เมื่อเปรียบทีมเวิร์กเป็นกีฬา ผู้นำก็เหมือนกัปตัน เราสามารถกำหนดไดเรกชันของทีมได้ ช่วยตัดสินใจ ประคับประคองพาทีมไปสู่เป้าหมาย แต่หลายครั้งผู้นำหลายคนก็ลงแรงมากไปโดยไม่รู้ตัว เพราะความเป็นจริง การ One man show ที่มากไปก็อาจทำให้ทีมโตได้ยาก
ยิ่งเราตามประกบลูกทีมทุกฝีก้าวมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้พวกเขาจัดการอุปสรรคด้วยตัวเองได้ยาก แล้วอะไรกันล่ะที่ทำให้ลีดเดอร์ไม่กล้าปล่อยวาง จนเผลอช่วยทีมมากเกินไป?
1. ความกลัวว่าจะตัดสินใจผิด
ความกลัวที่จะตัดสินใจผิดพลาดกระตุ้นให้ลีดเดอร์คิดมากเกิน ซึ่งเรามักจะกังวลเกี่ยวกับผลที่ตามมาในเรื่องการลำดับความสำคัญ เพราะมันอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน นั่นทำให้ลีดเดอร์ควรตระหนักถึงการสร้างวิชัน และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสำหรับทีม เพื่อหาแนวทางในการตัดสิน เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้เราสามารถติดตามความคืบหน้าของงานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงแก้ไขได้ทันเวลาหากมันจำเป็น
2. การคิดน้อยเกินไป
การคิดน้อย แน่ล่ะว่ามันนำไปสู่ภาวะผู้นำที่ไม่ดี เพราะเมื่อเรามองโลกความแคบ เราอาจมองไม่เห็นถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งหลายครั้งมันเริ่มจากการพูดว่า "เราทำได้ทั้งหมดนี้" โดยไม่ทันประเมินตัวเอง ทั้งที่ความจริงควรจะพูดว่า "เราทำได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น"
วิธีแก้ปัญหาการน้อยนั่นก็คือลีดเดอร์ต้องเริ่มมองในระยะยาว ซึ่งเราสามารถเริ่มง่าย ๆ ด้วยการถามคำถามต่อไปนี้กับตัวเองก่อนจะตอบตกลงกับใคร
“ถ้าเราทำมากเกินไป มันจะส่งผลกับชื่อเสียงยังไงบ้าง”
“ถ้าเราไม่ทำตอนนี้ มันจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ไหม”
“เราให้ความสำคัญกับการหลีกเลี่ยงการโต้เถียง มากกว่าการหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุดหรือไม่?”
3. กลัวถูกมองว่าเป็นคนขี้เกียจ
ผู้นำมักจะลังเลที่จะผลักดันงานออกไป เพราะกลัวว่าจะถูกมองในแง่ลบ เรามักไม่ค่อยพูดคำว่า "ไม่" เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งหรือแสดงท่าทีไม่ให้ความร่วมมือ แต่บอกเลยว่าถ้าเราไม่รู้จักปฏิเสธล่ะก็ งานเราอาจจะเหนื่อยมากกว่าเดิม ในฐานะผู้นำอย่าลืมว่าการผลักดันงานให้ลูกทีม ไม่ใช่การโยน แต่คือการไว้ใจลูกทีม
4. ไม่ยอมตั้ง KPI ของตัวเอง
“นิด ๆ หน่อย ๆ เอง ไม่เป็นไรหรอกน่า”
เชื่อเลยว่าหลายครั้ง เรามักทำงานจนเกินหน้าที่โดยไม่รู้ตัว สิ่งเหล่านี้คล้ายกับอาการที่จับต้องไม่ได้ ของการออกกำลังกายมากเกินไป เพราะมันไม่มีสมการทางวิทยาศาสตร์ที่บอกเราว่ามากเกินไปคือแค่ไหน ฉะนั้นหากเราไม่เหนื่อยจนล้า ก็ไม่รู้เลยว่าตัวเองทำงานมากเกินไป
วิธีแก้ปัญหาการทำงานเกินหน้าที่ก็คือสร้างระบบ KPI เพื่อบันทึก ซึ่งเราสามารถเริ่มง่าย ๆ ด้วยการสร้างตารางสำหรับจดบันทึก หากลีดเดอร์ประเมินว่า เรากับลูกทีมทำงานเสร็จ 100 งานได้ใน 1 เดือนจะที่ดีที่สุด เราจะรู้โดยอัตโนมัติว่าการทำเกิน 100 งาน ต่อเดือน อาจจะมากเกินไปสำหรับทีม
แปล เรียบเรียง: พีรพล สดทรัพย์
ที่มา