“คน” คือทรัพยากรสำคัญที่สุด แต่ถ้าหากวันหนึ่งคนไม่สามารถ Implementation หรือไม่สามารถทำงานที่เป็นงานปกติได้ อันเกิดจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือเทรนด์ใหม่ ๆ สิ่งที่ส่งผลหนักใหญ่หลวงคือองค์กรที่ขาดประสิทธิภาพในการยกระดับพนักงาน ยกระดับ Workforce ของตัวเอง แล้วอะไรคือโอกาสที่จะเกิดขึ้นในปีถัดไป โจทย์ของ Workforce คืออะไร ? มันจะมีหน้าตาเปลี่ยนไปอย่างไร ?
วันนี้เรามาสรุปหัวข้อเทรนด์สำคัญในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023 กับหัวข้อ Closing the Skills Gap for Future Ready Workforce ทรานส์ฟอร์มงานและทักษะคนไทยในโลกใหม่ ผ่านมุมมองของทั้ง 3 บุคลากรชั้นยอดระดับประเทศ ดร. สันติธาร เสถียรไทย, ดร. ไพลินทร์ ชูโชติถาวร และ ดร.การดี เลียวไพโรจน์
🌎 MEGA TREND ที่จะเกิดขึ้น
ดร.การดี เลียวไพโรจน์ กล่าวถึง คนส่วนใหญ่ชอบยึดติดกับการเรียนจบสูง ๆ แต่วิธีคิดนี้ผิด! สิ่งที่สำคัญกว่าการเรียนจบสูง คือการเรียนบ่อย ๆ เรียนอย่างหลากหลายให้ลึกอย่างต่ำ 2 เรื่องขึ้นไป จะทำให้เรารอดในทุกยุคสมัย และนี่คือภาพรวมของ MEGA TREND ที่จะเกิดขึ้น…..
👉 เรากำลังอยู่ในภาวะการแข่งขันทั่วโลก
ภายในปี 2030 เราจะขาดแคลนบุคคล talent หรือผู้มีความสามารถมากถึง 18 ล้านคน และคาดการณ์ว่าจะสูญเสียรายได้กว่า 8.45 ล้านล้านดอลลาร์
👉 คนของออกจากงานมากขึ้นหากไม่ตรงกับเป้าหมาย
55% ของกลุ่ม GenZ และ 48% ของกลุ่ม GenY มองเห็นว่าหากงานที่ทำไม่ได้ตอบโจทย์กับเป้าหมาย ส่วนใหญ่เลือกที่จะออกมาจาก และคนยุคใหม่ต้องการทำงานแบบ Hybrid everything รวมถึงคำนึงถึง Diversity เรื่องเกี่ยวกับความเท่าเทียมในที่ทำงาน
👉 ทักษะ Cognitive Skills จะสร้างมูลค่าได้
Cognitive Skills คือความสามารถในการเข้าใจความคิดที่ซับซ้อน และนำมาประยุกต์ใช้ได้ โดย 85% ของผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคลให้ความสำคัญกับค่าตอบแทนส่วนบุคคล และผลประโยชน์ แต่มีเพียง 42% ของพนักงานเท่านั้นที่นำไปใช้ ดังนั้นจึงเกิดการแย่งคนในมิติของ talent เก่ง ๆ มากขึ้น รวมถึงอาชีพเกิดใหม่ อาชีพแบบเดิม กระบวนการทำงานแบบเดิมอาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งจะมีความจำเป็นในปี 2030
👉 เรื่องของ Green Focused จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
ความต้องการของคนที่มีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมมีอัตราเพิ่มขึ้น 38.5% แต่กลับกันในช่วง 2015 - 2021 มีเพียง 13% เท่านั้น ดังนั้นทักษะที่เกี่ยวกับ green talent จะมีความจำเป็นมากขึ้น
👉 Essential Skills คือการคิดแบบมนุษย์ จะมีความจำเป็นมากขึ้น
รวมไปถึง Creative thinking, Analytical thinking, Technological literacy ติดท็อป 3 ทักษะที่จะมีความสำคัญอย่างมากในอนาคต
🌎 FUTURE SCENARIOS
สถานการณ์ในอนาคตอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ?
ประเด็นที่ 1
CORPORATIONS OF GIG (องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย GIG)
👉 องค์กรที่ยังบริหารแบบเดิม ๆ recruit ก็ช้า, ไอนั่นก็แพงไม่กล้า กลัว องค์กรแบบนี้จะไม่รอด
👉 องค์กรที่ปรับตัวด้วยการใช้ฟรีแลนซ์จะเพิ่มมากขึ้น
ประเด็นที่ 2
THE ARTISAN RENAISSANCE (ยุคทองของช่างศิลป์)
👉 บทบาทนี้มาจาก AI เหตุเพราะ AI ดูดีเกินไป เก่งเกินไป ดังนั้นงานช่างศิลป์ในเชิง Creative Economy ประกอบกับ Digital Economy จะมีจุดร่วมกันอย่างมากขึ้น
👉 ประกอบกับ Gen รุ่นเก๋า และ Gen รุ่นใหม่ก็จะสร้างอาชีพจากเทคโนโลยีด้วยความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
ประเด็นที่ 3
SYNERGY IN SYNC (งานข้ามโลกไร้รอยต่อ)
👉 บางครั้งเราอาจจะนึกถึงคนที่อยู่ต่างแดน ต่างประเทศ แต่อยากให้ทุกคนมองกลับมาที่ประเทศเรา เพราะเรื่องนี้คือการทำงานของ ‘คนที่อยู่ต่างที่ ต่าง Timezone’ ไปจนถึงการทำงานกับเครื่องจักรอย่างไร้รอยต่อ การมี Co-pilot ก็จะกลายเป็นทักษะปกติ เหมือนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เวลาเราสมัครงานใช้ word, excel, powerpoint เป็นนั่นเอง
ประเด็นที่ 4
BEYOND REALITY (ทุกอย่างจะเริ่มเหนือความเป็นจริง)
👉 ถึงมีข้อจำกัดแต่ก็ยังมีการเติบโตในด้านโลกเสมือน แต่ในอนาคตอันใกล้องค์กรจะใช้เทคโนโลยี Extended Reality โลกเสมือนเหล่านี้จะขับเคลื่อนองค์กรมากยิ่งขึ้น
ประเด็นที่ 5
TRANSFORMATIVE RESILIENCE (การทำงานแบบยืดหยุ่น)
👉 การทำงานที่ยืดหยุ่นเพื่อยืนหยัดให้ได้ โดยมาจากแนวคิด Jobs Hopper มาสู่ Career Hopper ในยุคข้างหน้าคนจะเปลี่ยนอาชีพไปเรื่อย ๆ ไม่ได้เปลี่ยนงานตามตำแหน่ง หรือพยายามทำเพื่อเงินเดือนเพียงอย่างเดียว
🌎 FOCUS ON UPSKILLING, RESKILLING AND SHIFTING LEADERSHIP STYLE
เช็กลิสต์ 8 อย่างข้อห้ามที่ควรเลิก! ถ้าไม่อยากให้องค์กรเจ็บตัว
1. Hierarchy and Command-and-control Leadership
องค์กรบ้านเรายิ่งใหญ่ ยิ่งมีชนชั้นวรรณะมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงปัญหาใหม่ไม่สามารถใช้วิธีคิดแบบเดิม ๆ ได้อีกต่อไป หรือมองว่าเทคโนโลยีน่ากลัวต้องเลิกได้แล้ว ต้องเลิกคิดแบบนี้โดยด่วน
2. Over reliance on past Experience
การใช้ประสบการณ์ในอดีตมาครอบงำควรหยุด! สิ่งที่สำคัญกว่านั้นมาก ๆ คือคุณต้อง Upskill & Reskill อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะความรู้มันเก่าไว
3. Micromanagement
การจัดการแบบคนจู้จี้จุกจิกไม่ควรมีอีกต่อไป ซึ่งเป็นสัญญาณบั่นทอนทำลายบรรยากาศในการทำงาน
4. Traditional Communication
การสื่อสารแบบดั้งเดิม เน้นฟังผู้บริหารเป็นหลัก ซึ่งในโลกข้างหน้าที่จะเกิดขึ้นคุณต้องฟังความคิดเห็นคนรุ่นใหม่ ฟังเยอะ ๆ แล้วเกิดการคิด วิเคราะห์ แยกแยะให้เป็น
5. Resistance to New Technology
มนุษย์ต้าน พอเห็นเทคโนโลยีก็วิ่งหนี เรื่องนี้เราหนีไม่พ้นแน่นอน เทคโนโลยีจะมีบทบาทกับโลกธุรกิจอย่างแน่นอน เตรียมรับมือให้พร้อมศึกษาให้ดี
6. Inflexible Work Practice
ความยืดหยุ่นสำคัญกับงานในโลกอนาคตมาก ต้องห้ามเป็นคนมีอคติ และมองปัญหาเป็นปัญหา แต่คนในยุคต่อไปจะมองปัญหาเป็นโอกาสเสมอ
7. Silo & Departmental Thinking
รูปแบบการทำงานที่แต่ละหน่วยงานมุ่งทำแต่งานในส่วนของตัวเอง สิ่งนี้จะไม่เจริญอีกต่อไป งานที่ดีควรมีความคิดเห็นจากทั้งองค์กร ทุกคนร่วมมือช่วยกันจะไปได้ไวกว่า และดีกว่า
8. Resistance of Diversity & Inclusion
งานในโลกอนาคตเราต้องหาคนมีความหลากหลาย ที่ไม่ใช่คนแบบเดียวกัน เราไม่ควรรับคนทำงานที่มีความเหมือนกันมากจนเกินไปในองค์กร ควรหาคนทำงานหลายรูปแบบมากขึ้น เก่งคนละทาง ไม่ใช่เก่งแค่อย่างเดียว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ทางด้าน ดร. ไพลินทร์ ชูโชติถาวร ได้พูดถึงในอดีตเราฝึกให้นักเรียนหาคำตอบ แต่ปัจจุบันมันเกิดจากการตั้งคำถาม ในอดีตเราถูกปลูกฝังว่าต้องเรียนสายวิทย์ สายศิลป์ แต่ในต่างประเทศเป็นวิธีคิดที่ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ในต่างประเทศเลิกใช้หมดแล้ว เพราะปัจจุบันการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นสำคัญมากขึ้น เราสามารถเรียนได้ทั้งวิทย์ และเรียนภาษาได้พร้อมกัน หากยังคงเป็นแบบเดิม Innovation หรือนวัตกรรมจะไม่เกิด
ในภาพการศึกษาในยุค Education 3.0 (คือการเสี่ยงเซียมซี) แต่ในยุคปัจจุบันอันใกล้คือ Education 4.0 (เรียนแบบตัว T) คือเน้นเรียนลึกเรื่องที่ถนัดมากถึง 2 เรื่อง (ใครถนัดเรื่องเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป) และ Multidisciplinary (เรียนกว้าง), Flexible (มีความยืดหยุ่น), Lifelong learning (เรียนได้ตลอดชีวิตไม่มีคำว่าแก่ก่อนเรียน หรือเรียนก่อนแก่อีกต่อไป)
🌎 เด็กและผู้ใหญ่ต้องมี 4 TYPES OF INTELLIGENCE
👉 IQ (Intelligence Quotient) ความฉลาดทางสติปัญญา
👉 EQ (Emotional Quotient) ความฉลาดทางอารมณ์
👉 AQ (adaptability Quotient) ความสามารถปรับตัว
👉 SQ (Social Quotient) ความสามารถเข้าสังคม
ด้าน ดร.สันติธาร เสถียรไทย กล่าวถึงเราเจอปัญหาคนขาดคน แต่จริง ๆ แล้วคือ ‘คนขาดงาน’
🤔 คนขาดงานในที่นี้หมายถึง Underemployment คือคนไม่ได้ทำงานจากสิ่งที่เรียนตรงสาย จบมาตรงสาย ทำสิ่งที่ตัวเองถนัด แน่นอนว่าหากข้ามสายรายได้จึงน้อย และจะไม่เกิด Productivity ในที่สุด โดยยุค AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้อย่างสิ้นเชิง ในยุคของ Generative AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง ใครเรียนอะไรมาจะถูก Disruption ได้เช่นกัน คนที่ไม่ปรับตัว คิดว่าตัวเองเก่ง ไม่เรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่อัปสกิลใหม่ ๆ จะมีโอกาสถูกเทคโนโลยีแทนที่ในที่สุด
🌎 สิงคโปร์คือประเทศตัวอย่าง
สิงคโปร์ เป็นประเทศที่น่าสนใจ มีการตื่นตัว ความพร้อมอย่าง ‘Future Ready’ คือการพัฒนาคนในประเทศ เขามี Movement อย่าง Skill Future เพื่อสร้างการตื่นตัวว่าพวกคุณกำลังตกยุคแล้วนะ ต่อให้คุณเก่งแค่ไหน แต่ของใหม่มาก็ต้องรีบเรียนรู้ให้ทันโลก เพราะความรู้ที่คุณมีมันไม่พอ แม้ประเทศเขาจะเก่งกาจมากเพียงใด แต่ความรู้มันเก่าไว มันต้องเติมอย่างต่อเนื่อง
🌎 ทักษะที่สำคัญความท้าทายในยุคต่อไป คือ Empathy เป็นเส้นที่จะเชื่อมทั้งหมด
1. ทักษะ Design
เราต้องรู้จักการดีไซน์ เราอาจจะเข้าใจคำนี้ผิดไปก็ได้ บางคนอาจจะมองว่าความสวยงาม แต่จริง ๆ มันไม่ใช่ แต่มันคือการนำวิทยาศาสตร์ และ ศิลปะ เข้าไว้ด้วยกัน เป็นการติดกระดุมเม็ดแรกไม่ใช่เม็ดสุดท้าย ลองนึกภาพทำไมโปรดักต์ไอโฟนถึงลงตัว มันคือการดีไซน์ที่เข้าใจลูกค้า มันใช้ digital บางอย่างทำให้คนรัก ในยุคที่เราอยู่กับเทคโนโลยีคุณต้องดีไซน์ระบบทั้งหมด
2. การทำงานกับคนต่างวัย
เพราะคนรุ่นผู้ใหญ่จะอยู่นานขึ้นเรื่อย ๆ เป็น Active aging คนรุ่นใหม่ขึ้นมาเร็วขึ้น มันจะมีการถกเถียงกันแน่นอน โลกต่อไปเราต้องมีความรู้ทันโลก และรู้จักโลก คนรุ่นผู้ใหญ่ได้เปรียบในการอ่านเกมทันโลก รู้เรื่องธุรกิจลึกซึ้งในบางเรื่องมากกว่า แต่ก็มีจุดอ่อนด้านไม่ค่อยทันโลก ในทางกลับกันคนรุ่นใหม่ทันโลก มี Adaptability หรือการปรับตัวค่อนข้างสูง องค์กรต้องมีทั้ง 2 กลุ่มอยู่ด้วยกัน
3. รู้จักทำงานกับ Global Workforce
ประเทศเราขาดคนเก่ง ขาด talent เราทำงานกับคนต่างประเทศได้ไหม แต่ในทางกลับกันคนไทยไปต่างประเทศมากขึ้น เพราะรายได้ในประเทศขึ้นไม่เร็ว มีเรื่องของ talentwar สงครามการแย่งตัวกันของบริษัทยักษ์ใหญ่เกิดขึ้น สิ่งสำคัญของเราในยุคนี้คือต้องสร้างทักษะใหม่ เพื่อให้ทันต่อโลก
เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ