ปีนี้เพื่อน ๆ ได้ลองทบทวนสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจหรือความล้มเหลว ที่เราอยากทำให้ตัวเองดีขึ้นในปีหน้าแล้วหรือยัง ?
วันนี้อยากพาเพื่อน ๆ มารู้จัก
“Goal Tracking Spreadsheet” เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีความละเอียดกว่า worksheet ทั่วไปในแง่ของการตั้งเป้าหมาย ที่คุณ Olivia Raymer นักสำรวจ นักเดินทางรอบโลกได้ใช้มันในการกำหนดกรอบเป้าหมายของตัวเอง
ยิ่งเราฝึกตั้งเป้าหมายทุกปี หรือเขียนรีวิวตัวเองเพื่อทบทวนเรื่องราวที่ผ่านมาได้มากเท่าไหร่ ก็จะเป็นประโยชน์กับเรามากขึ้นในอนาคต โดยก่อนจะตั้งเป้าหมาย เราแนะนำให้เพื่อน ๆ ค่อย ๆ อ่านทีละข้อเพื่อทำความเข้าใจก่อนจะดาวน์โหลด Goal Tracking Spreadsheet โดยมีรายละเอียดที่ทุกคนต้องรู้ก่อน ประมาณ 5 เรื่องด้วยกัน ดังนี้
🎯 1. Recap สรุปเรื่องราวปีที่ผ่านมา
เทคนิคที่คุณโอลิเวีย (Olivia Raymer) ใช้เป็นประจำคือการทบทวนถามตัวเอง 3 เรื่อง
👉 อะไรคือสิ่งที่ ‘ภาคภูมิใจ’ สำหรับปีนี้ ?
เน้นย้ำว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่ประสบความสำเร็จ แต่อยากให้ลองนึกย้อนนึกกลับไปว่าปีนี้ เพื่อน ๆ ภูมิใจในอะไรบ้าง เพื่อน ๆ รู้สึกอยากขอบคุณอะไร หรือเรื่องไหนที่เราพบเจอทำให้เรามีความสุข สิ่งนี้ทำเพื่อดูเป้าหมายของปีที่แล้ว เสมือนเตือนตัวเองผ่านปฏิทินชีวิต หรือสามารถแบ่งประเภทของความภูมิใจก็ได้เช่นกัน
ตัวอย่างของคุณโอลิเวีย เช่น เป้าหมายใหญ่ (เริ่มเป็นฟรีแลนซ์อีกครั้ง!) หรือสถิติบางอย่าง เช่น (ปั่นจักรยาน, วิ่ง, เดินป่า 1,690 ไมล์!!) พยายามลิสต์ออกมาให้เป็นรูปธรรม ไม่ใช่แค่ปีนี้สุขภาพดีขึ้น แต่ต้องระบุด้วยว่าเราทำอะไรลงไปบ้างเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น
👉 อะไรในปีนี้ที่ ‘ทำไม่สำเร็จ’
จุดประสงค์ของข้อนี้ไม่ใช่การเข้มงวดกับตัวเอง แต่เป็นการเผยให้เห็น โดยตัวเราต้องพิจารณาว่าอะไรที่ยังไม่เกิดขึ้น และทำไมมันถึงไม่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น เราอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญ, หรือเคยพยายามแล้วนะแต่ล้มเหลว หรือจังหวะนั้นเราอาจจะเปลี่ยนใจ เหตุผลที่ต้องเขียนเรื่องราวที่เคยผิดพลาด หรือ ล้มเหลวเปรียบเสมือนการสะท้อนตัวเองในทุกปี ว่าปีหน้าเราจะไม่ทำแบบนี้อีก หรือบางเรื่องไม่สำเร็จ เราจะหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อทำให้สำเร็จ เพื่อก้าวต่อไป!
👉 ฉันอยากให้เกิดอะไรขึ้นในปี 2024 ?
ข้อนี้คือการสะท้อนถึง ‘ความเป็นไปได้ในทุกเรื่อง’ เรามีเป้าหมายอะไรบ้าง อาจจะเริ่มต้นจากเรื่องใกล้ตัว เช่น ปีหน้าเราจะไปเที่ยวที่ญี่ปุ่น ที่เมืองโอซาก้า 1 ครั้ง เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ เป็นต้น
🎯 2. ต้องมีความรับผิดชอบกับเป้าหมาย
หลายคนมักจะโพสต์ ‘เป้าหมายในปีหน้า’ ผ่านโซเชียลบ้าง หรือบอกเล่ากับเพื่อน แต่อยากให้ตั้งเป้าเลยว่า เมื่อพูดออกไป หรือลิสต์เป้าหมายออกมาแล้ว เราต้องรับผิดชอบกับเป้าหมายให้ได้ พยายามให้ถึงที่สุดเพื่อพิชิตเป้าหมายนั้น
🎯 3. ใช้ ‘เป้าหมายเล็ก’ ขับเคลื่อน ‘เป้าหมายใหญ่’ ของเรา
คุณโอลิเวีย เล่าว่าหลังจากอ่านหนังสือ The Desire Map โดย Danielle LaPorte ก็ได้ค้นพบไอเดียที่น่าสนใจ หลายคนชอบตั้งเป้าหมายที่ใหญ่เกินตัวจนทำให้รู้สึกเหนื่อย และท้อกับเป้าหมายจนล้มเลิกไป แต่หนังสือเล่มนี้กลับให้เราลองลิสต์ออกมาว่า ‘ความรู้สึกหลักที่ต้องการ’ หมายถึงสิ่งที่เพื่อน ๆ ทำได้ง่ายในทุกวัน และอยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเองทีละนิด ลิสต์ออกมา 3-5 เรื่อง อาจจะทำหลักวัน, สัปดาห์ ก็ได้ เช่น วันนี้ฉันจะตื่นนอนแล้วเก็บที่นอนให้เป็นระเบียบ (ทำอย่างสม่ำเสมอ) แค่นี้เพื่อน ๆ ก็สำเร็จไปแล้ว 1 อย่าง เพื่อลดความรู้สึกที่เหนื่อยจนเกินไปกับเป้าหมายใหญ่ เพราะเป้าหมายเล็ก ๆ สามารถเป็นพลังอันยิ่งใหญ่เพื่อขับเคลื่อนเป้าใหญ่ของเพื่อน ๆ ได้เช่นกัน ลองไปทำตามกันดูน๊า
🎯 4. ตั้งธีมให้กับเป้าหมายสำคัญ
เคล็ดลับนี้เป็นความสนุกของตั้งเป้าหมาย ในการตั้งหัวข้อใหญ่ของเราว่า ‘ปีหน้า เราอยากให้ชีวิตเราเป็นโทนแบบไหน’ ตัวอย่างเช่น ธีม Have a "Smiley" day ปีหน้าชั้นอยากเป็นคนที่ยิ้มง่ายขึ้น ร่าเริงขึ้น ซึ่งธีมนี้จะคอยกำหนดทั้งการใช้ชีวิต การทำงาน ต่อให้วันนั้นเราเครียดแค่ไหน ธีมจะคอยกำหนดให้เตือนใจเราเสมอ ว่าวันนี้ต้องยิ้มได้แล้วนะ ถึงเครียดก็ขอให้วันนั้นเคลียความเครียดได้เร็วขึ้น และกลับมายิ้มให้มากขึ้น
🎯 5. สร้างเป้าหมายแบบ SMART
แม้ว่าเป้าหมายในแบบ SMART มักจะถูกใช้ในเชิงธุรกิจมากกว่า แต่ก็เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการตั้งเป้าหมายมากเช่นกัน โดยวิธีใช้งานมีดังนี้
👉 Specific ระบุสิ่งที่เฉพาะเจาะจง What, why, where, how
เช่น ปีนี้เราจะวิ่งมาราธอนให้ได้ 50 กิโลเมตร ภายในปี 2567 เพื่อพิชิตความฝันที่ค้างไว้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และปีนี้จะต้องเป็นจริง โดยจะเริ่มจากการฝึกซ้อมอาทิตย์ละ 3 วัน วันละ 2 ชม. หลังเลิกงาน ที่ฟิตเนสแถวบ้าน ซึ่งเราต้องศึกษาเทคนิคการวิ่งจากเทรนเนอร์ในฟิตเนสอย่างจริงจัง เป็นต้น
👉 Measurable ระบุสิ่งที่วัดได้ ว่าเราจะใช้ตัวชี้วัดอะไรบ้าง
เช่น สิ่งที่วัดได้คือปีที่แล้วซ้อมวิ่งน้อย 1 วันต่อเดือน ดังนั้นปีนี้ต้อง 3 วันต่ออาทิตย์ ซ้อมให้มากขึ้น เป็นต้น
👉 Attainable/Achievable ระบุสิ่งที่ทำได้ และสำเร็จ ต้องดูว่าเรามีทรัพยากรและเวลาเพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายได้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น ปีนี้เรามีเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม ดังนั้นจะมีเวลาพอสมควรในการไปวิ่งมาราธอนในเดือนพฤษภาคม 67
👉 Realistic ระบุความสมจริงของเป้าหมาย ที่สามารถทำได้จริง
เช่น การวิ่งมาราธอนให้ได้ 50 กิโลเมตร จะช่วยเพิ่มความมั่นใจ และสุขภาพของเราก็แข็งแรง และมีโอกาสต่อยอดไปวิ่งในรายการดัง ๆ เพื่อท้าทายตัวเองต่อไป
👉 Timely ระบุเรื่องของเวลา และเมื่อไหร่ถึงจะบรรลุ
เช่น ฉันอยากจะติด TOP 3 ในการวิ่งมาราธอนนี้ในอีก 5 เดือนข้างหน้า
ทั้งหมดนี้สามารถลองไปปรับใช้ตาม ‘สไตล์ความถนัด’ ของแต่ละคนได้ โดยขอแบ่ง Goal Tracking Spreadsheet ออกเป็น 2 แบบ
🎯 แบบที่ 1: Spreadsheet แบบ SMART
เป็น Spreadsheet ของคุณโอลิเวียที่เน้นใช้สำหรับการติดตามเป้าหมาย แสดงขั้นตอนการดำเนินการ มี Nextstep คอยบอกทุกกระบวนการความคืบหน้าทุกเดือน โดยแบ่งเป็น 5 หลักการ SMART
ตัวอย่างการใช้งาน Spreadsheet แบบ SMART
https://earlybirdstrategy.gumroad.com/l/BtuPF
🎯 แบบที่ 2 Spreadsheet แบบ สายย่อ
เป็น Spreadsheet ของคุณโอลิเวีย ที่ว่าเป็นสายย่อ หมายถึง ลดระดับความยุ่งยากลงมา บางคนอาจจะวางเป้าหมายแบบ SMART สำหรับงานระดับบิ๊กโปรเจกต์เท่านั้น แต่ถ้าเป้าหมายทั่วไปสามารถกำหนดได้จาก Spreadsheet นี้เลยโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่
👉 MY GOALS: เป้าหมายประจำปีมีอะไรบ้าง ?
👉 NEXT STEP: ขั้นตอนที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จ ?
👉 DUE DATE: กำหนดการของเป้าหมายสิ้นสุดวันไหน ?
ส่วนบรรทัดล่างสุดสามารถกำหนดธีมของเรา และแบ่งหมวดหมู่ของเป้าหมายเราได้ ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถดาวน์โหลด และดูตัวอย่างได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้
https://www.poweredbytofu.com/wp-content/uploads/2020/09/goal-setting-worksheet-pdf.pdf
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อน ๆ ทุกคน
เริ่มต้นวางแผนการทำใช้ชีวิต และการทำงานได้ตรงตามเป้าหมายกันน๊า 🥰 👍
แปล เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
ที่มา
- 2024 Goal Tracking Spreadsheet + My Goal Setting Framework
- SMART Goals Template
- goal-setting-worksheet-pdf.pdf