วันนี้เราอยู่กันที่งาน The Secret Sauce Summit 2023 ในหัวข้อ Strategy Playbook 2024 โดย ดร.ธนัย ชรินทร์สาร Strategy Management Professional
เรื่องนี้น่าสนใจมากเกี่ยวกับ ‘กลยุทธ์ของธุรกิจในยุคปัจจุบัน’ เพราะในปัจจุบันเรามีเวลาจำกัดมากขึ้น, เรามีงบประมาณที่มีจำกัด และที่สำคัญเรื่องของคนทำงานเราจะหาคนทำงานที่ใช่ยากขึ้น แล้วกลยุทธ์อะไรล่ะ ที่เราสามารถเรียนรู้ และสร้างความแตกต่างให้กับองค์กรของเราได้
เรารวบรวมเนื้อหาที่น่าสนใจกับ 5 เรื่องกลยุทธ์ที่ควรโฟกัส เพื่อวาง Strategy ในปี 2024
1. Long-term thinking: Be Futuristic
เราต้องคิดระยะยาวมากขึ้นจริงอยู่ว่าในโลกธุรกิจต้องทำผลประกอบการ ไม่ว่าจะบริษัทเล็กหรือใหญ่ แต่เราต้องมองอนาคตให้ไกลมากขึ้น ที่มากยิ่งกว่าผลประกอบการ เพราะโลกเปลี่ยนแปลงไวขึ้น วิธีการขายในอดีตที่ประสบความสำเร็จมันจะจากเราไปไวกว่าที่คิด เพราะนี่คือปรากฏการณ์ของโลกนี้ที่หมุนไวขึ้น การปล่อยวางความสำเร็จในอดีตสำคัญมาก ท่านต้องวางมันให้ได้ และมองใหม่ว่าปัจจุบันและอนาคตอะไรจะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
Long-term thinking ความท้าทายคือการคิดระยะสั้น (short-term thinking) ทุกธุรกิจต้องเริ่มคุย ว่าอีก 2ปี, 5ปี หรือ 10ปี ให้บ่อยขึ้น และจะต้องทำอย่างไร กับทั้งลูกค้า, สินค้า และกลยุทธ์ธุรกิจของท่าน หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ตัวเลขในประเทศไทยคอนเฟิร์มมาแล้วว่าการเกิดของรถไฟฟ้าเติบโตเร็วขึ้น กลายเป็นว่ารถสันดาบมีอัตราซื้อลดน้อยลง หากท่านอยู่ในอุตสาหกรรมรถยนต์ หรือ ชิ้นส่วนยานยนต์ เรื่องนี้จะเป็นตัวชี้วัดธุรกิจของเราทันที
หนึ่งในตัวช่วยที่น่าสนใจจาก ดร.ธนัย ชรินทร์สาธ คือ Foresight Framework หรือความไม่แน่นอนทำให้เราไม่กล้าที่จะมองต่อไปในอนาคต ปัจจุบันสงครามเกิดขึ้น เราไม่รู้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้ โดยหลักการเรื่องนี้เราต้องหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงภายนอกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะการเมือง, เศรษฐกิจ, สิ่งแวดล้อม, สังคม, กฎหมาย แล้วจับประเด็น 2 เรื่อง คือเทรนด์ + แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยคาดการณ์ในอนาคต
อีกเรื่องที่น่าสนใจต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือ Weak Signal หรือ สัญญาณอ่อน ๆ ที่จะเกิดขึ้นแล้วนำไปสู่เรื่องใหญ่ในอนาคต เช่น ในปัจจุบันนักศึกษาชาวจีนเริ่มมาเรียน ป.โท ในประเทศไทย มากขึ้น นี่คือสัญญาณการมองเห็นว่ามี นักศึกษาต่างชาติชาวจีนมาเรียนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยมีโอกาสเติบโตได้เมื่อเรารับนักศึกษาจีนเข้ามา
เราในฐานะเจ้าของธุรกิจต้อง ‘เริ่มก้าวเท้าไปสู่สิ่งที่อยู่อนาคต’ กลับไปดูว่าธุรกิจตอบโจทย์อดีต, ปัจจุบัน หรืออนาคตแล้ว ถ้าสิ่งที่ทำไม่ตอบโจทย์อนาคตต้องรีบปรับให้สอดคล้องกับอนาคต
#Keyword สำคัญคือ Be Futuristic เตือนตัวเองว่าคุณเริ่มแล้วหรือยัง ?
2. Attention economy
สมัยก่อนเราหาเงินจากเกษตรกรรม เพราะการมีน้ำทำให้เพาะปลูกได้ และในยุคต่อไปเราทำเครื่องจักรมากขึ้น ใครจับได้ก่อนได้เปรียบ วันนี้เราทำธุรกิจปลายน้ำต้องไปจบที่ผู้บริโภค แต่วันนี้ผู้บริโภคมีเวลาไม่พอในการรับสื่อ เช่น อีเมลที่เข้ามามากขึ้น หรือ โซเชียลมีเดียที่มีมากขึ้น
ดังนั้นใน 1 นาที เกิดการสื่อสารถึงผู้บริโภคมากขึ้น ดังนั้นคนที่จะประสบความสำเร็จคือคนที่ ได้รับความสนใจ (Attention) ต้องดึง Attention ลูกค้าเป้าหมายให้เห็นและรู้จักเราได้ด้วย การสร้างความชัดเจนของตัวเองเป็นการดึงความสนใจได้
แม้แต่บริษัทัยักษ์ใหญ่ก็ยังเปลี่ยนความคิด
อย่างธุรกิจกลุ่มเครือเซ็นทรัล ในอดีต การหาสินค้าที่ดีมาวางในห้างคนมาแน่นอน แต่วันนี้เซ็นทรัลต้องคิดใหม่ เพราะคนมีความสนใจหลากหลายมากกว่าเดิม บางคนต้องแวะไปคาเฟ่, ต้องทำผม, ต้องทำเล็บ ถ้าเขาไม่เดินมาห้างก็ถือว่าจบเลย เซนทรัลจึงต้องสร้างความสนใจ เริ่มมีการนำเก้าอี้นั่ง, โต๊ะ, ปลัํกไฟ, wifi ฟรี หรือการจัดอีเวนต์ เพื่ออะไร….เพื่อให้ได้ความสนใจกระตุ้นผู้คนให้เข้าห้างอย่างต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งการสร้างสื่อทางโลกออนไลน์ อะไรก็ตามที่สร้างความสนใจเพื่อกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจคุณ
#Keyword สำคัญคือ Be Relevant ท่านอยู่เฉยไม่ได้แล้ว ทุกคนมีเวลาน้อยลง สั้นลงมาก และแนวโน้มนี้ยังไม่จบ ย้ำคำเดิมคือการรีบสร้างความสนใจ รักษาแฟนคลับเอาไว้ ถ้าไม่ทำคุณเหนื่อยแน่ ๆ
3. Climate Action
ข้อนี้สำคัญเป็น A Must เราอาจะได้ยินบ่อย ๆ ในเรื่อง Net Zero เรามาถึงจุดที่ต้องทำสิ่งนี้แล้ว อย่ามองว่าเป็นภาระ เพราะสุดท้ายแล้ว Climate จะกระทบกับ Supply Chain ลูกค้า และตลาดด้วย ซึ่งไตรมาส 4 นึ้ประเทศไทยจะเริ่มมี Carbon TAX รวมไปถึงรถที่ปล่อย Carbon สูงจะต้องเสียภาษีรถยนต์มากขึ้นเช่นกัน หรือ ข่าวล่าสุดน้ำท่วมหนักที่ฮ่องกง การจะรับมือกับ Climate ร่วมกับธุรกิจ มีอาวุธสำคัญคือการใช้ Innovation มาพัฒนา Product และ Service ของเราอย่าง Conscious Capitalism หรือทุนนิยมที่รักโลก เราต้องมีจริยธรรมในการทำธุรกิจ
#Keyword สำคัญคือ Be a Good Citizen ทุนนิยมที่รักโลก ใช้แต่เหมาะสม ใช้แต่พอควร
4. Artificial intelligence
แทนที่จะกลัว AI มาแทนที่ เราควรถามว่า AI จะมาช่วยให้คนทำงานของเราหรือแม้แต่ตัวเราทำงานให้ดีขึ้นได้อย่างไร ดังนั้นวันนี้เราต้องถามตัวเองว่า เราเป็นคนทำงานที่ “Be Smart” แล้วหรือยัง เทคโนโลยีช่วยสร้างคุณค่า ช่วยเพิ่มความเร็ว ช่วยลดต้นทุนได้ เรื่องนี้เราไม่ใช้ไม่ได้แล้ว พื้นฐานอย่าง Chatgpt ต้องใช้เป็น และใช้เพื่อต่อยอดในการทำงานให้ได้ ท่านต้องมี AI Strategy มาช่วยให้คนทำงานฉลาดขึ้น
ตัวอย่างเช่น บริษัท Readyplanet สามารถทำนามบัตรด้วยการถ่ายภาพแล้ว AI ทำให้แบบ Automation เพื่อเป็นแพลตฟอร์มการขายไปสู่โลกดิจิทัล
#Keyword สำคัญคือ Be Smart ถ้าท่านเป็น Sme ต้องเป็น Sme Smart ถ้าท่านเป็นองค์กร ท่านต้องเป็น Corporate Smart
5. Energy
ทุกวันนี้ประชากรมีแต่จะลดปริมาณและคุณภาพลง พลังที่เราควรสนใจคือการสร้างพลังให้กับคนในองค์กร ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับผลประกอบการและ Productivity ในองค์กร
มีงานวิจัยจาก HBR เกี่ยวกับ Engagement Employees หรือ ความผูกพันที่พนักงานมีต่องานและองค์กร เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
โดย 83% องค์ที่สร้างเรื่องนี้ ช่วยให้คนทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิด Productivity ส่วน 26% ทำให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการสร้างพลังให้กับคนทำงาน ด้วย Engagement Employees
มีตัวอย่างที่น่าสนใจของบริษัท mars, incorporated เขาได้ Talents ที่เป็นเพศทางเลือกขึ้นมาเป็นผู้นำมากขึ้น หรือ Google ให้ความใส่ใจกับความสุขพนักงานและการเติบโต และมีเวลาไปเรียนรู้เรื่องที่สนใจเพื่อสร้างการเติบโต อีกบริษัทอย่าง DHL ได้สร้าง Fit-For-Life ให้คนสามารถ Work From Anywhere
ดังนั้นการสร้าง Engagement ให้เกิดขึ้นในบริษัท ให้ทีมงานอิน ผูกพัน และรู้สึกมีส่วนร่วมในองค์กร ต้องใส่ใจกับ Energy Driver ด้วยการสร้าง
👉 Growth คือโอกาสการเติบโต มีตำแหน่งเติบโตข้างหน้าไหม
👉 Relationship คือความน่าอยู่ในองค์กร และไม่เกิด Toxic ในองค์กร
👉 Autonomy คือมีอำนาจในการตัดสินใจ ไม่รอคนมาสั่ง
👉 Security ต้องปลอดภัย กล้าที่จะเสนอไอเดีย กล้าผิดได้ ล้มลงไม่มีใครเหยียบซ้ำ
👉 Fairness ต้องยุติธรรมในการทำงาน ต้องแฟร์ทั้งความสัมพันธ์ และการทำงาน
👉 Well-Being การมีสุขภาพที่ดี มีชีวิตที่ดีในการทำงาน
#Keyword สำคัญคือ Be Human เราไม่ใช่เครื่องจักรอีกต่อไป การทำงานแบบเดิม ๆ ไม่ใช่อีกต่อไป วันนี้มนุษย์คือคนที่จะสร้างอนาคตของเราต่อไป ต้องดูแลเขาเหมือนดูแลเพื่อน ๆ หรือคนในครอบครัว คุณมองเห็นความสำคัญของการดูแลทีมงานของเรามากพอแล้วหรือยัง
เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ลองกลับไปทำทวนให้ได้อย่างท่องแท้ว่าองค์กรของคุณจะเริ่มสร้างกลยุทธ์อย่างไร เพื่อให้ตอบโจทย์กับทิศทางในอนาคตที่จะเกิดขึ้น