ส่อง 6 ลักษณะผู้นำแบบ I.M.P.A.C.T ที่สร้าง Impact ได้จริง จากคุณป๊อป Slingshot Group

การศึกษาภาวะผู้นำระดับโลก (World-Class Leadership Standards) พบว่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จต้องมี 6 คุณสมบัติหลักที่เรียกว่า I.M.P.A.C.T

Last updated on เม.ย. 9, 2025

Posted on เม.ย. 9, 2025

ถ้าเราจะเป็น Leader ที่สร้าง Impact สร้างผลลัพธ์ สร้างความสำเร็จ สร้างการเปลี่ยนแปลง เราควรจะต้องทำอย่างไร

คนอื่นไม่ได้คิดว่าคนไทยเก่ง Leadership โดยทางคุณป๊อป - อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา Founding Partner, Slingshot Group ที่ส่งวิทยากร, ส่งทีม Content, Course Outline ไปสอนที่เขมร, ลาว และเวียดนาม ปรากฎว่าทุกหลักสูตรรับหมดเลย แต่ที่โดนปฏิเสธมาคือ หลักสูตร Leadership แต่โดนตอบกลับมาว่า “Leadership ขอไม่เอาคนไทยได้ไหม”

เพราะไม่คิดว่าคนไทยมีชื่อเสียงในแง่ Leadership ในสายของคนข้างนอกเราโดดเด่นเรื่อง Service, Empathy แต่ถ้าจะเอาคนไทยมาสอน Leadership มันแปลก ๆ กลายเป็นว่านี่คือ Painpoint สำคัญ ในการก่อตั้ง Slingshot Group ด้วย Vision ที่อยากช่วยพัฒนา Leader ไทยให้มี Leadership Capabilities ระดับโลก เพื่อให้คนอื่น ๆ ทั่วโลกได้เห็นสิ่งนี้


ปัญหา และความท้าทายในการเข้าไปพัฒนาองค์กรของไทย มักเกิดจาก….

ความท้าทายที่ 1: เนื้อหาสะเปะสะปะ

การพัฒนา Leader ในเมืองไทยมันมีความสะเปะสะปะ หลายองค์กรเห็นว่าช่วงนี้อะไรดังเราก็ไปเอามาพัฒนาคน วันนึงมี Growth mindset เราก็แห่ไป วันนึง AI เข้ามาเราก็ไปเอาดีด้านนี้ คือทั้งนี้มันดีนะ แต่ถ้าเกิดองค์กรจะพัฒนา Leader แล้วไม่โฟกัสถึงการพัฒนาคนไปเป็นอะไร มันจะไปต่อยากมาก

ความท้าทายที่ 2: เป้าหมายไม่ชัดเจน

การมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะทำให้เรารู้ว่า การพัฒนาเราอยู่จุดไหน เรายังขาดอะไรอยู่ ยิ่งองค์กรที่ส่งเสริมการพัฒนาบุคคล มันต้องตอบให้ได้ว่า คุณกำลังพาคนทำงานพัฒนาไปสู่จุดไหน

ความท้าทายที่ 3: วัดผลความสำเร็จไม่ได้

เมื่อเป้าหมายไม่ชัดเจน เนื้อหาการเรียนรู้ก็สะเปะสะปะ โอกาสที่จะวัดผลความสำเร็จก็แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะมันไม่รู้ว่าเราจะพาคนในองค์กรไปจุดไหน แล้วอีกนานเท่าไหร่จะไปถึงเป้าหมาย ดังนั้นสิ่งที่มันเกิดขึ้น มันต้องเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ โดยตั้งคำถามว่า “เราจะพัฒนาอะไร ?”

Leadership ที่ดี และควรจะเป็นมันคืออะไร โดยทาง Slingshot Group ได้มีการทำ Research ไปพาร์ทเนอร์ร่วมกันกับ Center for Creative Leadership โดยเน้นทำ Leadership development และ Research รวมไปถึงยังได้ไปทำร่วมกับพาร์ทเนอร์ FutureTales Lab และในที่สุดก็ได้มาเป็น 6 Personas หรือ 6 คุณสมบัติ มันต้องการ 10 Competencies ดังนั้นถ้าเราต้องการจะเป็น Leader ที่สร้าง Impact มันจะต้องมี Competencies อะไรบ้าง เพื่อให้คุณมี Leadership ที่สร้างความแตกต่าง และนำไปสู่การสร้าง Impact


การศึกษาภาวะผู้นำระดับโลก (World-Class Leadership Standards) พบว่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จต้องมี 6 คุณสมบัติหลักที่เรียกว่า I.M.P.A.C.T

1. I - Initiator นักริเริ่มผู้มองการณ์ไกล

โดยภายใต้คุณสมบัตินี้ มี 2 Competencies ดังนี้

1.1 Embracing Global Awareness

มองการณ์ไกล เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและผลกระทบที่มีต่องาน ธุรกิจ และองค์กร มันไม่ใช่แค่เห็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสามารถคิดต่อได้ว่าภาพที่เห็นเกิดผลกระทบกับเราอย่างไร

1.2 Demonstrating Intellectual Insight

แสดงออกถึงความรู้เชิงลึก มีความคิดเชิงวิพากษ์ สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ ในวันนี้คุณฉลาดลึก ๆ จากข้างในไม่พอแล้ว มันทำให้คนอื่นไม่เห็น ถ้ามีของให้คายออกมา เพราะผู้นำต้องสามารถชี้ให้เห็นถึงส่วนสำคัญที่สุดของปัญหาหรือประเด็นที่ซับซ้อนได้ รวมถึงสามารถตั้งคำถามที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง


2. M - Mobiliser นักขับเคลื่อนผู้กระหายความสำเร็จ

โดยภายใต้คุณสมบัตินี้ มี 2 Competencies ดังนี้

2.1 Articulating Vision

สื่อสารวิสัยทัศน์ให้เห็นภาพความสำเร็จในอนาคตได้อย่างชัดเจน สร้างแรงบันดาลให้คล้อยตาม พูดง่าย ๆ คือเมื่อคุณรู้ทุกอย่างแล้ว คุณต้องสามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ด้วย และเห็นภาพความสำเร็จชัดเจน โดยมีทิศทางที่ชัดเจนและแน่วแน่เพื่ออนาคตขององค์กร สามารถทำให้พนักงานเชื่อในวิสัยทัศน์ สื่อสารแล้วทำให้คนฮึกเหิม ไม่ใช่ห่อเหี่ยว ด้วยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง

2.2 Formulating Pathway

วางแผนระยะสั้นและยาว เปลี่ยนวิสัยทัศน์ไปสู่การลงมือทำ กำหนดแนวทางปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จ คือคุณต้องมีวิธีการไปถึงฝัน ไปถึงเป้าหมาย ด้วยการเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้เป็นแนวทางปฏิบัติ สร้างแผนงานระยะยาว หรือกำหนดแผนธุรกิจที่มีประสิทธิภาพได้


3. P - Prover นักสร้างความน่าเชื่อถือผู้ยึดมั่นคุณธรรม

โดยภายใต้คุณสมบัตินี้ มี 1 Competencies ดังนี้

3.1 Earning Trust

สร้างความเชื่อมั่น ทำตามสัญญา รักษาคำพูด รับผิดชอบโดยไม่โทษคนอื่น เรื่องนี้สำคัญมากเพราะหัวหน้าหลายคนเวลาลูกน้องทำผิดก็ชิ่งหนีเอาตัวรอด ดังนั้นคนเป็นผู้นำจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบ ในภาษาอังกฤษมันจะมีอยู่ 2 คำ คือคำว่า Responsibility คุณทำคุณต้องรับ และ Accountability แม้ไม่ได้ทำก็ต้องรับ ดังนั้นผู้นำไม่สามารถปฏิเสธที่ลูกน้องทำไม่ได้ การรับผิดชอบต่อการกระทำโดยไม่กล่าวโทษผู้อื่น จะนำมาสู่การสร้างความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ


4. A - Aggregator นักผนึกกำลังผู้ผสานความหลากหลาย

โดยภายใต้คุณสมบัตินี้ มี 2 Competencies ดังนี้

4.1 Fostering Collaboration

ทำงานเป็นทีมและระหว่างทีม ทำงานร่วมกับคนและเทคโนโลยี บริหารจัดการความขัดแย้ง โดยคำว่า Collaboration มันไม่ใช่ Teamwork เฉย ๆ แต่มันต้องสามารถบริหารความร่วมมือระหว่าง AI ได้ด้วย เพราะทุกวันนี้เราทำงานโดยมี AI เป็นผู้ช่วยเช่นกัน ซึ่งการส่งเสริมความร่วมมือ ทำสิ่งต่าง ๆ จนสำเร็จได้ โดยหลีกเลี่ยงความบาดหมางที่ไม่จำเป็น ได้รับความร่วมมือแม้จากกลุ่มคนที่ไม่มีอำนาจควบคุม รวมถึงพยายามเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นคิดโดยไม่ตัดสิน

4.2 Navigating Politics

โดยมี Research บอกไว้ว่าการที่คุณจะประสบความสำเร็จได้ คุณต้องรู้จักใช้ประโยชน์กับการเมืองภายใน เพราะการเมืองเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องลบ แต่มันคือการผสานอำนาจ และผสานผลประโยชน์ โดยคุณต้องเข้าใจใครเป็นใคร ตรงไหนควรพูด ตรงไหนไม่ควรพูด เรียกง่าย ๆ ว่าคุณต้องอยู่เป็น โดยการเข้าใจและใช้ประโยชน์จากการเมืองภายในองค์กรเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม สร้างพันธมิตรและเครือข่าย รวมไปถึงคุณต้อง Influence คนทำงาน ร่วมกับคนที่ไม่มีอำนาจควบคุม (คนที่นอกเหนืออำนาจที่ไม่ใช่ลูกน้องคุณ)


5. C - Challenger นักท้าทายผู้ไม่ย่อท้อ

โดยภายใต้คุณสมบัตินี้ มี 1 Competencies ดังนี้

5.1 Being Bold

กล้าเสี่ยง กล้าเผชิญหน้า กล้าทำในสิ่งที่คนส่วนใหญ่อาจไม่เห็นด้วย พร้อมรับมือกับปัญหาและความยากลำบากที่อาจเกิดขึ้น โดย Insight ส่วนใหญ่ของผู้นำในไทยคือไม่กล้าพูดข่าวร้ายกับลูกน้อง ไม่อยากจะให้ Feedback กับลูกน้อง เพราะกลัวเราจะไม่เป็นที่รักของทีม


6. T - Transformer นักเปลี่ยนแปลงผู้สร้างความยั่งยืน

โดยภายใต้คุณสมบัตินี้ มี 2 Competencies ดังนี้

6.1 Pioneering Change

บุกเบิกการเปลี่ยนแปลง นำเสนอแนวคิดใหม่ที่เป็นไปได้ในอนาคต มีคุณสมบัติของผู้ประกอบการ เพราะการรอการเปลี่ยนแปลงไม่พออีกต่อไป การมีวิสัยทัศน์ นำเสนอแนวคิดใหม่เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในอนาคต มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบการที่ล้มแล้วลุกเร็ว ใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ ๆ ได้อยู่เสมอ

6.2 Cultivating Growth

เติบโตอย่างยั่งยืน เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สร้างคนเพื่ออนาคต คุณต้องสนใจใฝ่รู้เติบโต พัฒนาทักษะใหม่ที่มีนัยสำคัญอย่างต่อเนื่อง มองหาประสบการณ์ที่จะเปลี่ยนมุมมองของตัวเองเสมอ


มี Research Thailand dataset of 9,000 + ใน Corporate leaders ซึ่งระบุไว้ถึง 10 Competencies ที่ Leader ส่วนใหญ่ในไทย อะไรทำได้ดี และอะไรเรายังต้องพัฒนา

3 อันดับแรกที่ Leader ไทยทำได้ดี

  1. Earning Trust ของคนไทยอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุด เพราะส่วนใหญ่ Leader คนไทยมี Empathy เราฟังลูกน้อง
  2. Formulating Pathway เรามีวิธีการ และรู้ว่าจะไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร
  3. Navigating Politics เราบริหารจัดการเรื่องของการเมืองได้ดี

3 อันดับที่ Leader ไทยยังทำได้ไม่ดี และควรพัฒนา

  1. Cultivating Growth แปลว่าอะไรที่เป็นการสร้างคนในระยะยาวเราไม่ค่อยเก่ง
  2. Embracing Global Awareness เรามองไม่ค่อยเห็นอนาคต ไม่ได้เป็นคนคิดไกล
  3. Fostering Collaboration เรื่องของ Collaboration เรายังไม่ดีพอ เพราะคนไทยมักเก่งคนเดียว แต่พอเป็นเรื่องของ TeamWork เรายังต้องเร่งพัฒนาจุดนี้อยู่

นำให้ได้ นำให้เวิร์ก นำให้สำเร็จ ไม่ใช่แค่เป็นผู้นำ แต่ต้องเป็นผู้นำที่สร้าง Impact ให้ธุรกิจ ทำได้อย่างไร ?

กรอบแนวคิดการพัฒนาผู้นำอย่างเป็นระบบสำคัญ โดยทาง Slingshot ได้ทำ 4 Solution 4 Step ในการพัฒนาผู้นำไปสู่ระดับ World-class Leaders

  1. Define - กำหนดสิ่งที่ในแต่ละองค์กรต้องการพัฒนาให้ชัดเจน
  2. Diagnose - เข้าไปวัดและประเมิน 6 Personas และ 10 Competencies ในองค์กร
  3. Develop - เข้าไปพัฒนา Personalization-at-scale
  4. Determine Success - กำหนดความสำเร็จ, ประเมินผลกระทบ และวัดผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

โดยหนึ่งในเทคนิคการพัฒนาผู้นำ ส่วนใหญ่คนมักจะพัฒนาจุดแข็ง (Strengths) โดยที่ไม่สนใจจุดอ่อน (Weaknesses) แต่ในความเป็นจริงแล้วต่ำกว่าจุดอ่อน ยังมีสิ่งที่เรียกว่าจุดตาย (Fatal Flaws) และเหนือกว่าจุดแข็ง ยังมี จุดแกร่ง (Profound Strengths) ดังนั้นการเข้าใจ “Priority ในการพัฒนาแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน” สำคัญมาก

ดังนั้นวิธีการพัฒนามันมี 2 จุดสำคัญคือ

Linear Development

ขาดเรื่องใด เติมเรื่องนั้น ในกรณีที่เป็นจุดอ่อน หรือจุดตาย เช่น ถ้าวันนี้คุณสื่อสารไม่เป็น ก็ไปเติมเรื่องของการสื่อสาร เป็นต้น

Non-Linear Development

อยากเสริมเรื่องนี้ ให้เติมเรื่องอื่น ในกรณีที่เป็นจุดแข็งของคุณ โดยจะต้องไปทำสิ่งที่เรียกว่า Cross training คือการฝึกฝนทักษะอื่น ๆ เพิ่มเติมที่ไม่ได้เพียงแค่ทักษะเดียว คุณต้องไปพัฒนาทักษะเรื่องอื่นด้วย


เวลาที่ Slingshot Group จะเลือก Area for Development หรือการพัฒนาจะได้ผลดี มันมีสิ่งที่เรียกว่า Sweet Spot ซึ่งต้องมี 3 สิ่งนี้

  1. Competence (ถ้ามีจุดตายที่ต้องพัฒนา หรือ มีจุดแข็งที่ต้องต่อยอด)
  2. Motivation (ถ้าเจ้าตัวอยากพัฒนา)
  3. Organization Need (ถ้าเป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญ อยากพัฒนา)

โดยสรุปแล้วจะเห็นว่าการพัฒนาคนไม่ใช่เรื่องง่าย มันมีความซับซ้อนในการพัฒนาอยู่มาก ซึ่งแน่นอนว่า Slingshot Group ได้ตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ไว้ให้แล้ว ด้วยแพชชันในเชิงของ “ผู้นำไทย มาตรฐานโลก” เพราะคนไทยเก่งไม่แพ้ใครในการไปสู่ World Class อย่างแท้จริง รวมไปถึงการเข้าใจถึงการพัฒนาผู้นำได้อย่างถูกจุด สามารถวัดผลได้จริงนั่นเอง


สำหรับองค์กรไหนที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.slingshot.co.th

trending trending sports recipe

Share on

Tags