คาดการณ์ประเด็น ESG ร้อนแรงที่สุดแห่งปี โดย 3 ผู้เชี่ยวชาญ คุณ วิศน สุนทราจารย์ SEVP, Corporate Strategy and Sustainability, PTT Oil and Retail Business Plc. (OR) คุณ อัจฉรา ปู่มี Founder and CEO of PAC Corporation ( Thailand ) Co.,Ltd. และคุณ ธนพงษ์ ณ ระนอง Managing Director, Beacon VC ในงาน AP Thailand Presents CTC FORECAST 2024 รู้ก่อน เริ่มก่อน เปลี่ยนแปลงก่อน
โดยเทรนด์ ESG ไม่ใช่เรื่องของแฟชั่น แต่เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น และทุกคนต้องทำในอนาคต ซึ่งประกอบไปด้วย 3 เรื่องใหญ่สำคัญ ที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญ!
🌏 เรื่องที่ 1: ESG TRENDS 2024 ที่น่าสนใจในปีนี้!
🌳 1. Focus on Climate Action
เราต้องโฟกัสที่ Climate Action โดยสิ่งสำคัญคือทุกบริษัทต้องกลับมาดูว่า ‘Action ของบริษัทคุณ คืออะไร ?’ เช่น เรื่องสินค้าและบริการ จะไปตอบโจทย์ Climate Action อย่างไร, จะลดพลังงานอย่างไร, มีการทำเรื่องของ Carbon Capture ดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไหม หรือทำเรื่องของแพลตฟอร์มต่าง ๆ เราจะเป็นส่วนหนึ่งยังไงได้บ้าง เรื่องนี้ SMEs และ Startup ต้องตื่นตัวด้วยเช่นกัน โดยอาจจะเริ่มจากสิ่งที่ปลูกฝัง Mindset การประหยัดพลังงานในองค์กรก่อนได้
🌳 2. Tech-Driven ESG Solutions
กลับมามองว่าสินค้าและบริการของเราตอบโจทย์เรื่องของ Sustainability เราสามารถจะทำให้สินค้าและบริการของเราเป็น Solution ด้าน ESG ได้หรือเปล่า เช่น หากทำแพลตฟอร์มที่ช่วยผู้หญิงที่ออกมาจากเรือนจำ ให้ทำงานได้ อันนี้คือการทำเรื่องของ S เป็นหลัก นั่นคือ Social หรือบางท่านทำแพลตฟอร์ม Carbon accounting ซึ่งกำลังมาแรงมาก ๆ อันนี้ก็จะตอบโจทย์เรื่องของ E-Environment แต่ต้องเสริมเรื่อง Tech เข้ามามากขึ้นสำหรับ SME และ Startup แม้จะฟังดูยากแต่อยากให้ลองหามุมมองใหม่ ๆ เพราะนี่คือโอกาสของคนธุรกิจขนาดเล็ก - กลาง
🌳 3. Growing Importance of diversity, equity and inclusion (DE&I)
ในส่วนนี้คือเรื่องของ DE&I คือ diversity, equity and inclusion เช่น Human Right การจ่ายค่าแรงที่เป็นธรรม, สวัสดิการความเป็นอยู่ที่ดีของคนรอบข้าง นี่เป็นโอกาสที่จะทำให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดี และเป็นอิมแพคที่ดีขององค์กร
🌳 4. การใช้พลังงานทดแทน หรือพลังงานหมุนเวียน เพิ่มขึ้น 3 เท่า
เป็นหนึ่งในธุรกิจที่จะมาแน่ ๆ ซึ่งประเทศไทยแบ่งการใช้พลังงานดังนี้
50% มาจากภาคอุตสาหกรรม, 25% เป็นภาคธุรกิจ และตามมาด้วย 20 กว่าเปอร์เซ็นต์เป็นภาคครัวเรือน ดังนั้นใครจะทำธุรกิจทางด้านนี้ ภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจตอบโจทย์ที่สุด
🌳 5. การลดใช้พลังงานด้วยเทคโนโลยี
เทคโนโลยีจะมีความสำคัญมากในเรื่องนี้ โดยสิ่งที่น่าสนใจจากงาน CES (Consumer Technology Association) ซึ่งจัดที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา โดยฝั่ง Tech จะมีความสำคัญมากในการช่วย Climate Change และ Net Zero โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจจาก McKinsey ว่าถ้าทุกภาคส่วนมาร่วมกัน รวมถึงฝั่ง Tech ในการใช้ระบบ Cloud Computing จะช่วยตอบโจทย์ทางด้าน Carbon Emission มากขึ้น ในการ Cover ให้ครบทุกภาคส่วน จะช่วยลดพลังงานได้ถึง 2 เท่า ซึ่งจะส่งผลเรื่องของ Net Zero ซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่ได้เร็วขึ้น 2 เท่า
🌳 6. Food System รูปแบบอาหารใหม่ ๆ
เรื่องที่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามคือ ‘อาหาร’ ซึ่งประกอบไปด้วย E-Environmental และ S-Social ในส่วนของ ESG โดยตัว E จะประกอบด้วย Climate Change ในการผลิตอาหารภาคปศุสัตว์ที่ผลิตมีเทนเยอะ หรือภาคเกษตรที่ผลิตพืชไร่เป็นอาหารของสัตว์อีกที ก็ผลิตคาร์บอนมากเช่นกัน หากเรายังไม่เปลี่ยนแปลงกระบวนการแบบเดิม ๆ โอกาสจะเกิดเรื่อง Net Zero ก็จะยากขึ้น ดังนั้นจึงต้องเริ่มแก้ไข Food System มากขึ้นในปีหน้า
🌏 เรื่องที่ 2: หนึ่งในเรื่องที่ถูกพูดถึงคือ Climate Change โลกของเรากำลังเดือด นี่คือสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ที่คนทั่วโลกตื่นตัว และให้ความสำคัญ ได้กล่าวถึง “COP28”
COP28 (Conference of the Parties) เป็นหนึ่งในงานประชุมสมัชชาเกี่ยวกับ ‘สภาพภูมิอากาศ’ ซึ่งจะคุยเรื่อง Climate Change หรือภาวะโลกร้อนโดยตรง ซึ่งเป็นเวทีให้ผู้นำ และตัวแทนรัฐบาลหารือกันในระดับนานาชาติมากถึง 200 ประเทศ เพื่อหาทางเตรียมความพร้อม และลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกในอนาคต
ประเด็นสำคัญที่ถูกพูดถึงในที่ประชุมนี้
เกิดการร่วมพูดคุยกันมีทั้งหมด 4 เรื่องด้วยกัน ดังนี้
1. Global Stocktake
คือการนับว่าเราปล่อย Emission หรือปล่อยมลพิษไปเท่าไหร่บ้าง แล้วในแต่ละประเทศทำอะไรไปบ้าง โดยพูดคุยกันถึง ‘การบรรลุเป้าหมายร่วม เพื่อให้สอดคล้องกับ Paris Agreement ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2558 ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันก่อนหน้า
2. Transition Away from Fossil Fuel
คือการจะทำอย่างไรให้มีการเปลี่ยนผ่านการใช้ Fossil หรือ น้ำมัน ไปสู่การใช้พลังงานทางเลือก ก็เป็นอีกหนึ่งวาระที่สำคัญ โดยการประชุมครั้งนี้เกิดขึ้นที่ดูไบ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ปล่อย Emission เกี่ยวกับน้ำมันเป็นอันดับต้น ๆ และมีการประกาศครั้งแรกที่จะลดพลังงานเชื้อเพลิง
3. Five Pillars of Energy
เพื่อบรรลุแผนจาก 2 ข้อที่ผ่านมา ต้องทำทั้งหมด 5 เรื่องนี้
👉 3.1 Triple Renewable Energy เพิ่มกำลังผลิตพลังงานทดแทนขึ้น 3 เท่า เช่น พลังงานลม, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานน้ำ เป็นต้น
👉 3.2 Double Energy Efficiency ทำอย่างไรให้การใช้พลังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
👉 3.3 ลดใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน และ Fossil Fuel ต่าง ๆ ให้เป็น Policy ในระดับนานาชาติ
👉 3.4 Financing การมีเรื่องของการจัดหาเงินลงทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง
👉 3.5 ลดการปลดปล่อยมีเทน (methane) 75% ในปี 2030
4. Loss and Damage Fund
เรื่องที่น่าสนใจคือการค้นพบครั้งนี้จะเห็นว่า ประเทศที่ปล่อยมลพิษเยอะ ๆ คือประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ประเทศที่ได้รับผลกระทบคือประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนั้นมีการสรุปว่าจะบรรเทาความเดือดร้อน ประเทศเล็ก ๆ อย่างไร เช่น ประเทศที่เป็นเกาะ ซึ่งปล่อยมลพิษไม่เยอะ เราจะเยียวยา หรือแก้ไขปัญหาช่วยเขาได้อย่างไร
🌏 เรื่องที่ 3: การขับเคลื่อนของบริษัทใหญ่ในไทยที่ใส่ใจเรื่อง ESG
ที่อยู่ในหน่วยงานของ PTT OR ได้มีการขับเคลื่อนในเรื่องของการเข้าไปดูแลสังคม ชุมชน และมีแนวทางการสร้างความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม (ESG in Action) โดยแบ่งออกเป็น 3 Scope ดังนี้
👉 Scope 1-2 คือสโคปภายในองค์กร หรือการทำด้วยตัวเอง, กำกับดูแลเองได้ของแต่ละบริษัท อย่างการใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
👉 Scope 3 คือการดูแลในส่วนของ Partner, Suppliers เพิ่มเติม จะเป็นการพูดถึง Supply Chain ของแต่ละบริษัท ซึ่งทำได้ยากกว่า โดยทำตั้งแต่การส่งรีพอร์ต และปฏิบัติได้จริง โดยในฝั่งของยุโรปเริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว ดังนั้นทางฝั่ง PTT OR เองก็ต้องเตรียมตัวใน Scope 3 และมีการดูแล Suppliers รายย่อยที่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ก่อนที่จะเขาจะเริ่มใช้งานจริง เพราะการเตรียมความพร้อมสำคัญ มันไม่ใช่ทำปุ๊บ จะเริ่มได้ทันที เรื่องเหล่านี้ต้องใช้เวลา โดยสิ่งนี้จะถูกเรียกว่า ‘SDGs’
[S - Small]
พูดถึงคนตัวเล็กในการทำธุรกิจและยกระดับคุณภาพชีวิต ตัวอย่างที่เกิดการทำจริงแล้วคือ เกษตรกรปลูกกาแฟ เป็นต้น
[D - Diversified]
คือการทำธุรกิจต้องเปลี่ยนจาก Fossil ไปเป็นพลังงานอื่น ต้องมีการปรับตัวมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้
[G - Green]
โอกาสเพื่อสังคมสะอาด (Low Carbon Business Areas) ผ่านการส่งเสริม ธุรกิจทุกประเภทของ OR ให้เป็นธุรกิจสีเขียว เพื่อสนับสนุนให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำ อย่างยั่งยืน และบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2030
โดยเคสที่ทาง PTT ได้เริ่มทำอย่างจริงจังคือ Café Amazon ซึ่งมีทั้งหมด 4 แกน
👉 Smart Coffee Farm (Coffee Sourcing)
- ผลผลิตคุณภาพสูง
- พัฒนาเทคโนโลยีการปลูก GAP ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ควบคู่กับระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
👉 Café Amazon Roasting Plant
- ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน
- ติดตั้ง Solar Rooftop ของโรงคั่วกาแฟ Café Amazon
👉 Café Amazon Circular Living Store
- นำวัสดุที่ใช้งานแล้วมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในโครงการ Waste to Value
- ขยายสาขาร้าน
- จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Upcycling ให้ลูกค้า B2C และลูกค้าแฟรนไชส์ B2B
👉 Consumer
- ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ เช่น ถุงหูหิ้วและหลอด Bioplastics
ESG เป็นเรื่องที่ทุกองค์กรต้องเริ่มให้ความสำคัญอย่างจริงจัง เพราะประเทศไทยของเราได้ลงนามไว้แล้วกับหลายประเทศทั่วโลก เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง แต่องค์กรใหญ่ ไปจนถึง SME & Startup จะมีความสำคัญมาก ๆ ในการทำให้ประเทศไทยไปสู่เป้าหมาย Net Zero ได้ในอนาคต