ความคิดสร้างสรรค์และการสื่อสาร ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Last updated on มี.ค. 24, 2023

Posted on พ.ค. 14, 2020

ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เจอปัญหาและความท้าทายหลายอย่าง ต้องปรับตัวให้ทันกับสิ่งที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ซึ่งพอมองในเรื่องของการศึกษาในปัจจุบันนอกจากทักษะพื้นฐานที่สำคัญ เช่น การอ่าน เขียน วิทย์ คณิต อีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือการมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมเรื่องทักษะให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตในอนาคต ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และการสื่อสาร 

ทักษะความคิดสร้างสรรค์และการสื่อสาร จำเป็นอย่างไรในอนาคต?

อย่างที่บอกว่ายุคของการเปลี่ยนแปลง คนต้องพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง พื้นฐานสำคัญคือกระบวนการความคิดที่ช่วยให้เราเปิดกว้างและเรียนรู้สิ่งใหม่ นั่นคือ ความคิดสร้างสรรค

1. ความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้เขามีความละเอียดรอบคอบในการวิเคราะห์และประเมินแนวความคิด

เพราะเขาต้องการไอเดียใหม่ ความคิดเห็นที่หลากหลาย ต้องการการระดมสมอง ดังนั้นเขาจึงจะต้องเปิดกว้างทางความคิด ยอมรับรับมุมมองหรือแนวคิดที่แตกต่างจากผู้ร่วมงาน เพื่อให้ได้ซึ่งวิธีที่จะใช้ปรับปรุงงาน พัฒนางานในเชิงสร้างสรรค์ได้ หรือแม้การคิดหาหลากหลายวิธีในการแก้ปัญหา โดยมองเห็นข้อดี ข้อจำกัด ในหลายมิติ เพื่อนำมาใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันหรือที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ดีที่สุด

2. ความคิดสร้างสรรค์จะทำให้เขาสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ ที่มีคุณค่าทางความคิด

ทั้งในทางปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นการผลิตผลงาน สร้างนวัตกรรม ที่สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ 

3. ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้เขาได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น

หลายคนเก่ง แต่ขาดทักษะการสื่อสารว่าต้องการอะไร คนฟังไม่เข้าใจ เกิดการไม่ยอมรับในตัวเขาตามมา ซึ่งการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ชัดเจน จะทำให้ทุกคนมองเห็นสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง ปัญหาคืออะไร สิ่งที่เขาต้องการแก้ไข และทุกคนต้องทำอย่างไรเพื่อจะไปถึงจุดนั้น การสื่อสารที่ชัดเจนจึงสำคัญที่ว่าจะช่วยให้ทุกเห็นจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนและร่วมมือกันทำ

ความคิดสร้างสรรค์และการสื่อสาร

ทำอย่างไรถึงจะเรียนรู้การเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์และการสื่อสารที่ดี

เรื่องความคิดสร้างสรรค์และการสื่อสารไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวกันมาตั้งแต่เกิด แต่สามารถฝึกกันได้ ไม่จำเป็นว่าทักษะความคิดสร้างสรรค์จะเป็นเฉพาะคนที่เป็นนักออกแบบหรือครีเอทีฟเท่านั้น ไม่จำเป็นว่าทักษะการสื่อสารจะมีได้เฉพาะคนที่เป็นนักประชาสัมพันธ์ เพราะถ้าสังเกตดี ๆ สองสิ่งนี้คือซอฟต์สกิลที่เราใช้ในการแก้ปัญหาและตัดสินใจในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ในเช้าวันหนึ่งที่คุณตื่นสายแล้วต้องรีบไปทำงาน ตอนนั้นในหัวคุณจะเกิดลำดับขั้นการทำกิจวัตรที่ต่างไปจากปกติทุกวันเพื่อประหยัดเวลา จะอาบน้ำไปด้วยแปรงฟันไปด้วย แปรงฟันไปด้วยปลดทุกข์ไปด้วย หรือทำสามอย่างไปพร้อมกัน! (ถ้ามันทำได้) นี่อาจจะเป็นกระบวนการคิดสร้างสรรค์เล็ก ๆ ที่ใช้แก้ปัญหา คำถามคือ แล้วเราจะมีวิธีการฝึกความคิดสร้่างสรรค์นี้ได้อย่างไร ในบทความ ฝึกคิดแบบนักออกแบบ: 3 ทักษะของนักออกแบบที่คนที่ไม่ใช่ Designer ควรมีในทศวรรษที่ 20 ได้ยกตัวอย่างไว้ เช่น

  1. หยุดคิดว่าตัวเองไม่มีความคิดสร้างสรรค์เอาซะเลย เพราะเป็นสกิลที่สามารถฝึกฝนกันได้ไม่ต่างจากทักษะด้านอื่น ๆ
  2. เพิ่มวัตถุดิบให้สมอง ด้วยความรู้ด้านอื่นที่หลากหลายไม่กระจุกอยู่แค่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง พบเจอคนและบรรยากาศใหม่ ๆ
  3. ฝึกคิดเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน
  4. ช่างสังเกตและฝึกตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัว เช่น ทำไมของสิ่งนั้นต้องเป็นแบบนั้น อะไรคือแรงบันดาลใจให้เขาสร้างของสิ่งนี้ ทำไมเขาถึงใช้ภาษาในการสื่อสารแบบนี้ และถ้าเราไม่ทำแบบนี้ เรามีวิธีอื่นที่ทำแล้วได้ผลลัพธ์เหมือนหรือคล้ายกันบ้างไหม เป็นต้น

สรุป

ในศตวรรษที่ 21 นี้ การใช้ชีวิตเราจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านจากสิ่งหนึ่งไปสิ่งหนึ่งอย่างรวดเร็ว มีความจำเป็นอย่างมากที่เราต้องปรับตัวรับกับสถานการณ์ได้เร็ว เรียนรู้ปัญหาและแก้ให้เร็ว พัฒนาต่อยอดได้อย่างต่อเนื่อง จึงต้องใช้ไอเดียและความคิดแปลกใหม่ในการสร้างสรรค์และสิ่งสำคัญบางครั้งเราอาจจะไม่สามารถสร้างทั้งหมดขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง แต่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่น เพราะฉะนั้นการสื่อสารจึงเป็นทักษะที่จำเป็นเช่นกัน จึงเป็นคำตอบที่ว่าทำไมทักษะความคิดสร้างสรรค์และการสื่อสารจึงจำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 

อ้างอิง :


บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

trending trending sports recipe

Share on

Tags