ในยุคที่ AI ถาโถมเข้ามาในชีวิตประจำวัน AI เข้ามาเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง และอะไรคือสิ่งที่ทำให้เรามีคุณค่า รู้เท่าทันความสามารถของ AI ในปัจจุบัน พร้อมเพิ่มคุณค่าและความหมายให้มนุษย์และองค์กร กับ คุณรวิศ หาญอุตสาหะ CEO, Srichand & Mission To The Moon Media
คุณรวิศ ชวนทุกคนคิดเกี่ยวกับเรื่องราวของ AI ทุกเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในโลกใบนี้ เราสามารถปฏิบัติต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้
1. 🦌 แบบกวาง
2. 🦁 แบบสิงโต
สัตว์สองชนิดนี้เครียดต่างกัน
🦌 กวางเครียดแบบ = กลัวตาย
🦁 สิงโตเครียดแบบ = ตื่นเต้น
👨💼 มนุษย์ใช้ชีวิตคล้ายกวาง เราโตมาแบบไม่รู้อะไร ถูกสอนมาให้ขี้กลัวเหมือนกวาง เราเลยมองว่า AI น่ากลัว มองทุกอย่างที่เข้ามาใหม่ว่าคล้ายสิงโต กลัว AI จะมาแย่งงานเรา แต่ถ้าเรามองกลับเพื่อเปลี่ยนจุดที่เราคิดว่า
‘AI ไม่ได้จะมาแย่งงานเรา’ เขามาเพื่อให้เราใช้มันได้ ทุกอย่างจะเปลี่ยนไป ดังการเกิดขึ้นของสิ่งเหล่านี้
👉 ‘ 1 ฉากในภาพยนตร์ ’ ต้องใช้ทรัพยากรเท่าไหร่ ?
Google เปิดตัว Flow ที่ช่วยให้การทำ CGI ง่ายขึ้น ในอนาคตคนอาจจะใช้ Prompt สร้างหนังขึ้นมาหนึ่งเรื่อง
👉 เคยเสียเวลาทำงานเยอะ ๆ ทั้งวันไหม ?
Project Mariner ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เราสามารถทราบได้ว่า งานบางงานของคนในทีมที่เราไม่เข้าใจเลยว่าคิดมาจากอะไร มีที่มาจากไหน สิ่งนี้จะช่วยให้เราเข้าใจหลักการคิดได้
👉 ถ้า AI ทำให้เรามีเวลาว่างมากขึ้น 3 ชั่วโมง เราจะเอาไปทำอะไร ?
คุณรวิศแนะนำ AI ชื่อ ‘Read AI’ ที่จะเข้ามาช่วยวิเคราะห์ว่าการประชุมนี้มีประสิทธิภาพไหม เพราะคนส่วนมากเสียเวลาไปทั้งหมดกับการประชุมที่ไม่ได้ประโยชน์ Ai ตัวนี้จะเข้ามาช่วยทำงานโดยวิเคราะห์เลยว่า
- ใครพูดแล้วมีคนสนใจ
- ใครพูดแล้วคนไม่สนใจที่สุด ?
- เพื่อสรุปว่า จริง ๆ แล้วประชุมแบบนี้ควรมีอยู่ไหม เพื่อลดสิ่งที่ไม่จำเป็นลงไป
👉 เราหยุดการพัฒนา AI ไม่ได้
จอห์น ไว์ ตอนที่เขาพูดคุยกับ OpenAI เหมือนเมื่อก่อนที่เราควบคุมไฟไม่ได้ เราจึงกลัวเช่นกัน... ในอนาคต เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น โลกจะกลายเป็นยูโทเปียไหม ? AI ทำงาน เราอาจจะไปเดินเล่น ดำน้ำก็ได้ หลายคนบอกว่า AI น่ากลัวมาก เพราะเราอาจจะไม่เข้าใจอะไรจริง ๆ ได้ด้วยตัวเอง
👉 GenZ คืออนาคตแห่งรอยต่อที่น่าสนใจ
ทุกเจนถูกสร้างขึ้นจากเหตุการณ์ ความเชื่อ ที่แตกต่างกับคนยุคก่อนมาก ๆ ชุดความคิดที่เราทำต่อ ๆ กันมาส่งผ่านเจน และถูกตั้งคำถามโดย GEN-Z ซึ่งกลายพวกที่โดนเข้าใจว่าเป็นพวกไม่สู้งาน ไม่มีความอดทน 😞
👉 คุณรวิศไปรับฟังน้อง ๆ รุ่นนี้มา
และเล่าว่า…‘กลัวไหมที่ AI จะมาแทนที่?’ คำตอบคือ “ไม่กลัว” แต่กลัวแค่ว่า ถ้าวันนั้นมาถึง ตัวเองจะเก่งพอหรือยัง เพราะความเก่งของคน GEN-Z เท่ากับการที่ทำให้ตัวเอง รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง และหากไม่พบสิ่งเหล่านี้มันน่ากลัว มากกว่าการต้องทำงานหนักที่หรือ AI
คนเจนนี้เติบโตมากับการถูกเปรียบเทียบ มนุษย์ชอบเปรียบเทียบเป็นเรื่องธรรมดา แต่เราแก้ได้ ด้วยการเข้าใจว่า "ไม่มีใครมีภาพที่สวยงามแบบในโซเชียลตลอดเวลา"
👉 ทุกคนก็มีความยากลำบากเช่นกัน คน GenY / GenX
- นิยามความเก่ง เท่ากับ ทักษะ Skill ?
- ต้องรู้ว่าพัฒนาทักษะอะไร ?
- ความอดทน = การอยู่กับสิ่งใดได้นาน ๆ
👉 สำหรับ GenZ
- นิยมความเก่ง = Identity
- "ตัวตนที่ใช่ของเรา" และอยากอดทนกับสิ่งที่ใช่จริง ๆ ทำให้พวกเขามองหาเพียงว่า จะมีตัวตนที่ดีกว่านี้ ภูมิใจกว่านี้ ชีวิตดีกว่านี้ ได้อย่างไร ?
👉 กลับมาปัจจุบัน
อยากให้มองคนที่ "ตัวตน" มากกว่าทักษะที่เขาทำได้เวลามองคนในออฟฟิศ จะได้เข้าใจมากขึ้นว่า "Hot Button" ของคนที่เราทำงานด้วยคืออะไร ?
🗣️ Extrovert เวลาประชุมจะพูดก่อน คิดทีหลัง
🤔 Introvert จะคิดก่อน แล้วค่อยตอบกลับ
Extrovert ชอบคิดว่า Introvert ช้า ทำอะไรไม่ทันใจ กลับกัน Introvert ก็ชอบคิดว่า Extrovert ทำอะไรไม่คิดเลย เราแค่มีวิธีที่แตกต่างกัน วันนี้เราไม่ควรมองคนแค่ ทักษะ แต่ควรมองที่ "ความเป็นตัวตน" ของเขาเพื่อเข้าใจให้มากขึ้น
🥩 คุณรวิศเล่าว่า
มีผู้หญิงคนหนึ่งทำเนื้ออบอร่อยมาก แฟนถามว่า “เอาสูตรมาจากไหน?”
เธอบอกว่าแม่สอนมา...
เลยไปถามแม่ของแฟนว่า
“ทำไมต้องตัดหัวตัดท้ายก่อนอบ?” แม่ก็บอกไม่รู้ ยายสอนอีกที
สุดท้าย ยายก็บอกว่า... “จริง ๆ มันก็แค่ เตาอบเมื่อก่อนมันเล็กมาก”
👉 จากตัวอย่างข้างต้น มันมีคนที่ "ไม่ตั้งคำถามกับสิ่งที่ทำ" แต่ทำตาม ๆ กันมา
ตอนนี้ไม่ได้แล้ว ❌
เราควรมีคำตอบที่มีความหมายให้กับทุกการกระทำ นี่คือช่วงเวลาที่องค์กรต้องสรุปให้ได้ว่า เราจะสร้างพื้นที่ที่มี ความหมาย ได้อย่างไร
👉 สร้างพื้นที่ปลอดภัย พูดแล้วไม่ซวย สามารถเล่าได้กันจริง สิ่งนี้จะทำให้พนักงานมี "ความเชื่อ" กับองค์กร
👉 ทีมรู้จักกันดีไหม? คุยเล่นกันมากกว่างานไหม ?
👉 ให้เป้าหมาย-เหตุผล-ที่มาที่ไป เวลาอยากให้ทำอะไร ต้องบอกให้ได้ว่า “เราทำไปทำไม?" ต้องสร้างสมดุลให้เหมาะสม
👉 GenZ บอกว่า สิ่งที่ทำให้เขา ไม่กลัว AI เลย คือ…AI ไม่มีหลายสิ่งที่เรามี:
- Belief
- Uniqueness
- Critical Thinking
- Empathy
- Emotional Support
- Creativity
แม้เราจะรู้ว่าเครื่องบินบางลำบินเองได้ แต่นักบินก็ไม่สามารถบอกผู้โดยสารได้ว่า
“เครื่องบินลำนี้จะบินโดย AI แต่ผม Work from home นะครับ”
เพราะสุดท้าย..พอไม่มีคนควบคุม คนก็ไม่มั่นใจอยู่ดี ต่อให้ AI เก่งแค่ไหน แต่คน ไม่ได้ไว้ใจ มันขนาดนั้น พอมีมนุษย์อยู่ด้วย เราก็อุ่นใจ
เรามีสิ่งนี้อยู่ในทุกงานที่เราทำ และนี่แหละคือ Value ของมนุษย์
องค์กรต้องตั้งคำถามกลับไปว่า เราจะช่วยให้พนักงานค้นพบ Value ของตัวเองได้อย่างไร ?
- ให้โอกาส
- ให้คำปรึกษา
- ให้การทดลอง
เราสามารถเติบโตขึ้นมาเป็นกวางที่มีความตื่นเต้น มองโลกใบนี้ต่อไปด้วยมุมใหม่ที่ใส่ใจในตัวเอง
ใครที่อยากรับชมแบบจัดเต็ม สามารถซื้อบัตรรับชมย้อนหลังทุกเซสชันเพิ่มเติมได้ที่
👉 https://bit.ly/3TRATke
