บทความที่ได้ไปเจอจาก 99designs.com เกี่ยวกับ 10 Innovative Website Design Trends 2019 ต้องบอกเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว มีบทความบน Wyet magazine ออกมาว่า “Website is dead” หรือเว็บไซต์กำลังจะตาย ซึ่งช่วงนั้นเป็นยุคทองของการทำแอปพลิเคชัน ใคร ๆ ก็ทำแอปฯ ทุกอย่างเป็นแอปไปหมด เรียกได้ว่าเป็นยุคตื่นแอป เหมือนยุคตื่นเว็บไซต์ช่วง 15-20 ปีที่ผ่านมา ที่ใคร ๆ ก็อยากจะมีเว็บไซต์
แต่ปัจจุบันซึ่งผ่านมาเกือบ 20 ปี จากยุคตื่นเว็บ และ 10 ปี จากยุคตื่นแอปฯ คนก็หันกลับมาสนใจเว็บไซต์ เพราะเว็บเป็นเหมือนบ้าน ในช่วงที่คนอยากทำแอปฯ การทำ Mobile Application มันเกิดมาได้ดี ต้องมีเป้าหมายว่าทำไปทำไม เช่น ถ้าเป็นแอปฯ จองตั๋วเครื่องบิน หรือแอปฯ เช็กไฟลท์เครื่องบิน เป้าหมายชัดเจนว่ามีไว้สำหรับจองและเช็ก
แต่ถ้าอยากทำแอปฯ แค่เพื่อรวบรวมข่าวหรือประวัติของบริษัทอย่างเดียว ถ้าเป็นบริษัทเล็ก ๆ คนอาจไม่อยากดาวน์โหลดเพราะเปลืองทั้งหน่วยความจำและอินเตอร์เน็ต การดาวน์โหลดแอปฯ เป็นเรื่องใหญ่ เหมือนลงโปรแกรมในคอมพิวเตอร์หรือมือถือ ปัจจุบันเว็บไซต์เลยเริ่มกลับมา เพราะคนไม่อยากโหลดแอปแล้ว และการใช้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เหมือนกัน รวมถึงการช้อปปิ้งออนไลน์ก็ทำบนเว็บได้เหมือนกัน สะดวก ไม่ต้องลงแอปฯ หรือเปลืองพื้นที่ เช่น Nike เราก็ไม่ได้ดาวน์โหลดแอปมาซื้อของ แต่เข้าเว็บไซต์เลย
เว็บไซต์จึงกลับมามีความสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้นเว็บไซต์มีเรื่องของการทำลายกำแพงของ Cross Platform เพราะปัจจุบันมือถือมีระบบ iOS และ Android ถ้าต้องทำแอปฯ อาจต้องสำหรับ 2 platform และเมื่อมีปัญหาหรือมีการอัปเดตก็ต้องทำพร้อมกัน การทำแบบนี้ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงและดูแลลำบาก เพราะฉะนั้นการทำเว็บไซต์ที่ดีพอ จะทำให้ทั้ง Android และ iOS สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ โดยเฉพาะปัจจุบันมี Feature ใหม่ ๆ เกิดขึ้น จนทำให้เว็บไซต์สามรถทำงานได้เหมือน Application เลยทีเดียว
ประกอบกับการเข้ามาของ Social Media ที่มาแรง ใครมีอะไรก็อยากโพสต์ลงเฟซบุ๊ก ไอจี ทวิตเตอร์ แต่ปัญหาของช่องทางเหล่านี้คือไม่ว่าจะโพสต์อะไรลงไป มันก็จะไหลออกไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นคอนเทนต์ที่เราเขียนมาดี พอผ่านไปเดือนนึงคนจะหาไม่เจอ หรือแม้กระทั่งรูปภาพที่น่าจะหาง่ายก็ยังหายากใน Social Media เลยเกิดความคิดที่จะย้ายทุกอย่างเข้ามาไว้ในเว็บไซต์ เป็นเหมือน hub หรือบ้านที่สามารถเก็บทุกอย่างได้
ดังนั้นถ้าเรามีบทความหรือข่าวบริษัท สามารถใส่ในเว็บไซต์ได้ หาง่าย ทั้งในเว็บเองหรือผ่านกูเกิล เว็บไซต์เหมือนบ้านหรือร้านค้าของเรา เวลาคนอยากจะรู้ เราก็จะมีเป็นแคตตาลอก เลือกได้ว่าจะเอาอะไร แต่ Social Media เหมือนใบปลิว ที่วิ่งเข้าไปหาคนหรือชุมชน เช่น โพสต์ว่ามีสินค้าลดราคา มันทำหน้าที่เหมือนใบปลิว คือไปแจกในที่ ๆ คนอยู่เยอะ คนอาจจะเก็บไว้ คนอาจจะจำได้ แต่พอเก็บไว้ ผ่านไปนาน ๆ สัก 1-2 เดือน เขาก็จะต้องกลับไปรื้อ ซึ่งกว่าจะเจอก็เป็นเวลานาน สู้กลับมาที่ร้านหรือเว็บไซต์ของเราไม่ได้ นั้นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ในปัจจุบันเว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญและคนให้ความสนใจ
10 Innovation Website Design 2019 ได้แก่
1. Serif On Screen
ตามปกติแล้วฟอนต์ในภาษาอังกฤษจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Serif หรือฟอนต์มีขา และ San Serif หรือฟอนต์ไม่มีขา ในส่วนของ Serif จะดูจริงจัง เป็นทางการ ส่วน San Serif เช่น Toyota, Nike, Panasonic Apple และ samsung เป็นต้น
เดิมทีเรานิยมใช้ San Serif สำหรับการออกแบบบนจอหรือสื่อดิจิทัล เพราะการใช้ฟอนต์บนสื่อเหล่านี้จะช่วยให้อ่านง่าย แต่ถ้าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ นิตยสาร ในส่วนของตัวอักษรเล็ก ๆ มันเป็นแบบมีขา เพราะเป็นแบบตัวอักษรที่อ่านง่านบนกระดาษ ดังนั้นเดิมที่คนมี mindset แบบนี้ ว่าตัวอักษรบนกระดาษต้องใช้ Serif แต่ถ้าอยากอ่านง่ายบนดิจิทัลต้องใช้ San Serif
แต่ปัจุบันเริ่มมีการอยากใช้ฟอนต์ Serif บนจอ ส่วนตัวมองว่า Trend เหล่านี้มาปรับความน่าเบื่อหรือจำเจใน 1-2 ปีท่ีผ่านมา ที่ผ่านมาเรามีความคิดแบบนี้ เราก็เลยใช้ฟอนต์ไม่มีขามาตลอด ใช้ Helvetica / Arial / Verdana แต่พอถึงตอนนี้เริ่มรู้สึกว่าฟอนต์มีขาดูคลาสสิก มีคาแรกเตอร์ โดดเด่น และน่าสนใจ ดึงความสนใจได้ดี
ตอนนี้ไม่ใช้แค่เทรนด์ แต่เริ่มมีเว็บใช้ฟอนต์มีขาแล้ว เช่น Medium / Mail Chimp ก็ใช้เพราะให้คาแรกเตอร์ได้ดี และมีลูกเล่นเยอะ
2. Black & White Palette
จริงอยู่ที่การใช้สีสำคัญ แต่ปัจจุบันเริ่มมีการใช้สีขาวดำมากขึ้น เพราะทำให้ดูน่าสนใจท่ามกลางเว็บที่ทำเป็นสี
สีขาวดำ ทำให้คนประทับใจ โดยเฉพาะการเล่นกับแสงและเงา ช่วยทำให้เห็นพื้นผิวและรูปร่างมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าเว็บเป็นสีขาวดำ แต่เน้นจุดที่อยากให้คนสังเกตุเห็นด้วยสี จะดูเด่นมาก เช่น Call to Action
3. Natural Organic Shape
ในช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมา เว็บไซต์มักออกแบบเป็น Grid คือ เป๊ะ ต้องมีความตรงกันในรายละเอียด เป็นสี่เหลี่ยม เป็นตาราง แต่ปัจจุบันเริ่มน่าเบื่อ รวมถึงดูแข็ง ทื่อ ถึงแม้จะเนี้ยบ เพราะฉะนั้นการนำรูปร่างแบบธรรมชาติ เช่น เส้นของภูเขา ต้นไม้ ใบไม้ ช่วยทำให้เว็บไซต์ดูมีอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น คนไม่รู้สึกเบื่อกับความเป็น Grid ที่อยู่มานานหลายปี
4. Glitch Art
เอฟเฟกต์ภาพซ่าของทีวีสมัยก่อน ดูย้อนยุค น่าสนใจ เพราะเราไม่ได้เห็นเอฟเฟกต์แบบนี้นานแล้ว เทคนิคนี้จึงถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในแง่ของ animation
5. Micro Interaction
Small Action หลาย ๆ เว็บเริ่มทำแบบที่พอเอาเม้าส์ไป Over ก็จะมีลูกเล่นเล็ก ๆ วิ่งรอบเคอเซอร์ หรือกดแล้วมีเสียงเล็ก ๆ ไม่ต้องเสียงดังมาก ซึ่งคนจะสนใจมากกว่า ไม่ดูโฉ่งฉ่าง พวก small interaction ใช้กับอะไรที่เราอยากเน้นให้น่าสนใจ
6. ChatBot
ในต่างประเทศตอนนี้เกิดมาก ๆ โดย Chatbot จะช่วยในการขายของ เสนอสินค้าต่าง ๆ แต่ในเมืองไทยมีบ้างประปราย แต่ไม่ค่อยเกิดในเมืองไทย เพราะมันดูเหมือนไม่มีชีวิต และแชทไปแล้วก็เงียบหาย สู้หา Line@ หรือ Messenger น่าจะมีคนรอตอบเรามากกว่า
7. More Video
Video มีมาหลายปีแล้วและยังจะคงอยู่ต่อไป เหมาะกับ User ที่ไม่ชอบอ่าน โดยเฉพาะสินค้าหรือบริการที่มีรายละเอียดมาก ต้องทำความเข้าใจเยอะ ๆ การใช้วิดีโอช่วยได้ ช่วยสร้างพลังให้กับแบรนด์ หรือสิ่งที่ต้องการนำเสนอบนเว็บไซต์ ช่วยสร้าง emotion
Video มีความสำคัญมาก ๆ อย่าง Google ก็พยายามแสดงผลในรูปแบบของ Video
8. Minimal
เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ต้องเยอะ ไม่ต้องใส่องค์ประกอบหรือกราฟฟิกให้มากมาย minimal กำลังเวิร์ก เพราะยิ่งให้ space มากขึ้นเท่าไหร่ ตัวอักษรหรือข้อความที่ถูก space ล้อมรอบก็จะโดดเด่นขึ้น เช่น ถ้าทั้งเว็บไซต์ไม่มีรูปเลย มีแค่ตัวอักษรกลุ่มเดียวอยู่ตรงกลาง สายตาคนก็จะไปอยู่ตรงกลาง จะไม่มีอะไรมาเบี่ยงเบนความสนใจ ความ minimal เลยกลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เป็นหลักการในทำนองเดียวกับ Black & White และ Small Interaction
9. Thumb friendly
ทำเว็บไซต์ให้เหมาะกับนิ้วโป้งของ User เดิมทีมีคำว่า Mobile First คือ ออกแบบบนมือถือก่อน แล้วค่อยไปออแบบบน Desktop แต่มันก็ยังมีบางอย่างที่เราทำตาม ๆ กันมาแล้วมันไม่เวิร์ก เช่น ปุ่ม Hamburgur Menu เอาไว้มุมซ้ายบน แต่บางเว็บไซต์เริ่มเอามาไว้มุมขวาล่างแล้ว เพราะมันสะดวกต่อการกดมากกว่า
10. Diversity
ความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ สีผิว เพศ หรือความรวยจน เนื่องจากปัจจุบันโลกใกล้กันมากขึ้นด้วยอินเตอร์เน็ต นั่นแปลว่าคนที่เข้ามาเยี่ยมชมจะไม่ได้มีแค่คนไทยเท่านั้น ความ Diversity โดยเฉพาะสินค้าที่โกอินเตอร์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ
ภาพจาก Mae Mu
ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
ฟัง EP. นี้แบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD, Spotify, PodBean