📒 BUJO ฉบับจับมือทำ เอาไปใช้ได้เลย! 📒
เตรียมให้พร้อม ซ้อมกันไว้เลย กับ BUJO ฉบับจับมือทำ เอาไปใช้ได้เลย!
หลายคนเริ่มอยากจะ ‘จด’ แต่สุดท้าย
‘ทำได้แปปเดียว ไม่เสร็จบ้าง และทำไม่สม่ำเสมอ’
ซึ่งไม่ใช่แค่ BUJO แต่ใครที่จด Planner ก็มักจะมีเสมอเช่นกัน
ดังนี้เรา แอปพลาย ไปพร้อมกันเลยดีกว่า
📒 จด BUJO ให้ต่อเนื่องทำได้อย่างไร
1. ถามตัวเองว่า เริ่มจดเพราะอะไร เขียนแปะไว้หน้าแรก
เช่น คุณโจ้ขี้ลืมดังนั้นเราจึงเริ่มจด เพราะเราขี้ลืม หรือบางคนเป็นเพราะหน้าที่การงานมากขึ้น มีหลายโปรเจกต์ หรือต้องดูแลที่บ้าน ดูแลคนรอบตัวมากขึ้น ก็จะจดมากขึ้น
2. เริ่มให้ง่าย จากสมุดที่มีอยู่แล้ว
ใครมีสมุดที่เคยซื้อไว้ หรือมีคนให้มา หยิบสมุดทั่วไปมาเป็นสนามซ้อมก่อน เพราะจุดเริ่มต้นของการเริ่มซ้อม คือเราจะเริ่มทำที่ดี
3. อย่าเพิ่งสวย เน้นสม่ำเสมอ
อย่าพึ่งเน้นที่ความสวยงาม แต่ต้องเริ่มจากเบสิกก่อนนั่นคือ ความสม่ำเสมอ
4. หาช่วงเวลาของเราเอง
ช่วงเวลาที่ทำให้เราจดได้ และอยู่กับมันได้นานจริง ๆ โดยที่ไม่ต้องรอให้ใครบอกว่าจดตอนไหน
📒 เทคนิคเริ่มจด BUJO แบบฉบับจับมือทำ
👉 หาอุปกรณ์ 1 อย่าง เพื่อเหน็บการจดในระยะเริ่มต้น เพื่อให้เราสังเกตเห็น ว่าตอนนี้เรากำลังเริ่มจะทำหัวข้ออะไร เนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง เช่น อาจจะหาคลิปหนีบกระดาษ หรือแปะโน้ตเล็ก ๆ หรือสติกเกอร์ที่จดหัวข้อเล็ก ๆ ได้ โดยแปะไว้ที่ปลายสมุดจดด้านขวาของเรา
👉 เริ่มจดด้วยการตั้ง ‘START’ และเขียน ‘เลขหน้า’
เช่น START 24 JAN 2024 และตามด้วยเขียนเลขหน้ามุมขวาบน หรือขวาล่างก็ได้
👉 การจดต้องเริ่มจากมีโครงสร้างของสมุด ซึ่งต้องมี INDEX และ KEYS ซึ่งการจด BUJO เราต้องตั้งก่อนเลยว่าในระดับโครงสร้างที่กำลังจะจด เราจะจดในลักษณะไหน อาจจะเป็นจดแบบวัน, จดแบบสัปดาห์, จดแบบเดือน, จดแบบปี นั่นเอง
👉 การจดทุกครั้งลองตั้งด้านซ้ายมือของกระดาษ ให้เป็น ‘KEYS’ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ เช่น
O สัญลักษณ์ วงกลมโปร่ง แทนกิจกรรมที่ต้องทำ (events)
● สัญลักษณ์วงกลมทึบ แทนเรื่องที่เราต้องทำ (tasks)
X สัญลักษณ์กากบาท แทนว่าเสร็จแล้ว (done)
> สัญลักษณ์มากกว่า แทน เลื่อนไปพรุ่งนี้
< สัญลักษณ์น้อยกว่า แทน วางแผนใหม่
- ขีด สัญลักษณ์ แทนการโน้ต
– ขีดฆ่าทิ้งเรื่องที่ทำเสร็จแล้ว สัญลักษณ์นี้แทนการยกเลิก
👉 การจดทุกครั้งลองตั้งด้านขวามือของกระดาษให้เป็น ‘INDEX’ เพื่อเตรียมจดเรื่องที่เราจะเขียน แล้วเว้นหน้ากระดาษต่อไปสัก 1 คู่ เพื่อให้มีพื้นที่ในการจด
ตัวอย่างเช่น INDEX แบบเดือน ก็สามารถเริ่มเขียน ‘Monthly Log’ ไล่มาตั้งแต่ JAN 2024, ไปจนจบ DEC 2024 แล้วเราค่อยขยับมาใส่ดีเทลว่า
JAN 2024
Monthly Log
● เก็บบ้านชั้น 3
● ออกกำลังกายทุกสัปดาห์
● นัดประชุมที่ขอนแก่น
👉 หรือใครจด INDEX แบบรายวัน ก็สามารถปรับให้เป็นรายวันได้ เช่น
24 JAN (WED)
O 8:00 THE ORGANICE LIVE
● ประชุม 11:00 น.
● ไปพบลูกค้าที่ Paragon
📒 สำหรับใครที่ยังไม่เห็นภาพว่าจะจดอย่างไร
วันนี้เราได้รวบรวม ‘เทคนิคการจด’ ดูแล้วทำได้เองเลยทันที
(แล้วเลือกช่วงเวลาจากด้านล่างเพื่อฝึกกันทำกันจ้า)
🎯 [เริ่ม: จดด้วยการตั้ง ‘START’ และเขียน ‘เลขหน้า’]
นาทีที่ 7:34 - 11:20
🎯 [เริ่ม: โครงสร้างของสมุดในการจด มีอะไรบ้าง ทำอย่างไร ?]
มีทั้งหมด 2 ช่วง
นาทีที่ 11:32 - 12:00 // นาทีที่ 13:22 - 13:44
🎯 [เริ่ม: KEYS การกำหนดสัญลักษณ์]
นาทีที่ 15:19 - 16:30
🎯 [เริ่ม: BUJO ตัวอย่างจดแบบรายเดือน]
นาทีที่ 17:19 - 19:30
🎯 [เริ่ม: BUJO ตัวอย่างจดแบบรายสัปดาห์]
นาทีที่ 19:31 - 22:57
🎯 [เริ่ม: INDEX จดสารบัญ]
นาทีที่ 23:15 - 23:55
🎯 [เริ่ม: เคสตัวอย่างหากพกสมุดเล่มเดียว และต้องจดรายละเอียดในแต่ละ Task มากขึ้น]
นาทีที่ 24:11 - 25:50
สุดท้ายนี้สิ่งสำคัญสำหรับ ‘การจดโน้ต’ ไม่ว่าจะเป็น BUJO หรือการจดแบบอื่น ๆ คือเราต้อง ‘สม่ำเสมอ’ กับการจดทุกครั้ง ลืมได้เป็นครั้งคราวไม่ว่ากัน เพราะเราอาจจะติดธุระ งานเยอะมากจนเกินไป แต่ต้องไม่ลืมที่จะกลับมาจดอย่างต่อเนื่อง หา Timing ที่ใช่ของเรา ไม่ว่าจะเวลาในยามเช้า หรือใครสะดวกเวลาดึก ๆ ก็ได้เช่นกัน เป็นกำลังใจให้ทุกคน ทำให้ได้ เริ่มตั้งแต่วันนี้เลยน๊า 🥰 ✌️ 🎯
เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ