ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของผู้คน สภาพสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่รวดเร็วแบบไม่อาจคาดการณ์ได้ ไหนจะวิกฤตโรคระบาดและผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามมา องค์กรต่างๆ และบรรดาพนักงานจะปรับตัวอย่างไรให้รับมือได้โดยที่ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง…
มีประมาณการณ์ไว้ว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า ทักษะในด้านสังคมและอารมณ์ความรู้สึกจะเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ กว่า 25% (ซึ่งเป็นทักษะที่เครื่องจักรไม่สามารถเชี่ยวชาญไปกว่ามนุษย์ได้) และมี research จากสถาบัน McKinsey ที่พบว่านับแต่ปี 2030 เป็นต้นไป พนักงานกว่า 107 ล้านคน อาจต้องเปลี่ยนแปลงอาชีพของตัวเอง
การสร้างให้พนักงานมีความยืดหยุ่นและเตรียมพร้อมกับอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่หลายองค์กรควรปรับใช้และบทความนี้ ก็มี 3 กุญแจสำคัญ สำหรับองค์กรที่อยากปรับตัวให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้
1. ใช้ทักษะการจัดการของมนุษย์และการวิเคราะห์ข้อมูลของ AI ตีกรอบปัญหา
มีผู้นำองค์กรจำนวนไม่น้อยที่ไม่มั่นใจว่าเมื่อไหร่ ที่พนักงานของพวกเขาจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง แล้วยิ่งถ้าเรามีงานจำนวนมากและมีพนักงานในบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างมากด้วย เราควรจะเริ่มต้นจากตรงไหน?
ในปัจจุบัน ทั้ง AI และทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล หรือ data analysis กลายมาเป็นสิ่งสำคัญของการทำงานในหลายอุตสาหกรรม และเพื่อรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ สิ่งที่บริษัทควรทำคือสรุปรายการของทักษะต่างๆ ที่บริษัทมีอยู่ ซึ่งได้จากการผสมผสานทั้งทักษะการทำงานของมนุษย์และ AI เพื่อ list ถึงทักษะสำคัญขององค์กรที่เปลี่ยนไป
ทักษะสำคัญที่รวบรวมมาคือข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนเรื่องของ demand และ supply สำหรับบทบาทหน้าที่ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันและส่วนที่จำเป็นต้องมีในอนาคต ใช้ database ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ด้วยการค้นหาว่าทักษะไหนที่สำคัญที่สุดกับความสำเร็จในระยะยาวของบริษัท ขณะเดียวกัน ก็ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้เพื่อปักหมุดและตีกรอบขอบเขตปัญหาหรือสิ่งที่กังวลในเวลานี้ เพื่อแก้ปัญหาและเตรียมทางออกสำหรับอนาคต
2. สร้างโปรแกรมพิเศษเพื่อยกระดับทักษะของพนักงานที่มีอยู่
บางบริษัทสร้าง Unit พิเศษขึ้นมาในองค์กรเพื่อจัดการสิ่งต่างๆ ให้เข้าที่เข้าทาง และปรับสเกลใหม่
ซึ่ง Unit พิเศษเหล่านี้มักนำโดยสมาชิกในบริษัทที่มีความสามารถระดับหัวกะทิ ให้มารับหน้าที่จัดสมดุลระหว่างทักษะที่มีอยู่และทักษะที่เป็นที่ต้องการขององค์กร และในกรณีที่บทบาทหน้าที่บางอย่างที่มีอยู่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลง สิ่งที่องค์กรควรทำคือเสนอหลักสูตรที่จะช่วยให้พนักงานได้รับทักษะที่จำเป็น และมันจะเป็นการเพิ่มทักษะเพื่อให้พนักงานดั้งเดิมได้ทำงานต่อไปในองค์กร
บางบริษัทที่ประสบความสำเร็จเลือกใช้การยกระดับ skill หรือจัดทักษะให้เหมาะสมกับพนักงาน ซึ่งได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป การปรับทักษะการทำงานใหม่ จึงถือเป็นการลงทุนกับพนักงานที่มีความสามารถ และเพื่อสนับสนุนการแนวทางการเติบโตของบริษัทด้วย
3. มองทุกอย่างแบบองค์รวมให้เห็นถึงปัญหา และลองตั้งคำถามกับมายด์เซ็ตที่เคยมี
แม้บางครั้งการมองเห็นปัญหาบางอย่างอาจช้าเกินไป หรือยากเกินไปที่จะรับมือให้ทันกับความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า แต่หากผู้นำองค์กรเต็มใจที่จะตั้งคำถามกับสมมติฐานเดิมๆ ที่เคยมี หรือเปิดใจที่จะตั้งคำถามกับมายด์เซ็ตดั้งเดิมที่เคยยึดถือในการขับเคลื่อนองค์กรมาโดยตลอด อาจช่วยให้องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงและก้าวไปข้างหน้าได้
นอกจากนั้นแล้วการที่องค์กรคาดการณ์เองว่าพนักงานต้องการอะไร หรือคาดการณ์ว่าพวกเขามีศักยภาพในเรื่องไหนบ้าง อาจลองปรับเป็นการสอบถามพวกเขาโดยตรง หรือสร้างกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อค้นหาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวพวกเขา
และการเปิดมุมมองใหม่และปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก พร้อมกับมองหา partner ที่จะช่วยแลกเปลี่ยนและส่งเสริมสิ่งที่องค์กรขาดหายก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพาให้องค์กรดำเนินต่อไปข้างหน้า
ฟังรายการ The ORGANICE 188 - พัฒนาทักษะอย่างไร ให้ทันกับสถานการณ์ที่ผันผวน โดย ฉวีวรรณ คงโชคสมัย