3 เทคนิคจิตวิทยาผู้นำ เพื่อต่อสู้กับภาวะหมดไฟของพนักงาน โดย Adam Grant

การที่พนักงาน หรือคนทำงานเกิดภาวะหมดไฟ (burnout) มันไม่ใช่ว่าพวกเขาทำงานได้ไม่ดี แต่แท้จริงแล้วเรื่องเหล่านี้ ‘ผู้นำ’ อาจจะต้องรับผิดชอบมากกว่าที่คิด

Last updated on เม.ย. 30, 2024

Posted on เม.ย. 23, 2024

Adam Grant กล่าวถึงเรื่องภาวะหมดไฟเป็นเรื่องที่ ‘ผู้นำต้องรับผิดชอบ’

Adam Grant ศาสตราจารย์จาก Wharton School และผู้เขียนหนังสือที่คนไทยรู้จักกันดีอย่าง Think Again, Originals, และ Give and Take ได้พูดถึง “ผู้นำ” มีส่วนสำคัญในการรับผิดชอบการหมดไฟของพนักงาน โดย Adam Grant ได้เคยพูดไว้บนเวทีการอภิปรายในงาน Uplift by BetterUp 2024

Adam Grant ยังกล่าวอีกว่า
“ฉันคิดว่าภาวะหมดไฟเป็นความรู้สึกหมดแรงทางอารมณ์ที่ทั้งยาวนาน และลดประสิทธิภาพการทำงาน” นั่นหมายความว่ามันไม่ใช่อาการที่เป็นชั่วคราว แต่มันจะติดตัว และรบกวนการทำงาน ซึ่งนำไปสู่การลดประสิทธิภาพการทำงาน”

หากมีมากกว่าหนึ่งคนหมดไฟ นั่นแสดงให้เห็นว่ามันเป็นปัญหาด้านโครงสร้าง และวัฒนธรรมองค์กรที่ผู้นำต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ปัญหาความเหนื่อยล้าเหล่านี้แก้ได้ โดย Adam Grant ได้ระบุ 3 องค์ประกอบสำคัญในการจัดการปัญหานี้ว่า "Demand, Control, Support" ซึ่งจะช่วยให้พนักงานค้นพบความหมาย และแรงจูงใจในการทำงานของตัวเอง และแก้ไขปัญหาภาวะหมดไฟได้แบบเป็นกระบวนการ เพื่อลดปัญหาการเรื้อรัง และยั่งยืนกว่าเลือกที่จะไม่แก้ไขปัญหาเลย

Demand, Control, Support 3 เทคนิคจิตวิทยาของผู้นำ ช่วยให้พนักงานค้นพบแรงจูงใจในการทำงาน

🎯 Demand - รับผิดชอบงานอย่างเหมาะสม

Adam Grant ได้บอกเคล็ดลับในขั้นตอนแรกของผู้นำ คือการที่คุณต้องลงไปตรวจสอบ ‘ความต้องการ’ ที่เป็นสาเหตุของภาวะหมดไฟของพนักงาน ซึ่งนับเป็นขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน แต่การจะเข้าใจว่าคนคนนึงหมดไฟได้นั้นไม่ง่าย!

Adam Grant กล่าวถึงเคสที่คนส่วนใหญ่พบเจอ มักเกี่ยวข้องกับภาระงานที่มากเกินไป คือมีงานมากเกินจะรับไหว, หรืองานบางชนิดมีความคาดหวังไม่ชัดเจน หรือบางครั้งก็รู้สึกเหมือนถูกคาดหวังให้กับงานตลอด 24 ชม. โดยความต้องการเหล่านี้นับเป็นภาระ เราต้องหาว่าจะมีกลุ่มคนอื่น ๆ ในองค์กรมีภาวะหมดไฟในลักษณะที่คล้ายคลึงแบบนี้หรือไม่ สิ่งนี้จะเป็นสัญญาณบอกว่าพวกเขามีความต้องการที่มากเกินไป

การลดความต้องการ เราสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการมอบหมายความรับผิดชอบที่เหมาะสม หรือให้เป้าหมายที่ชัดเจนกับพนักงาน หรืออีกทางถ้างานที่เพิ่มขึ้น การจ้างพนักงานเพิ่มก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี แต่ในท้ายสุดเป้าหมายของการจัดการเรื่องนี้ ควรเป็นการทำความเข้าใจพนักงาน “ให้เขาได้จัดการความต้องการของตัวเองได้มากขึ้น” เมื่อเขามีเวลาจัดการเรื่องความเครียดกับงาน โอกาสที่ภาวะหมดไฟจะจางหายลงก็จะมีมากขึ้น เพราะเรารู้แล้วว่าปัญหาหลักของภาวะนี้เกิดจาก ‘ความต้องการที่กระจุกมากจนเกินไป’ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ


🎯 Control - มอบอิสระ

ขั้นตอนต่อมาต้องยอมรับว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถจัดการปัญหาภาวะหมดไฟได้ตั้งแต่ขั้นตอน Demand ลองมาดูตัวอย่างที่ Adam Grant ได้ยกขึ้นมา สมมุติว่าคุณทำงานบริษัทที่จำเป็นต้องดูแลคำสั่งซื้อจากลูกค้าทั่วโลก การจะลดชั่วโมงการทำงานอาจไม่ใช่วิธีที่เหมาะสม แต่สิ่งที่สมควรทำในการจัดการเรื่องนี้คือ

“พนักงานควรได้รับอิสระในการควบคุมบริหารจัดการเวลาด้วยตัวเอง”

เหตุเพราะว่าการที่พนักงานรู้สึกต้องทำตาม กดดัน เครียด เป็นเหตุมาจากเขาไม่สามารถควบคุมสถานการณ์นั้นได้ แต่กลับกันหากเขามีอิสระในการจัดการมากขึ้น ไม่ใช่แค่พนักงานจะเก่งขึ้น แต่เขาจะรู้สึกผ่อนคลายและเสมือนมีสิทธิ์ควบคุมงานที่เขาได้รับผิดชอบ

Adam Grant ยังกล่าวอีกว่า พนักงานในยุคปัจจุบันนิยมควบคุมชั่วโมงการทำงานของตนเอง และต้องการสภาพแวดล้อมการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น การให้อิสระนี้กับพนักงานอาจจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ และบรรเทาภาวะหมดไฟได้ดีกว่าไปบังคับ หรือกดดันพวกเขา ดังนั้นการทำงานที่ยืดหยุ่น ให้พวกเขาได้มีสิทธิ์ออกความคิดเห็น ควบคุมจัดการงานที่รับผิดชอบได้เอง จะยิ่งทำให้เขามีความสุขกับการทำงานมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กร หรือทีมของคุณเช่นกัน เพราะการที่เราจะไว้ใจให้พนักงานบริหารจัดการได้ นั่นหมายถึงคุณในฐานะผู้นำต้องไว้ใจ และเชื่อใจพนักงานอย่างแท้จริง


🎯 Support - สนับสนุนอย่างเข้าใจ

Adam Grant ได้พูดไว้ว่า ขั้นตอนของการซัพพอร์ต หรือการส่งเสริมสนับสนุน คือการที่คนเรามีเครื่องมือที่จำเป็นในการรับมือกับความต้องการที่เข้ามา ทั้งในแง่ของสถานการณ์ทำงาน การสร้างวัฒนธรรมที่พวกเขารู้สึกว่าปลอดภัย สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาได้ และรับมือกับสุขภาพจิต

แต่กลับกันหลาย ๆ คนทำงานส่วนใหญ่มักไม่ได้รู้สึกว่าพวกเขาปลอดภัย และไม่ได้รู้สึกว่าสุขภาพจิตของเขาได้รับการดูแล ซึ่งวิธีที่จะทำให้เรื่องนี้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการรับมือคือ ต้องเริ่มจากคนเป็นผู้นำก่อนเสมอ หากเราใส่ใจพนักงานและรับรู้ภาวะหมดไฟซึ่งอาจจะเชื่อมโยงไปถึงสุขภาพจิต การมีเหตุผลให้พนักงานได้ลางานเพื่อไปดูแลตัวเอง และส่งเสริมให้มีการพูดคุยกันแบบเปิดเผยภายในองค์กรสำคัญมาก

Adam Grant ได้เสริมถึง การเป็นแบบอย่างของผู้นำคือหัวใจของการแก้ปัญหา เพราะการทำให้คนทุกระดับชั้นเข้าใจไม่ใช่เพียงแค่พูดเท่านั้น แต่ต้องแสดงให้เห็นถึงการกระทำ เห็นถึงพฤติกรรมของเรา ว่าคนเป็นผู้นำยอมรับและส่งเสริมเรื่องเหล่านี้จริง ๆ ไม่ใช่เพียงแค่ทำเพราะหน้าที่เท่านั้น


ปัญหาภาวะหมดไฟ หรือสุขภาพจิตของคนทำงาน นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คืบคลานเข้ามาอย่างไม่มีหยุด จุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหานี้ คือความใส่ใจ และจริงใจของผู้นำที่ต้องเริ่มสังเกตการณ์ เป็นผู้เฝ้ามองเพื่อนำบาลานซ์การทำงาน ปรับเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเนื้อหาจากสุดยอดนักเขียนชื่อดังอย่าง Adam Grant เพื่อให้ผู้นำทุกคนได้เข้าใจ และนำไปปรับใช้กัน 😎 👍


สำหรับคนที่อยากพัฒนาธุรกิจ มองหาไอเดียใหม่ ๆ มาร่วมไขทุกมุมมองกันที่งาน AP Thai presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2024

CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 | Zipevent - Inspiration Everywhere
CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 -

พบกันวันที่ 7-8 มิถุนายน ที่ไบเทค บางนา
ซื้อบัตรได้ที่ Zipevent
ในราคาเพียง 1,790 บาท! (ราคานี้ถึงวันที่ 30 เม.ย.เท่านั้น)

สำหรับท่านใดที่สนใจออกบูธ และสปอนเซอร์ หรือซื้อบัตรองค์กรสามารถติดต่อได้ที่
mkt@rgb72.com
083-262-6923 (คุณจูน)
095-465-2582 (คุณมุก)

สำหรับท่านใดที่สนใจเข้าร่วมเป็น Media Partner ติดต่อได้ที่
chayanis@creativetalklive.com
089-223-6996 (คุณต้นรัก)


แปล เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ

ที่มา

trending trending sports recipe

Share on

Tags