ศาสตร์แห่งการ “ขอโทษ” เมื่อไหร่ที่ควรขอโทษ และเมื่อไ

Last updated on ส.ค. 13, 2021

Posted on ส.ค. 13, 2021

ก่อนที่จะคุยถึงคำว่า “ควร” หรือ “ไม่ควร”​สิ่งแรกที่อยากเน้นมาก ๆ คือ

คำว่าขอโทษ แม้จะเป็นคำเล็ก ๆ แต่เมื่อพูดออกไปแล้ว “เราไม่มีทางนำมันกลับคืนมาได้”

คำนี้ศักดิ์สิทธิ์ไม่แพ้คำสัญญา
แต่คำว่าขอโทษนั้นน่าสนใจตรงที่คำเล็ก ๆ แค่นี้ แต่คนจำนวนไม่น้อย “ไม่ยอมพูด” และมีคนอีกไม่น้อยเช่นกันที่ “พูดบ่อยเกินไป”

เมื่อไรก็ตามที่คุณพูดคำว่าขอโทษ เมื่อนั้นจะทำให้มุมมองของคุณต่อคนอื่นดู “ซอฟท์” ลง
สำหรับคนที่ไม่เคยขอโทษ จากเดิมที่เป็นคนแข็งกร้าว ก็จะกลายเป็นคนที่ดูเข้าถึงมากขึ้น มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น แต่ในทางกลับกัน สำหรับคนที่ขอโทษบ่อยเกินไป ก็อาจจะทำให้ดูอ่อนแอ จนขาดภาวะผู้นำ ดังนั้นเราจึงควรขอโทษ เท่าที่จำเป็น

บทความหนึ่งใน HBR บอกว่า
เราควรขอโทษเมื่อ..

  1. ความผิดนั้นเป็นของเราจริง ๆ
  2. ความผิดนั้นเป็นของทีมที่เรารับผิดชอบจริง ๆ
  3. คำขอโทษนั้นจะเป็นการสมานฉันท์ให้กับคนในทีม (กรณีที่หนึ่งในทีมทำผิดพลาด)
  4. คำขอโทษนั้น ทำให้คนภายนอกรู้สึกดี

แต่ทั้งนี้คำขอโทษ ไม่ควรเป็นแค่ “คำพูดลอย ๆ” ขอไปที พูดให้ “จบ ๆ” ไป แต่คำขอโทษควรมาพร้อมกับ “ความรับผิดชอบ” และคำสัญญาที่บอกว่า “จะไม่ให้สิ่งนี้เกิดขึ้นอีกครั้ง”

หนึ่งในคำขอโทษที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งคือ การแถลงของประธานาธิปดี บิล คลินตัน กรณีความสัมพันธ์ลับกับโมนิกา ลีวินสกี้ ในปี 1998 ในการแถลงครั้งนั้นคลินตันกล่าวว่า เขารับรู้ว่าเป็นความผิด และเขา “Regret” เสียใจ และพร้อมจะทำทุกสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เขาหวังว่าทุกคนจะให้อภัย และเดินหน้าต่อไป

คำขอโทษไม่จำเป็นต้องดูอ่อนแอ ต้องไม่มากเกินไป ไม่จำเป็นต้องฟูมฟาย แต่การยอมรับผิดอย่างจริงใจ ความรับผิดชอบ และความตั้งใจที่จะไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่างหาก ที่สำคัญกว่า

ดังนั้น.. ต่อไปนี้ คิดให้ดี ก่อนจะพูดคำว่าขอโทษ ..

trending trending sports recipe

Share on

Tags