-
อนาคตการเมืองของคนรุ่นใหม่ จะมีวี่แววของการเมืองที่แตกต่าง อาจจะมีพรรคใหม่ที่มีอุดมการณ์ต่างกัน ความคิดคล้ายกัน แต่วิธีการต่างกัน
-
ถ้าเศรษฐกิจเวียดนาม โตปีละประมาณ 4% อาจจะแซงไทยได้ในปี 2030
-
รัฐบาลต้องมองภาพใหญ่ของโลก ถ้ารัฐบาลไทยปรับตัวไม่ทันเราก็ไปไม่รอด
-
เจ้าของธุรกิจควรนำข้อมูลทุกอย่างเข้าสู่ออนไลน์ เพราะทำให้เราทำงานเร็วขึ้น 200% และประหยัดค่าใช้จ่ายขึ้นถึง 90%
-
เจ้าของธุรกิจวันนี้คุณต้องมี Real-time dashboard หรือก็คือข้อมูลปลายนิ้ว
-
การใช้ GPT สามารถทำ Custom GPT ได้ ตอนนี้เราสามารถเทรนด์ตัวเองเป็น AI มาทำงาน และให้พนักงานถามคำตอบได้
-
นักธุรกิจไทยต้องให้ความสำคัญกับ ESG ชัดเจนเลยก็คือเรื่องภาษีคาร์บอนที่เราต้องจ่ายเพิ่ม ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
-
AI กำลังจะตามมา เครื่องมือ CRM ต่าง ๆ จะเริ่มบอกได้จากการคาดการณ์ทางธุรกิจ ว่า Segment นี้จะเป็นอย่างไร เราต้องทุ่มให้กลุ่มไหนมากกว่ากัน
-
ตลาด EV Motorbike ทั้งประเทศมีอยู่ 15 แบรนด์ ส่วนใหญ่มาจากจีน และไต้หวัน ซึ่งอนาคตมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ามาแน่นอน เพราะต้นทุนคือน้ำมันเป็นหลัก บริษัทจึงต้องเริ่มเปลี่ยน ดังนั้นตลาดจีนจึงเริ่มเข้ามา
-
ตลาดไอที เราไม่มี Tech Talance แต่เวียดนามมี 500,000 คน ขณะที่แรงงานเรามีแค่ 50,000 คนรวมช่างซ่อมไอทีด้วยซ้ำ
-
Online ไม่ใช่ "ทางเลือก" แต่มันคือ "ทางหลัก"
-
ลาวเป็นประเทศที่น่าสนใจในการขยายธุรกิจ ถ้าเราอยากได้ Talent เราสามารถสร้างจากพวกเขาได้
-
สินค้าจีนทะลักเข้ามาในไทย ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้เขาสามารถควบคุมเราโดยการขึ้นราคา
-
ถ้าไทย+เวียดนาม ร่วมมือกัน เราจะไปไกลกว่านี้ได้ โดยใช้คอนเซปต์ ไทยคิดและเวียดนามทำ
-
ธุรกิจไทยตอนนี้ ปัญหาคือไม่มีใครลงทุน ถ้าโอกาสทางธุรกิจไทยไม่เยอะ ลองออกไปมองข้างนอก เพราะประเทศรอบข้างนั้นมีโอกาสที่น่าลงทุนเยอะมาก ๆ
-
ทุกวันนี้มี Demand แต่เราต้องหาที่ลง ว่ามันไปอยู่ตรงไหน เช่น ห้างเกิดใหม่เยอะมาก คาแรกเตอร์ของ ห้างก็แตกต่างกัน และเจาะ Target คนละรูปแบบ ต้องทำการบ้านให้หนักขึ้น Research ให้เยอะกว่าเดิม
-
Unique Selling Proposition
- สิ่งที่ลูกค้าต้องการ / สิ่งที่เราถนัด และทำได้ดี / สิ่งที่คนอื่นถนัด และทำได้ดี
- สิ่งที่ลูกค้าต้องการ + สิ่งที่เราถนัด และทำได้ดี = Winning Zone
- สิ่งที่เราถนัด และทำได้ดี + สิ่งที่คนอื่นถนัด และทำได้ดี = Who Cares?
- สิ่งที่คนอื่นถนัด และทำได้ดี + สิ่งที่ลูกค้าต้องการ = Losing Zone
- สิ่งที่ลูกค้าต้องการ + สิ่งที่เราถนัด และทำได้ดี + สิ่งที่คนอื่นถนัด และทำได้ดี = Risky Zone
- สิ่งที่ลูกค้าต้องการ = Demand หดตัว “เฉพาะเจาะจงมากขึ้น”
-
เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน เราต้องเปลี่ยนตาม ยกตัวอย่าง กัมพูชาขายเครื่องดื่มที่หวาน 15% แต่ถ้าวันนึงคนกัมพูชาคิดได้ว่าต้องเลิกทานหวาน คู่แข่งเราก็เลิกทำน้ำหวาน ความต้องการของคนในประเทศจะเปลี่ยนไป เราต้องปรับยังตัวยังไงที่จะให้คู่แข่งไม่ปรับตามเรา และเราจะอยู่ใน Winning Game
-
ธุรกิจอาหาร การถามลูกค้าก็สำคัญ และการสังเกตคู่แข่งก็สำคัญ ซึ่งการนั่งสังเกตว่าคนซื้ออะไรบ้าง ในระดับที่ว่าเขาซื้อแบบไหน ชอบอะไร จะเป็นประโยชน์อย่างมาก
-
จุดโฟกัสที่น่าสนใจคือ ‘ทุกชาติแตกต่างกัน’ ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ในส่วนของ ชา Karun ไม่ใช่ว่าขายต่างประเทศแล้วจะไปได้ทุกที่ ต้องมองหาคุณค่า มองหาคาแรกเตอร์ ว่าประเทศนั้น ๆ ให้คุณค่ากับอะไร
-
ต่างชาติให้ Value กับเราในหลายมุมมาก เพราะจริง ๆ คนมาเที่ยวเมืองไทยไม่ใช่เพราะถูก แต่ Services และบริการต่าง ๆ มันทัชใจชาวต่างชาติมากกว่า
-
ไม่มีสินค้า และบริการไหน ตอบโจทย์ภาพใหญ่อีกต่อไป เพราะคนจะเข้ามาแย่งสัดส่วนการตลาดมาก
-
Critical Thinking + Creative และต้องทำเป็น Loop ไปเรื่อย ๆ จะทำให้เราได้ชุดข้อมูลที่มากขึ้น
-
คนเราเก่งขึ้นทุกวัน และหลายคนอยากทำนู่นทำนี่ตลอดเวลา สิ่งที่เราควรเข้าใจมากที่สุดคือ ‘เราเก่งอะไร’ จะองค์กรเล็กหรือใหญ่ ไม่สำคัญ สุดท้ายแล้วหากเราเข้าใจตัวเอง เราจะมองหา เราควรมีหัวใจความเป็นผู้นำเล็ก ๆ เพื่อให้องค์กรเดินสะดวกขึ้น มีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น
-
ในมุมการตลาด การหาจุดยืนนั้นสำคัญมาก เราต้องกลับมามองว่าวิธีไหน ประสบการณ์อะไร จะทำให้ลูกค้าเข้ามาหาเรา
-
Empathy สำคัญที่สุดโดยเฉพาะกับลูกค้า การที่ลูกค้ามาซื้อสินค้าหน้าร้านไม่ใช่แค่เขามาซื้อ แต่เราต้องลึกไปถึงการหาให้ได้ว่าใน TikTok หรือ Facebook เขา Tag อะไรเรา เพราะถ้าเรารู้การเคลื่อนไหวเขา เราจะ Forecast ตลาดได้ไกลขึ้น
-
Consumer Characteristic ที่เปลี่ยนไปคือครอบครัว กลุ่มอายุ เพศ และคนต้องการความสนุกสนานในการจับจ่ายมากขึ้น
-
คนไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งคนสูงอายุมีเวลาพร้อม และมีเงินใช้อยู่เยอะมาก แถมยังเป็นกลุ่มที่ชอบจับจ่ายนอกบ้านอีก
-
คนในสมัยนี้เปลี่ยนแปลงไป คน 80% จะใช้จ่ายสินค้าที่มีคุณภาพมากเท่านั้น และลูกค้า 32% จะหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง คุณภาพดี ของเข้าถึงได้ มีโซเชียลมีเดีย และสนับสนุนความยั่งยืน
-
Value ของแบรนด์ไม่ใช่ราคาที่ถูกลง แต่ต้องเป็นสินค้าที่พรีเมียม และเข้าถึงกับลูกค้าได้ทุกระดับ
-
Gen AI จะเข้ามามีผลกับการตลาดมากกว่าเดิม เข้ามาพัฒนาร้านให้ดีขึ้น หนึ่งในเป้าหมายของหลายแบรนด์คือการทรานส์คนเข้าสู่ดิจิทัล โดยปีนี้คือการทำ O2O อย่างจริงจัง จะผสมความเป็นดิจิทัลกับประสบการณ์ลูกค้าได้
-
คนมาร้านค้ามากกว่าปีที่แล้ว เพราะคนต้องการประสบการณ์จริง นั่นทำให้ร้านจึงไม่ใช่ร้านอย่างเดียว แต่ร้านต้องสร้างประสบการณ์ลูกค้า เพื่อดึงให้ลูกค้ากลับมา
-
จะเจาะกลุ่มลูกค้าได้ เราต้องเข้าไปอยู่ในใจเขา
- โฟกัสว่าลูกค้าชอบอะไร
- พยายามหาสินค้าที่รีเลทกับพวกเขา
- ใส่อีโมชั่นเพื่อเชื่อมโยงกับพวกเขา
- พยายามหา Segment เพื่อเจาะกลุ่มของเรา
- ท้ายสุดคือการดีไซน์การบริการ มอนิเตอร์ และพัฒนาซ้ำวนไป
-
คนเข้าไป Visit store น้อยลง แต่โอกาสในการเพิ่ม Ticket size มากขึ้น นั่นทำให้ลูกค้ามาไม่บ่อย แต่ซื้อทีก็ก้อนใหญ่เลย
-
เทรนด์บางอย่างผูกกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ด้วยการเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วงหลังโควิด ทำให้เทคโนโลยีบางอย่างก้าวหน้าขึ้น จนผู้คนเข้าถึงได้ง่าย
-
Retail ต้องมี Official shop และต้องทำอีคอมเมิร์ซของตัวเอง เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง
-
คนเป็น Business Marketing ต้องเรียนรู้เครื่องมือ และเรียนรู้แพลตฟอร์มตลอดเวลา
-
คนทำ Brand ต้องคิดให้ดีว่า จะให้ไอทีหรือเทคโนโลยีอะไรมาซัพพอร์ตการตลาดของเรา
-
SEO เป็นศาสตร์ที่มาก่อน ใครที่ทำมานานกว่า จะติด Ranking ได้ดีกว่า
-
No-code / Low-code คือความรู้ใหม่ คนสามารถเข้าถึงโปรแกรม ไม่จำเป็นต้องพึ่ง Dev มาทำให้
-
Experimental Method ในช่วงก่อน มีไม่กี่แพลตฟอร์มที่จะเป็นราชาของแพลตฟอร์ม แต่ในช่วงนี้มีแพลตฟอร์มมากมายที่เกิดขึ้นมาให้เลือก
-
แม้ยุคนี้จะมีแพลตฟอร์มมากมายเกิดขึ้นมา แต่บางทีมันก็อาจไม่ได้เวิร์กกับเราทุกคน ฉะนั้นแล้วถ้าเราลองไปใช้แพลตฟอร์มเก่าทำการตลาด บางทีมันอาจเวิร์กมากกว่า
-
ปีนี้ Google Chrome จะปิดกั้นการเก็บคุกกี้ของ 3rd Party ภายในไตรมาสสามของปี ซึ่งผลกระทบคือ ราคาโฆษณาจะแพง เพราะเราจะยิงแอดได้ยากขึ้น และโดนลูกค้าน้อยลง
-
เทรนด์การตลาดปีหน้า ไม่มีอะไรเปลี่ยน ทุกอย่างเหมือนเดิม ทำของปีที่แล้ว ๆ ให้สำเร็จก่อน
- ย้อนกลับไปในปี 2017 สิ่งสำคัญคือ หา Core Business Value ให้เจอก่อนถูก Disrupt
- ย้อนกลับไปในปี 2017 สิ่งสำคัญคือ Content Marketing Is Not King but ‘Norm’ คอนเทนต์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำ
- ย้อนกลับไปปี 2018 คือ Tools Not Trends คุณต้องตรงไปตรงมา จริงใจกับการทำสื่อ
- ย้อนกลับไปปี 2019 คือ Creativity ต้องคิดภายใน 15 วินาที สำหรับคนทำโฆษณา
- ย้อนกลับไปปี 2019 คือ ถ้าลงทุนกับการทำ Digital asset จะประหยัดการลงทุน เริ่มก่อนได้เปรียบก่อน เพราะถ้าไม่สร้างคอนเทนต์ ไม่มีสินทรัพย์ดิจิทัลของตัวเอง ค่าโฆษณาจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ
- ย้อนกลับไปปี 2020 คือ Shoppertainment: เมื่อการขายของต้องมาคู่กับความบันเทิง
- ย้อนกลับไปปี 2020 คือ - Creative work as Experimental & Testing (When More is More) การทำงานครีเอทีฟยุคหน้าจะเป็นยุคลองผิดลองถูก ยิ่งทำเยอะยิ่งได้เยอะ
- ย้อนกลับไปปี 2021 ยุคโควิด คือ ต้องกล้าชน กล้ายืน เรายืนเคียงข้างใคร แบรนด์ต้องมีจุดยืนชัดเจน มีด้านจริยธรรม (Brand Democratization: A Call for Morality)
- ย้อนกลับไปปี 2022 คือ New Experience Transformation O2O + I2O | Online to Offline + Inside to (การสร้างประสบการณ์จากออนไลน์สู่ออฟไลน์ และเริ่มจากภายในสู่ภายนอก)
- ย้อนกลับไปปี 2022 คือ ไม่ใช่แค่จริงใจ แต่ต้อง Makesent
- ย้อนกลับไปปี 2023 คือ ไม่ใช่ KOL แต่เป็น KOC คือคนที่ซื้อแล้วใช้แล้ว เป็นลูกค้าเราจริง ๆ
- ย้อนกลับไปปี 2023 คือ Brand need to adopt the creator’s mindset - จะทำคอนเทนต์ แบรนด์ต้องทำตัวเป็นครีเอเตอร์ ใช้ท่าเดิมไม่ได้
-
บางอย่างอยู่มานานจนกลายเป็น Norm ของนักการตลาดรุ่นใหม่ไปแล้ว บางอย่างก็ล้มหายตายจากไป เพราะลูกค้าไม่เกิดการ Adoption แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การดูอดีตย่อมทำให้วางแผนในอนาคตได้ดีขึ้น
-
จงมีความ Creative แบบแก๊งมิจฉาชีพ และมีความ Creation แบบแก๊ง Call Center
-
COP 28 คืองานที่มีการลงนาม นานาชาติ ถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาวะโลกร้อนโดยตรง
-
COP28 พูดถึงเรื่องของอาหาร คือภาคปศุสัตว์ ผลิตคาร์บอนเยอะ Food system จะสำคัญมากขึ้นในปีหน้า
-
Transition Away from Fossil Fuel ทำอย่างไรที่จะเปลี่ยนผ่านจาก Fossil เพื่อช่วยโลกร้อน
-
5 Pillars of Energy Transition by 2030
การใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น 3 เท่า
จะทำอย่างไรให้การใช้พลังงานหลังจากนี้มีประสิทธิภาพ เพื่อประหยัดพลังงาน
ลดการใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน และฟอสซิล
การทำ ESG จะมีเรื่อง Finance เข้ามาซัพพอร์ต
ทุกประเทศต้องลดการปล่อยก๊าซมีเทนในปี 2030 -
ภาวะโลกร้อน จะกลายเป็นภาวะโลกเดือด เมื่อภาวะนี้มีความรุนแรงมากขึ้น ความแห้งแล้งจะเกิด ดังนั้นภาวะอาหารขาดแคลนจะมาแน่นอน
-
ก๊าซเรือนกระจกต้องน้อยลงในปี 2030 จากการทำ 3 แผน ควบคุมตัวเอง, ปรับไปใช้ไฟฟ้า และขยายวงกว้างไปสู่คนอื่น
-
การจะขยายการคุม ESG ไปสู่พาร์ตเนอร์ เราต้องเริ่มที่ทำเองได้ก่อน และค่อยขยับไปสู่คนอื่น สิ่งสำคัญคือต้องคุยตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะถ้าทำปุบปับ พาร์ตเนอร์รายเล็กจะปรับตัวไม่ทัน
-
คนที่มีสินค้า และบริการที่มีกลิ่นอายการรักษ์โลก จะทำให้ผู้บริโภคอยากซื้อมากขึ้น
-
ESG TREND 2024 จะไม่ใช่แฟชั่น แต่เป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต
-
Focus on climate action หมายถึง Action ขององค์กรคุณคืออะไร และเราในฐานะ SME / Startup มีสินค้า บริการ ลดการใช้พลังงานอะไร หรือมีการทำ Carbon Capture ไหม
-
Growing importance of Diversity, Equity, and Inclusion (DE&I) คือความใส่ใจของผู้บริโภคที่ต้องการเห็นบริษัทต่าง ๆ สนับสนุนความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่าง ตั้งแต่สวัสดิการความเป็นอยู่ เพื่อทำให้ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
-
เมื่อจะเข้าไปทำธุรกิจกับชุมชน ต้องมอบ Gift ให้กับพวกเขาด้วย จะเข้าไปส่งเสริมสิ่งใด ก็ควรให้พวกเขาโตไปด้วยกัน
-
ประเทศจะปรับเปลี่ยนเพิ่มกฏหมายอะไรใหม่ ต้องไปแก้หลายกระทรวง ถ้ารัฐบาลจะทำจริงจังต้องทำอย่างมีมาตรฐาน
-
องค์กรสามารถทำตัวเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาส ให้คนตัวเล็ก เข้ามาทำ ESG เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจได้
-
เวลาที่องค์กรจะเลือกเข้าซื้อบริษัทไหน สิ่งที่เขามองคือการซื้ออนาคต ซึ่ง Royalty และ Networking จะตามมาเอง
-
ครีเอทีฟที่มุ่งสู่อนาคต คือการเปลี่ยนแปลงตัวเองตลอดเวลา เพื่อไปเกี่ยวข้องกับตลาด สังคม และโลกอยู่เสมอ
-
Customers Experience Landscape คือ Marketing, Commerce, Digital Product และ Services
-
ครีเอทีฟในอนาคต คือ CREATIVITY Powered by Technology
-
3 มุมของครีเอทีฟที่นำไปใช้ได้ในปีนี้
- ลด อย่าไปทำอะไรที่ไม่จำเป็น
- ลอง เราต้องลองแก้ปัญหา
- เริ่ม ปรับกระบวนการนำเทคโนโลยีมาใช้
-
ความคิดสร้างสรรค์อยู่ในทุกที่ มันสามารถใช้งานได้เมื่อมีของ 3 อย่าง
คนจะตั้งคำถาม เราก็ต้องสร้างความเกี่ยวข้อง
ลดกำแพง ที่สามารถใช้งานได้ยาก ให้คนเข้าใกล้กับโจทย์มากขึ้น
สร้างความโดดเด่น ทำไงให้โดนใจผู้คน -
ผู้บริโภคปัจจุบันจะมีภูมิคุ้มกันกับสูตรสำเร็จ ฉันเบื่อแล้ว เดี๋ยวทำช้ำ กลับไปกลับมา ฉะนั้นถ้าใช้ความคิดสร้างสรรค์ก็จะเข้าใจความคาดหวังของคน
-
2-3 ปีที่ผ่านมา ทุกอย่างถูกฝึกสอนว่า นักการตลาดต้อง creative แต่จริง ๆ มันต้องแยกออกจากกัน เพราะคุณกำลังพยายามทำตัวเองเป็นอีกอาชีพ
-
การที่รู้ปัญหาตัวเองอย่างชัดเจน แล้วหาทางแก้ไขปัญหานั้น นี่แหละ Creativity ไม่ใช่หนังหรือคอนเทนต์ออนไลน์ มันคือคนละขากัน
-
ลูกค้าหลายคนไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไร ดังนั้นบรีฟจึงสำคัญ หลายครั้งเราต้องช่วยลูกค้าจริง ๆ เช่น ลูกค้ามีปัญหา แต่กลับต้องการเพิ่มยอดขาย การเพิ่มยอดขายไม่ใช่การแก้ปัญหา เราต้องค้นให้เจอว่าจริง ๆ แล้วลูกค้าติดปัญหาที่อะไรกันแน่
-
Soft power มาจากวัฒนธรรม ค่านิยม และนโยบาย หรือรีแอ็กชันที่เกิดกับประเทศต่าง ๆ
-
Soft power ต้องเหมือนปลูกป่าสักผืน เราต้องทำให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเราไม่ต้องไปยุ่งกับป่า ปล่อยให้มันโตไปเลย อย่าไปยุ่งกับมัน เพราะป่ามันเติบโตเองตามธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากการกระทำ แต่มันอาจจะเกิดจากการไวรัลโดยไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างชุดนักเรียนไทย จากหนังเรื่องสิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก ซึ่งคนจีนแห่กันซื้อชุดนักเรียน เพราะชอบหนัง
-
ทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดคือ ‘คน’ ดังนั้นบริษัทใหญ่จึงให้ความสำคัญกับนวัตกรรม แต่นวัตกรรมเปรียบเหมือนแฟชั่น เพราะแป๊บเดียวก็เก่าแล้ว
-
เหตุที่ประเทศไทยหานวัตกรรมได้ยาก ไม่ใช่เพราะไม่มีเงิน แต่เป็นเรื่องของ Culture ซึ่งนวัตกรรมต้องทำให้คนที่อยู่ระดับล่าง มีสิทธิ์ได้พูด
-
ถ้าไทยอยากเป็นผู้นำนวัตกรรมต้องชูเรื่องท่องเที่ยวกับเกษตร ถึงจะส่งให้เรากลายเป็นผู้นำระดับโลกได้ ซึ่งเกษตรเทคโนโลยีนี่แหละจะเป็นอนาคต
-
ยุคต่อไปของเทคโนโลยีคือเรื่องของการ KYM (KNOW YOUR MACHINE) คือการที่คนรับรู้เทคโนโลยีของเรา
-
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนั้น ในตอนนี้เราเลยจุดหักศอกของการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว นี่จะไม่มีวันหยุด และจะเร็วขึ้นแบบมหาศาล
-
ตรงไหนมีปัญหา จงวิ่งเข้าใส่ และประเทศไทยมีปัญหาเป็นล้าน ให้มองปัญหาคือปัญหา ให้มองโอกาสคือโอกาส และทุกครั้งที่เจอข้อจำกัด ก็จงวิ่งเข้าใส่
-
อะไรที่ขึ้นเป็นเทรนด์ เราไม่ควรตาม เพราะกระแสมีไว้สวน ไม่ควรตาม โดย Innovation มีอยู่ 3 กลุ่ม Too much, Too soon และ Too fast
-
ธีมในอีก 5 ปีข้างหน้าคือ Human Centric AI และ AI จะมา Augment คน ซึ่งทีมแค่ไม่เกิน 10 คนจะสร้างยูนิคอร์นได้ 1 ตัวในอนาคต
-
ผู้นำ 80% ลึก ๆ ยังหวาดกลัวต่อ AI แต่การที่คนหวาดกลัวนี่แหละ จะเป็นโอกาสอันดีที่จะวิ่งเข้าใส่ อาทิ ทำให้ตัวเองเป็นสตาร์ตอัปที่ใช้ AI ที่แรก
-
เมื่อเราเรียนรู้ว่าเราไม่รู้อะไร เราจะเรียนรู้มหาศาล จงอย่าลืม Lead with humanity empty และ Confident
-
ถ้าใครใช้ AI ไม่เป็นต้องเริ่ม! เพราะสิ่งนี้จะเข้าไปอยู่ในทุกกระบวนการทำงาน เพราะสิ่งนี้จะช่วย Deliver ทุกอย่างกับชีวิต
-
เวลาต้องบริหารจัดการเรื่องคน สิ่งที่อยากให้กลับไปมองคือ 4 MEGA TREND ใหญ่
สังคมผู้สูงอายุ จะขยายขอบเขตกว่าเดิม คนอายุน้อย และกลุ่มวัยรุ่นมีอัตราการว่างงานมาก มีการโยกย้ายข้ามประเทศเยอะกว่าเดิม
คนใช้เทคโนโลยีมากขึ้น
เทคโนโลยีของคนจะสะท้อนมาถึง Skill
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวคนกับตัวบริษัท เพราะคนไม่ได้ Royalty กับองค์กรอีกต่อไป -
ในปีนี้ Productivity Paradox จะน่ากลัว องค์กรมองว่า Productivity ไม่ถึงเป้าที่ต้องการ แม้คน Work From Home จะ Burn out แต่องค์กรก็ต้องการจะเรียกคนกลับเข้าออฟฟิศ
-
ยุคใหม่มี Work-life Fit คนทำงานด้วยการเอาชีวิตนำ อาทิ เมื่อเราชอบนอนดึก จึงหางานทำหลัง 4 โมงเย็น
-
เราต้องเข้าใจคำว่า Mental Health เพราะสุขภาพจิต คือการที่บุคคลมีความสามารถรับรู้สภาพสุขภาวะ ที่บุคคลรับรู้ศักยภาพของตน สามารถรับมือกับความเครียดในชีวิต สามารถทำงานให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ และสามารถทำประโยชน์ ให้แก่สังคมของตนได้
-
6 ใน 10 ของบุคลากรจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมก่อนปี 2027
-
บริหารคนอย่างสมดุล เสี่ยงมากก็ว้าวุ่น หลายครั้งเร็วเกินไปได้ Solution ก็ไม่ยั่งยืน / ถ้าเราไวต้องมีระบบที่ดี ไม่ใช่ไวแล้วขาดระบบ หาสมดุลให้เจอ
-
Efficiency มุ่งเน้นประสิทธิภาพ – Empathy เข้าใจพนักงาน อาทิ ข้างบนบี้ยอด ข้างล่างไม่ไหวแล้ว / อะไรคือจุดที่เหมาะสม
-
Alignment กำหนดทิศทางชัด – Autonomy ให้อิสระ คืออย่าเป็น Leader ที่ชี้นิ้วสั่ง หรือคนรุ่นใหม่ไม่ชอบสิ่งนี้ ช่วยให้อิสระฉันหน่อย
-
บางครั้งเรายอมช้า เพื่อให้เข้าใจเขามากขึ้นในอนาคต หรือการที่เราเซตอะไรไม่ดี แต่ถ้ามีการ Alignment เขาจะมีอิสระขึ้น
-
The Skills Economy องค์กรทุกวันนี้เราดูทักษะ ไม่ได้ดูแล้วว่าเราจบอะไรมา ท้ายที่สุดองค์กรอยากมีพนักงานที่เก่ง พนักงานที่เก่งจะทำให้เรารอดจาก Digital AI Disrubtion
-
“ทุก 5 ปี ทักษะของคุณมีจะมีประโยชน์ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง” — Reskilling for a Rapidly Changing World (Boston Consulting Group)
-
สกิลที่จะสำคัญมากขึ้นในอนาคต อาทิ The New Literacy ทักษะสมัยใหม่ที่ ‘ทุกคน’ ควรต้องรู้, Enduring Human Skills, Advanced Technical Skills ที่จะเปลี่ยน และจะยังเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
-
ทุกองค์กรจะกลับมา Review และ Reset ใหม่ เพราะคนทำงานอยากได้ Wellness and Well- Being แต่องค์กรอยากได้ผลตอบแทน
-
ไม่มี 1 Size Fit All อีกต่อไป เพราะการบริหารจะแบ่งเป็น 4 ขั้น
คือกลุ่มผู้บริหาร อย่าไป Micro Manage พวกเขา
กลุ่มผู้บริหารเมเนเจอร์ ให้ไปกำกับเมเนเจอร์อีกที
กลุ่มเมเนเจอร์ที่จะคุมทีม ควรดูว่าเขามีสกิลในการจัดการแค่ไหน
กลุ่มพนักงานปกติ -
คนแบบไหนที่เป็นคนเก่ง เป็นสิ่งที่ทำให้เราต้องกลับมาคิดกัน ว่าองค์กรของเราวางคนเก่งไว้ในลักษณะไหน ซึ่งเก่งของเรากับเก่งของหัวหน้า และเก่งขององค์กรเป็นแบบเดียวกันไหม แล้วเก่งในอดีตจะเป็นเก่งในอนาคตหรือเปล่า
-
ถอดรหัสคนเก่ง เป็นยังไง คือที่มาของ Talent Management เราต้องคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อดึงทาเลนต์มาอยู่กับเรา
- ดูประสิทธิภาพย้อนหลัง
- สุขภาพจิตดี
- เก่งแล้วต้องมีความทะเยอทะยาน
- ถ้าเรื่อง Climate change เป็นเรื่องใหญ่ของโลกภายนอก แต่ Mental health คือเรื่องใหญ่ของโลกภายใน