การรับคนเข้าทำงานที่ผิดพลาดของหัวหน้ามือใหม่

Last updated on มิ.ย. 4, 2019

Posted on มิ.ย. 3, 2019

จาก “ลูกน้องมืออาชีพ” สู่ “หัวหน้ามือใหม่” เลือกลูกน้องยังไงให้มีประสิทธิภาพ?

แน่นอนว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งของการทำงาน เราจะกลายร่างจาก “ลูกน้อง” สู่ “หัวหน้า” ที่มาพร้อมหน้าที่ความรับผิดชอบมากมาย ซึ่งหน้าที่หนึ่งที่เราต้องได้รับแน่นอนนั้นคือการหา “ลูกน้อง” นั่นเอง

แล้วส่วนมากเราเลือกลูกน้องจากอะไรกัน ? คุณท้อฟฟี่ แบรดชอว์ได้พูดถึงการหาลูกน้องไว้ว่า

“คนที่อยู่ในระดับหัวหน้าหรือเจ้าของบริษัท ที่จำเป็นต้องหาลูกน้องเพื่อขยายหรือสร้างทีม สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับคนเป็นหัวหน้าคือ เรามักจะมองหาคนที่เหมือนเรา หรือ มินิมี (Mini Me) ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราก็จะได้งานรูปแบบเดิม ๆ ที่ไม่หลากหลาย เพราะเมื่อหัวหน้าเสนอไอเดีย ไอเดียหนึ่งไป ทุกคนก็จะเห็นด้วยหมด”

แน่นอนว่าปัญหาการมองหาคนที่เหมือนกันของหัวหน้าเป็นปัญหาที่ไม่ธรรมดา Whitney Johnson เจ้าของหนังสือ Build an “A” Team: Play To Their Strengths and Lead Them Up the Learning Curve และนักเขียนแห่ง Harward Business Review หยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาเขียนเป็นบทความในหัวข้อ “3 Common Hiring Mistake New Manager Should Avoid” หรือ 3 ข้อผิดลาดที่ผู้จัดการมือใหม่ควรหลีกเลี่ยงในการจ้างคน

1. If only I could clone myself (ถ้าแค่ฉันจะสามารถสร้างอีกร่างของตัวเองขึ้นมาได้)

การจ้างลูกน้องที่เหมือนเรามากจนเกินไป นอกจากจะทำให้ไอเดียไม่หลากหลายซึ่งเป็นการทำร้ายทีมแล้ว ยังเป็นการทำร้ายลูกน้องในทีม เพราะเขาจะถูกจำกัดการเรียนรู้ (Learining Curves) จากการที่ทุกคนคิด และทำเหมือน ๆ กัน ทำให้งานที่ทำไม่แปลกใหม่

สิ่งที่ควรทำ:
อย่าจ้างคนที่เหมือนเรา แต่จ้างคนที่สามารถสร้าง คิดหรือนำไอเดียใหม่ ๆ มาให้ทีมได้ดีกว่า !

2. If only I could find someone to do all the  annoying stuff that I don’t want to do (ถ้าแค่จะมีใครสักคนมาทำงานที่ฉันไม่อยากทำ)

การจ้างคนหรือหาลูกน้องเพิ่มเพื่อมาช่วยงานเราเป็นเรื่องปกติ แต่การหาใครบางคนมาทำงานที่เราไม่อยากทำหรืองานขยะ (Junk Work) เป็นการทำร้ายและดูถูกลูกน้องทางหนึ่ง การจ้างเขามาทำงานในลักษณะนี้จะทำให้เขาถูกจำกัดการเรียนรู้ (Learining Curves) เพราะเขาอยู่กับงานขยะ งานที่ไม่สนุก ถ้าขนาดเรายังไม่อยากทำ เขาจะไปอยากทำได้ยังไง ซึ่งจะตามมาด้วยปัญหาการลาออก เราจะรักษาคนไว้ได้ยากขึ้น เพราะเขาเบื่อที่จะทำงานที่ไม่ได้พัฒนาความสามารถของเขา

สิ่งที่ควรทำ:
อย่าจ้างคนมาทำงานขยะให้เรา

3. If only I know how to do that (ถ้าแค่ฉันรู้ว่ามันทำยังไง)

นอกจากการจ้างงานเพื่อมาช่วยเราแล้ว เรายังจ้างคนที่เชี่ยวชาญในด้านที่เราไม่ถนัด เพิ่มมาเสริมทีมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่บางครั้งกลับกลายเป็นเราเองที่รู้สึกแย่เพราะคิดว่าเขาเก่งกว่า คิดว่าทำไมเขารู้แล้วเราไม่รู้ ซึ่งบางครั้งความคิดเหล่าพัฒนากลายเป็นความอิจฉาและอยากที่จะขัดขวางการทำงานของเขาในอนาคต

สิ่งที่ควรทำ:
ปรับ Mindset และทัศนคติ อย่าคิดว่าลูกน้องเก่งกว่า เราควรคิดว่า ถ้าเราไม่รู้เรื่องอะไร เราต้องพยายามรู้เรื่องนั้นให้ได้ด้วยการเรียนรู้ อย่าอายที่จะถามลูกน้องว่าทำยังไง เรียนรู้จากเขาไป เพราะสิ่งที่ดีอย่างหนึ่งคือเรารู้เรื่องที่เราไม่รู้ คนส่วนใหญ่มักจะรู้ว่าตัวเองรู้อะไร แต่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร

แน่นอนว่า 3 ข้อข้างบนไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้จัดการหน้าใหม่เท่านั้น แม้แต่คนที่เป็นหัวหน้ามานานแล้วก็ยังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่เหมือนกัน สุดท้ายนี้ Whitney ได้ฝากถึงหัวหน้างานทุกคนว่า หากเราจ้างคนโดยโฟกัสไปที่งานที่ต้องเสร็จ (Job-to-be-done) มากกว่างานที่ต้องทำ เราจะมีโอกาสพบเจอและจ้างคนที่ถูกต้องกับงาน มากกว่าการจ้างคนผิดงาน ผิดตำแหน่ง เราควรพยายามโฟกัสว่างานที่ต้องเสร็จจริง ๆ มันมีอะไร อย่ามองว่าจ้างให้เขามาทำอะไร

อ้างอิงจาก Harvard Business Review, Whitney Johnson

ติดตามฟัง Morning Call Podcast EP. อื่นได้ที่ SOUNDCLOUD และ SPOTIFY

trending trending sports recipe

Share on

Tags