ในโลกที่เต็มไปด้วยการพัฒนา และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มีข้อมูลมากมายมหาศาล ที่ update แบบ real time ตลอดเวลา ในทุกๆ Platform บนโลกออนไลน์ ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น รับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อ Social Media ได้มากขึ้น จะมีวิธีการจัดการกับข้อมูลมากมายเหล่านั้น หรือจะมีเครื่องมืออะไรที่เข้ามามีบทบาทในการจับประเด็นกระแสสังคมบน Social Media ได้บ้าง
ทาง Creative Talk x AIEAT (สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Artificial Intelligence Entrepreneur Association of Thailand) จะชวนคุณมาคุยกับ คุณวรัทธน์ วงศ์มณีกิจ Co-Founder & Chief Product Officer, Wisesight (Thailand) Co.,Ltd ในเรื่อง AI กับการวิเคราะห์ประเด็น Hot ใน Social
คุณวรัทธน์ เกริ่นว่าในมุมมองทางฝั่งแบรนด์ มีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องรู้เท่าทันสื่อ และเหตุการณ์ต่างๆบน Social Media เพราะเพียงแค่โพสต์เดียวก็ทำให้เกิด impact ได้ทั้งในแง่ดี และแง่ลบ (ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถ prediction คาดการณ์ล่วงหน้าได้ แบรนด์จะรู้ก็ต่อเมื่อเหตุการณ์มันเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น แบรนด์จึงต้อง monitor ตลอดเวลา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญมาก ตรงกับข้ามกับมุมมองฝั่งผู้ใช้งานส่วนตัว Personal ที่มีข้อมูลมากมายในแต่ละวัน อาจต้องมีการคัดกรองเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หรือที่สนใจก็เพียงพอ
แล้วการจัดการข้อมูลที่มีมากมายมหาศาล จากทุกๆ แพลตฟอร์มเหล่านั้น ทาง Wisesight ใช้ skill หรือ มีเครื่องมือ มา support กับการจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างไรบ้าง
คุณวรัทธน์เล่าต่อว่า ในส่วน infrastructures ของ Wisesight เองนั้นต้องรับข้อมูลมากกว่า 20 ล้าน messages/ วัน ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็น raw data ที่มีมากมายมหาศาล ทาง Wisesight เองจึงต้องใช้ AI มาคัดกรองข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อข้อมูลเยอะ จึงไม่สามารถใช้ AI ที่แม่นยำได้ หรือถ้าได้อาจจะต้องใช้เวลาที่นานมาก ดังนั้น AI ในรูปแบบที่ Wisesight ใช้จะเป็น optimal point โดยจะเลือก choice ที่ดีที่สุดภายในเวลาที่เรารับได้
มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาษาที่ใช้บนโลกออนไลน์นั้น มักมีคำแสลง และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทาง Wisesight เองจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร
คุณวรัทธน์เล่าให้ฟังว่า สำหรับเรื่องของคำแสลงอาจจะยังไม่ใช่ปัญหาใหญ่มาก เพราะ เมื่อมีคำเกิดใหม่ ก็สามารถ train หรือสอน AI ให้เข้าใจศัพท์นั้นเพิ่มเติมได้ แต่ปัญหาหลักที่ยังพบเจออยู่มากในปัจจุบันสำหรับภาษาไทยนี้คือเรื่องของการตัดคำ ยังมีปัญหาในการตัดคำ ตัดรูปประโยคอยู่มาก หากตัดคำผิด ความหมายอาจจะเปลี่ยนไป ซึ่งคุณวรัทธน์ได้กล่าวเสริมว่า ภาษาไทยไม่ได้ถูกสร้างมาให้ง่ายต่อการใช้งานร่วมกับ AI ยังมีเรื่องให้ต้องพัฒนา และปรับปรุงอีกเยอะ
มุมมองอนาคตของ AI ในเรื่องของการรับมือกับข้อมูล และภาษา นั้นปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่โลกเปลี่ยนเป็นยุค digital พฤติกรรมคนก็เปลี่ยนไปมาก ข้อมูลก็มีเยอะมากขึ้น ความท้าทายก็มากตามมา คุณวรัทธน์เสริมต่ออีกว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของ AI เติบโตอย่างก้าวกระโดด หลายคนให้ความสนใจ และเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น Ecosystem มันโตมาก เราจะเห็นได้จากการที่มีการบริจาค data source ออกมาให้ใช้ฟรีเยอะขึ้น อะไรที่เคยทำได้ยาก ก็ง่ายขึ้น พอเริ่มมีเครื่องเยอะขึ้น คนก็เลือกหยิบมาใช้ได้หลากหลาย สร้างชิ้นงานต่อยอดไปได้อีกมากมาย และ AI เองก็ยังได้เรียนรู้ และฉลาดขึ้นด้วย ต่อไปในอนาคต เด็กๆ อาจจะหยิบ จับ ลาก วาง สร้าง AI ได้ ซึ่งในปัจจุบันก็เริ่มมีให้เห็นกันบ้างแล้ว
ในแง่มุมของคำที่ว่า AI จะเข้ามาแทนที่คนนั้น อาจจะไม่น่ากลัวเสมอไป เพราะจริงๆแล้ว AI เองมีส่วนช่วยในการทำงาน ลดภาระให้คนทำงานได้ง่ายขึ้น มีเวลาไปพัฒนาเรื่องสำคัญได้มากขึ้นเช่นกัน แต่สิ่งสำคัญที่สุด ก็คือ data sources ที่เราให้ AI ได้เรียนรู้ ในอนาคตจะมีคนสร้าง data sources เพิ่มมากขึ้น และหวงแหนมันมากขึ้น เพราะสุดท้ายแล้ว AI มันกลายเป็นส่วนที่ Interface ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน User ไม่ใช่แค่เพียง Design ดังประโยคที่ว่า “AI is a New UI” และทาง Wisesight ก็มุ่งมั่นที่จะพัฒนา AI และ Core technology ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน User ต่อไปเช่นกัน
รับชมรายการเต็ม AI กับการวิเคราะห์ประเด็น HOT ใน Social และแวะมาพูดคุยเพิ่มเติมกันได้ที่เฟซบุ๊ค Creative Talk