ชมอย่างไรไม่ให้เหลิง ตำหนิอย่างไรไม่ให้จม

Last updated on ส.ค. 2, 2019

Posted on ส.ค. 1, 2019

หากคุณทำงานมาสักระยะหนึ่ง ดูแลตัวเอง ผลงาน และสกิลต่าง ๆ ได้ดี องค์กรจะเริ่มมอบหมายให้คุณดูแลคนอื่นบ้าง เพราะเขารู้สึกว่าคุณทำหน้าที่ตรงนี้ได้ดีแล้ว การเติบโตขึ้นไปคือการที่จะได้เป็นหัวหน้านั่นเอง

การเป็นหัวหน้ามีสองเรื่องที่คุณต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่แค่การเข้าออฟฟิศมาแล้วสอนสกิลพื้นฐานทั่วไป คอยมอบหมายงาน ควบคุมทีมให้ทำงานตรงตามเวลาที่กำหนด ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องพื้นฐาน แต่สิ่งที่คุณจะต้องทำเป็นประจำคือการให้ feedback

การให้ feedback มีทั้งสองอย่างคือ feedback เรื่องที่ดีหรือเราชมเขา แต่ในขณะเดียวกันถ้าเขาทำเรื่องไม่ดีหรือทำข้อผิดพลาด คุณต้องเป็นคนตำหนิเขา เพราะว่าคุณเป็นคนที่ดูแลเขา คิดเสียว่ามีลูก มาดูว่าคุณชมอย่างไรไม่ให้ทีมเหลิง และจะตำหนิอย่างไรไม่ให้ทีมรู้สึกจม

เรื่องของการชม 

1.ชมในที่แจ้ง

การชมในที่แจ้งเรียกว่า เป็นข้อแนะนำ หากเราชมกันเป็นการส่วนตัว เขาดีใจไหม เขาดีใจแน่ แต่สิ่งที่จะไปได้ไกลกว่านั้นคือความภูมิใจ หากมีคนได้รับรู้ในเรื่องที่เขาทำได้ดีในเรื่องนั้นด้วย

แต่จะชมอย่างไรไม่ให้เหลิง เพราะว่าเมื่อชมแล้ว หากชมไม่ดีจะกลายเป็นว่าคนที่ทำรู้สึกว่ามาถึงเพดานข้างบน ไม่ต้องพัฒนาอะไรเพิ่ม เหลิงลอยไป แต่ในขณะเดียวกันส่งผลแง่ไม่ดีอีกอย่างคือ คนรอบข้างหมั่นไส้ แล้วอาจรู้สึกว่าเราที่คอยชมนั้นมีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับเขาหรือเปล่า ดังนั้นการชมที่จะทำให้ไม่ดูเหมือนยกยอปอปั้นจนเกินไป 

2. อย่าชมที่ตัวผมงาน แต่ให้ชมที่กระบวนการ

อย่าชมที่ตัวผลงาน แต่ให้ชมกระบวนการที่เขาทำจนสำเร็จ เช่น Sales of The Month การทำยอดขายสูงสุดคือผลงานของเขา เราอาจจะเริ่มว่าคุณต้นเป็นเซลประจำเดือนมิถุนายน ทำงานได้ดีมาก ผลงานของเขาที่ผ่านมาทำยอดได้… จากนั้นให้เขาพูดขั้นตอนในการทำงานอย่างไรจนทำยอดได้สำเร็จ

เราในฐานะผู้จัดการต้องคอยจับประเด็นด้วยว่า ขั้นตอนตรงไหนที่เขาทำแล้วมันดี ให้เขาพูดออกมาแล้วคอยเสริม จะทำให้คนอื่นที่ฟังอยู่จากที่จะหมันไส้ กลับรู้สึกว่ามีประโยชน์กับการที่หัวหน้าชมคนนี้แล้วให้เขาได้แชร์ขั้นตอนออกมา เป็นแรงบันดาลใจและยังให้ประโยชน์แก่เขาด้วย

นอกจากนั้น ต้องแชร์ขั้นตอนให้ด้วยว่าที่ทำได้สำเร็จเป็นเพราะอะไร เขาปรับปรุงตรงไหนเพิ่ม ซึ่งคนที่แชร์ออกมาก็ได้มีโอกาสทบทวนด้วยว่าตนเองทำอะไรดีขึ้นบ้าง ได้รับความภูมิใจ รู้สึกว่าเขาได้แบ่งปันให้คนอื่น และถ้าเขาทำได้อีกเขาก็จะสามารถมายืนตรงนี้ แชร์เรื่องที่เป็นประโยชน์และทำให้คนรู้สึกว่าเขามีประโยชน์ มีความก้าวหน้า เป็นไอดอลที่น่าสนใจมากขึ้นอีก ดังนั้นจะไม่ทำให้เขาเหลิงและถูกหมั่นไส้เมื่อคุณชมเขาที่ขั้นตอนที่ดีขึ้น 

3. สิ่งที่เขาทำส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

หากจะทำให้คำชมและเรื่องดีนี้ ดีขึ้นไปอีกระดับที่เป็นความภาคภูมิใจ คุณลองบอกเขาว่าการทำเรื่องดีเรื่องนี้ของเขามันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

เช่น บอกเขาว่ายอดขายเติบโตขนาดนี้นอกจากจะทำให้บริษัทมีรายรับเพิ่มมากขึ้นในเดือนหน้า ผลิตภัณฑ์ของเราทำให้ลูกค้าทั้งหมดยี่สิบราย มีพรินต์เตอร์และทำให้งานเอกสารของเขาผลิตออกไปได้เร็วกว่าเดิมถึง 10 เท่า คุณทำให้คนทั้งหมดประหยัดเวลามากขึ้นถึง 200 ชั่วโมง ทำให้เขารู้สึกว่าการทำยอดของเขาเปลี่ยนแปลงได้ขนาดไหน นอกจากทำให้ตัวเขาดีขึ้น เพื่อน ๆ ต่างก็มีเขาเป็นแรงบันดาลใจ รู้สึกอยากทำดีต่อไป จะไม่ทำให้เขารู้สึกว่าแค่นี้พอแล้ว แต่รู้สึกภาคภูมิใจและอยากพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ 

ดังนั้น เทคนิคการชมคือชมในที่แจ้ง ชมที่ขั้นตอนการกระทำไม่ใช่ที่ผลของงาน บอกเขาด้วยว่าสิ่งที่เขาทำเรื่องดีนี้ สร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรให้กับคนรอบข้าง

เรื่องของการตำหนิ

การตำหนิเป็นเรื่องดี คนกล้าที่จะเดินไปบอกใครสักคนให้ปรับปรุงเรื่องนี้ เป็นคนที่หวังดีกับเราจริง ๆ หากปล่อยไปเลยไม่มาพูดกันคงไม่ผิดใจ แต่เขากล้าที่จะเสี่ยงมาบอกเรา 

1. ตำหนิในที่ลับ 

หากชมในที่แจ้ง การตำหนิต้องทำในที่ลับ เพราะการตำหนิในที่ลับจะไม่ทำให้เขารู้สึกขายหน้า การที่คุณจะบอกเขาว่าสิ่งที่ทำไม่ดีนั้น ไม่ดีอย่างไร ควรลากเขาขึ้นห้อง ตอนนั้นอาจทำให้ทุกคนรู้ว่าสึกว่าโดนแน่ แต่การโดนแน่ไม่ใช่ถูกประจานออกมาหน้าคนอื่น หรือชี้หน้าว่าเขาให้จมดิน แต่คุณเลือกที่จะให้เกียรติเขาในการไปตำหนิในที่ลับ

2. เตรียมตัวให้พร้อมว่าคุณกำลังจะคุยเรื่องอะไร

หากเป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า คุณให้เขานั่งลงก่อน แล้วอาจจะขอเวลาสักพักที่จะลำดับให้ดีว่าสิ่งที่คุณกำลังจะคุยกับเขามีเรื่องอะไร ไม่แย่และไม่ดูน่าเกลียด และไม่ดูประหลาด 

3. ท่องในใจว่าคุณกำลังจะพูดเรื่องการกระทำของเขา

ท่องในใจว่าคุณกำลังจะพูดเรื่องการกระทำของเขา เช่นเดียวกับการชมที่ชมเรื่องการกระทำ ตำหนิก็ตำหนิที่การกระทำ ไม่ใช่ตำหนิที่ตัวเขา สมมุตบอกว่า  “ทำไมทำของหล่นกระจายขนาดนี้” กับ “ทำไมเป็นคนซุ่มซ่ามขนาดนี้” สองอย่างนี้ต่างกัน คนละประเด็นกัน ดังนั้นจึงต้องท่องไว้ว่ากำลังตำหนิที่การกระทำ

4. เลือกใช้คำที่กลางที่สุด อย่าใช้คำหยาบคาย 

ไม่ว่าปกติทุกวันจะพูดคำหยาบแบบใดก็แล้วแต่ เมื่อเป็นการตำหนิ เลี่ยงคำหยาบให้ได้มากที่สุด ไม่ใช่เลยก็ดี เพราะอารมณ์ ณ ตอนนั้น เราไม่รู้เลยว่าคำหยาบคายที่เราใช้ปกตินั้นจะเพิ่มอารมณ์หรือเปล่า จึงต้องควบคุมอารมณ์ของเราและควบคุฒอารมณ์ของเขาด้วย

5. ให้โอกาสที่เขาวิเคราะห์ตัวเอง

หลังจากวิธีข้างต้นแล้ว เราควรที่จะให้โอกาสเขาจะวิเคราะห์ตัวเอง เช่น ถามเขาว่าที่เขาทำของหล่นกระจายนั้นเป็นเพราะอะไร? แล้วให้เขาอธิบาย เขาอาจจะบอกว่าเลือกกล่องมาไม่ดี  แต่หากเขาไม่รู้ตัวเลยแล้วบอกว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่จะพลาด ก็ต้องคุยกันว่าสิ่งนั้นส่งผลกับคนอื่นอย่างไร เหมือนที่เราชมเขาว่าการทำดีของเขาส่งผลอย่างไร การกระทำที่ไม่ดีของเขาก็ส่งผลอย่างไรกับคนอื่นเช่นกัน การใช้คำชมและให้คำตำหนินั้นเหมือนกันเลยเพียงแค่เป็นเรื่องที่เป็นแง่ลบหรือแง่บวกเพียงเท่านั้น

โดยสรุป ชมในที่แจ้ง ถ้าตำหนิต้องทำในที่ลับโดยต้องทำลิสต์ให้เรียบร้อยว่าเราจะคุยเรื่องอะไรกับเขา และเคลียร์ความคิดตัวเองก่อนว่าเรากำลังจะตำหนิที่การกระทำ ไม่ใช่ตำหนิที่ตัวตนของเขา พยายามใช้คำที่สุภาพ เลี่ยงคำหยาบคาย ให้โอกาสเขาวิเคราะห์ว่าทำพลาดในเรื่องอะไร และคุยกันว่าเรื่องที่ทำพลาดส่งผลอะไรบ้าง และจะแก้ไขอย่างไรกันต่อ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนในระดับผู้จัดการและน้อง ๆ ที่ได้รับการตำหนิได้เข้าใจว่าคนเป็นผู้จัดการไม่ใช่ว่าจะรู้สึกดีที่ต้องคอยตำหนิ เป็นหน้าที่และเป็นผลดีกับคุณด้วยที่จะได้พัฒนาและเก่งยิ่งขึ้นไปจนคุณเป็นผู้จัดการเอง

ภาพประกอบบทความจาก Photo by Charles, Unsplash

ถอดความจาก: The Organice Podcast โดยคุณโจ้ ฉวีวรรณ คงโชคสมัย
ฟังแบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD, Spotify, PodBean

บทความที่เราแนะนำ

trending trending sports recipe

Share on

Tags