INFLUENCER PORTFOLIO : เครื่องมือตรวจสุขภาพ Social Media เพื่อต่อยอดธุรกิจ?

Last updated on พ.ย. 22, 2021

Posted on พ.ย. 22, 2021

รู้อะไร ไม่เท่ารู้จักตัวเราเอง

CREATIVE TALK ชวนผู้อ่านไปรู้จักเครื่องมือวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของคุณ พร้อมสร้าง Portfolio เพื่อความสะดวกในการต่อยอดธุรกิจได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และฟรี!

กับคุณนัท — สิทธิโชค ปัญญาชัยเสนะ Product Owner, บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่จะมาอธิบายถึงที่มาของเครื่องมือที่แสนจะเป็นประโยชน์กับเหล่าอินฟลูเอ็นเซอร์ และข้อแนะนำในการใช้งานเพื่อพัฒนาธุรกิจของคุณ ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอะไรก็ตาม


เล่าให้เราฟังได้ไหมครับว่า ที่มาของ Influencer Portfolio เป็นอย่างไร

เราก็มองเห็นว่าเรื่องของ Influencer เป็นที่ถูกพูดถึงมากขึ้นในหลายปีหลัง และไวซ์ไซท์ เป็นบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียล เราจึงอยากช่วยให้คนที่ใช้หรือทำงานด้านโซเชียลมีเดียมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น 

Influencer Portfolio เป็นภาพ Self-evaluation ของ Content Creator ที่จะทำให้เราได้ประเมินตัวเองบ่อยๆ ในข้อมูลที่จำเป็น และสามารถนำไปใช้งานต่อได้


อะไรที่ทำให้ Influencer Portfolio แตกต่างจากเครื่องมือในการวิเคราะห์โซเชียลมีเดียอื่น

เป้าหมายหลักของเราตอนพัฒนาโปรเจคนี้คือ “ต้องเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย แล้วสะดวกต่อการแชร์ เพื่อนำเสนอผลงานด้วย” 

คือผมคิดว่าคนทำงานกับ Facebook Fanpage บ่อยๆ น่าจะเคยเจอเวลาที่ลูกค้าขอสถิติ และข้อมูลต่างๆ แล้วเราต้องไปเปิดหาอยู่หลายที่เพื่อรวบรวมมาให้ เมื่อได้มาแล้วก็ยังต้องมาคอยแคปหน้าจอเพื่อส่งไปให้ลูกค้าต่ออีกที เวลาอธิบายอะไรก็จะยากลำบาก เราจึงนำ Insight นี้มาปรับปรุงให้สามารถสามารถเลือกเซฟไฟล์ได้ทั้งแบบ PDF หรือจะเป็นลิงก์แชร์ก็ทำได้

และอีกความแตกต่างคือประสบการณ์ของทางไวซ์ไซท์ที่เชี่ยวชาญด้านข้อมูลเชิงสถิติและเข้าใจว่ามุมมองใดบ้างที่ทางเจ้าของ Facebook Fanpage ควรรู้และทางลูกค้าอยากรู้ เรานำข้อมูลเหล่านั้นมาทำเป็นรีพอร์ตสรุปที่เข้าใจง่ายได้ครับ


อยากให้ลองแนะนำฟังก์ชั่นที่น่าสนใจของ Influencer Portfolio ให้เรารู้จักหน่อยได้ไหม

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า จุดประสงค์ของ Influencer Portfolio คือการ Self-evaluation พัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมนะครับ ที่ต้องย้ำเพราะอยากให้ทุกคนเห็นภาพก่อนว่า เราไม่ได้ต้องการให้คุณไปเปรียบเทียบกับใคร แต่เน้นในเรื่องว่าเราควรพัฒนาตัวเองอย่างไรมากกว่า


TOTAL FACEBOOK PERFORMANCE เป็นหัวข้อที่พูดถึงเรื่องของคุณภาพในการทำ Content และปฏิสัมพันธ์ของคนในเพจ ซึ่งในจุดนี้ก็อาจจะดูคุ้นตาไม่ต่างจากการดูเองที่หลังบ้านของ Facebook Fanpage อยู่แล้ว แต่ที่ต่างคือเรานำมาเรียงให้เข้าใจและเห็นภาพมากขึ้น

MOST REACTIONS ฟังก์ชั่นที่ทำให้เราเห็นว่ามีจำนวน Reactions แบบไหนบ้างที่เกิดขึ้นในเพจ เพื่อนำไปวางแผนและปรับปรุงต่อไปในการทำงาน

INTERACTION คือการแสดงคำที่ทาง Follower ของเราพิมพ์หรือโต้ตอบกันในเพจของเรามากที่สุด ซึ่งเราอาจจะนำเอาไปปรับใช้ในการคิดหรือออกแบบ Content หลังจากนี้ต่อได้


สำหรับใครที่สนใจอยากรู้จักฟังก์ชั่นอื่น สามารถเข้าไปรับชมคลิปการใช้งานต่อได้ที่


แบรนด์ที่ไม่ได้ใช้ Influencer จะสามารถใช้ประโยชน์อะไรจาก Influencer Portfolio ได้บ้าง

ที่จริงแล้วในภาพของแบรนด์ก็จะช่วยสะท้อนในมุมว่าเราสามารถ Influence กับลูกค้ากลุ่มไหน จากผลงานที่ทำมา บางแบรนด์อาจจะพบว่าตัวเองสามารถสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ หรือสามารถบอกให้เรารู้ว่าตอนนี้เรากำลังห่างจากกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการไว้ตั้งแต่แรกได้

อย่างไรก็ตาม Influencer Portfolio จะไม่ได้มีจุดประสงค์ตั้งต้นเพื่อให้แบรนด์ไปขายแบรนด์คนอื่น แต่สามารถช่วยพวกเขาในมุมของ Performance Review เพื่อดูว่าคนบนโลกโซเชียลมีปฏิสัมพันธ์กับเราอย่างไร 

ยกตัวอย่างนะครับ ไวซ์ไซท์ได้มีโอกาสปรับปรุงการสื่อสารสาธารณะร่วมกับองค์กรหนึ่ง ผลที่เกิดขึ้นคือ กลุ่มเป้าหมายสะท้อนสิ่งที่องค์กรสื่อสารแตกต่างออกไป ทำให้เขาเข้าใจภาพลักษณ์ตนเองต่อคนภายนอก ซึ่งสิ่งนี้ช่วยกำหนดทิศทางการสื่อสารหลังจากนั้นได้ดียิ่งขึ้น


ตั้งแต่เปิดให้ใช้งานมี Feedback แบบไหนที่ได้รับมาบ้างครับ

ส่วนใหญ่จะพูดถึงเรื่องการทำ Benchmark ที่พอมองในมุม Self-evaluation เราก็จะอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบกับคู่แข่ง เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วมันจะเป็นยังไงบ้าง 

ซึ่งเราพยายามมองข้อเปรียบเทียบตรงนี้ให้เป็นเหมือนเวลาเราทำเว็บไซต์ แล้วเราเลือก Pages Insight มานั่งวัดคะแนนเอง สุดท้ายเว็บไซต์ที่ได้ 100% ก็ไม่ได้แปลว่าคุณมีมุมมองธุรกิจที่ดีที่สุด อาจจะดีที่สุดในแง่ประสิทธิภาพอย่างเดียวก็ได้ หรือคุณอาจจะต้องการสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าที่เข้ามาในเว็บไซต์แล้วเขาสามารถทำอะไรก็ตามที่คุณต้องการได้จบสมบูรณ์ 100% เช่น ซื้อสินค้า อ่านบทความจนจบ กดอ่านบทความอื่นต่อ  

สุดท้ายแล้ว Industry Score ก็คงจะมีแน่นอน แต่ว่าเรายังไม่อยากรีบปล่อยฟังก์ชั่นออกมาในตอนนี้ เพราะเราอยากให้ Influencer พัฒนาตัวเองดีขึ้นเรื่อยๆ ในแบบที่ตัวเองเป็น เพราะไม่งั้นเราอาจจะได้เห็น Influencer พยายามเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวเองตลอดเวลา เช่น บางคนเป็นสาย IT เห็นเขารีวิวอาหารแล้วยอดดี ก็เลยไปรีวิวอาหารตามอะไรอย่างนี้ สุดท้ายแล้วมันจะหลุดจากที่ตั้งใจจะเป็น แล้วจะไม่ยั่งยืนในระยะยาว


หลังจากนี้จะมีอะไรใหม่ให้เห็นใน Influencer Portfolio อีกบ้างครับ

หลังจากนี้ Influencer Portfolio จะเป็น All-in-One คือมีทั้ง Facebook, Instagram, YouTube หรือ Twitter เป็น 4 ช่องทางหลักก่อน ซึ่งหน้าตาและการใช้งานก็คงจะเปลี่ยนไปตามแพลตฟอร์มทั้งหมด


คาดหวังอะไรบ้างกับคนที่เข้ามาใช้

ผมอยากให้เขาใช้เพื่อการพัฒนาแนวทางของเนื้อหาคอนเทนต์ตัวเองให้ดีขึ้นครับ เราอยากให้คนที่เป็น Influencer สามารถที่จะประเมินตัวเองได้เร็ว  เมื่อเพจเขาเริ่มโตขึ้น เขาจะได้รู้ว่าเป็นเพราะอะไร และควรปรับตัวอย่างไรต่อไป


ฝากถึงผู้อ่านที่สนใจลองใช้งาน Influencer Portfolio สักหน่อยครับ

ถ้าในฝั่งแบรนด์ที่กำลังเลือกใช้ Influencer และเขาส่ง Influencer Portfolio กลับมาคุณก็จะได้เห็นว่า Influencer เป็นอย่างไร เขาเติบโตขึ้นเท่าไหร่ เขามีอะไรที่เหมาะกับเราอีกบ้าง ไม่แน่คุณอาจจะเจอ Influencer หน้าใหม่ก่อนใครก็เป็นได้นะครับ

ส่วนในฝั่งของแบรนด์ที่มาใช้เครื่องมือนี้ก็จะทำให้รู้จักตัวเองมากขึ้น บางครั้งเราโพสต์เรื่องสินค้าลงไป แต่มาดู Top Posts ของเพจ แต่กลับไม่ติดอันดับเลยก็อาจจะบอกให้เรารู้ตัวว่า ไม่ควรลงคอนเทนต์ที่เล่นกับกระแสมากเกินไป หรืออาจจะกลายเป็นจุดเด่นให้เราคิดแคมเปญการตลาดใหม่ๆ ออกก็ได้เหมือนกันครับ

สามารถเข้าไปลองใช้งาน Influencer Portfolio กันได้ที่ https://influencerportfolio.wisesight.com

trending trending sports recipe

Share on

Tags