เทคนิคเปลี่ยนสไลด์สุดท้าย ให้กลายเป็นหมัดเด็ดในการพรีเซนต์

Last updated on ส.ค. 28, 2024

Posted on ส.ค. 28, 2024

สำหรับการพรีเซนต์นั้น สไลด์ที่ดีจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการสร้างความประทับใจให้กับผู้ชม แต่เพราะมันไม่ใช่ทุกคน ที่จะครอบครองหัวใจของผู้ที่ฟังได้ ดังนั้นแล้ว หลายคนจึงมักจะแอบใส่หมัดเด็ดให้กับสไลด์ โดยมักจะใส่ไว้ในสไลด์ช่วงต้น หรือสไลด์ช่วงกลาง เพื่อสร้างการจดจำที่อิมแพ็คมากขึ้น

แม้แต่สไลด์หน้าสุดท้ายก็สำคัญไม่แพ้กัน…

เอาจริง ๆ การใส่คำขอบคุณนั้นไม่ใช่เรื่องแย่เลยนะ ทว่าหลายคนกลับลืมสิ่งสำคัญก่อนการใส่ Thank You ไปจนเอาคำขอบคุณขึ้นมาปิดแบบห้วน ๆ และหากเราสามารถเปลี่ยนสไลด์สุดท้ายได้มากกว่าขอบคุณ มันจะสร้างโอกาสสำคัญที่ทำให้เนื้อหาเราสามารถถูกจดจำได้มากขึ้น

สไลด์สุดท้ายคือโอกาสทองที่สำคัญ เพราะมันเป็นโอกาสครั้งสำคัญของการพรีเซนต์ไป ที่จะพาเราไปสู่แก่น ซึ่งเราต้องการสื่อสารออกไปให้ถึงหัวใจของผู้ฟัง และถ้าทำเราออกมันได้ถูกจุดมันจะทำให้คนจดจำการพรีเซนต์ของเราได้มากขึ้น ว่าแต่ทำไม

ลองสมมติว่าเรากำลังดูหนังซักเรื่อง หลายคนมักจะจดจำช่วงต้น กลาง หรือท้ายได้ก็จริง เพราะมีแต่ฉากเด่นที่เป็นไฮไลต์ แต่ทว่าสมองของเราดันไปจำฉากพิเศษหลังเครดิตซะงั้น

ดาเนียล คาห์เนมาน (Daniel Kahneman) นักจิตวิทยาผู้เป็นเจ้าของรางวัลโนเบล ได้อธิบายแนวคิดอันล้ำลึกเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ให้ฟังว่า มนุษย์เรามีความทรงจำอยู่ 2 จุดคือสิ่งที่ประสบกับสิ่งที่จดจำ โดยมนุษย์เราจะรับรู้เหตุการณ์ตรงหน้ากับสิ่งที่กำลังประสบ แต่เราจะรับรู้เหตุการณ์สุดท้าย จากสิ่งที่จดจำ นั่นทำให้เราจึงจดจำภาพสุดท้ายของเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดีที่สุด

หากสไลด์ที่ทำให้คนจดจำได้คือสไลด์สุดท้าย แล้วเราจะสามารถใส่อะไรได้บ้างที่ไม่ใช่ "Thank You" กันนะ

🌟 1. ใส่สรุป ฮุคด้วยความรวบรัด

การสรุปประเด็นสำคัญในตอนท้ายบนสไลด์สุดท้าย จะช่วยรวบประเด็นสำคัญให้ผู้ชมจดจำได้ เชื่อเถอะว่ายิ่งสไลด์เยอะ ผู้ฟังหลายคนยิ่งหลุดในช่วงกลางทาง ดังนั้นแล้วการมีสรุปในสไลด์สุดท้าย โดยโฟกัสที่ประเด็นสำคัญต่าง ๆ จะช่วยให้เรารู้ว่าสารที่ต้องการเล่า จะสื่อไปยังหัวใจของผู้ฟังหลังจบการพรีเซนต์ได้


🎳 2. เพิ่มลูกเล่น เติมเต็มให้ผู้ชมมีส่วนร่วม

การให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในสไลด์สุดท้าย ช่วยให้สไลด์ของเรามีความหมาย ซึ่งเราสามารถสร้าง Pool ให้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นแล้วโชว์ขึ้นจอได้ หรือจะตั้งคำถามให้คนพิมพ์ตอบกันสด ๆ เพื่อให้ผู้ฟังเก็บสิ่งนี้ไปคิดกัน เพราะการใส่ลูกเล่น จะช่วยให้คนสนใจสไลด์สุดท้ายของเรา รวมถึงกระตุ้นความคิด สร้างการมีส่วนร่วมที่ทำให้ผู้ชมสามารถตกตะกอน และตอบได้ในเวลาเดียวกัน


📊 3. โน้มน้าวใจ ด้วยการใช้ Data

จงใช้ภาษาที่โน้มน้าวใจ และใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง เพื่อพาสไลด์ของเราไปสู่สไลด์สุดท้าย ซึ่งเราสามารถใช้เกร็ดความรู้ สถิติ หรือคำคมดี ๆ เพื่อทำให้สไลด์เราดูฉลาด และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการพรีเซนต์ได้

ตัวอย่างการโน้มน้าวใจในสไลด์สุดท้าย:

"โดยสรุป ผมอยากจะฝากสถิติให้คุณได้ดู ซึ่งจากการศึกษานี้ เราจะพบว่าบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน จะมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น 22% และการลงทุนในโปรเจกต์ที่สนับสนุนสุขภาพ กับความเป็นอยู่ที่ของทีม จะขับเคลื่อนผลลัพธ์ทางธุรกิจที่จับต้องได้ ดังนั้นแล้ว เรามาทำให้ความเป็นของลูกทีมดีขึ้น เพื่อให้บริษัทก้าวไปข้างหน้ากันเถอะ"


🎯 4. ปิดด้วยคำถามชวนคิด

หลายครั้ง เราอาจจะไม่สามารถใส่ข้อมูลทั้งหมดลงในสไลด์ทั้งกมเได้ หรือบางครั้งเราอยากให้เซสชันของสไลด์สุดท้าย ได้กลายเป็นคำถามที่น่าจดจำ ดังนั้นแล้ว เราควรมี ‘Back-up question’ เพื่อใส่ชุดคำถามที่น่าสนใจ จำนวนหนึ่งลงในสไลด์สุดท้าย สิ่งนี้จะหลอกล่อให้คนฟังอยากถาม หรือสร้างการรับรู้ให้มากขึ้น รวมถึงจุดประกายให้ผู้คนอยากไปฟังต่อในช่องทางของเรา กรณีที่นำเสนอแล้วเวลาไม่พอ

สำหรับช่วงปิดจบการพรีเซนต์ที่เพอร์เฟกต? เราควรสรุปรวบยอดทุกอย่างที่อยากให้คนจดจำมาใส่ในสไลด์สุดท้ายช่วง 1-2 หน้าสุดท้าย ซึ่งการใส่ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ จะสร้างความประทับใจที่ไม่รู้ลืมให้กับผู้ฟังได้อย่างยอดเยี่ยม

ท้ายที่สุดแล้ว สไลด์ทุกหน้าก็ยังมีความสำคัญไม่ต่างกัน แต่หากเราสามารถวางเนื้อหาที่ดีได้ สไลด์สุดท้ายจะเป็นบทสรุปที่สร้างการจดจำมากขึ้น มันจะเป็นแก่นที่ส่งสารให้เรามั่นใจว่าสิ่งที่เราพูดทั้งหมดคืออะไร ในวันที่ไม่มีอะไรจะเสีย จนจำไว้ว่า อย่าจบสไลด์ด้วยคำว่า Thank You เพราะมันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร และสะท้อนกึ๋นของเราออกมา หลังจากการพรีเซนต์ได้สิ้นสุดลง


แด่บทสุดท้าย ไม่ว่าจะพรีเซนต์อย่างไร จงทำให้คนจดจำสไลด์สุดท้ายได้ แต่ไม่ใช่ด้วย "Thank You"


แปล เรียบเรียง: พีรพล สดทรัพย์

ที่มา

trending trending sports recipe

Share on

Tags