🤔 Employee Engagement
หรือความผูกพันต่องานและองค์กร นับเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้นำองค์กร ต่างก็หวังอย่างยิ่ง เพื่อให้องค์กรของตัวเองไปสู่เป้าหมายนั้นได้
🌊 งานวิจัยบ่งบอกว่า “คนทำงานส่วนใหญ่มักโฟกัสการทำงานให้หมดเวลาไปวัน ๆ”
มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก Gallup ได้ศึกษาผู้บริหารและพนักงานจำนวน 25,000 คน พบว่ามีเพียง 30% ของคนทำงานในสหรัฐอเมริกามี Employee Engagement และมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ดียิ่งขึ้น แต่ 50% คนทำงานกับโฟกัสแค่การทำงานให้เวลาหมดไปวัน ๆ และอีก 20% คนทำงานมีพฤติกรรมที่ทำให้การร่วมงานเป็นผลในเชิงลบ เช่น ขาดงานบ่อย, ไม่เห็นด้วยต่อการทำงานภายในทีม หรือร้ายแรงที่สุดคือทำให้ลูกค้าจากไปด้วยบริการที่ไม่ดี สูญเสียความไว้ใจ และส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัท
🌊 เรื่องนี้บ่งบอกถึงผู้นำองค์กรต้องให้ความสำคัญ “คนทำงาน”
มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก Harvard Business Review โดยผู้ให้กำเนิดเรื่องราวนี้มาจาก คุณ Chan Kim และ คุณ Renée Mauborgne ได้พัฒนาเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากร ซึ่งมีชื่อว่า “Blue Ocean Leadership” เป็นหนึ่งในแนวคิดที่ว่า คำว่าภาวะผู้นำแท้จริงแล้วสามารถมองเป็น “บริการ” อย่างหนึ่ง คนในองค์กรมีสิทธิ์ “ซื้อ” หรือ “ไม่ซื้อ” ขึ้นอยู่กับบริการของผู้นำองค์กรนั้นมีคุณค่า หรือวิธีปฏิบัติกับคนทำงานดีพอให้เขาเชื่อหรือไม่
หากคนทำงานรู้สึกได้ว่าผู้นำองค์กรคนนี้ มีคุณค่า มีความน่าเชื่อถือ มีวิธีปฏิบัติกับคนทำงานที่ดี แน่นอนว่าเมื่อคุณให้ใจเขา ให้ความช่วยเหลือ พวกเขาก็จะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเปรียบเสมือนคนทำงานได้ ‘ซื้อ’ ความเป็นผู้นำองค์กรในแบบของคุณ แต่กลับกันถ้าคนทำงาน ‘ไม่ซื้อ’ คนทำงานหล่านี้ก็จะขาดการมีส่วนร่วม และไม่เชื่อมั่นในตัวผู้นำองค์กร กลายเป็น ‘คนนอกสายตา’ ทันที
ดังนั้นจึงเป็นที่มาของกรอบแนวคิด Blue Ocean Leadership จะเข้าไปพัฒนาตัวผู้นำ และทำให้คนนอกสายตาที่ไม่เชื่อมั่นในคุณ ให้กลับมากลายเป็นคนที่ซื้อ เป็นลูกค้าของผู้นำองค์กร และยังช่วยเพิ่ม Employee Engagement เพิ่มการมีส่วนร่วมและมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมายด้วยกัน
🌊 Blue Ocean Leadership Grid ประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลัก ๆ
ต้องบอกก่อนว่าแนวทางการพัฒนาผู้นำนั้นมีอยู่มากมายหลายเทคนิคด้วยกัน แต่วันนี้ 1 ในองค์ประกอบสำคัญที่อยากมานำเสนอคือสิ่งที่เรียกว่า “Blue Ocean Leadership Grid” หรือเฟรมเวิร์ก 1 หน้าที่จะทำให้เราเป็นผู้นำองค์กรที่สามารถวิเคราะห์ความเป็นผู้นำของเรา อะไรที่ควรทำ อะไรที่ไม่ควรทำ หรืออะไรที่ควรโฟกัสมากขึ้น เปรียบเสมือนกระจกสะท้อนตัวเราในฐานะผู้นำองค์กร ที่ต้องขับเคลื่อนทั้งธุรกิจ และคนทำงาน โดยรูปแบบของความเป็นผู้นำ จะแบ่งออกเป็น Coldspots จุดอ่อน และ Hotspots จุดแข็ง ซึ่งตัวผู้นำองค์กรเองต้องระบุสิ่งเหล่านี้ เพื่อวิเคราะห์ภาพในปัจจุบันที่กำลังให้ความสำคัญอยู่
จุดอ่อน (Coldspots)
🎯 1. การยกเลิก (ELIMINATE)
มีเรื่องอะไรบ้างที่ผู้นำองค์กร ควรยกเลิก หรือจัดการทิ้งมันลงไป
ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับต้นทุนของเวลา และความคิดของผู้นำ โดยปกติแล้วทุกครั้งที่เริ่มใช้งาน Blue Ocean Leadership Grid มักจะต้องเริ่มจากจุดนี้เป็นอันดับแรก ลองทบทวนดูว่า ปัจจุบันอะไรบ้างในธุรกิจของคุณยกเลิก เพื่อสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ไม่ว่าจะในด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หรือในด้านคนทำงาน ในฐานะผู้นำองค์กรเคยได้เริ่มลงไปคุย ลงไปพัฒนา เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง ?
ทั้งนี้ การยกเลิก (ELIMINATE) ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและทีมในเวลานั้นด้วย คนเป็นผู้นำองค์กรต้องประเมินให้ได้ว่าอะไรที่เพิ่มคุณค่าได้น้อย หรือไม่เพิ่มเลย ควรจะต้องหยุด ยิ่งเราลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นออกไปได้มากเท่าไหร่ จะเป็นการเพิ่มเวลาให้กับตัวผู้นำองค์กรได้นำเวลาที่มีค่า ไปใช้กับเรื่องที่ยกระดับคุณค่าให้กับองค์กร และคนทำงานต่อได้ทันที
🎯 2. การลดทอน (REDUCE)
มีเรื่องอะไรบ้างที่ผู้นำองค์กร ควรทำให้น้อยลง!
ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับต้นทุนของเวลา และความคิดของผู้นำ เป็นอีกหนึ่งจุดที่ผู้นำองค์กรต้องตอบตัวเองให้ได้ โดยจะแตกต่างจาก การยกเลิก (ELIMINATE) เพราะการลดทอนให้น้อยลง ไม่ได้หมายถึงยกเลิก หรือเลิกทำไปเลย แต่เป็นการลดลำดับความสำคัญในเรื่องที่ยังมีความจำเป็นน้อย เช่น ทุกวันนี้เราในฐานผู้นำองค์กรยังต้องคอยตามงานน้อง ๆ แทบจะทุกวัน ไม่มีเวลาได้เอาความสามารถตัวเองไปสร้าง Culture ที่ดีให้กับองค์กรได้ เป็นต้น
จุดแข็ง (Hotspots)
🎯 3. การเพิ่มพูน (RAISE)
มีเรื่องอะไรบ้างที่ผู้นำองค์กร ควรจะเพิ่มให้มากขึ้น เพื่อสร้างคุณค่าให้กับคนในองค์กร
ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับต้นทุนของเวลา และความคิดของผู้นำ อะไรที่ผู้นำองค์กรมองว่าเป็นเรื่องสำคัญ และยังไม่ได้เพิ่มคุณค่าให้กับคนในองค์กร หรือประโยชน์สูงสุดที่องค์กรจะได้รับ ถ้าวันนี้คุณมองว่า Employee Engagement สำคัญ คุณก็ควรจะเพิ่ม RAISE ให้กับเรื่องนี้ และไปยกเลิก หรือไปลด สิ่งที่สำคัญน้อยกว่าลงทันที
🎯 4. การสร้างสรรค์ (CREATE)
มีเรื่องอะไรบ้างที่ผู้นำองค์กร ควรจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่
ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับต้นทุนของเวลา และความคิดของผู้นำ ในด้านการสร้างสรรค์ไม่ได้มีเพียงแค่ธุรกิจที่ต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในมุมของ Employee Engagement การจะเข้าใจคน และทำให้คนทำงานทุ่มเท และเชื่อใจเราก็นับว่าสำคัญที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ในเรื่องใหม่ ๆ
หากคุณยังไม่เคยลงไปพูดคุยคนทำงาน หรือ ลงไปพัฒนาร่วมกับทีม HR ก็ขอให้รีบทำซะ แล้วลำดับให้ดีว่า อะไรควรเลิกทำ, อะไรควรลด และมาเพิ่มสิ่งสำคัญ รวมถึงสร้างสรรค์เรื่องใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้คนทำงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กร และเป็นส่วนหนึ่งกับงาน เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจกับงานที่ทำ เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระจกสะท้อนผู้นำ เมื่อคุณสะท้อนตัวเองได้แล้ว อย่าลืมนำไปปรับ และแก้ไขทันที
ลองใช้เฟรมเวิร์กนี้ในการจัดลำดับความคิดตัวเอง เพื่อที่คุณจะเป็นผู้นำที่มีศักยภาพ เพื่อดึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ของคนทำงานออกมาให้เขาได้ภาคภูมิใจผลงานที่ทรงค่าต่อไป
แปล เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
ที่มา
- Blue Ocean Leadership
- Blue Ocean Leadership Grid
- How to Develop and Select Your New Leadership Profiles – Part 4