AI (Artificial Intelligence) เป็นสิ่งที่คนพูดถึงกันมากในวงการไอทีและธุรกิจ หรือแม้แต่ฝ่าย Human Resources หรือ People management หลายคนอาจได้ยินว่าอีกไม่นาน AI จะเข้ามาแย่งงานของมนุษย์ บ้างก็ทำนายว่าภายใน 5-10 ปี
อย่างไรก็ตามในงาน TED Talk ผู้บรรยายชื่อ ไคฟู ลี (Kai-Fu Lee) ซึ่งเป็นผู้คิดค้น AI ในยุคแรก ๆ รวมถึงเป็นผู้คิดค้น Speech Recognition หรือการจดจำเสียงพูดของมนุษย์ให้กับ Apple ในปี 1991 เขากำลังจะมาบอกว่า AI ไม่ได้จะมาแย่งงานมนุษย์ แต่กำลังจะมาปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระต่างหาก
อย่างที่ได้เกริ่นไว้ว่า ไคฟู ลี คือคนที่เรียกได้ว่าเป็น AI Expert ย้อนกลับไปในปี 1991 เขาได้คิดเรื่องของ Speech Regocnition หรือการที่คอมพิวเตอร์สามารถจดจำเสียงของมนุษย์ได้ โดยในตอนนั้น Apple มี Feature หนึ่งที่เราสามารถพูดกับคอมพิวเตอร์ แล้วให้คอมพิมพ์พิมพ์ออกมาได้แทนการพิมพ์เอง ซึ่งนั้นคือ Speech Recogition
เขามองเห็นว่า AI กำลังเริ่มเป็นที่นิยมตั้งแต่ช่วงนั้นแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้ AI เป็นเชื้อเพลิงสำคัญ คือการค้นพบ Deep Learning จาก Data ซึ่งคือการที่ AI หรือหุ่นยนตร์เรียนรู้ได้ด้วยตัวเองและฉลาดขึ้นด้วยตัวเองไปเรื่อย ๆ จากข้อมูลจำนวนมาก พูดง่าย ๆ Deep Learning คือการให้อาหารหรือเชื้อเพลิงแก่ AI ถ้าเราเอาข้อมูลเกี่ยวกับภาพอาหารใส่เข้าไปเยอะ ๆ ทั้งกะเพรา ไข่เจียว ต้มยำ เยอะ ๆ นับล้านหรือสิบล้านรูป เมื่อมีหลายรูป หลายมุม AI จะเริ่มเรียนรู้ว่าไข่เจียวจะมีลักษณะเป็นวงกลม ผัดกะเพรามีสีน้ำตาล เป็นต้น พอได้เรียนรู้เมื่อเราเริ่มใส่รูปให้ AI เดา มันจะเริ่มเดาได้ หัวใจคือการใส่ข้อมูลเข้าไปเยอะ ๆ ให้มันสามารถเรียนรู้ได้
ปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถให้ AI วิเคราะห์เพลงได้ นักดนตรีสมัยก่อนอาจมีรูปแบบการแต่งเพลงที่ใช้ทำนอง คำร้อง ที่คนมีแนวโน้มจะชอบ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นทักษะของนักแต่งเพลง ซึ่งแม้ว่านักแต่งเพลงมีทักษะในส่วนนี้มากแต่ก็ไม่สามารถขยายหรือต่อยอดอะไรได้ การนำ AI เข้ามาก็เพื่อเรียนรู้คำร้อง ทำนอง แบบที่ทำให้เพลงนั้นดัง เป็นที่นิยม เมื่อจับทางได้ก็ให้ AI มาแต่งเพลงให้
ไคฟู ลี มองว่า อเมริกาชอบนำหน้าในเรื่องของการสร้างนวัตกรรมและการสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ สังเกตจาก Apple และ Google ส่วนจีนเป็นผู้ต่อยอดให้เกิดผลลัพธ์หรือ implementation โดยจีนอาจจะไม่ได้เก่งในการสร้างอะไรใหม่ ๆ แต่เก่งการต่อยอดสิ่งที่มีอยู่ ไคฟู ลี บอกว่ายุคนี้น่าจะเป็นยุคที่สนุก เพราะอเมริกาคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ส่วนจีนก็จะต่อยอดสิ่งที่มีอยู่
ปัจจุบันคนจีนบ้างานมาก การทำงานของจีนเรียกว่าเป็นการทำงานแบบ 9:9:6 คือ เข้างาน 9 โมงเช้า เลิกงาน 9 โมงเย็น (3 ทุ่ม) และทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ โดย 9:9:6 ที่จีนนับเป็นการทำงานแบบมี Worklife-Balance คือ ได้ทำงานบ้างและหยุดพักบ้าง แต่ถ้าที่ไหนทำงานโหดจริง ๆ คือแบบ 9:9:7 คือทำ 7 วันต่อสัปดาห์ นั่นคือไม่ได้หยุดเลย
ไคฟุ ลี บอกว่าสังเกตดูสินค้าหรือธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาจากจีนทั้งนั้น เช่น WeChat หรือ DJI ซึ่งตอนนี้จีนค่อนข้างเติบโตและพัฒนามาก ๆ อย่างตอนนี้ที่จีนเป็น Cashless หมดแล้ว จนตัวเลขของการใช้ Mobile Payment สูงกว่า GDP ของประเทสเสียอีก เพราะคนไม่ได้ใช้ Mobile Payment แค่การซื้อของ แต่ใช้โอนให้กันและกันด้วย ซึ่งการใช้ Mobile Payment หรือ Cashless ไม่ได้ให้กำไรแก่บริษัทที่ให้บริการเพียงอย่างเดียว แต่ให้ข้อมูลด้วย ช่วยให้บริษัทหรือรัฐบาลจีนรู้ว่าพฤติกรรมของประชาชนเป็นอย่างไร
ปัจจุบันนี้ข้อมูลเป็นเหมือน New oil สมัยก่อนการมีแหล่งน้ำมันเป็นอะไรที่มีมูลค่ามาก เพราะเป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ เพราะอย่างนี้ข้อมูลจึงเป็นเหมือนเชื้อเพลิงที่ช่วยเติมให้ AI ยิ่งฉลาดและเติบโตมากขึ้น
ไคฟู ลี บอกว่ามีอาชีพที่จะถูกแทนที่และไม่ถูกแทนที่ ชาร์ตเป็นเส้นแนวนอนลากยาวโดยเริ่มจากซ้ายเป็น
- Repetitive (งานทำซ้ำ ๆ)
- Routine (งานทำวน ๆ)
- Optimizing (งานมีประสิทธิภาพ)
- Complex (งานซับซ้อน)
- Creative (งานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์)
โดยงานที่จะโดนแทนที่ก่อนคืองานประเภท Repetitive ในอีก 5 ปีข้างหน้าจะถูกแย่งแน่นอน เช่น TeleSale, งานล้างจาน, Customer Support เป็นต้น เรียกได้ว่าถ้า AI สามารถฟังเสียงมนุษย์และตอบโต้ได้เมื่อไหร่ เมื่อนั้นเราจบ ล่าสุดประกาศจาก Google ว่าเขาสามารถให้ Google Assistance โทรไปจองร้านตัดผมได้ ซึ่งในอนาคตบริษัทประกันหรือเครดิตการ์ดที่ใช้การตลาดแบบ Telesales จะต้องถูกแทนที่แน่นอน
ต่อมากลุ่ม Routine เช่น คนขับรถบรรทุกหรือยาม ในอีก 10 ปี ไปแน่นอน ต่อมางานกลุ่ม Optimizing หรืองานประสิทธิภาพ เช่น Radiologist เป็นผู้ช่วยหมอหรือคุณหมอที่ดูฟิล์ม X-ray หรือพวก Research Analysis อีก 15 ปี ไปแน่นอน
แต่กลุ่มที่ปลอดภัยจากการถูกแทนที่ คือกลุ่มที่ทำงาน Complex และ Creative งาน Complex เช่น CEO คือต้องทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน เช่น ดูแลคน การเงิน ตัวเลข บริหาร การตลาด เป็นต้น
อีกกลุ่มคือ Creative เช่น Artist โดยอาชีพสุดท้ายที่จะหายไปคือ ตลก มันยากมากที่ AI จะคิดรูปแบบหามุกตลกได้ เพราะ AI ไม่มีอารมณ์ ตัวอย่างเช่น ลำไย เมื่อก่อนเป็นผลไม้ แต่วันนี้กลายเป็นศัพท์แสลง เราไม่มีทางรู้ว่าวันนึงลำไยจะแปลว่ารำคาญ AI ก็ไม่รู้ ตลกจึงเป็นอาชีพท้าย ๆ ที่จะโดนแทนที เพราะถือว่าเป็น Creative
แต่ ไคฟู ลี บอกว่าเขาหมกมุ่นกัน AI เรื่อย ๆ จนเขาพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 4 ระหว่างที่นอนโรงพยาบาลเขาก็อ่านหนังสือที่พูดถึงการสังเกต คนเขียนได้พูดถึงการพูดคุยกับคนไข้ที่นอนรอความตายบนเตียงว่า คนใกล้ตายเสียดายอะไรมากที่สุด อะไรที่เสียใจที่ไม่ได้ทำ คนไข้ไม่มีใครบอกเลยว่าเสียดายว่าเขาทำงานน้อยไป แต่ทุกคนบอกว่าเสียใจที่ไม่ได้ใช้เวลากับคนรักมากพอ
ไคฟู ลี เลยคิดว่าจริง ๆ แล้ว AI และมนุษย์อยู่ร่วมกันได้ เขาคิดว่า AI มาทำงาน Routine แทนที่มนุษย์นี้ล่ะ แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การที่ AI มาทำงานแทนมนุษย์ แต่ปัญหาอยู่ที่มนุษย์คิดว่าตัวเองต้องเกิดมาทำงานต่างหาก ต้องตื่นเช้าทำงานกลับเย็น นี่คือความเข้าใจผิด
ไคฟู ลี บอกว่าถ้า AI มาทำงาน Routine แทนที่เรา นั่นจะเป็นเรื่องดีมาก ๆ เพราะมันคือการปล่อยให้เราเป็นอิสระ และได้ทำงานที่สมควรจะทำ
ซึ่งงานที่เราควรจะทำคืออะไร? ไคฟู ลี บอกว่าตอนที่หุ่นยนตร์แข่งเกมโกะชนะ วันนั้นแชมป์โลกที่ถูกโค่นร้องไห้ แต่หุ่นยนตร์กลับไม่ได้รู้สึกดีใจที่แข่งชนะ หรือวิ่งไปกอดใคร มันไม่มีอารมณ์ความรู้สึก ดังนั้นงานที่มนุษย์ควรทำจริง ๆ คืองานที่เกี่ยวกับ Emphaty, Love, Compassion ไม่ใช่งาน Routine งานพวกนั้นปล่อยหุ่นยนตร์ทำไปดีกว่า AI กับมนุษย์ควรอยู่ร่วมกันได้ เพราะมีงานอีกมากมายที่ต้องการความรัก เช่น งานดูแลคนป่วย งานดูแลผู้สูงอายุ เมื่อประกอบกับการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุและการลดลงของการแต่งงาน คนโดดเดี่ยวมากขึ้น เดิมที่เราคิดว่าถ้าไม่มีลูกแก่ไปใครจะดูแล แต่ตอนนี้คนไม่มีลูกเยอะมาก ซึ่งธุรกิจเกี่ยวกับคนชรามาแน่ ๆ ไม่ใช่บ้านพักคนชราแต่เป็นธุรกิจดี ๆ แบบที่คนแก่มารวมตัวกัน มีเพื่อน ทำกิจกรรมร่วมกัน แม้ว่าคนแก่อาจจะอยากเจอลูก ๆ แต่ถ้าลูกยุ่งมากก็คงอยากอยู่กับเพื่อน พูดคุยเรื่องเก่า ๆ share common interest
ไคฟู ลี จึงบอกว่ามันมีงานหลายประเภทที่ AI จะเข้ามาช่วยเรา ช่วยวิเคราะห์ต่อยอดให้ดีขึ้น หรือมาแทนที่เรา สรุปแล้ว AI ถือเป็นสิ่งดีที่เราได้ค้นพบ ทำให้เราเป็นอิสระจากงานประจำ ทำให้เรารู้ว่าจริง ๆ แล้วการเป็นมนุษย์คืออะไร สิ่งที่เราควรทำที่สุดสำหรับการเป็นเพื่อนมนุษย์คืออะไร สุดท้ายอยากให้เราต้อนรับ AI และหันมารักเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อทำหน้าที่มนุษย์อย่างสมบูรณ์ที่สุด
ภาพจาก www_slon_pics, Pixabay
ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
บทความที่เราแนะนำ
- AI กับตำแหน่งงานที่หดหาย อีกสิ่งที่รัฐบาลต้องรับมือ
- อนาคตของมวลมนุษยชาติ กับ ยูวาล โนอาห์ ฮารารี ผู้เขียน Sapien
- Digital Transformation ต้องเริ่มที่คนไม่ใช่ที่เครื่องมือ