ในวันที่เศรษฐกิจผันผวน ธุรกิจไม่ควรยืนเดี่ยวอีกต่อไป Session นี้จะพาคุณมอง “Collaboration หรือ การร่วมมือ” ไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่คือ กลยุทธ์เพื่อความอยู่รอดและเติบโต เพราะในวันที่ต้นทุนสูง ลูกค้าคิดเยอะ และแพลตฟอร์มเปลี่ยนเร็ว สิ่งที่ธุรกิจต้องทำไม่ใช่แค่ “รอด” แต่ต้อง “โตไปด้วยกัน” ให้ได้ แบบ Win-Win
6 เทคนิคสำคัญ Collaboration ที่ใช่ ต้องไม่ใช่แค่การร่วมมือ แต่คือการวางรากฐานร่วมกัน เพราะในวันที่ธุรกิจไม่สามารถ “อยู่รอดคนเดียว” ได้อีกต่อไป ความร่วมมือที่ดีจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราเข้าใจตัวเอง เข้าใจพาร์ทเนอร์ และเข้าใจ “เป้าหมายร่วม” อย่างแท้จริง
1. จะ Collaboration กับใคร วันนี้กลับมามองตัวเอง หา ‘Core Strength หรือจุดแข็งสำคัญ’ ให้เจอ ส่วนไหนไม่เก่งพอ เราค่อยหา Partner มาทำให้ธุรกิจเราแข็งแกร่งขึ้นไปด้วยกันได้
ความน่าสนใจคือทั้ง 3 ท่านพูดไปในทิศทางเดียวกัน
คุณกานต์ (FlowAccount) เน้นย้ำเรื่องของวันนี้โลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก และทุกบริษัทมี Resource ที่จำกัด การจะวิ่งตามทุกเรื่องจึงเป็นเรื่องที่ยาก วันนี้เราจึงต้องหาจุดโฟกัสของตัวเอง ว่าจริง ๆ แล้ว ‘Core Strength หรือจุดแข็งสำคัญ’ ให้เจอ แล้วทุ่ม Resource ไปจุดนั้น แล้วหา Partner ที่เขามี Key Strength อย่างอื่นเพื่อที่จะ Collaborate ร่วมกัน
คุณอัษฎาวุธ (HumanSoft) ได้เล่าถึงภาพ วันนี้ AI เข้ามา แถมบริษัทใหญ่ ๆ มีเงินทุนหนา ถ้าเราจะทำอะไรที่มัน General มันไม่ได้ เพราะบริษัทเล็ก-กลาง เราไม่มี Resource ไปแข่งขันกับสิ่งเหล่านั้นได้ ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ คือ ‘โฟกัสอย่างจริงจังกับความถนัดของตัวเอง’ ซึ่งเราต้องเป็นให้ได้ พยายามทำให้ดีที่สุด และปล่อยให้ส่วนอื่นเป็นสิ่งที่ Partner เข้ามาช่วยเติมเต็ม นี่คือกลยุทธ์หนึ่ง ในการช่วยสู้ตลาดสมัยใหม่ ที่มี General เต็มไปหมด ทุกคนเก่งหมด กินรวบไปหมด
คุณสาธิดา (Digio (Thailand) ก็ได้เน้นมุมมองเดียวกันถึง Digio มี Value อยู่อย่างนึง “We work each and everyday to help people grow their business” ซึ่งตรงนี้คือคำตอบสำคัญ เราต้องทำให้จุดแข็งของแบรนด์เราเอง โดดเด่นขึ้นมา มุ่งเน้นทำสิ่งที่เราเชี่ยวชาญ ส่วนในเรื่องไหนไม่เก่งพอ เราจึงให้ Partner มาทำให้ธุรกิจเราแข็งแกร่งขึ้นไปด้วยกันได้
2. Collaboration จะสำเร็จได้ นอกเหนือจากการมี Business Goal และ Common Goal ที่ชัดเจนแล้ว ปลายทางต้องตอบโจทย์สร้างคุณค่าให้ลูกค้าด้วยเช่นกัน
คุณสาธิดา (Digio (Thailand) ได้บอกถึงการที่เราจะสำเร็จไปด้วยกันกับ Partner ได้ คือ ‘Business Goal’ ร่วมกัน ในวันนี้ตลาดมันใหญ่ ต่อให้เราโฟกัสลงมาเล็กลงเรื่อย ๆ ในอีกมุมเราต้องมั่นใจด้วยว่าเป้าหมายนั้นจะสามารถหล่อเลี้ยงแบรนด์ของเรา และพาร์ทเนอร์ได้กำไรมากจริง ๆ
คุณอัษฎาวุธ (HumanSoft) ได้ยกเคสของ HumanSoft ทำแพลตฟอร์มของ HR แต่ใน HR เองก็มีมิติที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะงาน Recruitment, HRM, HRD ซึ่งสิ่งที่เราถนัดสุดคือ HRM เลยจับมือกับ Daywork ที่ถนัดเรื่อง Recruitment หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่เราไปจับมือร่วมกับ Daywork คือ Customer Target เป็นคีย์ที่เราเลือกว่าตรงกับเรา เมื่อตรงแล้ว มาดูต่อว่าเขาเชี่ยวชาญเหมือนกับเราไหม เคล็ดลับสำคัญคือ อย่าไป Collaboration คนที่มีความเชี่ยวชาญเดียวกับเรา เพราะพาร์ทเนอร์จะกลายเป็นคู่แข่งในอนาคตทันที
คุณกานต์ (FlowAccount) เคสของ FlowAccount มีจุดแข็งในด้านของ Back office ที่เน้นเปิดบิล ทำบัญชี Dashboard การเงินต่าง ๆ โดยเน้นเรื่องของการมี Common Goal ร่วมกับ Digio (Thailand) และ HumanSoft ในแง่ของอยากให้มีเทคโนโลยีที่ดีกับลูกค้า SME มีเทคโนโลยีที่ดีใช้ เมื่อลูกค้ามีเทคโนโลยีที่ดี และมีการจัดการที่ดีขึ้นในงานหลังบ้านทุกอย่างก็แฮปปี้
3. อย่ารีบตัดสินใจเร็วเกินไป ขั้นตอนการเลือก Partnership สำคัญมาก!
คุณอัษฎาวุธ (HumanSoft) อย่าลืมที่จะเช็กว่าตัวเรา กับพาร์ทเนอร์ Win-Win หรือเปล่า รวมไปถึงต้นทุนร่วมกัน มันมี Cost ระหว่างทางอะไรบ้าง เมื่อต้นทุนที่เกิดขึ้นมันเหมาะสมกับ Win-Win ที่เราสร้างไหม เรื่องนี้เป็นจุดเปราะบางที่ต้องประเมินให้ดี พาร์ทเนอร์ก็ต้องได้คุ้มค่า รวมถึงเราเองก็ต้องได้คุ้มค่าเช่นกัน
การจับมือกับพาร์ทเนอร์ ต้องเริ่มจากการรู้จักเขาให้ดี และมั่นใจว่ามีแนวคิดและทิศทางที่ตรงกัน แล้วตอบให้ได้ว่า No หรือ Like ว่าเขามีแนวคิดตรงกับที่เราจะไปหรือไม่ แล้วพอเราสร้างความสัมพันธ์ไปจุดนึง มันจะมีเรื่องของ Trust เกิดขึ้น ซึ่งความเชื่อมั่น ไว้ใจกันมันต้องมี!
คุณสาธิดา (Digio (Thailand) บางครั้งธุรกิจมันมากกว่าแค่ Marketing ในวันนี้เราทำงานร่วมกันกับพาร์ทเนอร์ เราได้ Engagement เราได้ Awarness แต่สุดท้ายแล้ว Product ของทั้ง 3 ท่าน ไม่ว่าจะ HumanSoft, Digio (Thailand) และ FlowAccount มันคือเทคโนโลยี มันไม่ได้ขายได้ในวันแรก แต่ต้องอาศัยการทำระบบร่วมกันในระยะยาว สิ่งสำคัญคือการมี Goal ร่วมกัน เห็นกลยุทธ์ร่วมกัน เห็นเส้นทางเดียวกัน มันจะช่วยให้เราสำเร็จง่ายขึ้นได้มาก
พาร์ทเนอร์ที่ดีจะร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรค ผ่านร้อน ผ่านหนาวไปด้วยกัน ซึ่งคำว่า Trust มักเกิดจากสถานการณ์นี้ รวมไปถึงการมี Core Value และ Business Goal ร่วมกันจะเป็นจุดยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อให้เรากับพาร์ทเนอร์ เดินไปได้ตลอดรอดฝั่ง
คุณกานต์ (FlowAccount) คำนึงที่สำคัญมาก ๆ ของการทำงานร่วมกันคือ ‘Synergy’ ซึ่งมันมี Value มาก ๆ มันคือการรวมกันของคนสองคนบวกกันแล้วได้มากกว่าที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพราะทุกคนมีจุดแข็งของตัวเอง และมี Uniqueness ของตัวเอง เพราะสุดท้ายคนที่ได้ประโยชน์ที่สุดคือลูกค้า จะทำให้เราจับมือกันไปได้ยาว ๆ ได้จริง
การเลือกพาร์ทเนอร์ก็เหมือนกับการเลือกเพื่อน เราก็มีกลุ่มเพื่อนหลายคน บางคนคบได้ยาว ๆ บางคนเหมาะแก่การทำกิจกรรมบางอย่าง ดังนั้นเวลาจะจับมือกับใครไปยาว ๆ ก็เหมือนเพื่อสนิท คือคนที่ศีลเสมอกัน คือคนที่มี Core Value ที่ตรงกัน มี Common Goal ที่เหมือนกัน อยากที่จะไปจุด ๆ นึงเหมือนกัน อย่าไปคบเพื่อนหรือพาร์ทเนอร์ที่หวังแต่ผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว
4. อีกจุดที่สำคัญและไม่ค่อยมีคนพูดถึงในการ Collaboration คือการ เคลียร์คัต ตั้งแต่ Day 1 ต้องชัดเจน-เด็ดขาด-ไม่คลุมเครือ
สิ่งที่ทั้ง 3 ท่านเน้นย้ำแล้วให้ข้อคิดเหมือนกันคือ เราควร ‘เคลียร์คัต’ กันตั้งแต่วันแรก เพราะถ้ามันเกิดพื้นที่ทับซ้อนกันระหว่างเรากับพาร์ทเนอร์ ต้องคุยให้เคลียร์ว่าสิ่งที่ทำร่วมกัน “ตรงไหนคือจุดที่เราห้ามร่วมกัน” ตกลงข้อนี้กันให้ได้ เพราะถ้าตกลงกันไม่ได้ผ่านไปก็มีปัญหา ดังนั้นการเซ็ต “เส้นบรรทัดฐาน” ให้เคลียร์ตั้งแต่วันแรก ทะเลาะกันให้จบตั้งแต่วันแรก เพราะถ้ามันแตกหักมันก็จบไว ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้ถนอมน้ำใจกัน วันหลังแตกหักกันจะหนักและเจ็บกว่าเดิม
ซึ่งถ้ามองย้อนกลับไปใน 3 ข้อแรกจะมีการเน้นย้ำ Core Value, Business Goal และ Common Goal อยู่เสมอ ดังนั้นต้องเซ็ตขอบเขตกันตั้งแต่แรก ฉันถนัดอะไร, เก่งอะไร และแต่ละคนรับผิดชอบอะไร มันจะกลายเป็นเดี๋ยวฉันทำให้เธอก็ได้ ซึ่งถ้าเกิดทำให้กันไปตลอดมันจะมีฝ่ายที่เหนื่อยมาก ๆ นี่จึงเป็นเหตุผลที่จะจับมือกันไปได้ยาว ๆ ถ้าเราเซ็ตขอบเขตกันให้ดี เซ็ตหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันให้ดีในทุก ๆ โปรเจกต์ของชีวิตให้ได้
5. เรามักจะโฟกัสที่ธุรกิจ จนลืมไปว่าการ Collaboration มันจะส่งผลถึง ‘ทีมงาน’ เพราะคนทำงานเบื้องหลังเราจะต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของผู้นำ
คุณกานต์ (FlowAccount) อันดับแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่าผู้บริหารต้องการอะไร และพาร์ทเนอร์มีหน้าที่อะไรในการ Deliver โปรเจกต์นี้, เขาเป็น Decision maker หรือเปล่า และเขามี Authority จริง ๆ หรือเปล่า รวมไปถึงสุดท้ายเขาต้องการ Achieve ในฐานะคนในองค์กรของอีกฝั่งนึงคืออะไร เพราะความยากมันคือบางครั้งผู้บริหารอยากได้อย่างนึง แต่ผลงานของคน ๆ นั้นที่จะ Deliver โปรเจกต์ ก็เป็นอีกแบบนึง ซึ่งการทำความเข้าใจทั้ง 2 ปาร์ตี้สำคัญมาก ทั้งคนที่เป็น Decision maker และ คนที่ Execute จริง ๆ เมื่อเข้าใจเขาแล้ว เราก็ต้องเข้าใจตัวเราเองด้วยว่าจะ Deliver อะไร จะได้เข้าใจร่วมกันทั้งสองฝ่าย
โดยสรุปคือผู้บริหารมีหน้าที่ต้องพูดให้เคลียร์กับทีมงานอย่างชัดเจนว่า Goal ของเราในการไปพาร์ทเนอร์กันคืออะไร รวมถึงไปช่วยทีมระหว่างทางด้วย เพื่อให้งานมันเดิน รวมถึงน้อง ๆ ในทีมก็ต้องร่วมมือเช่นกัน
คุณสาธิดา (Digio (Thailand) ที่บริษัทน้อง ๆ ทีมงานมักจะถามว่า คนที่จะมาพาร์ทเนอร์เขาจะทำอะไร อยากได้อะไร แล้วเราจะช่วยอะไรให้พาร์ทเนอร์ได้เพื่อให้สำเร็จได้ เช่น มีการไปร่วมกับ FoodStory โดยฝั่งของ Digio (Thailand) เชี่ยวชาญเรื่อง Payment ส่วน FoodStory เชี่ยวชาญ order system ดังนั้นเราจะช่วยให้ order system สามารถ Deliver อะไรให้ลูกค้าได้ ทำอย่างไรให้ขั้นตอนการจ่ายเงินลูกค้าง่ายที่สุด และรับผิดชอบส่วนของตัวเองให้ดีที่สุด
คุณอัษฎาวุธ (HumanSoft) การเป็นคนตรงกลางระหว่างพาร์ทเนอร์และลูกค้า เรามักจะได้ยินคำบ่นจากทีมงานว่ามันยุ่งยาก, ติดต่อไม่ได้, คำตอบไม่ชัดเจน, ประสานงานไปก็เงียบ ซึ่งวิธีแก้ที่ดีไม่ใช่ไปใส่ไฟเพิ่ม แต่ควรกลับมา Start with why ก่อนว่าทำไมเราถึงอยากทำงานร่วมกับเจ้านี้ เราจะพัฒนาผลิตภัณฑ์เราเพื่ออะไรให้กับลูกค้าเรา แล้วเขาได้อะไร เมื่อเหตุผลมันแข็งแรงพอ
แม้การทำงานพาร์ทเนอร์จะมีภาระงานที่เพิ่มขึ้น แต่ลูกค้าของเราจะได้เพิ่มมากขึ้น เราจะมีเหตุผลมากพอในการตอบกับทีมงานมากขึ้น ว่าทำไมเราถึงต้องทำจุดนี้ ถึงจะเหนื่อยก็ต้องไปต่อ ถ้าจำเป็นต้องทำ สำคัญจริง ๆ เราควรจะให้ทรัพย์กรทีมมากขึ้น ช่วยเหลือมากขึ้น หรือเราเป็นคนกลางไปเจรจาต่อช่วยเหลือซัพพอร์ตทีมได้ ถ้าเหตุผลเราหนักแน่นพอ ไม่มีอะไรหยุดเราได้
6. สุดท้ายนี้ สิ่งที่ควรโฟกัสมากที่สุดตั้งแต่ Day 1 เพื่อเริ่มเลือกพาร์ทเนอร์ ที่มาทำงานร่วมกับเรา (Collaboration) คือเรื่องอะไร ?
สิ่งที่ทั้ง 3 ท่านฝากไว้มีความน่าสนใจในหลาย ๆ ประเด็น อันดับแรกคือ ‘การออกไปหาโอกาสใหม่ ๆ’ ข้างนอก เช่น การเข้าสมาคมหอการค้าสภาพอุตสาหกรรม หรือกลุ่มผู้ประกอบการต่าง ๆ จะทำให้เราเจอนักธุรกิจ และผู้ประกอบการ สิ่งสำคัญคือพยายาม Explore ให้ได้มากที่สุด เพราะเราไม่มีวันรู้หรอก ว่าเราจะได้ใครเป็นพาร์ทเนอร์ในอนาคต พยายามคุยหาโอกาสร่วมกัน เพื่อสร้างไอเดียใหม่ ๆ ร่วมกัน จะได้รู้ว่าใครมีแนวโน้มในการเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกัน หรืออีกจุดนึงที่น่าสนใจคือ เริ่มต้นที่ Common Friend ก่อนได้ คือคนในวงที่เรารู้จัก เริ่มคุยจากวงเล็กก่อน เพราะจะทำให้คุยง่ายขึ้น
เทคนิคเล็ก ๆ ในการเข้าไปพูดคุยหรือ Explore มักจะตั้งคำถามว่า ‘ลูกค้าคุณคือใครครับ’ คุณขายสิ่งนี้กับใคร เพราะการมี การมี Goal เดียวกัน หรือ Customer Segment เดียวกันมันจะไปต่อง่าย ถ้ามันใช่มันจะคุยต่อได้ยาว หรือใครที่คุยแล้วมันส์มาก มีแววที่จะไปกันได้ อาจจะเป็นจุดที่เราเริ่มชอบเขา ก็สามารถประเมินจากจุดนี้ได้เช่นกัน
หนึ่งอย่างที่ต้องยอมรับคือ การมี Mindset ที่ต้องเปิดหัวเราก่อน ว่าคนที่จะไปพาร์ทเนอร์ร่วมกันเขาจะช่วยเราได้ และยอมเปิดใจพูดคุย เพราะวันนี้เราทำทุกอย่างด้วยตัวคนเดียวไม่ได้ การออกไปพูดคุยมันไม่มีต้นทุน ตราบใดที่เรามีจุดแข็งคืออะไร เราเชี่ยวชาญอะไร เราจะไปช่วยลูกค้าอะไรได้บ้าง ซึ่งเราทุกคนทำได้ ขอแค่เริ่ม
โดยสรุป Collaboration ที่ใช่ ต้องไม่ใช่แค่การร่วมมือ แต่คือการวางรากฐานร่วมกัน เพราะในวันที่ธุรกิจไม่สามารถ “อยู่รอดคนเดียว” ได้อีกต่อไป ความร่วมมือที่ดีจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราเข้าใจตัวเอง เข้าใจพาร์ทเนอร์ และเข้าใจ “เป้าหมายร่วม” อย่างแท้จริง
Session: Collaboration for Growth: The Strategy Behind Resilient Businesses กลยุทธ์ต้องร่วมเพื่อเติบโต
Speaker
- คุณกานต์ โชครุ่งวรานนท์ Chief Of Staff at FlowAccount
- คุณอัษฎาวุธ จิตตเสถียร Chief executive officer HumanSoft
- คุณสาธิดา จิรดิลก Business Analyst, Digio (Thailand) Co., Ltd.
ใครที่อยากรับชมแบบจัดเต็ม สามารถซื้อบัตรรับชมย้อนหลังทุกเซสชันเพิ่มเติมได้ที่
👉 https://bit.ly/3TRATke
