ก่อร่างสร้างชีวิตในทุกวัน ด้วยการตั้งคำถามกับบรีฟก่อน
การมี Creativity เอาไปใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้ไหม ?
ครีเอทีฟที่ดี ควรจะต้องตั้งคำถามกับบรีฟก่อน เพราะ บรีฟที่ดีจะนำมาซึ่งผลงานที่ดีที่สุด
ใช้วิธีสำรวจบรีฟ หรือ ปัญหาในชีวิต ว่าบรีฟนี้ถูกเขียนขึ้นมายังไงโดยเริ่มจากการตั้งคำถามว่า อะไร ทำไม และ อย่างไร เช่น ต้องตั้งใจเรียนในช่วงชีวิตมัธยม เราตั้งคำถามกับบรีฟว่า ทำไมต้องตั้งใจเรียน แล้วเรียนอะไร เรียนวิชาชีวิตที่ไม่ได้อยู่ในห้องเรียนหรือเปล่า ถ้าอย่างนั้น เราต้องตั้งใจเรียนผ่านการทดลองใช้ชีวิตในช่วงมัธยมแล้วล่ะ
สุดท้าย มันคือการตั้งคำถามกับบรีฟแล้วคิดหาทางเลือกหลากหลาย เพื่อใช้แล้วทิ้งเพื่อเจอทางที่ดีที่สุด และใช้ความคิดสร้างสรรค์ปรับเปลี่ยนวิธีมองชีวิตในแต่ละวัน
2 เทรนด์ที่เกิดขึ้น เมื่อโลกนี้ไม่มีความแน่นอน
1. มนุษย์พยายามจะจัดระเบียบทิศทางให้แน่นอน เพราะมนุษย์ไม่สามารถอยู่กับความไม่แน่นอนได้
การต่อสู้ของครีเอทีฟ
ในมุมความคิดสร้างสรรค์สิ่งนี้กลายเป็นโจทย์ที่ท้าทาย เพราะครีเอทีฟต้องพยายามฝืนกระแสให้แตกต่างเพื่อรักษาความเป็น Creativity เอาไว้ เช่น ทุกคนแห่ไปดูหนังในกระแส แต่ครีเอทีฟเลือกดูหนังอินดี้นอกกระแส และจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์หนังหรือโฆษณาดี ๆ จากหนังเรื่องนั้น
2. มนุษย์ใช้ชีวิตด้วยตาและสมองเป็นส่วนใหญ่ จากการดูคลิป อ่านหนังสือที่เป็นกระแส จนหลงลืมประสาทสัมผัสอื่น ๆ เพราะถ้าเราจะใช้ Creativity เราต้องใช้ทั้งร่างกายการต่อสู้ของครีเอทีฟ
ลองลดวัฒนธรรมทางสายตาและสมองลง เช่น คุณเอ๋-นิ้วกลมไป Sound Space ที่เขาใหญ่เพื่อเปลี่ยนการรับรู้จากตามาที่หูและกลิ่น เพราะแต่ละที่บนโลกมีเสียงที่ต่างกัน สิ่งนี้กลายเป็นจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์งานที่ไม่เคยมีมาก่อน
นี่คือเสน่ห์ของมนุษย์ เพราะสามารถเจาะออกนอกกระแสไปได้ไกลแค่ไหน
ยุคที่การสร้างสรรค์เป็นเรื่องของความกล้า
ครีเอทีฟปรับตัวยังไงในยุคที่สังคมคาดหวังสิ่งใหม่ แต่ก็ไม่กล้าแตกต่าง ?
ต่อให้โลกจะเปลี่ยนยังไง สุดท้าย Core ก็ยังเหมือนเดิม แค่ต้องปรับตัวในการเล่าเรื่อง และต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลา แม้จะเหนื่อยบ้างหรือไม่ชอบบ้าง แต่สุดท้ายมันคือเทรนด์และการเปลี่ยนแปลงทั่วโลกที่ Creative ต้องเรียนรู้และยอมรับ
มุมมองครีเอทีฟต่อชีวิตในยุคก่อน และในยุคปัจจุบัน แตกต่างกันยังไง ?
นิ้วกลม - ชีวิตในปัจจุบันมันยากขึ้น เพราะแต่ก่อนมุมมองและข้อมูลมีจำกัด เราอยู่กับคนไม่เกิน 150 คนเท่านั้น แต่ในยุคที่โซเชียลมีเดียทำให้เรามองเห็นข้อมูลทั่วโลก และการใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางกระแสของข้อมูลทำให้เราต้องใช้ครีเอทีฟเป็นอย่างมากเพื่อไม่ให้ไหลไปกลมกลืนกับกระแส จนสร้างสรรค์อะไรไม่ได้ จนเกิดเป็นความกดดันว่าเราจะเก่งพอเมื่อเทียบกับกระแสและข้อมูลมากมายเหล่านี้ไหม
ส่วนทางคุณวิชัย Salmon house มองว่าแต่ละเจนต่างมีทัศนคติและวิธีใช้ชีวิตที่ต่างกัน โดยแต่ละเจนต้องมาเรียนรู้กันและกัน นั่นคือ ความยากของการใช้ชีวิตในยุคนี้
เทคนิคช่วยครีเอทีฟฉีกออกจากกระแสเพื่อรักษาความคิดสร้างสรรค์
ให้ลองตั้งกฏกับตัวเอง ว่าต้องทำบางสิ่งที่แตกต่างจากกระแส เช่น ขึ้นรถจะเปิดเพลงลูกทุ่งฟังขณะกลับบ้าน หรือ ก่อนนอนจะเปิดดูสิ่งที่อยู่นอกอัลกอริทึมบนโซเชียล เสิร์ชเรื่องใหม่ ๆ
แต่ถ้าเราแตกต่างมากเกิน จะทำให้เราหลุดเทรนด์ไหม?
นี่คือ “ระบบนิเวศของครีเอทีฟ” ที่ต้องคิดให้ต่างจากคนอื่นเป็นเรื่องปกติ แต่สุดท้ายจะวนกลับมาที่บรีฟว่าคนต้องการอะไร เช่น ต้องการดูหนัง แต่หนังไม่จำเป็นต้องเหมือนกันก็ได้
แต่ในการทำงานต้องยอมรับว่าการแตกต่างมาพร้อมความเสี่ยง ให้ลองคิดแยกออกเป็น 2 มุมมอง
- มุมมองที่ 1 : งานครีเอทีฟชิ้นนี้เราทำเพื่อชีวิตหรืองาน ถ้าคาดหวังผลลัพธ์ในบางมุมเราต้องยอมตามกระแสเพื่อธุรกิจบ้าง
- มุมมองที่ 2: งานครีเอทีฟชิ้นนี้เราทำเพื่อเติมเต็มคุณค่าในชีวิต ให้เรากล้าออกมาตั้งหัวแถวเพื่อเติมเต็มคุณค่าให้ชีวิตบ้าง คิดให้แตกต่างโดยไม่คาดหวังผลลัพธ์
“เพราะถ้าทุกคนคิดเหมือนกัน คงไม่มีอะไรโตขึ้น”
นวัตกรรมและสิ่งที่เป็นกระแสในทุกวันนี้ก็มาจากครีเอทีฟที่กล้าเสี่ยงทำสิ่งที่แตกต่าง และไม่คาดหวังผลลัพธ์ก่อนทั้งนั้น
ทำไงให้ไม่กลัวการยืนหัวแถว และแตกต่างจากคนอื่น?
ไปยืนหัวแถวให้บ่อย ยืนให้ชิน บางครั้งอาจจะล้มบ้าง หรือบางครั้งมีคนมาต่อต้าน แต่สำคัญคือเราได้ลองทำและเรียนรู้
“การเป็นครีเอทีฟ คือ การใช้ชีวิตที่ร่างแบบและลบทิ้งอยู่แล้ว แต่ทุกสิ่งจะสร้างแรงกระเพื่อมเสมอ”
คำถามสุดน่าเบื่อที่ว่า AI จะมาแทนที่ Creativity ของมนุษย์
AI จะมาแทนที่ Creativity ?
ในมุมมองครีเอทีฟ AI เข้ามาช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น แต่ AI จะคิดสร้างสรรค์ได้แค่จุดเริ่มต้น คนอื่นที่เข้าถึง AI ก็อาจใช้ไอเดียนี้ได้เหมือนกัน สุดท้าย ความคิดสร้างสรรค์ก็เป็นเรื่องของมนุษย์ ความสามารถในการสร้างความแตกต่าง มนุษย์ยังคงเป็นเจ้าของ
แต่…เราจะยังคิดสร้างสรรค์ไปได้เรื่อย ๆ จริงเหรอ
สิ่งที่น่าคิด คือ คอนเทนต์เกิดขึ้นมากมายมหาศาลจนเราเสพคอนเทนต์ไม่ทัน โดยคอนเทนต์ AI ค่อย ๆ ครองพื้นที่ ไปพร้อมกับมาตรฐานการยอมรับงานสร้างสรรค์จาก AI ทำให้ผู้ผลิตคอนเทนต์หมดกำลังใจที่จะสร้างสรรค์ และเลือกเอาเวลาไปใช้งาน AI แทน
น่าคิดว่าในอนาคตไม่เกิน 10 ปี ศักยภาพในการคิดสร้างสรรค์จะยังเป็นของมนุษย์อยู่ไหม ?
คำแนะนำถึงนักคิดผู้มี Creativity
จงถามตัวเองอยู่เสมอว่าเราสร้างสรรค์ไปเพื่ออะไร ถ้าการสร้างสรรค์ คือ การเติมเต็มคุณค่าในชีวิต ก็จงอย่าหยุดคิด และทิ้งสิ่งที่เป็นเชื้อไฟให้คุณค่าในตัวเอง อย่ายึดติดกับกระแสและยอดอัลกอริทึ่มจนหลงลืมคำถามเดียว
“เราสร้างสรรค์ไปเพื่ออะไร?”
ใครที่อยากรับชมแบบจัดเต็มสามารถซื้อบัตรรับชมย้อนหลังทุกเซสชันเพิ่มเติมได้ที่
👉 https://bit.ly/3TRATke
