#สรุปเทคนิคเก่งคนและเก่งงาน #ที่คนทำงานต้องฟัง
เพราะเราเชื่อว่า….
😊 ชีวิตต้องมีทั้งด้านการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
😊 ทำงานตอบโจทย์ตรงเป้า
😊 ได้พัฒนาความสามารถ
ขณะเดียวกัน ก็ต้องมีด้านการทำงานที่มีความหมาย รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าและได้ทำประโยชน์ให้คนอื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราอินและใช้ชีวิตบนแนวทางนี้กันอยู่
สรุปข้อคิดจากTheORGANICE กับ 3 เทคนิค “เก่งคนและเก่งงาน” ที่คนทำงานต้องฟังโดยคุณท้อฟฟี่ แบรดชอว์ และคุณทอปัด
#เทคนิคที่1
โดยคุณทอปัดเกี่ยวกับ Happy Model ซึ่งน่าสนใจมาก โดยเริ่มจาก
H (Humble) อ่อนน้อมถ่อมตน
คือการที่เรายิ่งโตยิ่งน่ารัก เพราะคน Humble ไม่ได้หมายถึงอ่อนแอ แต่คือคุณสมบัติที่น่ารัก และที่สำคัญคนจะรักเราง่ายขึ้นด้วยนะ
A (Authentic) คนที่ไม่รู้ก็บอกไม่รู้
คือคนที่เป็นของแท้! หรือการเข้าใจตัวเอง รู้ว่าตัวเองทำอะไร และยอมรับกับผลลัพธ์ที่ตัวเองได้กระทำ
รู้ในสิ่งที่รู้ เพราะคนที่แท้เขาไม่รู้อะไร ก็จะบอกไม่รู้ ถ้าไม่ถนัดก็ไม่ทำ ไม่ต้องวิ่งหาหรือเก่งไปซะทุกอย่าง
สิ่งสำคัญคือเราต้องมี Self-Esteem คือการเคารพตัวเองได้ตั้งแต่วินาทีแรก ถ้าเราเคารพตัวเองเยอะจะอีโก้ต่ำ แต่ถ้าหากเราไม่เคารพสิ่งนั้นจะกลายเป็น Ego ซึ่งจะเป็นพวกหงุดหงิดง่าย เพราะทุกอย่างบนโลกต้องหมุนรอบฉันสิ ลองตอบตัวเองว่าคุณทำเต็มที่ในทุกเรื่องหรือยัง หากคุณทำเต็มที่, ลงทุนลงแรงทั้งกายใจ แสดงว่าคุณไม่ได้หลงตัวเอง แต่คุณกำลังสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง
P (Purpose) เป้าหมายที่ใหญ่กว่าแค่วันนี้ หรือพรุ่งนี้
นี่คือ Mindstone ว่าเราสามารถทำอะไรได้ดีขึ้นบ้าง อาจจะดีกับคนรอบข้าง, ดีกับสังคม, ดีกับโลก ซึ่งจะเป็นเป้าระหว่างทาง เราสามารถสะสม Purpose ได้ สิ่งนี้ต้องตั้งธงไว้อย่างมั่นคงเพราะสำคัญมาก เมื่อไหร่ที่คุณหมดแรง ธงตัวนี้จะคอยค้ำจุนคุณอยู่เสมอ
P (Passion) ทำโดยไม่ต้องรอใครบอกให้ทำ
Passion is contagious แพชชันคือโลกติดต่อ ที่จะดึงดูดคนที่มีแพชชันแบบเดียวกันได้ ซึ่งภาวะที่เรามุ่งมั่นตั้งใจมาก ๆ ก็อาจจะมีการติด ๆ ดับ ๆ บางวันเราก็ไม่ได้มีแพชชันทุกวัน แต่สิ่งสำคัญคือเราต้องดึง Purpose มาไว้เสมอ เพราะในช่วงเวลาเราเหนื่อย ธงที่ปักไว้ หรือเป้าหมายที่วางไว้จะทำให้ไม่หลงทาง
Y (Yes) หรือการ say yes มากกว่า No
Yes ในมิตินี้คือการเปิดรับโอกาส เปิดรับผู้คน ซึ่งจะถูกกรองจาก h a p p ทั้งหมดที่กล่าวมา ว่าตรงกับเป้าหมายของเราหรือเปล่า สิ่งสำคัญคือเราต้องเปิดรับตลอดเวลา เราต้องพร้อมคว้าโอกาสอยู่เสมอ
#เทคนิคที่2
คุณทอปัดฝากทิ้งท้ายว่า เราควรโฟกัสเรื่องบางเรื่องแค่ 1 อย่าง หรือเทคนิค Pomodoro โดยมีแนวคิดมาจากหลักการทำงานของสมอง ที่มีสมาธิอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน ส่วนชื่อ Pomodoro เป็นภาษาอิตาลี แปลว่า มะเขือเทศ มาจากรูปทรงนาฬิกาจับเวลา
ซึ่งเทคนิคนี้จะแสดงศักยภาพได้ดีที่สุด และไม่หลุดโฟกัส เกิดภาวะลื่นไหล ซึ่งจะใช้ในเชิงการประชุมที่มีเนื้อหาละเอียดเชิงลึกมาก ๆ หรือต้องการทำเรื่องความคิดสร้างสรรค์ที่ละเอียดซับซ้อน แต่เทคนิคนี้จะไม่นับการประชุมเบา ๆ หรือทำงานที่ไม่ได้ใช้ข้อมูลเชิงลึก โดยมี 4 เทคนิค ดังนี้
👉 เขียน: คือรู้ว่าเราจะทำอะไร กำหนดงานที่เราต้องทำให้สำเร็จ
👉 จับเวลา: คือการใช้เวลา 25 นาที ในการทำงาน
👉 กา: คือเสร็จจากงาน และปิดจบทันที
👉 พัก: คือพัก 5 นาที ในช่วงนี้เราต้องพักจริง ๆ ห้ามทำอย่างอื่นต่อ
ใน 1 งานจะใช้ทั้งหมด 4 Pomodoro คือทำ 4 รอบ
เขียน-จับ-กา-พัก โดย Pomodoro
ใครที่ชอบทำหลายงานพร้อมกัน รู้สึกงานเสร็จช้า ไม่เสร็จสักที
ลองเอาวิธีไปใช้กันดูได้นะ ช่วยให้โฟกัสทีละอย่าง ในเวลาอันสั้น
#เทคนิคที่3
โดยคุณท้อฟฟี่ เป็นเรื่องของทักษะการสื่อสาร
บางครั้งเราสื่อสารอีกฝ่าย แต่เขากลับไม่เข้าใจเรา หรือเราสื่อสารไปอีกฝ่ายก็ไม่เข้าใจการสื่อสารของเรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำมาสู่ความสัมพันธ์ การเข้าใจผิด ในมุมมองการทำงานหากเราฟังโจทย์มาไม่เข้าใจ ผลที่เกิดก็จะทำกันผิด ๆ ซึ่งมีงานวิจัยออกมาว่าทีมที่ไม่เชื่อมั่นกัน จะทำให้ Productivty ไม่เกิดขึ้น เพราะทำให้ไม่เกิดการกล้าคิด กล้า feedback
มาดูกันว่าแล้วมีเทคนิคไหนที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับคุณ
และนี่คือ ‘เทคนิค 3tion’ จากคุณท้อฟฟี่
1. Information ข้อมูลที่เราอยากจะสื่อสาร
เราอยากจะบอกอะไรให้กับอีกคน การตั้งโจทย์นี้สำคัญมาก เพราะถ้าเราไม่ตั้งเป้า เขาจะหาว่าเราพูดเพื่ออะไร อยากสื่อสารเป็น สื่อสารเก่ง ต้องมีเป้าหมาย เช่น เราอยากเล่าเทรนด์ใหม่เขาฟัง เราต้องมีข้อมูลที่หนักแน่น น่าเชื่อถือ ตั้งเป้าเลยว่า เราจะเล่าเทรนด์นี้ด้วยข้อมูลที่เตรียมมา เป็นต้น
2. Emotion ความรู้สึก
การสื่อสารเป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ เคยไหมเวลาได้รับคำชม แต่เรารู้สึกเหมือนเขาไม่ได้ชม ดังนั้นความรู้สึกที่จริงใจต่อการชื่นชมสำคัญ ลองเปลี่ยนด้วยอินเนอร์, น้ำเสียง, ท่าทางต่าง ๆ ซึ่งสิ่งนี้เป็นพื้นฐานของความรู้สึก ‘คำพูดสามารถทำให้อีกฝ่ายรู้สึกดีได้’ เพราะความรู้สึกต้องคำนึงถึงผู้ฟังเป็นหลัก
3. Call to action: เมื่อฟังสารแล้วต้องรู้ว่าจะลงมือทำอย่างไร
ถ้าหากเรา feedback คนหนึ่งคน เราต้องให้เป้าหมาย หรือข้อปรับปรุงอีกฝ่าย ตัวอย่างเช่น ถ้าหากเรา feedback ลูกน้อง ไม่ใช่แค่ให้เขาเข้าใจ แต่ต้องให้สตินำไปสู่เป้าหมายด้วยว่า เขาจะสามารถปรับปรุงอย่างไร หรือแก้ไขอย่างไรได้ เราต้องให้เขามีเส้นทางไปต่อ ฉันจะลงมือทำอย่างไร!
เวลาเราทำงาน หรือในความสัมพันธ์ หากเราอยากให้ใครสักคนเปลี่ยนแปลง มันไม่ได้ใช้แค่ information, emotion อย่างเดียว หรือการสื่อสารต้องไม่แปะป้ายอย่างเดียว เราไม่มีสิทธิ์ไปบังคับใคร แต่มีอีกเทคนิคที่คุณท้อฟฟี่แนะนำ คือเราสามารถมี ‘iMessage’ หรือการพูดตรงแต่ไม่แรง คือต้องสร้างการลงมือทำให้เขาเกิดความรับผิดชอบ และเราต้องกล้าพูดตรง ๆ แต่ใช้วิธีการ หรือน้ำเสียงให้ดูนุ่มนวลขึ้น เพื่อแสดงความหวังดีให้อีกฝ่ายรับรู้ แถมยังทำให้เขารับผิดชอบต่อการกระทำเช่นกัน
เริ่มต้นวันนี้เพื่อสร้างคุณค่าให้กับตัวคุณ และคนรอบข้าง
ลองนำ 3 เทคนิคนี้ไปปรับใช้กันนะ 😊✌️