สร้างทีมแกร่งให้ชนะทีมเก่งได้อย่างไร มาฟังเนื้อหาดี ๆ จากการถอดบทเรียนในหนังสือ The Culture Code จากผู้เขียนอย่าง คุณแดเนียล คอยล์ (Daniel Coyle)
🤔 เคยสงสัยกันไหมว่า
ทำไมบางกลุ่ม “เมื่อรวมตัวแล้วได้ผลดีกว่าแยกกัน”
แต่ทำไมบางกลุ่มเมื่อ “แยกตัวกันแล้วได้ผลดีกว่า”
ตัวอย่างง่าย ๆ ที่ทุกคนน่าจะได้ยินในวงสนทนาทั่วไป คือ ‘กีฬาในบ้านเรา’ สังเกตไหมว่า กีฬาประเภทเดี่ยวเรามักทำได้ดีกว่าประเภททีมเสมอ หรือวงดนตรีบางคนออกมาแยกเดี่ยวกลับทำได้ดีกว่า ตอนอยู่เป็นวงดนตรี ดังนั้นการรวมดาวเก่งใช่ว่าจะดีเสมอไป แต่กลับกัน การรวมคนธรรมดาที่ทำงานด้วยกันได้ หลายครั้งให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
🤔 หนึ่งในการทดลองที่น่าสนใจ
คุณแดเนียล คอยล์ เล่าให้ฟังผ่านหนังสือว่า เคยมีการทดลอง โดยรวมกลุ่มคนเก่ง ตั้งแต่นักออกแบบ, วิศวกร, ทนายความ, CEO, ผู้เชี่ยวชาญสายบริหารธุรกิจ และเด็กอนุบาล โดย Mission ของกิจกรรมนี้ โดยเป้าหมายจะต้องทำอย่างไรก็ได้ ให้สปาเก็ตตี้สูงที่สุด โดยยอดข้างบนมีมาร์ชแมลโลว์อยู่ ซึ่งก็จะแจกจ่ายไอเทมอย่าง สปาเก็ตตี้ 20 เส้น, มาร์ชแมลโลว์, เทปใส, เชือก เพียง 4 ชิ้นนี้เท่านั้น
ฟังดูเหมือนจะไม่ยาก และคนที่ทักษะเก่ง ๆ อยากวิศวกร, ทนายความ หรือคนระดับ CEO น่าจะทำได้ดีแบบสบาย ๆ กลายเป็นว่าคนที่ชนะในการทดลองนี้คือ “เด็กอนุบาล” ซึ่งทำได้สูงถึง 26 นิ้ว และฝั่งของ CEO ทำได้สูงถึง 22 นิ้ว, ทนายความสูงถึง 15 นิ้ว และนักบริหารธุรกิจ ต่ำกว่า 10 นิ้วนั่นเอง
เหตุผลที่เด็กอนุบาลชนะในครั้งนี้ ไม่ใช่ว่าผู้ใหญ่เขายอมให้ชนะ แต่เป็นเพราะว่าเด็กอนุบาลสามารถร่วมมือกันทำงานได้ฉลาดกว่า โดยทำงานง่าย ๆ ร่วมกัน ไม่ได้ตัดสินกันว่าเธอถนัดอะไร ซึ่งน่าสนใจมากว่า บริษัทส่วนใหญ่ หรือคนทำงานส่วนใหญ่ มักจะชอบตัดสิน ชอบเกี่ยงกันซะก่อน
อีกมิติที่มีการ Research เพิ่มว่าบริษัทที่มีการทำ Culture ที่แข็งแกร่ง จะมี Income สูงถึง 65% ต่อปี ซึ่งต่างจากบริษัทที่ไม่ให้ความใส่ใจในเชิง Culture ที่เข้มแข็ง
🤔 3 ปัจจัยสำคัญในการสร้างทีมแกร่งเพื่อชนะทีมเก่ง
🎯 1. สร้างความปลอดภัย (Safety and Affiliation) หรือการสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ ซึ่งจะทำให้คนทำงาน…
- รู้สึกปลอดภัยสำหรับการให้ใจในการทำงาน
- รู้สึกปลอดภัยในการทุ่มเทงานอย่างเต็มที่
- รู้สึกปลอดภัยในการฉายความสามารถทุกอย่าง
คุณแดเนียล คอยล์ ยกเคสที่น่าสนใจเรียกว่า ‘แอปเปิลเน่า’ ซึ่งมีอยู่บริษัทหนึ่งแบ่งกลุ่มคนทำงานดี เข้าไปในที่ประชุม และสร้างตัวละคนสมมุติอีก 1 คนที่แฝงเข้ามาเพื่อให้สร้าง Toxic ในที่ประชุมนั้น ปรากฏว่าบรรยากาศในที่ประชุมมันอึน ๆ มึน ๆ ซึ่งในที่ประชุมนั้นมีผู้ชายคนนึง กำลังต่อสู้กับคน Toxic คนนั้น ยืนขึ้นมาพูดคุยสร้างบรรยากาศที่ดีในที่ทำงาน โดยพยายามเบี่ยงเบนความสนใจให้ดีขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกคน ซึ่งคนคนนี้คือ ‘แอปเปิลดี’
แทนที่ในที่ประชุมจะหันไปทาง ‘แอปเปิลเน่า’ กลับกลายเป็นว่าเขาหันมาจอยกับ ‘แอปเปิลดี’ แต่กลับกันบรรยากาศในที่ประชุมนั้นก็เสียอรรถรสเหมือนกัน นั่นหมายความว่าทุกคนสามารถเป็น ‘แอปเปิลดี’ ได้นะ และยิ่งถ้าองค์กรไหนมี ‘แอปเปิลดี’ มาก ๆ ก็จะสร้างความปลอดภัยให้กับคนในองค์กรได้ดี
🎯 เทคนิคที่น่าสนใจในการเป็น ‘แอปเปิลดี’ ?
✅ เริ่มจากการฟังให้มาก
สีหน้าท่าทางของการฟังสำคัญ ไม่ใช่แค่เงี่ยหูฟัง แต่ต้องจริงใจ สบสายตาเขาอย่างตั้งใจฟัง หรือลองใช้เสียงร่วมกัน ทำให้เขารู้สึกว่าเราใส่ใจฟัง เสมือน ‘แอปเปิลดี’ ที่คอยเป็นคนสร้างบรรยากาศดี ๆ กลับมาเพราะเขาตั้งใจฟัง ตั้งใจสังเกตการณ์ เพื่อให้ทุกคนในที่ประชุมสบายใจ รู้สึกปลอดภัย
✅ พื้นที่ความปลอดภัย
ทุกคนต้องกล้ายอมรับความผิดพลาด การยอมรับความผิดแต่เนิ่น ๆ สำคัญ โดยเฉพาะคนเป็นหัวหน้า ยิ่งถ้าคุณพลาด คุณต้องรีบยอมรับ ป้องกันก่อน เพื่อไม่ให้หลงผิดไปทั้งขบวน รีบบอกแต่เนิ่น ๆ จะดีที่สุด
✅ การโอบกอดผู้ส่งสารสำคัญ
เพราะคนที่รายงานความผิดพลาด มักจะโดนก่อนเสมอ ในความเป็นจริงคนที่ต้องคอยรายงาน มักจะโดนเป็นด่านแรก แล้วถ้าเขาโดนด่า โดนว่า เขาก็จะกลัวไม่กล้าพูดในครั้งต่อไป ดังนั้นอย่าหยิบข้อผิดพลาดมาต่อว่าใคร แต่จงหา Solution หรือคำแนะนำดี ๆ ให้เขาจะเป็นทางออกที่ดีกว่า
✅ ฝึกขอบคุณให้มาก
หมายถึงการฝึกขอบคุณ ‘คุณค่า’ แม้การขอบคุณนั้นความตั้งใจ หรือเป้าหมาย มันอาจจะไม่มาก การฝึกขอบคุณเรื่องเล็ก ๆ ก็สำคัญ เพราะแรงพยายามของคนทำงาน เขาต้องรู้สึกดี รู้สึกปลอดภัย รู้สึกว่ามีคนเห็นคุณค่าในตัวเขานั่นเอง
🎯 2. แบ่งปันความอ่อนแอ (Listen to others and Sharing Weakness)
คำว่า Weakness คือความอ่อนไหว หรืออ่อนแอบางเรื่อง ซึ่งใครก็เป็นได้ ผู้นำที่ดูแข็งแกร่งเขาเองก็มีมุมที่อ่อนไหว หรืออ่อนแอได้เช่นกัน การแชร์ความรู้สึก Weakness จะทำให้คนรอบข้างปรารถนาที่ดีกับคุณ เพื่อพยายามหาว่าคุณจะผ่านพ้น และไปถึงเป้าหมายได้จริง ๆ
หนึ่งในเคสของเครื่องบินที่เป็นเหตุการณ์จริงของสายการบิน United Airlines กำลังออกเดินทางจาก Denver ไป Chicago ปรากฏว่าเครื่องบินขัดข้อง ทำให้นักบิน 2 ท่านควบคุมเครื่องไม่ได้ เขาจึงส่งสัญญาณไปทางแอร์โฮสเตส และผู้โดยสาร ปรากฏว่ามีผู้โดยสารที่สามารถทำได้ แล้วเข้ามาช่วยนักบิน เพื่อลงจอดอย่างปลอดภัย
โดยวิธีสื่อสารที่น่าสนใจคือ ผู้โดยสารถามว่ามีอะไรที่เขาจะช่วยได้บ้าง โดยนักบินก็ไม่ได้รู้สึกว่าเราจะกีดกัน เราเก่งที่สุด แต่เขาแบ่งปันความอ่อนแอ และช่วยกันโดยเห็นถึงความปลอดภัยเป็นที่ตั้ง กลายเป็นว่าทั้ง 3 คนช่วยกันทำให้ลงจอดได้อย่างปลอดภัย และรักษาชีวิตคนอีกมากมาย นับเป็นเหตุการณ์ที่น่ายกย่องอีกหนึ่งเหตุการณ์
🎯 เทคนิคแบ่งปันความอ่อนแอ สร้างความมั่นคงความปลอดภัยของทีม
✅ ส่งสัญญาณความอ่อนแอบ่อย ๆ โดยเฉพาะผู้นำ
มีเคสที่น่าสนใจของผู้นำท่านหนึ่งขึ้นไปบนเวที TedTalk เขาได้กลับมาเล่าให้พนักงานฟัง แต่ไม่ได้เล่าเขารู้สึกดียังไง แต่กลับบอกว่า ผมขาสั่นมากเลย พวกคุณดูสิ เหตุเพราะเขาเองรู้สึกว่า เขาได้แสดงความอ่อนแอ ความไม่สมบูรณ์แบบให้ทุกคนฟังเพราะที่นี่ปลอดภัย การแสดงความอ่อนแอนี้นับเป็นจุดแข็งด้วยซ้ำ เพราะเขาสามารถกล้าที่จะเล่าการผ่านจุดเหตุการณ์นั้นมาได้ เพื่อแชร์ความอ่อนแอ ความตลกในวันนั้น แต่กลับกันผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลายในการคุยกับ CEO รู้สึกปลอดภัยในองค์กร
✅ แบ่งปันสัญญาณความอ่อนแอให้ทีม
การสื่อสารความคาดหวังสำคัญ คุณทิมบราวน์ ผู้บริหาร IDEO เคยเล่าไว้ว่า ยิ่งปัญหาซับซ้อนเท่าไหร่ คุณยิ่งต้องการความช่วยเหลือมากเท่านั้น ยิ่งเจอปัญหาอย่าทำคนเดียว การส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือสำคัญมาก สิ่งสำคัญคือจงร่วมมือกันแก้ปัญหา และทำให้ผู้อื่นประสบความสำเร็จ เพราะการพยายามช่วยเหลือผู้อื่น คือวิถีลับสู่ความสำเร็จเช่นกัน
✅ จงฟังให้เหมือนกับการเล่นแทรมโพลีน
ซึ่งเจ้าแทรมโพลีนคือตัวสปริงบอร์ดกระโดดไปมา เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง ซึ่งการฟังลักษณะนี้หมายถึงฟังอย่างเอาใจใส่ มีการโต้ตอบไป เสมือนแทรมโพลีน ที่กระโดดเด้งไปเด้งมา เพราะการเป็นนักฟังที่ตอบโต้อยู่เรื่อย ๆ จะช่วยให้คนเล่าความอ่อนแอ จะยิ่งเสริมแรงให้เขารู้สึกมั่นใจ รู้สึกดีขึ้น รู้สึกว่าคนคนนี้ดูใส่ใจ ไม่ใช่ว่าแค่ฟังเฉย ๆ แต่เขาฟังแล้วแนะนำเราได้ด้วย
🎯 3. กำหนดจุดมุ่งหมายร่วมกัน (Finding Common Goal)
สิ่งนี้สำคัญมาก ๆ สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เพราะการจะจำชื่อคนแต่ละแผนกยังยากเลย เราอาจจะรู้จักกับคนในแผนกเดียวกันแค่นั้น แต่กลับกันองค์กรเล็ก 10-20 คน มักจะรู้จักทั่วถึงกว่า สิ่งสำคัญคือการจะกำหนดจุดมุ่งหมายร่วมกัน ต้องเกิดการสร้าง Vision + Engagement และต้องมีจุดมุ่งหมายในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้เกิดการ Motivation ภายในองค์กร
เคสที่น่าสนใจของบริษัท Johnson & Johnson คือการกำหนด Vision ของบริษัทเสมอ ในการจะไปถึง Vision นี้ให้ได้แต่ละทีมจะต้องทำอย่างไร ซึ่งเขาไม่ได้ทำแค่ผลิตภัณฑ์ออกมา แต่จะทำอย่างไรให้คนใช้ผลิตภัณฑ์ดียิ่งขึ้น เพราะถ้าลูกค้าดีขึ้น พาสเนอร์ดีขึ้น ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ดีขึ้น มันจะส่งผลกลับมาที่พนักงานก็จะทำงานอย่างมี Value ดีขึ้น ทั้งการทำงาน ทั้งเรื่องของเงิน และการใช้ชีวิตที่ภาคภูมิใจยิ่งขึ้น
🎯 เทคนิคที่จะกำหนดจุดมุ่งหมายร่วมกันคือ ?
✅ ควรระบุจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายให้ดี
เพราะการมีเป้าหมายจะมีแรงผลักดันเพื่อทำให้ถึงเป้า เช่น กำหนดระยะเวลาให้ชัด, กำหนดระยะทางให้ชัด เพื่อให้เกิด Direction นำไปสู่ทักษะที่มี เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย และทำสิ่งเหล่านั้นอย่างเป็นทีม เพราะเราไม่สามารถทำงานคนเดียวไปถึงเป้าหมายได้
✅ พิจารณาทีมของคุณว่ามีความคิดสร้างสรรค์แค่ไหน
หมายความว่า ทักษะของเราจะมี 2 กลุ่ม คือ ทักษะทำงานเดิมซ้ำ ๆ ได้ หรืองานรูทีน และ ทักษะทำงานเดิม แต่ด้วยความคิดสร้างสรรค์ใหม่ เช่น คนที่เป็น AE คือคุณต้องหาลูกค้าใหม่ซ้ำ ๆ แต่ความคิดสร้างสรรค์ใหม่คือลูกค้าเปลี่ยนไป โปรเจกต์เปลี่ยนไป มันมีความใหม่เสมอ
ซึ่งในฐานะผู้นำ ถ้าเราพิจารณาจุดมุ่งหมายตามกลุ่มนี้ได้ จะสามารถช่วยส่งเสริมยกระดับทีมได้ เราจะเห็นชัดกว่าการไม่ทำสิ่งนี้เลย เพื่อ Set Team ได้ว่าทิศทางเราเป็นอย่างไร เช่น ถ้าเป้าหมายเราคือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่อยู่เสมอ บางครั้งข้อผิดพลาดจะเป็นส่วนหนึ่งเสมอ เราก็จะเห็นภาพว่าทีมนี้ต้อง Creative ต้องมี Input ใหม่ ๆ อยู่เสมอ การจะทำทีมที่เหมาะสมกับที่คุณคิด ก็จะส่งผลได้ชัดเจน และเจอ Finding Common Goal ร่วมกัน
✅ ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมเล็ก ๆ ที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ
เช่น คุณเป็นพนักงานขับรถ วันนี้อาจจะเฉย ๆ ไปวัน ๆ แต่กลับกันคุณได้รับความชื่นชมจากหัวหน้า คุณอาจจะขับรถแล้วประหยัดน้ำมันได้ดี นอกจากคุณขับรถได้ดีแล้ว คุณยังประหยัดน้ำมันได้ด้วย โดยไม่พูดถึงยอดขายด้วยซ้ำ การชื่นชมเรื่องมาตรฐานขั้นต่ำนี้ จะช่วยให้คนทำงานใจฟู และเขาจะพัฒนาตัวเองต่อไป เป็นหนึ่งในรากฐานที่จะทำให้คนทำงานเห็น Value ในการทำงาน
อย่าลืมหยิบเทคนิคไปปรับใช้ได้กันด้วยน๊า หรือใครอยากอ่านเทคนิคกันแบบจัดเต็ม ลองตามหาอ่านได้ในหนังสือ The Culture Code จากผู้เขียนอย่าง คุณแดเนียล คอยล์ (Daniel Coyle) ซึ่งมีเวอร์ชันแปลไทยจากสำนักพิมพ์ AMARIN HOW-TO
🤩 ประโยชน์ดี ๆ มาบอกต่อกัน 🤩
แอบมาบอกว่าสำหรับใครที่กำลังหา ‘สมุดจด’ ในรูปแบบ Planner ที่จะเป็นสมุดคู่ใจเพื่อหยิบมาเขียนทบทวนตัวเอง และยังสามารถทำ Brain Dump + Prioritization แบบสำเร็จรูปไม่ต้องนั่งตีตารางเองได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทาง CREATIVE TALK เองก็ได้จริงจัง และใส่ใจกับการทำสิ่งที่เรียกว่า…
“The Organice Planner by CREATIVE TALK” โดยเป็นการ Collab กันระหว่าง CREATIVE TALK และ ZEQUENZ เพราะเรารู้ว่าการจัดการเวลาในแต่ละวันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราจะนำเครื่องมือช่วยจัดลำดับความสำคัญ และลับคมความคิด ให้ทุกคนได้กระตุ้นสมอง
Planner ที่จะมาช่วยคุณจัดการความคิดและกระตุกไอเดียสร้างสรรค์ได้ในทุก ๆ วัน ที่มีจำกัดเพียงแค่ 500 เล่มเท่านั้น!!
📖 สมุดเล่มนี้ทำอะไรได้บ้าง? 📖
- ลับคมความคิด ผ่าน Creative Exercise 12 รูปแบบ เลือกทำเดือนละครั้ง
- About Yourself คุณรู้จักตัวเองดีแค่ไหน? รู้จักตัวเอง เพื่อทบทวนความคิดอยู่เสมอ
- ติดตามอารมณ์ บันทึกอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ด้วยการกำหนดสีแทนอารมณ์
- จัดระเบียบงาน เริ่มต้นด้วยการดึงทุกสิ่งที่อยู่ในสมองของเราออกมาวางไว้ด้านนอก
- จัดการงานได้มีประสิทธิภาพ ด้วย Brain Dump, Prioritize, Monthly Planner และ Weekly Planner และพื้นที่จดไดอารี่บันทึกเรื่องราวประจำวัน
- สมุดแพลนเนอร์ แบบไม่ระบุวันที่ ผลิตจากกระดาษคุณภาพดีปราศจากสิ่งปนเปื้อนหรือสารเคมี
- เปิดกางได้ 360 องศา สันโค้งมน ยืดหยุ่น ตามแบบฉบับ ZEQUENZ
- มาพร้อม Magnetic Bookmark สำหรับคั่นหน้ากระดาษ มีให้เลือก 2 สี คือ สีขาว (White) หรือ สีชมพู (Magenta)
เปิดให้ทุกคนจับจองกันแล้ว! จำนวนจำกัดเพียง 500 เล่มเท่านั้น
✱ ราคาเล่มละ 750 บาท (ค่าจัดส่งแบบ EMS เริ่มต้นที่ 50 บาท) ✱
สั่งซื้อได้ทาง Facebook inbox : m.me/zequenz
เรา CREATIVE TALK และ ZEQUENZ เชื่อว่า Planner เล่มนี้จะช่วยเปลี่ยนชีวิต ความคิด และการจัดการ ทำให้คุณรู้สึกดีได้ในทุกวัน
เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ