สื่อสารอย่างไร ให้เข้าไปอยู่ในใจคนฟัง กับ 4 คำถามที่ช่วยให้คนพูดรู้จักตัวเองก่อนเริ่มสื่อสาร โดยท้อฟฟี่ แบรดชอว์

“หัวใจของการสื่อสารคือ การทำให้คนที่อยู่ตรงหน้า รู้ว่าเขาคือคนที่มีความหมายที่สุดสำหรับเรา”

Last updated on ก.ค. 21, 2023

Posted on ก.ค. 18, 2023

อย่างที่เราเห็น การสื่อสารเป็นกิริยาขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งพวกเราล้วนใช้มันอยู่ทุกวัน ฉะนั้นการสื่อสารจึงเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญกับชีวิตของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ส่วนตัว อาชีพ หรือการพูดในที่สาธารณะก็ตาม สิ่งเหล่านี้ทำให้การสื่อสารมีบทบาทสำคัญในการสร้างประสบการณ์ของมนุษย์

ทว่านอกจากนั้นแล้ว มนุษย์อย่างเรา ๆ เองนี่แหละ ที่มักจะพบปัญหาของการสื่อสารอยู่ดี โดยในงาน DRILL YOUR PURPOSE BOOTCAMP by Airasia Academy ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “People-Purpose-Performance” ซึ่งเป็นคลาสเรียน Purposeful Communication นั้น คุณชญาน์ทัต วงศ์มณี เจ้าของเพจท้อฟฟี่ แบรดชอว์ นักเขียนอารมณ์ดีก็ได้ให้เกียรติมาร่วมพูดคุยถึง 4 คำถามที่ช่วยให้คนพูดสามารถสื่อไปถึงใจผู้ฟังได้

1. พูดเพื่อ? (จะสื่อสารอะไร) - WHY

ก่อนเราที่จะมีส่วนร่วมในกับบทสนทนาใด ๆ สิ่งสำคัญคือ เราต้องกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการสื่อสารก่อน เพราะการสื่อสารคือการเปลี่ยนแปลง ถ้าคนพูดอยาก Take Action แบบไหน ให้ลองถามตัวเองว่าทำไมเราต้องการสื่อสารแบบนี้ ถ้าหากเราไม่มีวัตถุประสงค์ในการพูด ก็จะทำให้ผู้ฟังถามกลับว่า “พูดเพื่อ?” ขึ้นมาได้

2. กำลังสื่อสารกับใคร - WHO

การทำความเข้าใจผู้ฟังของเราจะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อนจะพูดอะไรออกไป ลองนึกถึงคนที่เรากำลังคุยด้วย ว่าจะทำอย่างไรให้พูดได้ตรงใจกับพวกเขาด้วย 6 คำถามเหล่านี้

  • ผู้ฟังคาดหวังจะฟังอะไร?
  • ผู้ฟังของเรามีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้หรือไม่?
  • ระดับความรู้ของผู้ฟังเกี่ยวกับหัวข้อนี้อย่างไร?
  • ผู้ฟังจะมีทัศนคติอย่างไรต่อเรื่องที่พูดไป?
  • อะไรคือความกังวลของผู้ฟัง?
  • อะไรเป็นแรงบันดาลใจ หรือแรงกระตุ้นให้ผู้ฟัง?

3. จะสื่อสารอะไร - WHAT

Key Message = Clear Message
ความชัดเจนคือกุญแจสำคัญในการสื่อสาร หากจะพูดอะไร ผู้พูดต้องมีความชัดเจน และมี ‘Key Message’ ในการพูด ซึ่ง Key Message ที่ดีต้องพูดให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ วิธีสังเกตคือให้เราเตรียมตัวก่อนพูด เมื่อไหร่ที่เราอธิบายมันได้อย่างเรียบง่าย แปลว่าเราเข้าใจมันจริง ๆ

Kind Message = Care Message
การพูดต้องใส่ความใจ ความห่วงใย ถ้าหากเราไม่ใส่สิ่งนี้เข้าไป คนที่ฟังจะไม่เข้าใจว่าเราต้องการจะสื่อสารอะไร เพราะความรู้สึกไม่ใช่สิ่งที่คนจะมาบังคับได้ เมื่อสื่อสารอะไรแล้วเอาความรู้สึกมาใส่ในการสนทนา จะทำให้เราสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. การสื่อสารเกิดขึ้นอย่างไร - HOW

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนถนนสองทาง คือการพูดในสิ่งที่เราอยากเล่า และคนฟังนั้นก็อยากรู้ด้วย ถ้าหากเราพูดแค่เรื่องที่เราสนใจอยู่ฝั่งเดียว คนฟังก็จะไม่เข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสาร ดังนั้นสมการของการสื่อสารในข้อนี้จึง = เรื่องที่เราอยากเล่า x เรื่องที่เขาอยากรู้

ความสัมพันธ์ที่มีความหมายโดยการตั้งใจฟัง และเปิดโอกาสให้ผู้อื่นแสดงความคิดเห็น จะเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการสื่อสารที่เปิดกว้างมากว่า

การเป็นนักสื่อสารที่เก่ง สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักสื่อสารอย่างมีเป้าหมาย และด้วยหลักการ 4 ข้อนี้ จะทำให้เราเข้าใจจิตวิทยาเบื้องหลังการสื่อสารมากขึ้น ลองคิดถึงมุมมองผู้ฟังก่อนจะพูดอะไรออกไป แล้วสื่อสารใจความสำคัญออกมาทางคำพูด โดยการพัฒนาทักษะเหล่านี้ จะทำให้เราสามารถปรับปรุงความสัมพันธ์ของเรา และทำให้ผู้อื่นรู้สึกมีค่าเมื่อรับฟังได้

‘เพราะการสื่อสารดี ช่วยยุติสิ่งเลวร้าย ในขณะที่การสื่อสารเลวร้าย ก็ทำให้สิ่งดี ๆ หายไป’
trending trending sports recipe

Share on

Tags