บริษัทและองค์กรหลายแห่งเริ่มกลับมาเข้าออฟฟิศ 5 วันเช่นเคย นอกจากเราต้องปรับตัวเรื่องการเดินทางแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเรื่องของเพื่อนร่วมงาน คุณท๊อฟฟี่ แบรดชอว์และคุณบี-อภิชาติ เจ้าของเพจ HR THE NEXT GEN สองผู้จัดรายการ PEOPLESHIP ชวนคุณมาทำความเข้าใจมนุษย์ผ่านหนังทั้ง 4 เรื่อง
*มีการสปอยเล่าถึงเนื้อหาสำคัญของหนังทั้ง 4 เรื่อง*
American Beauty ปี 1999
แนะนำโดยคุณบี-อภิชาติ HR THE NEXT GEN
หนังที่ได้รางวัลออสการ์ชนะเลิศ 5 รางวัลในครั้งที่ 72 ทั้งสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม สาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยมและสาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม แม้จะเป็นหนังในยุค 1999 หรือเกือบยี่สิบกว่าปีมาแล้วแต่คุณบีเล่าว่า ที่หนังได้ออสการ์เพราะเรื่องราวตีแผ่สังคมของอเมริกันในช่วงนั้นได้ค่อนข้างดี ผู้ชายชนชั้นกลางมีครอบครัว แต่ครอบครัวก็เป็นครอบครัวที่พยายามที่จะทำให้คนอื่นๆ ยอมรับ เหมือนพยายามเป็นชนชั้นกลางที่พยายามทำให้เกิดการยอมรับจากคนรอบข้าง เช่นพยายามทำงานให้มีรายได้ที่ดี มีบ้านที่สวย มีภรรยาก็ต้องไม่ทำงานวันๆ ก็อาจจะนั่งปักดอกไม้ลงแจกันเฉยๆ หรือนั่งปักดอกกุหลาบที่หน้าสวนหน้าบ้าน แล้วก็มีลูกชายลูกสาวที่ดูเป็นครอบครัวที่อบอุ่น นั่นคือภาพที่ตัวละครผู้ชายอยากจะให้ชีวิตเป็นแบบนั้น
ผมมองตรงนี้ในสังคมไทยปัจจุบันนะโดนเฉพาะอย่างเช่นตอนนี้มีงานวิจัยหนึ่งบอกว่า Generation X บ้านเราในตอนนี้ เอาความสำเร็จของตัวเองไปเปรียบเทียบกับขนาดของบ้านที่ซื้อ ยิ่งบ้านหลังใหญ่แค่ไหน ยิ่งการดูแลครอบครัวของเขาดีแค่ไหนเนี่ย เขาจะยิ่งรู้สึกว่าเขาประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นโจทย์ที่มีความใกล้เคียงกันที่ทำให้ครอบครัวอบอุ่น แต่ครอบครัวของในหนังเรื่องนี้กลับอบอุ่นจากข้างนอก แต่ข้างในมันไม่อบอุ่นเลย สามีภรรยาก็เบื่อหน่ายกันมาเพราะว่าอยู่ด้วยกันมานานมาก ลูกสาวเองถ้าผมจำไม่ผิด ลูกสาวมีความเป็นเนิร์ดหน่อยๆ แอบชอบผู้ชายที่อยู่ฝั่งตรงข้ามบ้าน แต่ปรากฏว่าผู้ชายฝั่งตรงข้ามบ้านก็มีความเป็นโรคจิตคือแอบมองพ่อของบ้านหลังนี้
ผมเล่าไปอาจจะมีการสปอยเล็กน้อย ตัวเอกของเรื่องหรือชายชนชั้นกลางดันมีความรู้สึกดีๆ กับเพื่อนของลูกสาวตัวเอง มันเป็นความซับซ้อนที่มันเกิดขึ้น เขาพยายามประคองให้ทุกๆ อย่างออกมาดี เพราะฉะนั้นจะมีความลักลั่นอยู่ในนั้น วิธีการที่เราจะแสดงออกให้คนภายนอกรู้กับเวลาที่กลับมาอยู่ในพื้นที่ส่วนตัวของตัวเองแล้ว โดยปรกติจะเป็นอีกแบบหนึ่ง หนังเรื่องนี้ให้ข้อคิดกับผมเยอะมากเลย ในเรื่องของการที่จะแสดงออก ในเรื่องของวิธีการที่จะสอนครอบครัว รวมทั้งเป็นการตั้งโจทย์อันหนึ่งสำหรับทุกๆ คนด้วยการที่จะมองว่าทุกวันนี้จริงๆ แล้วเราพร้อมจะมีครอบครัวหรือเปล่า แล้วถ้าเกิดครอบครัวเรามีปัญหาเรามีความพร้อมมากแค่ไหนในการพูดคุยและสื่อสารกันเพื่อให้เราสามารถที่จะผ่านและต่อสู้ปัญหาไปด้วยกัน
The Devil Wears Prada ปี 2006
แนะนำโดยคุณท๊อฟฟี่ แบรดชอว์
หนังเรื่องนี้ทำให้เมอรีล สตรีป (นักแสดงนำของเรื่อง) เข้าไปอยู่ในใจของวัยรุ่นคนใหม่เลยด้วย เป็นเรื่องราวของหญิงสาวคนหนึ่งเพิ่งเรียนจบด้านการสื่อสาร อยากทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ ก็มีความตั้งใจแน่วแน่ว่าฉันจะทำงานเป็นสื่อมวลชนที่ดี พยายามสมัครหลายที่ก็ยังไม่มีที่ไหนเรียก กระทั่งวันหนึ่ง นิตยสารแฟชั่น ก็เรียกเข้าไปสัมภาษณ์ตำแหน่งผู้ช่วยบก.บห. มิแรนด้า พรีสท์ลี่ ซึ่งคือเมอรีล สตรีป คือ โอโหเป็นบอสที่โหดมากเวลามาถึงบริษัททุกคนจะโทรหากันส่งสัญญาณบอกว่า she is coming แล้วทุกอย่างต้องเรียบร้อย ทุกความผิดพลาดใดๆ ก็ตามเนี่ยคุณมิแรนด้าจะสามารถจะหยิบขึ้นมาแล้วแบบกรีดด้วยคำพูดต่างๆ ที่ฟังแล้วไปตายเลยดีกว่า
นอกจากคำพูดที่เชือดเฉือนแล้ว เขาเรียกร้องคุณภาพงานที่มากจากลูกน้อง จากคนรอบตัวด้วยในระดับที่ลูกน้องต้องพร้อมอยู่ตลอดเวลามีตัวเลือกให้เขาหนึ่งสองสามหรือแผนเอแผนบีแผนซี หรือบางครั้งแบบเขาต้องการสิ่งที่เราจะทำได้ยังไงแต่ว่าลูกน้องของมิแรนด้าต้องทำได้อะไรแบบนี้ ตอนที่ท๊อฟดูตอนที่เด็กกว่านี้เราก็จะได้มุมหนึ่งเรื่องการทำงานการอธิบายเพื่อความฝันของเราพิสูจน์ตัวเอง จะมีคำในหนังที่บอกว่าแบบคือตัวเอกตอนแรกเวลาที่เขามาทำงานทีนี้เขาจะรู้สึกว่ารอบตัวเขาตื้นเขินไปหมดเลย แต่ว่าตัวละครอื่นๆ รอบตัวเขาค่อยๆ ทำให้เขาเห็นว่างานที่ทำอยู่มันมีจุดประสงค์บางอย่าง
อย่างมีฉากหนึ่งผู้ช่วยของมิแรนด้าเขาพูดว่า คุณรู้ไหมว่า นิตยสารที่เราทำอยู่อาจจะมีเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่อยู่ในแบบต่างจังหวัดแอบอ่านอยู่ในโรงนาแล้วก็ฝันว่าวันหนึ่งเขาจะกลายเป็นดีไซเนอร์ มันคืองานที่ยิ่งใหญ่ครับแล้วในนิตยสารนี้เต็มไปด้วยศิลปินต่างๆ ดีไซเนอร์ ช่างภาพทุกคนที่ทุ่มเทเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน นั่นคืออยากทำเนื้อหาดีๆ อยากทำนิตยสารที่ดีที่ให้แรงบันดาลใจคนอ่าน แล้วเป็นบทบันทึกของกาลเวลา คือเขาจะขับเคลื่อนด้วยจุดประสงค์แบบนี้เลย อันนี้เป็นมุมที่เรารู้สึกว่าโหเก่งจังเลย
แต่ความรู้สึกที่มาดูตอนโตแล้วท๊อฟว่า เดวิลที่แท้จริงไม่ใช่มิแรนด้า ไม่ใช่ บ.ก ไม่ใช่หัวหน้า แต่ที่แท้จริงคือแฟนของนางเอก คือนางเอกเขาก็ต้องผจญอยู่กับวิกฤตชีวิตอะไรต่างๆ นานา ที่แบบทุ่มเทเพื่องาน เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาของการพิสูจน์ตัวเอง เขาพยายามอย่างที่สุดเลย อยากทำให้ทุกคนเชื่อว่าเขาทุ่มเทเพื่องานนี้จริงๆ อยากได้งานนี้จริงๆ และสมควรเป็นลูกน้องของมิแรนด้า แต่ในระหว่างนั้นแฟนเขาคือไม่ได้ให้กำลังใจอะไรเลย แล้วก็เรียกร้องอยู่ตลอดเวลา คือท๊อฟรู้สึกว่าพอเราโตขึ้น ถ้าเรามีแฟนที่เขาไม่ได้ให้กำลังใจเราในเรื่องหน้าที่การงานหรือวันที่เราเหนื่อยล้าจากการงานแล้วเรากลับมาแล้วเราพบว่าบ้านไม่ได้มีคนที่เข้าใจเรา เราเจ็บมาจากข้างนอกโดนมิแรนด้าใช้งานมาขนาดนั้น แล้วเรากลับมาที่บ้านเราพบคนที่ไม่เข้าใจเราเลยไม่รู้สึกเห็นอกเห็นใจหรือรับฟังอะไรเราเลย
รวมไปถึงเพื่อนของนางเอก เวลาที่นางเอกมีชีวิตที่ดี นางเอกเอาของต่างๆ จากนิตยสารแฟชั่นอย่างกระเป๋าแบรนด์เนมให้เพื่อนหมดเลย แต่พอเวลาที่นางเอกไปทานข้าวกับเพื่อนไม่ได้เพราะว่างานยุ่งมากเพื่อนทุกคนหันหลังมองหมดเลย แล้วบอกว่าเธอเปลี่ยนไป เธอไม่ได้ให้ความสำคัญฉันแล้วคือแบบพอเราดูหนังเรื่องนี้ ในบริบทที่โตขึ้น เราเห็นหนังลึกขึ้นว่าแบบที่จริงแล้วเราต้องการคนแบบไหนในชีวิตเรา แล้วเราได้ปฏิบัติกับเพื่อนที่ทำหรือเปล่า แล้วสมมุติเวลาครอบครัวเราเพื่อนของเราโซซัดโซเซมาเราได้ให้กำลังใจเราได้เป็นไหล่ให้เขาไหม หรือว่าเรายังคงเรียกร้องให้เขาทำเหมือนเดิมโดยที่แบบเราไม่ได้ให้อะไรเขาเลยอะไรแบบนี้
Up in The Air ปี 2009
แนะนำโดยคุณเก่ง-สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
ผมไม่เคยคิดว่ามีคนทำอาชีพนี้ ไม่เคยรู้ว่าพอเวลาบริษัทมีปัญหา ตัวเองมีหน้าที่ไล่คนออกแล้วก็มีแพ็กเกจให้
แต่ว่าที่ผมชอบหนังเรื่องนี้เพราะว่า ผมรู้สึกว่าผู้ชายคนนี้ทีแรกเขาเป็นคนที่อยู่คนเดียว ฉายเดี่ยวทำอะไรคนเดียวมาตลอด แม้กระทั่งมีลูกน้องมีมาช่วยเขาก็เหมือนไม่ค่อยจะแฮปปี้สักเท่าไหร่ แล้วก็สิ่งที่เขาก็เป็นนักบรรยายด้วย เขาบรรยายถึงเรื่องการที่มนุษย์เรามีอะไรที่อยู่รอบตัวมาตลอด ก็เหมือนกับการที่เรามีของอยู่ในเป้เยอะๆ เขาก็บอกว่าให้ลองจินตนาการดูสิ เราเอาของใส่เข้าไปในเป้ของเราเยอะมันหนักขึ้น เราเอารถยนต์ใส่ไปในเป้ก็ได้เยอะในนั้นอ่ะก็บอกหรือเอาบ้านใส่เข้าไปแล้วรู้สึกหนักขึ้น เราก็บอกเริ่มจะเดินไม่ไหวแล้ว รู้สึกชีวิตไม่อิสระอะไรแบบนี้ มันก็ทำให้คนดูคิดว่าถ้าเป้เราเบาลงเราก็อาจจะมีอิสระมากขึ้น
แต่ว่าพอตอนท้ายเรื่องกลับมาพีคตรงที่ว่า พระเอกคนนี้เขาต้องไปงานแต่งงานของน้องสาวแล้วปรากฏว่า แฟนน้องสาวซึ่งก็คือเจ้าบ่าวรู้สึกไม่อยากแต่งแล้ว ไม่แต่งดีไหมอะไรแบบนี้ก็เลยให้พระเอกไปคุยด้วยว่าการมีชีวิตคู่มันดีนะ อย่าตื่นตระหนกไป แล้วความน่าสนใจก็คือเจ้าบ่าวก็หันมาถามพระเอกบอกว่า แกจะรู้ได้ไงเมื่อแกเองยังไม่แต่งงาน แต่ว่าคือคำตอบของเขาเป็นสิ่งที่ผมชอบนะ ผมสปอยเลยแล้วกันนะว่าคนทุกคนต้องมี Co Pilot เขาบอกว่าถ้าเกิดสังเกตดูดีๆ ถึงแม้ว่าเขาจะอยู่คนเดียวก็ตามแต่ทุกโมเมนต์ที่เราประสบความสำเร็จ เราอยู่คนเดียวไหม ตอนที่เราประสบความสำเร็จ ซึ่งมันก็ทำให้ผมนั่งทบทวนนะ อย่างตอนที่เรารับปริญญาหรือว่าเราได้รางวัลหรือเราทำอะไรประสบความสำเร็จสักอย่าง เราไม่ค่อยได้อยู่คนเดียว ดังนั้นทางที่ดีเหมือนกับว่า มนุษย์เราถึงแม้จะโชว์ว่าเราอยากอยู่คนเดียวขนาดไหน แต่เอาเข้าจริงๆ เราก็ต้องมี Co pilot หรือมีคนร่วมคิดอีกคน และมีรายละเอียดระหว่างทางเยอะเลย
ซีรีส์ฮอร์โมนวัยว้าวุ่น ปี 2013
แนะนำโดยคุณบี-อภิชาติ HR THE NEXT GEN
ด้วยความที่เราเองชอบดูพฤติกรรมของคน แล้วพอเรื่องของฮอร์โมนซีซันแรกจะมีคาแรกเตอร์ของนักแสดงแต่ละคนวัยฮอร์โมนของเขาว่าเขาจะแอ็กชันมีพฤติกรรมแบบไหนกับฮอร์โมนที่แสดงออกช่วยวัยนั่น ในตัวละคร 6-7 คนเขาก็จะมีความโดดเด่นในวิธีการคิดใน midset ของเขาในเรื่องรูปแบบการนำเสนอของเขาในเรื่องเดียวกันที่แตกต่างกัน ผมเลยมองว่าอันนี้ทำให้กลับไปมองคนที่อยู่รอบตัวเราทั้งหมดเลยนะว่าแต่ละคนที่เขาแสดงพฤติกรรมแบบนี้ออกมา เพราะเขามีแบบนี้หรือเขามองอนาคตแบบนี้ออกมา เพราะฉะนั้นพฤติกรรมที่อยู่บนหน้าของเราเลยเป็นแบบนี้ ด้วยความที่คาแรกเตอร์เยอะๆ ตั้งแต่ซีซันหนึ่ง สอง สาม ที่ผมชอบถึงขั้นที่อันนี้จะมีบางคนรู้และหลายคนที่ไม่รู้นะที่มาของ HR the next gen ก็มาจากฮอร์โมน the next gen ซีซันสุดท้าย
My Best Friend’s Wedding ปี 1997
แนะนำโดยคุณท๊อฟฟี่ แบรดชอว์
ตัวนางเอกเรื่องนี้ก็คือคุณจูเรีย โรเบิร์ต เขามีเพื่อนผู้ชายอยู่คนหนึ่งซึ่งมีเส้นบางๆ ของความเป็นเพื่อนและความชอบพอกันอยู่ วันหนึ่งเพื่อนผู้ชายคนนี้ก็โทรมาบอกว่ากำลังจะแต่งงาน โจทย์ของจูเลีย โรเบิร์ต ตอนนั้นก็คือว่าฉันต้องไปยุติการแต่งงานของเพื่อนคนนี้ให้ได้ เพราะดูแฟนใหม่ของผู้ชายที่ฉันชอบก็ดูเป็นผู้หญิงที่ไม่น่าค่อยเข้ากับผู้ชายคนนี้ได้เลย ฉันรู้จักกับผู้ชายคนนี้มาตั้งนาน รู้ไส้รู้พุงกันหมดเลยว่าผู้ชายคนนี้ต้องการอะไรแต่ผู้หญิงคนนั้นเขาเหมาะอะไร
แต่ว่าในระหว่างทางของความอลเวงต่างๆ ตัวของจูเรีย โรเบิร์ต เองก็ได้เรียนรู้เหมือนกัน จริงๆ เป็นตัวร้ายเราที่เกลียดไม่ลง และสิ่งที่จะบอกก็คือว่า บางทีเวลาเราเห็นคนเพียงมิติเดียวอย่าง จูเรีย โรเบิร์ต ที่เขาตัดสินตั้งแต่แรกว่าผู้หญิงคนนี้ไม่เหมาะสมกับเพื่อนเขาหรอกหรอก ก็เหมือนกับเวลาที่เราคิดหรือเรามีไบแอสกับใคร เราจะเห็นแต่ข้อเสียของเขา พอเราดูหนังเขาได้ค่อยๆ เรียนรู้ไปมากขึ้นครับ
ท้ายสุดแล้วจูเลียก็พบว่า การที่เขาเปลี่ยนผู้หญิงคนนี้ไม่ได้มีประโยชน์ต่อตัวเขาเองและไม่ได้มีประโยชน์ต่อผู้ชายคนนั้น ไม่ว่าผู้หญิงคนนั้นจะแย่แค่ไหนหรือไม่เหมาะสมแค่ไหนก็ตามนั้นไม่ได้ทำให้ตัวผู้ชายกลับมารักจูเรีย โรเบิร์ต ที่สำคัญยิ่งไม่ได้ทำให้จูเรีย โรเบิร์ต ดูดีขึ้นมาเลยด้วยซ้ำจากการที่ทำให้คนดูแย่ แต่วิธีการเล่าเรื่องของเขามันสนุก แล้วก็ตัวละครที่ท๊อฟชอบอีกคนหนึ่งก็คือ เพื่อนของจูเรีย โรเบิร์ต ที่แสดงโดย รูเพิร์ต เอเวอเรสต์ คือจอร์จจะเป็นคนที่คอยเตือนสติของนางเอกอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าวิธีการเตือนเขารู้อยู่แล้วว่านางเอกจะต้องลงเหวแน่นอน แต่เขาถือว่าบอกแล้วนะเตือนแล้วนะ ถึงอย่างนั้นไม่ว่าเธอจะลงเหวจากอะไรก็ตามจะมีฉันคอยอยู่ข้างๆ นะ
เรื่อง : CREATIVE TALK
ภาพ : สุธาทิพย์ อุปสุข
บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ
- ชวนดู 5 สารคดีดีไซน์ฟรีจาก Gary Hustwit ผู้สร้างสารคดี Helvetica อันโด่งดัง
- การกลับมาของ Drive-In Theater โรงหนังกลางแจ้งที่รักษาระยะห่างระหว่างชมภาพยนตร์
- ‘41 Shots’ ย้อนรอยคดีดัง(ที่เคย) ปลุกกระแสต่อต้านความรุนแรงทางสีผิวในสหรัฐ