลักเกณฑ์ด้วยสติสัมปชัญญะ หรือปัญหาของตนเอง เพราะคนส่วนใหญ่ที่ตั้งเป้าหมายแล้วไปถึง เขาจะวางเป้า แล้วถอยกลับมาเพื่อปูทางไปสู่เป้าหมายเพื่อพิชิต โดยมีสติสัมปชัญญะ โฟกัสในสิ่งที่ทำเป็นหลักเพื่อพิชิตเป้าหมาย จะได้หรือไม่ได้ไม่สำคัญ แต่ต้องทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้ดีที่สุด ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เลิกคาดหวัง!
27. เราไม่สามารถได้ทุกอย่างด้วยตามความพอใจของเราได้ อย่าไปเพิ่มทางแห่งความทุกข์ จงทำทุกอย่างให้ดีที่สุด แบบไม่คาดหวัง เตรียมความพร้อมของตัวเองให้ดีเพื่อลงมือทำให้ดีที่สุด
28. การคาดหวัง โดยคุณสมบัติของตัวเองไม่มี ไม่พร้อม หรือไม่มีทักษะเหล่านั้น สิ่งนี้จึงนำไปสู่ความทุกข์ใจของตัวเอง
29. การบันทึกความสำเร็จตัวเองในโซเชียล บางครั้งก็เป็นดาบสองคมให้คนอื่น ปัญหาเรื่องนี้คือคนส่วนใหญ่ชอบไปดูความสำเร็จของคนอื่น แล้วมาเปรียบเทียบตัวเองว่าไม่ดี เราไม่สามารถไปห้ามคนอื่นได้ แต่ตัวเรานั่นแหละ ทำไมไม่ยอมเป็นลักษณะตามทักษะตัวเอง สิ่งสำคัญก่อนจะอิจฉา หรือเป็นทุกข์กับคนอื่น ต้องตอบให้ได้ว่าเรามีคุณสมบัติพร้อมแบบเขาไหม เราทำตัวเองดีแล้วจริง ๆ ใช่ไหม ?
30. การนั่งบ่นแล้วไม่ลงมือทำ คือข้อแตกต่างของคนที่ประสบความสำเร็จ เพราะคนสำเร็จคือคนที่ไม่พูด แต่เป็นคนที่ลงมือทำ
31. ความล้มเหลว ความผิดหวัง สำเร็จแล้วลงมาล้มเหลวใหม่ คือโทษของคนที่สำเร็จ ซึ่งคนที่อิจฉา หรือทำไม่ได้ไม่เคยรู้จุดความทุกข์แสนสาหัสนี้ เพราะคนส่วนใหญ่เห็นแต่ความสำเร็จคนอื่นเพียงด้านเดียว
32. ทุกคนในโลกมักเป็นสันดานโอ้อวด คือการอยากให้คนอื่นชื่นชมตัวเอง ลองเปลี่ยนจากความโอ้อวด เป็นความล้มเหลวมาแชร์ประสบการณ์ให้คนอื่นรู้ เพื่อให้คนอื่นไม่ล้มเหลวตามเรา
33. คนที่อยากเป็นเหมือนคนอื่น หรืออยากประสบความสำเร็จเหมือนคนอื่น ไม่ผิดนะ! แต่การที่เขาอยาก แสดงว่าส่วนหนึ่งเขาอาจจะไม่เคยเห็นโทษ เห็นความผิดพลาด ในสิ่งที่คนสำเร็จผ่านมา ในวันนึงถ้าคนสำเร็จได้โพสต์ ได้แชร์เรื่องราวความล้มเหลว มันจะเกิดสิ่งที่เรียกว่าคนสันดานขี้เกียจขึ้นมาทันที เพราะไม่มีใครอยากรู้ อยากเดินตามความล้มเหลว เดินหนีออกหมดเลย ทำไมมันยากขนาดนี้ เพราะพื้นฐานมนุษย์มักรักสบาย
34. ทุกวันนี้ไม่มีใครสอนความทุกข์ยาก ความลำบาก คนจึงมักง่ายคิดว่าความรวยประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก จึงหันไปเปิดธุรกิจกัน ซึ่งร้านกาแฟในเมืองไทยนับเป็นธุรกิจอันดับต้น ๆ ที่คนเปิดกันเยอะ และเจ๊งเยอะที่สุด เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เคยเรียนรู้ความผิดพลาดคนอื่น แต่กลับเรียนรู้แต่ความสำเร็จ
35. หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าบอกไว้ว่า “เราอย่าเห็นแต่รสอร่อยของการใช้ชีวิต แต่ควรไปหาโทษของการใชัชีวิต” โทษคืออะไร ทุกข์เป็นอย่างไรมันสาหัสขนาดไหน, ผิดหวังเป็นอย่างไร, ลงทุนล้มเหลวเป็นอย่างไร ควรเรียนรู้ความล้มเหลว เพื่อทำให้ตัวเราเข้าใจ เมื่อเข้าใจ รับมือได้ เราถึงจะสำเร็จในที่สุด
36. พระพุทธเจ้าเรียกโทษไว้ว่า ‘อาทีนวะ’ คือโทษของการใช้ชีวิต เพราะโทษของความล้มเหลวเมื่อเรามองเห็นโทษเหล่านี้ เราจะมีนิสสารณา คืออุบายการเคลื่อนออกจากสิ่งเหล่านี้ได้ ดังนั้นถ้าคนประสบความล้มเหลวความผิดพลาดจากคนสำเร็จ เขาจะหลีกเลี่ยงความผิดได้ แค่เรียนรู้จากความผิดพลาดไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำกับตัวเราเอง เพราะคนสำเร็จคือคนที่ลุกขึ้นมายืนใหม่ได้ จึงสำเร็จ
37. ความโอ้อวดในอดีตน้อยกว่าปัจจุบัน ในอดีตเราโอ้อวดกันในบ้าน แต่ปัจจุบันเรากลับโอ้อวดในโซเชียล อยากโอ้อวด พยายามโอ้อวดความดีคนอื่นให้มาก แล้วพูดเรื่องตัวเองให้น้อย เรื่องตัวเองควรเป็นความล้มเหลวเพื่อให้คนเข้ามาอ่านได้เรียนรู้ความผิดพลาดของเรา เพื่อให้เขาไม่ทำแบบที่เราเคยผ่านมา
38. เรื่องของนิสัยคนในปัจจุบัน ควรปล่อยให้เป็นไปตามปัจจัย ทุกอย่างมีเหตุ และผลของมัน การไม่ยินดี ยินร้ายสำคัญ เพราะเมื่อวันหนึ่งคนที่นิสัยไม่ดี หรือเวลาอยากแก้ไขอะไรในชีวิต ต่อให้วันนี้ไม่มี คนตื่นธรรม เขาคนนั้นก็จะไปหาเจตนาขวนขวาย จะไปหาวิธีการแก้ไขให้ได้ กลับกันคนที่ไม่มีความพยายาม จะไม่ขวนขวายเลย ต่อให้มีคนมาสอนเขา มาช่วยเขา มันก็จะนั่งฟังเฉย ๆ ไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย
39. สติสัมปชัญญะ เป็นเรื่องสำคัญของการทำงาน รักษาหน้าที่ของตนในฐานะลูกจ้างต่อนายจ้าง และนายจ้างต่อลูกจ้าง รักษาหน้าที่ของตนให้ดี
40. หน้าที่นายจ้างคือรู้จักให้งานตามฐานะหน้าที่ หรือความสามารถของลูกจ้างที่เขาจะทำได้ ไม่ใช่ไปให้เกินจากความสามารถที่เขาทำได้ รู้จักแบ่งปันรสชาติอาหารอันแปลกประหลาดให้กับลูกน้องได้กินบ้าง เพราะบางทีลูกน้องอาจจะไม่ได้กินรสชาติอาหารแปลก ๆ แบบนี้ นายจ้างสามารถหาซื้อของดี ของอร่อย ให้กับลูกน้องได้ แล้วในวันนั้นลูกน้องจะกลับมาตอบแทนในฐานะคนทำงานที่ดี เราต้องเป็นหัวหน้าที่ดี ในการมีเมตตาต่อลูกน้องของตัวเอง
41. หน้าที่ของลูกน้อง คือมาก่อนเจ้านาย ทำงานอย่างเต็มที่ เต็มกำลังความสามารถของตน เต็มสติสัมปชัญญะ มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อเจ้านายของตน และต้องเรียนรู้ทักษะความสามารถอยู่เสมอ มีความจริงใจ รวมถึงอย่าไปกั้นความสามารถ มีเท่าไหนใส่ให้เต็มที่
42. การเป็นลูกน้อง อย่าไปคาดหวังในเชิงเราทำงานเต็มที่แล้ว ทำงานดีกว่าคนอื่น เหนือกว่าคนอื่น แต่กลับกันทำไมเขาไม่ตอบแทนเรา ไม่ให้เงินเราเพิ่ม ซึ่งนี่แหละคือความคาดหวัง ก็จะเริ่มงอแง อยากออกจากงาน อยากเปลี่ยนที่ทำงาน สุดท้ายตัวเองย่ำอยู่กับที่พัฒนาความสามารถไม่ได้ ไม่รู้จักอดทน อดกลั้นต่อการงานของตน จงจำไว้ว่าเราต้องฝึกความอดทน อดกลั้นให้มาก ทนต่อการเพ่งพิสูจน์ในที่ทำงานให้ได้ ถ้าเราแสดงความสามารถจริง ยอมรับในความจริงถ้าไม่มีความสามารถไปพัฒนาให้ได้ แล้วในวันนั้นเราจะสำเร็จ อย่าย่ำอยู่กับที่เด็ดขาด
43. สุดท้ายนี้ ถ้าเราจะ ‘ตื่นงานอย่างแท้จริง’
- คุณต้องรู้หน้าที่ มีสติสัมปชัญญะ
- แบ่งปันมีเมตตา
- ซื่อสัตย์สัตย์สุจริต
- มีความสามารถอย่าอั้น
- ต้องอดทน อย่ายอมแพ้อะไรง่าย ๆ
- พัฒนาศักยภาพตนเองอยู่เสมอ
แถม! วลีเด็ดเอากระโถนตีปาก
44. วลีเด็ดของอาจารย์เบียร์ คนตื่นธรรม มาจากการทำให้ผู้คนตื่นรู้ จงจำไว้ว่าอย่ามาดัดจริต!คิดว่าทำร้ายจริง แต่มันคือการให้เขารู้ว่าพวกเราทุกคนจะได้แยกแยะพฤติกรรมดี พฤติกรรมไม่ดีออก เสมือนพ่อกับแม่ขู่ลูก เพื่อทำให้เขาตระหนัก รู้จักโทษในผลการกระทำที่ตัวเองก่อน
หวังว่าการฟังคนตื่นธรรม จากอาจารย์เบียร์ครั้งนี้จะช่วยให้เพื่อน ๆ กลายเป็นคนตื่นธรรม และตื่นตัวกับงานที่ทำ
รับชมย้อนหลัง: ปัญหาคนทำงานที่เจอบ่อย ๆ | คนตื่นธรรม x คนตื่นงาน