😍 วันหยุดยาวใกล้เข้ามาแล้ว!
ปัญหาคือจะจัดการงานตรงหน้าอย่างไรให้ทันก่อนวันหยุดดี
เราจะชวนทุกคนมาหาคำตอบ และวิธีการที่จะช่วยให้งานไม่ต้องมากวนใจเราในวันหยุดกัน!
คุณโจ้กล่าวว่าจากงานวิจัยระบุ 92% ของคนทำงานมักจะหอบงานไปทำที่บ้าน และวันหยุดก็ยังทำงาน! คนบางประเภทเจองานที่รักและให้พลังงาน ยิ่งทำงานยิ่งมีพลัง แต่ก็จะมีอีกกลุ่มที่ฝืนทำและเหนื่อยเกินไป แม้คุณจะรักงาน หรืองานจะรักคุณ ยังไงการพักผ่อนก็สำคัญมาก ๆ บางครั้งการหยุดพักสั้น ๆ พูดคุยกับเพื่อน หรือกินมื้อเย็นสนุก ๆ กับเพื่อน ๆ ได้ หรือจะเบรกเพื่อพักยาวก็ดีมาก ๆ เช่นกัน
แล้วเราจะวางแผนอย่างไร ให้วันหยุด
ได้หยุดจริง ไม่ใช่หยุดทิพย์! รวม 4 เทคนิคมาให้ปรับใช้กัน
🎯 1. ต้องรู้ล่วงหน้าเหมือนที่เรารู้ว่าปีใหม่จะหยุด ตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว
เวลาที่เราวางหยุดยาวเราจะต้องรู้ว่า มีแพลนวันหยุดอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น ปฏิทินวันหยุดที่หลาย ๆ เพจจะทำเพื่อเตรียมแพลนทริป! ต่าง ๆ ว่าปีถัดไปจะมีอะไรบ้าง ซึ่งเจ้าปฏิทินตัวนี้สำคัญมาก เราจะได้แพลนถูกนั่นเอง และการหยุดจะมี 2 แบบ คือหยุดตามราชการ และวันหยุดตามธนาคาร
นอกเหนือจากการหยุดตามประกาศ เราต้องมีวันหยุดของตัวเอง เช่น วันเกิดจะหยุด หรือ บางบริษัทมีสวัสดิการเพิ่มวันหยุดสำหรับวันเกิดก็มี, วันเที่ยวครอบครัวประจำปี, วันเช็งเม้ง หรือวันลาพักร้อนประจำปีของเรา สิ่งเหล่านี้เราต้องฝึกวางแผนให้ดี หรือจะวางตั้งแต่ต้นปีใหม่เลยก็ยิ่งดีมาก ๆ
🎯 2. กำหนดช่วงวันหยุด และช่วงเวลาที่ติดต่อได้ให้ชัดเจน
หลาย ๆ คนมักมีแจ้งไว้อยู่แล้ว ซึ่งน่ารักมาก ๆ แต่ใครที่ยังไม่เคยทำให้ลองกำหนดให้ชัดเจนว่าหยุดวันไหน และเวลาไหนให้ชัดเจน ส่งเป็นอีเมลให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้อง หรืออีกส่วนหากใครใช้แชตมากกว่าอีเมล ก็สามารถใส่ข้อมูล ‘ลา’ ใน Status หรือ ชื่อของเราในไลน์ ว่าหยุดนะ เช่น Joh Vacation Leave 1-5 Jan 2024 เป็นต้น
อีกส่วนที่สำคัญมาก ๆ คือ การพูดคุยกับคนในองค์กร ต้องแจ้งเสมอว่าจะติดต่อไม่ได้ รับสายไม่ได้ ช่วงเวลาของวันนี้นะ หรือเราจะไปต่างประเทศ TimeZone จะต่างกันกี่ชั่วโมง หรือทริปนี้เราต้องการพักจริง ๆ นะ ขออนุญาตไม่รับสายและกลับมาตอบอีเมล ตอบแชตวันที่เท่าไหร่ ซึ่งต้องบอกให้ชัดเจน คีย์สำคัญของเรื่องนี้คือ ‘ความชัดเจนในการบอกกล่าว’ การสื่อสารสำคัญ และไม่ต้องเกรงใจที่จะบอกสำคัญที่คุณต้องทำให้มันชัดเจน นั่นคือการรับผิดชอบความเกรงใจต่อผู้อื่น
🎯 3. ตัดสินใจให้เรียบร้อย งานไหนทำก่อน งานไหนทำหลังวันหยุด
คุณโจ้แนะนำมี Framework (ตารางไอเซนฮาวร์) โดยแบ่งเป็นตาราง 4 ช่อง ซึ่งแบ่งความสำคัญ และความเร่งด่วน
เทคนิคการประเมินวางแผนการทำงานช่วงวันหยุด
👉 อะไรที่สำคัญกับเร่งด่วน ‘ให้ทำทันที’ (DO)
👉 อะไรที่สำคัญกับไม่เร่งด่วน ‘ค่อยวางแผน’ (SCHEDULE)
👉 อะไรที่ไม่สำคัญ เร่งด่วน ’ให้มอบหมาย’ (DELEGATE)
👉 อะไรที่ไม่สำคัญ ไม่เร่งด่วน ‘ลด ละ เลิก’ (DELETE)
🎯 4. ต้องมี ‘อะไร’ หรือ ‘ใคร’ ทำงานแทนเราอยู่
การมีคนทำงานแทนเรา ก็มีความสำคัญ เพราะเมื่อเรารีวิวตัวเองจะสามารถเช็กได้ว่า งานอะไรสามารถมอบหมายให้คนอื่นได้ หรือช่วงวันหยุดงานเหล่านั้นเรามองแล้วว่า งานนั้นเหมาะกับใครเป็นพิเศษหรือไม่ ถ้ากรณีคุณเป็นหัวหน้า อาจจะลองมอบหมายงานให้น้อง ๆ ในทีม เพื่อขยายโอกาสให้เราไปเรื่องอื่นเพิ่มขึ้น และน้อง ๆ ก็จะได้พัฒนาความสามารถ ได้รับผิดชอบงานนอกเหนือจากเดิมที่ตัวเองเคยทำ ฝึกให้เขาเก่งขึ้น และทำให้น้อง ๆ ได้จัดระเบียบตัวเองด้วยเช่นกัน
หรือในกรณีถ้าคุณเป็นลูกน้องจะเริ่มมีระดับความเกรงใจมากขึ้น หรือระดับหัวหน้างานอาจจะเกรงใจขั้นสุด แต่สิ่งที่สำคัญไม่ให้รู้สึกว่าเราไปโบ้ยคนอื่น ไม่ว่าคุณจะอยู่ในระดับไหนก็ตามคือ “เราต้องเตรียมวางแผนให้เรียบร้อย และทำให้ชัดเจน” เช่น เดี๋ยวอีก 5 วันจะไม่อยู่ไปพักร้อน เราต้องเคลียตัวเองให้ชัดเจนว่า
👉 เราจะฝากงานอะไร เรื่องอะไร (ลำดับข้อให้ครบถ้วน)
👉 สิ่งที่เราจะฝากให้เขาดูแลมีเรื่องอะไรบ้าง แล้วคิดด้วยว่าทำไมถึงต้องฝากงานนี้ให้กับเขา
👉 แล้วเขายินดีที่จะรับไหม (ถ้าเกิดเขารับไม่ได้ เราจะได้มีเวลาวางแผน ว่าเราจะให้โปรแกรมอะไรทำแทนไหม หรือเราจะต้องเลื่อนออกไปไหม หรือจะต้องโยกมาทำก่อนที่จะหยุดหรือเปล่า)
อีกหนึ่งเคล็ดลับเพิ่มเติมจากคุณฟ้าที่รับชมไลฟ์ของเราคือ ‘อย่างเกรงใจ ตรงไปตรงมาดีที่สุด’ หรือครั้งหน้าเรายื่นมือช่วยเหลือเขาคืนบ้าง แลกกับการที่เค้าเคยช่วยเราซึ่งเรื่องนี้ก็สำคัญมาก ๆ ในการทำงานร่วมกัน
หวังว่าเรื่องราวนี้จะช่วยให้เพื่อน ๆ ทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการวางแผนใกล้หยุดยาวนี้ เพื่อให้วันหยุดได้ชาร์จพลังงานอย่างเต็มที่ 🥰 👍 ✈️
เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
ดูอีพีนี้เต็มรูปแบบได้ที่