ผู้เขียนเองก็เป็นคนหนึ่งที่มีโอกาสได้สัมภาษณ์ผู้สมัครงานหลายครั้ง และเกือบทุกครั้งก็จะถามผู้สมัครเสมอว่าปกติชอบทำอะไร หรือช่วงนี้กำลังสนใจเรื่องอะไรอยู่บ้าง อาจฟังดูขี้เผือก แต่เราไม่ได้ถามไปงั้น ๆ แต่บางครั้งอินเนอร์ ความสนใจที่ผู้สมัครงานสื่อสารออกมามันทำให้เราเห็นถึงแพชชันบางอย่าง
“ฉันไม่ได้ต้องการจ้างหุ่นยนต์” นี่คือคำพูดที่อดีต Recruiter ของ Google บอกเอาไว้กับทาง CNBC
⭐ ลิสต์สิ่งที่ตัวเองสนใจ 3-5 อย่าง ⭐
อาจจะเป็นส่วนสั้น ๆ ใน Resume ก็ได้ แต่สิ่งนี้ไม่ควรขาดเพราะมันช่วยทำให้ HR หรือผู้ว่าจ้างเองรู้สึกว่าเรามีความมุ่งมั่น และแพชชันในบางอย่างที่อาจหล่อหลอมให้เราไม่เหมือนใคร เป็นตัวของตัวเอง
ในเว็บไซต์ themuse ยังอธิบายเพิ่มอีกว่าทำไมเราถึงควรใส่ Interest หรือความสนใจลงไปใน Resume
📢 ช่วยให้เห็นว่ามีทักษะไหนที่ไปต่อยอดการทำงานได้บ้าง (Transferable Skills)
สมมุติเราต้องการเซลล์ หรือเออีที่ขายเก่ง คุยเก่ง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก ถ้าเกิดงานอดิเรกของคุณคือการเป็นพิธีกร ชอบไปเข้าร่วมมีตอัพ Networking อะไรสักอย่าง ก็ช่วยทำให้เราดูเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้น ๆ มากขึ้น
คำถามคือ แล้วเราทุกความสนใจที่มีลงไปได้เลยรึเปล่า?
มีหลายแหล่งอ้างอิงที่มองว่าเราอาจจะต้อง ‘เลือก’ สิ่งที่ดีที่สุดซึ่งอาจจะต้องแมทช์กับองค์กร บทบาทหน้าที่ ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นงานอดิเรก หรือความสนใจที่เราชอบจริง ๆ ไม่ใช่การโกหกเพื่อให้องค์กรมองว่าเราใช่ที่สุด
ไม่ว่าจะเป็น:
⭐ รีเสิร์ชเกี่ยวกับองค์กรก่อน ดูรายละเอียดงานและดูลักษณะที่พวกเขากำลังมองหาในตัวผู้สมัคร
⭐ เลือกความสนใจและงานอดิเรกที่สอดคล้องกับลักษณะบุคลิกภาพที่ต้องการ
⭐ รวมความสนใจที่เน้นไปที่ทักษะของตัวเอง เช่น เรากำลังสมัครตำแหน่งครีเอทีฟคำโฆษณา แต่มีประสบการณ์การทำงานน้อย เราอาจระบุว่างานอดิเรกคือมักเขียนงานลงบล็อกส่วนตัว เป็นต้น
⭐ แยกหัวข้อต่างหากที่ส่วนท้ายของเรซูเม่ว่า 'งานอดิเรกและความสนใจ' หรือ 'ความสนใจ' อย่าเอาไปรวมกับส่วนอื่น ๆ ใน Resume
⭐ รวมความสนใจหรืองานอดิเรกที่แตกต่างกันสัก 5 อย่าง เลือกความสนใจหรืองานอดิเรกที่เกี่ยวข้องกับงานที่คุณสมัครมากที่สุด
ที่มา
- Always include an interests section on your resume, says ex-Google recruiter: ‘I’m not looking to hire robots’
- 3 Reasons Adding a Hobbies Section to Your Resume Could Make All the Difference