AIS ประกาศวิสัยทัศน์ AIS VISION 2019 ในงาน AIS Digital Intelligent 2019

Last updated on พ.ค. 29, 2019

Posted on ก.พ. 2, 2019

AIS ประกาศวิสัยทัศน์ AIS VISION 2019 โดยคุณสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมกับคุณ ฮุย เว็ง ชอง กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ในงาน AIS Digital Intelligent 2019 ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562

“5G มีเมื่อพร้อม ดีกว่ารีบแล้วไม่มี Value Added”

ตลอด 28 ปีที่ผ่านมา AIS ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นผู้วางรากฐานให้กับธุรกิจโทรคมนาคมให้กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน โดยจุดเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญคือช่วงปี 1994 จนถึงปี 2012 ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อที่ประชาชนไทยจะได้มีโอกาสเปลี่ยนจากเทคโนโลยี 2G เป็น 3G แต่ใช้ยาวนานเนื่องด้วยปัจจัยในระดับประเทศ แต่เมื่อการแต่งตั้ง กสทช.เรียบร้อยแล้ว ทำให้การยกระดับจาก 3G เป็น 4G ใช้เวลาเพียง 3 ปีหลังจากนั้น และปัจจุบันเริ่มทดลองเทคโนโลยี 5G ได้หลายโปรเจ็คแล้ว

เป็นที่น่าสนใจว่า ความเร็ว-ความช้านี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ AIS คำนึงถึงเป็นหลัก แต่คุณสมชัยกลับมองถึงความสำคัญของ Value Added ที่จะมาทำให้เทคโนโลยี 5G ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด

AIS VISION 2019

หากมองไปที่ประเทศที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีของโลก ต่างก็มี Value Added เป็น Product อย่างชัดเจน เช่น ประเทศจีนมี Huawei สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิต Shipset ที่เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ IoT ต่างๆ เกาหลีมีแบรนด์ Samsung หรือประเทศญี่ปุ่นก็กำลังมุ่งพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ เมื่อได้เทคโนโลยี 5G แล้วก็จะทำให้ Innovation เหล่านี้มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้อย่างสูงสุด

คำถามคือ “ประเทศไทยจำเป็นต้องลงทุน 5G หรือยัง?” ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเรายังไม่ Use Case ที่ชัดเจนว่าความต้องการใด หรือปัญหาใดจะถูกจัดการได้เมื่อมีเทคโนโลยี 5G สำหรับ AIS แล้วเห็นว่า 5G ควรเริ่มในเวลาที่คุ้มค่าดีที่สุด ซึ่งคุณสมชัยกล่าวว่าประเทศไทยยังไม่เหมาะกับ 5G ณ ตอนนี้ แต่อาจเกิดขึ้นได้ในประมาณ 3 ปีข้างหน้าโดยประมาณ

 

“2018 ปีของเศรษฐกิจ Digital แบบแบ่งปัน โตไปด้วยกันดีกว่าโตคนเดียว”

ในปีที่ผ่านมาพฤติกรรมของผู้บริโภคไม่ได้ใช้โทรศัพท์ไม่ใช่เพราะการสื่อสารเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่ Telecom เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเรากำลังก้าวข้ามโลกของการสื่อสาร เข้าสู่โลกของ Digital อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปก็สอดคล้องกันกับแนวคิดนี้ สังเกตจากพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตในปีที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ซึ่งคุณฮุย เวง ชอง กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ได้กล่าวถึงการพัฒนาเครือข่าย Digital และยกเคสการศึกษาเตรียมรองรับเทคโนโลยี 5G ที่น่าสนใจหลายโครงการ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประเทศ จาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และภาคการศึกษา อาทิ โครงการ Future City จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ Siam Square , โครงการรถ EV แบบไร้คนขับกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น หรือโครงการ AIAP (AIS IoT Alliance Program) ที่เปิดตัวในปี 2018 ด้วยความร่วมมือของสมาชิก 70 ราย ปัจจุบันมีสามาชิกเพิ่มมากกว่า 1,000 รายแล้ว

กล่าวได้ว่า AIS เชื่อในการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เผื่อผลักดันให้ Digital Platform เกิดขึ้นจริงตามความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค

 

Digital Society ถ้าเราทุกคนคือเครือข่าย
“คนและสังคมคือสิ่งที่คนทำงานและทุกคนต้องนึกถึงในยุคของ Digital”

AIS VISION 2019

3 องค์ประกอบที่ AIS เชื่อว่าจะทำให้การเติบโตของ Digital Ecosystem เป็นไปอย่างยั่งยืน นั่นคือ Technology, People และ Society

ที่ผ่านมานอกจาก AIS จะพัฒนา Digital Platform แล้ว AIS ยังพัฒนาบุคลากรของ AIS ของบริษัทด้วยโครงการ AIS Academy ซึ่งองค์ความรู้ในโครงการนี้ สามารถส่งเสริมต่อยอดให้กับคนไทยโดยทั่วไปเพื่อให้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงในยุค Digital ได้เช่นกัน AIS จึงขยายความรู้นี้ออกไปเป็น AIS Academy for Thais สำหรับประชาชนทั่วไปด้วย

ในด้าน Society ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้โลก Digital อยู่ได้อย่างสมบูรณ์นั้น ประเด็นที่น่าสนใจคือ Cyber Wellness ซึ่งคุณสมชัยกล่าวถึง DQ – Digital Intelligence Quotient หรืออัจฉริยะภาพทาง Digital ซึ่งถ้าเราใช้งานไม่ถูกต้อง อาจจะเกิดโทษอย่างมหาศาล โดย DQ อาจแบ่งมุมมองที่แตกต่งกันได้ 3 กลุ่มคือ

  • Digital Citizen คือ User ที่ใช้งานทั่วไป
  • Digital Creativity คือผู้พัฒนามีความรู้และนำ Digital ไปสร้างสรรค์และขายได้
  • Digital Entrepreneur คือผู้ให้บริการด้าน Digital เช่น AIS เองถือเป็นกลุ่มนี้


ในแง่มุมของ Digital Citizen นั้น AIS ได้ keyword “ถ้าเราทุกคนคือเครือข่าย” จากคุณต่อ ธนญชัย ศรศรีวิชัย จาก Phenomena โดยลองให้ย้อนคิดใหม่ว่า หาก AIS ไม่ใช่แค่คนเดียวที่ให้บริการเครือข่าย “สัญญาณและเทคโนโลยี” ถ้าเราทุกคนต่างก็เป็นผู้ให้บริการเครือข่าย “พลังสร้างสรรค์แก่สังคม” บ้าง สังคมนี้จะมีคุณภาพมากขึ้นได้อีกขนาดไหน

AIS VISION 2019

เพื่อสนับสนุนแนวคิดนี้ AIS จึงต่อยอดให้ Digital Platform นี้เป็นของคนไทยทุกคน ด้วยการเพิ่มเทคโนโลยีอีก 2 ส่วนคือ Data Analytics เพื่อวิเคราะห์ความต้องการในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าของ AIS ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 41 ล้าน และมี Partner Connect ผ่าน Platform ของ Content Partner ซึ่งหากความร่วมมือนี้สำเร็จ ประชาชนชาวไทยจะได้มี Platform ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างสำนึกที่อยากจะปกป้องสังคมของเรา

 

สำหรับวิสัยทัศน์ในปีนี้ของ AIS นั้น ทีม Creative Talk มองว่าเป็นการก้าวไปอย่างมีกลยุทธ์ไม่ผลีผลาม และเป็นไปอย่างยั่งยืนด้วยการผสมผสานไปกับการเติบโตของสังคมไทย ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นแต่ตัวเลขการเติบโตทางธุรกิจแต่เพียงด้านเดียว เป็นที่น่าสนใจว่าผู้บริโภคจะได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบไหนและเมื่อเกิดขึ้นจริงจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้อย่างไรอีกด้วย

trending trending sports recipe

Share on

Tags