Bill Gates เปิดเผยว่าตัวเองอาจอยู่ในกลุ่ม Autistic หากเติบโตในยุคนี้
หลายคนรู้จักชายที่ชื่อ ‘บิล เกตส์ (Bill Gates)’ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft และเป็นหนึ่งในบุคคลที่เปลี่ยนแปลงโลกเทคโนโลยีด้วยระบบปฏิบัติการ Windows บทบาทผู้นำที่ใครต่างก็ยกย่องเขา แต่ล่าสุดจากบทความของ Fastcompany ได้ระบุประเด็นที่น่าสนใจถึง Bill Gates โดยเขาเปิดเผยว่าตัวเองอาจอยู่ในกลุ่ม Autistic หากเติบโตในยุคนี้
โดยการเล่าเรื่องผ่านหนังสือบันทึกความทรงจำ Source Code: My Beginnings ที่เขียนโดย Bill Gates ได้เปิดเผยบันทึกที่น่าสนใจผ่านคำพูดของอัจฉริยะคนนี้ว่า "ถ้าผมเติบโตขึ้นมาในยุคนี้ ผมอาจได้รับการวินิจฉัยว่าอยู่ในกลุ่มออทิสติก" แต่ในทางกลับกัน คุณ Bill Gates กลับกลายเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จออกมายอมรับตัวตนของตนเอง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจที่สำคัญ และเป็นเครื่องเตือนใจว่า
“สมองของคนออทิสติกไม่ใช่สิ่งที่ต้องรู้สึกอับอาย ในทางกลับกัน มันเป็นสิ่งที่ควรภาคภูมิใจด้วยซ้ำ”
ความจริงในชีวิตการทำงานของคนออทิสติก (Autistic)
ในงานเขียนของ บิล เกตส์ (Bill Gates) พูดถึงทั้ง โชคและโอกาสที่เขามี ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้อ่านน่าจะรับรู้กันอยู่แล้วถึงความยิ่งใหญ่ของชายผู้นี้ แต่ก็ยังมีอีกเรื่องราวที่ยังไม่ได้ถูกเล่า และยังไม่มีใครได้รับฟัง โดยเฉพาะเรื่องของคนที่เป็นออทิสติก (Autistic) ซึ่งเอาเข้าจริงก็ต้องเผชิญเหมือนกับคนปกติทั้งอัตราการว่างงานที่สูงมาก , ความยากจน, สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน และ ความไม่เข้าใจจากนายจ้าง
หนังสือ The Canary Code: A Guide to Neurodiversity, Dignity, and Intersectional Belonging at Work เป็นหนังสือที่สำรวจเรื่อง ความหลากหลายทางระบบประสาท (Neurodiversity) ในที่ทำงาน โดยเน้นไปที่ ศักดิ์ศรี ความเท่าเทียม และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งได้จริง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แค่มีความสามารถและทำงานเก่งอาจไม่เพียงพอ แต่ในระบบไม่ได้ออกแบบมารองรับให้คนออทิสติก (Autistic)
เคสที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมในระบบการทำงานทุกวันนี้ นี่คือความจริงในชีวิตการทำงานของคนออทิสติก (Autistic)
Charlie Hart นักวิเคราะห์ระบบ HR ในอังกฤษ มักได้รับคำชมเรื่องประสิทธิภาพและความละเอียดรอบคอบ แต่ในทุกการประเมินผลเธอกลับได้รับแค่ “ทำได้ตามมาตรฐาน” ซึ่งคุณ Charlie ก็ถาม HR Director ว่าเธอต้องทำอย่างไรถึงจะได้คะแนน “เกินความคาดหมาย” คำตอบที่ได้รับคือ เธอต้องเป็น “คนปกติ” แม้ว่าสุดท้าย Charlie ถูกส่งไปเรียน ทักษะการเข้าสังคม แต่การฝึกนี้ก็แค่ให้เธอกลบเกลื่อนความเป็นคนออทิสติก (Autistic) และ พยายามทำตัวเหมือนคนทั่วไป ส่งผลให้เธอเกิด ภาวะซึมเศร้าและบาดแผลทางใจ นานหลายเดือน
Burnett Grant นักเทคนิคห้องแล็บที่มีประสบการณ์สูงในสหรัฐฯ ถูกหัวหน้าบอกให้ ไปสมัครรับสวัสดิการคนพิการ และหารายได้เสริมด้วยการทำความสะอาดบ้าน ทั้งที่ Burnett ไม่เคยร้องขอ และเป็นพนักงานที่มีผลงานดีมาก จึงแทบไม่มีคำอธิบายอื่นใดสำหรับคำพูดนี้ นอกจากอคติและการเหมารวม
Justin Donne ทำงานกับองค์กรภาครัฐและเอกชนในสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส เขาสร้างสถิติใหม่ด้านผลการดำเนินงาน ช่วยระดมทุนมหาศาล และพัฒนาโครงการที่ได้รับรางวัล แต่กลับถูกมอบหมายให้ทำงานภายใต้ หัวหน้าที่ควบคุมทุกอย่าง แม้จะเป็นงานที่ Justin เชี่ยวชาญอยู่แล้ว สุดท้าย เขาถูกกดดันจนต้องออกจากองค์กรเพียงเพราะเขาไม่ใช่คนปกติ แต่เป็นคนออทิสติก (Autistic)
มันถึงเวลาแล้วที่เราจะมองความสามารถของคนออทิสติก (Autistic) ให้กว้างขึ้น
3 เทคนิคยอมรับคุณค่า และสร้างสถานที่ทำงานที่ทุกคนสามารถเติบโตได้จริง
ความยุติธรรมในที่ทำงาน หมายถึงการสร้าง สภาพแวดล้อมที่ปราศจากอคติ และ เน้นผลลัพธ์ที่เป็นธรรม มันหมายถึงการสนับสนุนคนออทิสติก (Autistic) ทุกคน รวมไปถึงคนทั่วไปที่ไม่เหมารวมว่าคนเป็นคนไม่เก่ง ให้สามารถพัฒนาความสามารถของตัวเองได้ และยอมรับคุณค่าของพวกเขาในฐานะมนุษย์ ไม่ใช่แค่ทรัพยากรที่ต้องวัดมูลค่าเป็นตัวเลขเท่านั้น การจะก้าวข้ามเรื่องนี้ได้ มี 3 เรื่องสำคัญในการวัดความเท่าเทียมในที่ทำงาน เพราะการสร้างสถานที่ทำงานที่ทุกคนสามารถเติบโตได้จริง เป็นผลบวกให้กับองค์กรและคนทำงานมากกว่า
1. ขยายกรอบเรื่องราวของคนออทิสติก (Broaden the Narrative)
-
การสนับสนุนให้มีการเล่าเรื่องของคนออทิสติก (Autistic) ที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่เรื่องราวของอัจฉริยะเท่านั้น แต่รวมถึง คนธรรมดา ที่อาจกำลังต่อสู้ดิ้นรน หรือเพียงแค่ใช้ชีวิตทั่วไป
-
หลีกเลี่ยงการลดทอนความรู้สึกของคนออทิสติก (Autistic) เพราะการไป Just คนเหล่านี้ว่าเป็นคนมีพรสวรรค์ หรือคนไม่ปกติ ไม่ใช่เรื่องที่สมควรทำ ความเป็นมนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกันสำคัญกว่าความคิดอคติของใครบางคน
2. ให้ความสำคัญกับคุณค่าความเป็นมนุษย์ (Celebrate Human Value)
- คนในองค์กรต้องรู้สึกจริงใจจากใจจริงถึง "ความเป็นตัวตนของทุกคน" ไม่ใช่แค่คนนั้นดูพิเศษ หรือคนนั้นดูเก่งเหนือใคร แต่ทุกคนสมควรได้รับศักดิ์ศรี การยอมรับ และโอกาสในการมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นคนออทิสติก c หรือใครก็ตาม
3. ขจัดอุปสรรคในการทำงาน (Remove Barriers)
- การออกแบบที่ทำงานที่สร้างความยุติธรรมและยืดหยุ่นสำคัญมาก เพราะการเปิดโอกาสให้ ทุกคนประสบความสำเร็จได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะทางเศรษฐกิจหรือสังคมแบบไหน เป็นเรื่องที่สมควรทำและแสดงถึงความเท่าเทียม
บิล เกตส์ (Bill Gates) ใช้ความมีชื่อเสียงของตัวเอง เพื่อแสดงพลังที่เขามี ในการเปิดเผยเรื่องราวเกี่ยวกับออทิสติก (Autistic) มันไม่ใช่เรื่องน่าอายเพราะตัวเขาก็ผ่านมันมาแล้ว และมันเป็นโอกาสให้เราได้เรียนรู้ และกลับมาทบทวนกับองค์กรของตัวเองว่า ?
- เคยมีเรื่องราวแบบนี้ ของพนักงานคนไหนที่ถูกมองข้าม ?
- แล้วเราจะพัฒนา เพิ่มความเท่าเทียมผ่านการกระทำเพื่อให้ทุกคนได้รับโอกาสที่เป็นธรรมได้อย่างไร ?
แท้จริงแล้ว เรื่องราวของ ออทิสติก (Autistic) ไม่ใช่แค่เรื่องของ "อัจฉริยะ" ไม่กี่คน แต่เป็นเรื่องของ "ทุกคน" ที่สมควรได้รับเกียรติ, การเคารพ และการสนับสนุนที่เหมาะสม เพราะเมื่อเราช่วยให้ทุกคนพัฒนาความสามารถของตัวเองได้ ที่ทำงานและโลกใบนี้จะได้รับประโยชน์มากกว่าการพึ่งพาความสำเร็จของเพียงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะทุกคนบนโลกมีคุณค่าในแบบของตัวเอง
เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
ที่มา
- We need to talk more about Bill Gates and the ‘autistic genius’ narrative
- Source Code: My Beginnings
- The Canary Code