เจาะลึกชวนดูเบื้องหลังรุ่นพี่สตาร์ทอัพไทยทั้ง 3 ท่าน ผู้มาก่อนกาล
ในหัวข้อ Start Stage: Start, Build and Launch your Startup
จับเข่าคุยกว่าจะเป็นธุรกิจที่หลายคนรู้จัก ลูกค้าไว้ใจ และมีโครงสร้างทีมที่แข็งแกร่งแบบนี้ พวกเขามีจุดสตาร์ทก่อนอัพ(เลเวล) ได้อย่างไร
💡 ถ้าเราจะเริ่มต้นทำ Startup ในยุคนี้ และยุคก่อนแตกต่างกันอย่างไร ?
👉 คุณตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta ได้พูดถึงในยุคสมัยปัจจุบันมี Solution มากมายที่จะสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้เร็วมาก ยุคนี้มีระบบ Cloud มีเทคโนโลยีเกิดใหม่มากมาย และที่สำคัญเวลาจะเปิดธุรกิจ หรือจะทำอะไรสักอย่าง สมัยนี้มีเครื่องมือที่ตอบโจทย์
เช่น สมมุติว่า Instagram มีพนักงาน 13 คน ทีม Developer ทำเรื่องของ Filter ในแอป ส่วนนอกนั้นเรื่องของการประมวลผล การจัดเก็บใช้ AWS (Amazon Web Services) เป็นระบบคลาวด์แบบครบวงจร ซึ่งในปัจจุบันมีระบบคลาวด์ให้เลือกหลากหลายเจ้ามาก และที่สำคัญคือราคาในตลาดต่ำลง หรือราคาถูกลงเรื่อย ๆ ซึ่งเหมาะมาก ๆ ในการเริ่มต้นธุรกิจที่ไม่ต้องใช้คนเยอะ แต่นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในองค์กร
ในความง่ายก็มีความยากซ่อนอยู่ แน่นอนว่ายิ่งเทคโนโลยีเข้าถึงง่าย การเกิดใหม่ของธุรกิจก็มีมากขึ้น คุณต้องมีคู่แข่ง, แอปมือถือปัจจุบันมีมากขึ้น, มีการแย่งเวลาลูกค้าการเข้าแอป เข้าเว็บ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ (Eyeballs) มากยิ่งขึ้น แล้วเราจะทำอย่างไรให้เป็น Top of mind ดังนั้นถ้าคุณจะเข้าไปแข่งขันในตลาด คุณต้องโดดเด่น ดีกว่า เร็วกว่า คุณต้องหาให้เจอ หรือถ้าคุณเป็น Zero to One คือการสร้างนวัตกรรมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คุณต้องแตกต่างมาก ๆ ที่ Blue Ocean ยังไม่มีใครเคยทำ
👉 คุณอมฤต ฟรานเซน CBDO and Co-Founder Appman Co., Ltd. มองว่าจากจุดเริ่มต้นทำธุรกิจในสมัยก่อนเรามีต้นทุนชีวิตน้อยมาก มันจึงเกิดการลองผิดลองถูกค่อนข้างมาก เพราะเราไม่ได้ลงทุนเยอะ แต่ในปัจจุบันเราอยู่ในจุดที่ยากขึ้นมาก ในปัจจุบัน Cost Acquisition ต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการหาลูกค้ามันมากขึ้น สมัยก่อนอาจจะจ่ายแค่หลักพันหลักหมื่นต้น ๆ แต่ปัจจุบัน Cost Acquisition แพงกว่านั้นมากบางครั้งเป็นหลักล้านก็มี
หลักการที่คุณอมฤต ฟรานเซน ยึดไว้เสมอคือ ‘เราจะไม่ทำไว้ก่อน’ หมายถึงเราจะไม่มีทางทำ Solution ใด ๆ ก็ตามถ้าเราไม่สามารถยึดตลาดนั้นได้ ดังนั้นทุกวันนี้เวลาทำงานกับทีม Sale จะเริ่มจาก ‘Email Marketing’ ว่าคนจะกลับมาหาเราไหม ใน Solution ที่เสนอไป แม้กระทั่งเวลาทำสไลด์เพื่อไป Pitching กับลูกค้าก็จะบอกเสมอว่า เราจะทำสิ่งนี้นะ เพื่อดูภูมิ หรือความต้องการของลูกค้าว่าเขาอยากได้ขนาดไหน ยิ่งเขาเร่งเราเท่าไหร่แสดงว่า Pain Point นี้มีโอกาส แต่ถ้าเงียบหายไปแสดงว่า Pain Point อาจจะไม่ตอบโจทย์ผู้คนขนาดนั้น
ดังนั้นทุกครั้งที่เราจะเข้าไปตีตลาดใหม่ สิ่งสำคัญคือเราเจอ Pain Point ที่แท้จริงแล้วหรือยัง การจะคิด Solution ใหม่ ๆ สิ่งสำคัญคือต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
💡 สรุปภาพรวม
สิ่งที่เห็นได้ชัดของการทำธุรกิจในสมัยนี้ และสมัยก่อน โดยคุณยุทธนา ศรีสวัสดิ์ President at Thai Startup สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย กล่าวไว้อย่างน่าสนใจในเรื่องของ ‘Application’ เมื่อก่อนสมัยที่ Appstore มาใหม่ ๆ แอปยังไม่เยอะ แต่ปัจจุบันต้นทุนในการโหลดแอปแพงขึ้นมาก คู่แข่งก็มากขึ้น หรือในปัจจุบันมีรับจ้าง ASO (App Store Optimization) ในการทำให้แอปติดหน้าแรก
🎯 จะทำสตาร์ทอัพในยุคนี้ต้องเริ่มจากอะไร
👉 เราต้องรู้ Pain Point ที่แท้จริงของลูกค้า
คุณ คุณอมฤต ฟรานเชน ได้แชร์ประสบการณ์ Fail และสูญเสียเงินไปมากกว่า 2 ล้านบาท จากการที่ไม่ได้เข้าใจ Pain Point ที่แท้จริงของลูกค้า สิ่งสำคัญคือการลงไปดูตลาด สำรวจตลาด ต้องรู้ว่าลูกค้าของคุณมีปัญหาอะไร จะแก้ด้วยอะไรได้บ้าง ถ้าคุณไม่เจอ Pain Point คุณห้ามเริ่มทำ เพราะถ้ายิ่งเราฝืนทำ โอกาสผิดพลาดจะง่ายมาก
👉 ต้องรู้จักตลาดในปัจจุบัน
จะทำธุรกิจต้องศึกษา ต้องรู้มูลค่าในตลาดปัจจุบัน, กลุ่มลูกค้าของเราเป็นเพศอะไร, อายุเท่าไหร่ ต่อให้เราอยู่ในตลาดที่ใหญ่มากพอ ถ้าคุณมีเงิน มีเวลา ต่อให้คุณเปลี่ยนโปรดักต์หลาย ๆ รอบ ถ้ามันใช่ปุ๊บมันจะโตไวมาก ตัวอย่างเช่น Airbnb อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งตอนแรกเขาก็ไม่เคยคิดว่าจะใหญ่โตได้ขนาดนี้ แต่พอมันติดตลาดมันพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งในระหว่างทางก็มีการปรับเปลี่ยนโมเดลบ้าง เป็นต้น
👉 ถ้าอธิบายโปรดักต์ไม่ได้ใน 1 นาที เตรียมเจ๊งได้เลย!
ที่อเมริกามีสิ่งที่เรียกว่า Y Combinator เป็น Accelerator ชื่อดังระดับโลก ลงทุนไปแล้วมากกว่า 1,000 บริษัท มีมูลค่ารวมมากกว่า 65 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เคยบอกไว้ว่า ถ้าอธิบายโปรดักต์ไม่ได้ใน 1 นาที เตรียมเจ๊งได้เลย! สิ่งสำคัญที่สุดคือ ‘คุณต้องมี Killing Feature’ ฟีเจอร์พิเศษที่เกิดมาเพื่อฆ่าแอปอื่น และฮุกผู้ใช้งานได้อย่างอยู่หมัด หลังจากนั้นเราค่อยสร้างอย่างอื่นเสริม อย่าสร้างทุกอย่างพร้อมกันแล้วไม่มีจุดเด่น หรือความแตกต่าง
👉 ตอบตัวเองให้ได้ว่าจะเล่นเกมยาว หรือเกมสั้น
บางธุรกิจเล่นเกมสั้น อาจจะทำธุรกิจที่ตามเทรนด์ เมื่อ Exit หรือเปิดขายให้กับนักลงทุน บางคนอาจจะประเมินเลยว่าธุรกิจเรา 2 ปีต้องขายให้คนอื่นที่มีศักยภาพมากกว่าทำต่อ หรือบางคนมองธุรกิจระยะยาว ซึ่งเกมระยะยาวคือการตอบจุดให้ชัด เราต้องตอบให้ได้ว่า Competitive Advantage หรือความได้เปรียบในการแข่งขัน ที่เรามีแต่คนอื่นไม่มีคืออะไร ค้นหาจุดแข็งให้เจอ และตลาดที่ไปเป็นแบบไหน ลูกค้าของคุณต้องการอะไร เพราะเมื่อไหร่ที่แต้มต่อเราน้อยเราจะยากในการทำธุรกิจทันที มองให้ออกว่าธุรกิจที่ทำจะเล่นเกมแบบไหน
👉 ห้าม! ทำตามใจตัวเอง
สิ่งสำคัญคือต้องดูว่า ‘User SWOT’ เขามีปัญหาอะไร เราจะได้ไปแก้ให้เขาได้ ตัวอย่างเช่น แบรนด์ Jitta เทคโนโลยีบริหารจัดการกองทุนหุ้นแบบอัตโนมัติ เคยผิดพลาดในปีแรก ซึ่งมาจากที่คุณตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta ได้เจอ Pain Point ที่ตัวเองเจอ เลยหา Solution เพื่อแก้ไข แต่กลับกลายเป็นว่ามันไม่ตอบโจทย์ เพราะไม่ได้เข้าไปสัมผัสว่า User โดยปกติใช้งานอย่างไร และสุดท้ายลูกค้าใช้งานไม่เป็น เข้าถึงยาก เลยเสียเวลาไป 1 ปีเต็มในความผิดพลาดครั้งนั้น
👉 ขอ Feedback จากลูกค้าให้ได้มากที่สุด
คีย์สำคัญคือการถาม User ของลูกค้าคุณว่าเขาต้องการอะไร ไม่ใช่เกิดจากเจ้าของหรือทีมคิดเองว่า User อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ และเมื่อไหร่ที่คุณทำของที่ดีถึงจุด Market Fit จุดที่ทุกสตาร์ทอัพต้องไปให้ถึง สุดท้าย User หรือลูกค้าจะเป็นคนบอกเองว่าเขาต้องการอะไร เพราะคนกลุ่มนี้จะเป็นลูกค้าเราจริง ๆ เราไม่จำเป็นต้องดูแลทุกคน แต่ควรโฟกัสกลุ่ม Target Unique ลูกค้าคนสำคัญของเรา และขอ feedback จากคนกลุ่มนี้เยอะ ๆ เพื่อปรับปรุงให้โปรดักต์เราดียิ่งขึ้น
และนี่คือส่วนหนึ่งของเทคนิคจากรุ่นพี่สตาร์ทอัพไทยที่มีประสบการณ์ จะเห็นเลยว่าการทำ Startup ไม่ง่าย!
หนึ่งในคำพูดของนายกสมาคม คุณยุทธนา ศรีสวัสดิ์
เคยบอกไว้ว่า ‘Startup ไม่ได้เหมาะกับทุกคน’
มันเป็นงานที่มีช่วงเวลาไม่ดีมากกว่าช่วงเวลาที่ดีในช่วงเริ่มต้น เช่น เงินหมด, ขาดทุน เป็นต้น ทุกคนมีโจทย์ชีวิตที่แตกต่างกัน เมื่อไหร่ที่เราเข้าใจว่าการทำ Startup ไม่ง่าย นี่คือโอกาสที่คุณจะเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง และแก้ปัญหาให้กับกลุ่มคนอีกมากมาย หวังว่าความรู้ในครั้งนี้จะช่วยให้ Startup ไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และยั่งยืนต่อไป