Share Rate คืออะไร แล้วทำไมนักการตลาดต้องรู้?

Last updated on เม.ย. 1, 2024

Posted on มี.ค. 4, 2021

การแชร์ (Share) เป็นปฏิสัมพันธ์กับโพสที่นักการตลาดทุกคนต้องการ เพราะด้วยมูลค่าที่สูงกว่า Engagement อื่นอย่าง Reaction (Like/Love/Haha/Wow/Angry) และการแสดงความคิดเห็น (Comment) สาเหตุสำคัญเพราะการที่คนจะแชร์โพสออกไปได้นั้น พวกเขาต้องรู้สึกชอบเนื้อหาโพสและแบรนด์นั้นจริงๆ จนมากพอที่จะบอกต่อให้กับเพื่อนของเขาต่อ 

ซึ่งในบทความนี้เราจะเน้นเรื่องการแชร์ต่อความรู้สึกดีๆ นะครับ เพราะหากเข้าเรื่องความไม่พอใจของผู้บริโภคบนสื่อ social media มันจะมีรายละเอียดเยอะมากจนขยายความได้อีกหนึ่งบทความเลยทีเดียว

นอกจากนั้นการแชร์ถือว่าเป็น Stage ของ “Advocacy” ในการทำการตลาดดิจิทัล หากลองกลับไปดูเรื่องของ Marketing Funnel แล้วจะพบว่า Advocacy คือขั้นที่อยู่ต่อจาก Conversion อีกที (Marketing Funnel: Awareness > Consideration > Conversion > Advocacy) 

ความหมายก็คือหลังจากลูกค้าได้ใช้สินค้าหรือบริการของเราไปแล้วเกิดความรู้สึกประทับใจจึงบอกต่อ (บางสำนักจะมีเรื่องของ Loyalty Stage ขึ้นมาด้วย ซึ่งอยู่หลัง Conversion และก่อน Advocacy)

(Advocacy คือการที่กลุ่มเป้าหมายของเราทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงในการบอกต่อ แนะนำบทความอ่านเพิ่มเติม : ตั้ง KPI การทำ Social Media Marketing ด้วย Audience Experience 4 แกน)

Share Rate คำนวณอย่างไร?

Share Rate คือการคำนวณว่าโพสหนึ่งชิ้นเมื่อมี Interaction เกิดขึ้น ซึ่งคือการกด Reaction, Comment, Share สัดส่วนของการแชร์เทียบกับ Interaction ทั้งหมดจะเป็นเท่าไหร่

ยกตัวอย่าง 

หากโพสต์นั้นมีการกด Reaction เท่ากับ 200 มี Comment เท่ากับ 15 และมีจำนวน Share เท่ากับ 8 ดังนั้น Total Interaction ของโพสต์นั้นคือ การนำ Reaction, Comment และ Share มาบวกกัน ซึ่งจะได้ 200+15+8 = 223

การหา Share Rate คือ เอายอด Share ตั้งหารด้วย Total Interaction คูณด้วย 100

จากตัวอย่างข้างบนเมื่อคำนวณแล้วเป็นดังนี้ (8/223) x 100 = 4
เพราะฉะนั้น Share Rate จะได้เท่ากับ 4%

โดยทั่วไปค่า Share Rate ควรอยู่ที่เท่าไหร่?

จากข้อมูลของ TWF Agency โดยเฉลี่ยรวมทุกอุตสาหกรรมไม่แยกประเภทของโพสต์ ค่าเฉลี่ย Share Rate (Average Share Rate) จะอยู่ที่ 3.15%

อย่างไรก็ดี Share Rate ของโพสต์แต่ละเพจขึ้นอยู่หลายปัจจัย เช่น ความน่าสนใจของเนื้อหาต่อกลุ่มเป้าหมาย ประเภทของโพสต์ (Video, Photo Album, Single Photo, Status Post) หรืองบโฆษณา 

นอกจากนั้นโดยปกติแล้ววิดีโอมักจะได้ Share Rate สูงกว่า Format ประเภทอื่นเป็นต้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง “วิดีโอยิ่งยาว ยิ่งได้ปฏิสัมพันธ์ที่ดีจากคนดูบน Facebook มากกว่า”)

Share Rate ไม่จำกัดแค่ Facebook

จริงๆ แล้วการ Retweet บน Twitter ก็ถือว่าเป็น Action ของการแชร์แบบหนึ่งเช่นกัน ไม่ว่าจะอยู่บน Social Media Platform ไหน หากมีการบอกต่อ โพสต์ต่อ ส่งต่อ เรียกได้ว่าเป็นการแชร์ด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นเราสามารถนำผลรวมของ Interaction ของโพสต์ในแต่ละ Platform มาหาค่า Share Rate ได้เช่นกัน

นักการตลาดทุกท่านสามารถคำนวณ Share Rate เพื่อวัด Performance Social Media ของตัวเองได้นะครับ แล้วนำของเดือนก่อนหน้านี้มาเทียบกับเดือนปัจจุบันได้เช่นกันเพื่อดูว่า Share Rate เราดีกว่าหรือแย่กว่าอย่างไร หรือสามารถนำไปตั้งเป้าได้ว่าในเดือนถัดไปเราอยากให้ Share Rate เพิ่มขึ้นเท่าไหร่เป็นต้น 

ลองนำไปใช้กันดูนะครับ

คุณณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา Chief Digital Officer & Co-Founder at The Flight 19 Agency

เรื่อง: ณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา CEO & Co-Founder TWF Agency

trending trending sports recipe

Share on

Tags