“หาเหตุผลของวันแรกให้เจอ” 4 เทคนิค ปลุกพลังในวันที่หมดใจ

Last updated on พ.ย. 15, 2024

Posted on ต.ค. 30, 2024

ทุกวันนี้เรามีกิจกรรมในแต่ละวันอะไรบ้าง ที่รู้สึกว่ามันยาวนานซะเหลือเกิน และไม่มีวันจบสิ้น

🤔 ตื่นขึ้นมาต้องทำงานวนลูปเรื่องเดิม ๆ ทุกวัน
🤔 ฝึกวิ่งทุกวัน เพื่อลดความอ้วน หรือพิชิตมาราธอน
🤔 ฝึกเล่นกีตาร์ใหม่ ๆ เจ็บนิ้วไปหมด ต้องใช้เวลาในการซ้อม
🤔 เป็นหัวหน้าคนได้วันนี้ แต่ยังคงต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

อะไรก็ตามที่ใช้เวลายาวนานไปทั้งชีวิตมันมีโอกาสที่เราจะเหนื่อย หมดความอดทนได้ ดังนั้น ‘การบริหารจัดการชีวิต’ จึงเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญ เพราะปัจจุบันคือผลลัพธ์ของสิ่งที่ผ่านมายาวนานในอดีต นั่นหมายความว่า เราเองก็ได้ฝึกฝน ได้ผ่านประสบการณ์ในอดีตมาได้อย่างดี จึงทำให้เราเป็นคนที่ดี เก่งขึ้นวันละนิด อย่างในวันนี้ได้

การที่เราอยู่กับสิ่งหนึ่งได้นาน ๆ นั่นหมายความว่า “เราทำสิ่งนั้นได้ดี” ดังนั้นลองมาดูกันว่า การที่เราทำสิ่งไหนสิ่งหนึ่งได้นาน ๆ มันเกิดจากองค์ประกอบที่เรียกว่า ความรู้สึก ทั้ง 3 สิ่งนี้

1. Flourishing (ความรู้สึกผลิบาน)

คือการที่คุณทำเรื่องนี้ได้ดีเลย เวลาทำเรื่องนี้ทีไรรู้สึกเหมือนกำลังผลิบาน เช่น เวลาเราเล่นกีตาร์มีแต่คนชม คนชอบ ปรบมือให้ ต้องเป็นคนนี้เล่นกีตาร์คนนี้เท่านั้น เป็นต้น

2. Languishing

หรือความรู้สึกที่คุณทำได้กลาง ๆ หนึ่งในคำนิยามที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด ที่จะเอนเอียงไปในมุมที่ไม่ดีสักเท่าไหร่ เราอาจจะเข้าสู่สภาวะเบื่อ ซังกะตาย เสมือนคนฝืนใจทำ

3. Depression

เป็นอารมณ์ที่เรียกได้ว่าถอดใจ ไม่อยากทำแล้ว อยากเท อยากทิ้ง เช่น เรากำลังฝึกว่ายน้ำ แต่อยู่ ๆ พอฝึกนาน ๆ ก็ล้มเลิกไปเลย เพราะเราถอดใจนั่นเอง เป็นต้น

ดังนั้นมาดูเทคนิคนี้กันดีกว่า เพราะบางครั้ง “ความพยายาม” มักจะทำร้ายความรู้สึก ซึ่งเราไม่อยากให้ทุกคนหมดความพยายาม เพราะบางครั้งการที่เราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ ในสักวันมันอาจจะเกิดเป็นทักษะใหม่ ๆ เกิดเป็นความพยายามที่เราอดทน อดกลั้น และได้ผลตอบแทนที่จะติดตัวคุณไปตลอดกาล

ในวันที่ใกล้จะหมดใจ มาลองดู 4 เทคนิคนี้กัน เพื่อเติมพลังใจ หล่อเลี้ยงตัวเองให้เป็นคนที่ Flourishing (ความรู้สึกผลิบาน)

1. รู้เท่าทันตัวเอง และอยู่กับตัวเองให้เป็น 🌷

การที่เรารู้เท่าทันตัวเอง จะช่วยให้เรารับมือกับความรู้สึกตัวเอง เราอาจจะทุกข์จากรถติด มาสู่การทำงาน แต่เราก็ยังมีแรงที่จะลุยต่อ นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า รู้เท่าทันตัวเอง หากคุณต้องการอะไรสามารถบอกกับตัวเองได้ เช่น

  • เรากลับบ้านรู้สึกเพลีย แต่เรายังมีงานอีกชิ้นให้ทำนะ งั้นบอกกับตัวเองว่า 30 นาทีนี้ เราจะรีบทำให้เสร็จ เพื่อพักผ่อน
  • เรากำลังรู้สึกอยากร้องไห้ บอกกับตัวเองได้เลยว่าขอร้องไห้สัก 10 นาทีนะ ขออยู่กับตัวเองก่อน นี่คือการรู้เท่าทันตัวเอง และสามารถยอมรับ เพื่ออยู่กับตัวเองให้เป็น
  • บางครั้งเราอาจจะเครียดมาก แต่ขอไปซื้อไอศกรีม ชานมไข่มุกกินสักแก้ว รับรองหายเครียดเลย นี่ก็เป็นอีกรูปแบบของการรู้เท่าทันความเครียดตัวเอง

อีกมุมที่น่าสนใจคือเราสามารถใช้เทคนิคนี้ร่วมกับการรับมือกับความสุขได้ด้วยการเฉลิมฉลอง (Celebrate) ความรู้สึกให้กับตัวเราเองได้ เพราะบางครั้งเวลาเราทำได้ดี เราก็อาจจะแค่ยิ้มแล้วจบไป แต่เราสามารถรับมือกับความสุขด้วยการ อาจจะโทรไปหาครอบครัว, โทรหาแฟน โทรหาเพื่อน เพื่อบอกเขา เล่าให้ฟังร่วมชื่นชมกัน หรืออาจจะลองจดไดอารี่ส่วนตัวของเราก็ได้เช่นกัน

แนะนำว่าควรทำในพื้นที่ส่วนตัว หลีกเลี่ยงการโพสต์ผ่านโซเชียล เหตุเพราะเราควรสำรวจตัวเองมากกว่า แทนที่จะโพสต์ลงโซเชียลแล้วให้คนอื่นมาสำรวจเรา แล้วก็ให้คนอื่นประเมินให้คุณค่าของเรา ผ่านอัลกอริทึม ผ่าน Engagmenet ของโซเชียล ซึ่งไม่ควรทำเด็ดขาด

การรู้เท่าทันตัวเอง ในการทำงาน สำคัญมาก เพราะถ้าเรามองเห็นตัวเองว่าเรากำลังรู้สึกอยู่ในจุดไหน จะช่วยให้เราประเมินตัวเองได้ทันทีว่า ณ ตอนนี้เราอยู่จุดไหนของตัวเราเอง และเราจะไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น! เพราะเราจะไม่เสียเวลาไปเปรียบเทียบ ซึ่งจะทำให้เราภูมิใจในตัวเองอย่างแท้จริง กับความสุขเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา

คำแนะนำที่ทุกคนนำไปใช้ได้คือ 😊

ลองตั้งคำถามให้กับตัวเองทุกวัน แล้วเขียนออกมาว่า

👉 What I Like (วันนี้ ฉันชอบอะไร ?)
👉 What I Learn (วันนี้ ฉันได้เรียนรู้อะไร ?)
👉 What I left behind (วันนี้ ฉันได้ทิ้งอะไรบางอย่าง ต่อแต่นี้จะไม่ทำอีกแล้ว ?)


2. หาเหตุผลของวันแรกให้เจอ 🌷

คุณจำได้ไหม วันแรกที่เราเลือกที่จะทำสิ่งนี้ ? นี่คือกุญแจสำคัญของการหาทางออก ของคำตอบนั้น เคยสังเกตไหมว่า บางครั้งอะไรก็ตามที่ทำให้เรามาอยู่จุดนี้ มันคือทางเลือกที่ดีที่สุด เช่น

  • เราอยากออกมาเรียน เพราะจะทำให้เรามีความรู้ เติบโตและเก่งขึ้นในอนาคต
  • เราอยากออกมาทำงาน เพราะจะได้มีเงิน เราอยากสบายในอนาคต
  • เราอยากคบกับแฟน เพราะในวันแรกเขาใส่ใจเรา จนทำให้เราประทับใจ

นี่แหละคือแก่นของกุญแจ แล้วเมื่อวันนึงเราเกิดปัญหา เหตุผลของวันแรก! มันเป็นเพราะอะไร บางครั้งเราทำงานเจอคนไม่ดี เจองานท้าทาย จนท้อ เหตุผลวันแรกจะตอบเราว่า เราอยากได้เงิน เราอยากสบาย แสดงว่าเราต้องอดทนไหม เราต้องสู้ไหม พลังเหล่านี้จะกลับมาเตือนเราแล้วฮึบขึ้นมาอีกครั้งนั่นเอง เพราะเราจะเข้าใจว่าปัญหาระหว่างทาง ไม่อาจสู้กับเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เหมือนวันแรกที่เรารู้สึก!


3. จับดีให้นาน จับผิดให้สั้น 🌷

จับดี คือจับเรื่องดี และจับผิด ก็คือการหาเรื่องผิด เพราะคนเราหาเรื่องผิดได้มากกว่าหาเรื่องดี แต่กลับกันเราควรจะต้องจับผิด เพื่อให้รู้ข้อบกพร่อง มากกว่าไปต่อว่า! แล้วนำไปสู่ข้อแก้ไข ซึ่งจะเป็น Performance Review เพื่อให้เรานำไปสู่การปรับปรุง แล้วพัฒนาที่ดีกว่า

ส่วนจับดีให้นาน จะทำให้เรารู้ว่า เรามีดีอะไร มีผลกระทบอะไร หรือผลลัพธ์ที่ดีสร้างอิมแพคต่อตัวเรา ต่อคนรอบข้างอย่างไร เพื่อให้รู้ว่าใครได้รับเรื่องดี ๆ จากเราบ้าง เราเรียกสิ่งนี้ว่า Purpose Review การจับดีแบบนี้ต้องอยู่ยาว ๆ เพราะเราทำเพื่อคนรอบข้าง ทำเพื่อสังคมด้วย จำให้ได้ว่า เราทำสิ่งนี้ไปเพื่อใคร และเพื่อตัวเราเองในมุมไหน เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีในแบบของเรา และดีกับคนรอบตัว


4. จุดออกตัวอยู่ได้ทุกที่….เส้นชัย ก็เช่นกัน 🌷

การที่เราคิดว่านี่คือโค้งสุดท้ายอยู่เสมอ เช่น

  • นี่ก็อายุเข้าเลข 3 เลข 4 แล้ว เห้อ!
  • ใกล้จะจบปีแล้ว ยังไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย
  • กำหนดการส่งงานพรุ่งนี้แล้ว จะทันไหมเนี่ย กังวลไปหมด

กลับกัน ถ้าเรามองใหม่ เพราะความรู้สึกที่ว่ามาคือหมดหวังไปหมด แต่ถ้าเรามองว่าทุกจุดที่เราอยู่ มันคือจุดเริ่มต้นของอนาคตที่กำลังลองอยู่ แค่คิดต่าง เราก็จะมองอีกมุมนึงทันที เราสามารถเป็นจุดเริ่มต้นของอนาคตที่กำลังรออยู่ได้ พลังของความคิดนั้นทรงพลังกว่าที่ทุกคนคิด!

ตัวอย่างเช่น เรากำลังจะไปเสนอแผนให้กับลูกค้า แต่เหลืออีก 2 เดือนก็จะเข้าโค้งสุดท้าย แทนที่จะไปคุยกับลูกค้าว่า 2 เดือนนี้เหลืออะไรบ้าง เราคิดใหม่ เราไปพูดเรื่องดี ๆ ว่า 9 เดือนที่ผ่านมาเราทำอะไรบ้าง จบตามนี้แล้ว 2 เดือนนี้เรากำลังเตรียมแผนของปีหน้า จะกลายเป็นว่าเรารู้สึกได้ว่าช่วงนี้ ไม่ใช่ช่วงว่าง แต่กลายเป็นว่าช่วงนี้เราเตรียมพร้อม เมื่อเปิดปีใหม่มา ก็พร้อมวางบิลเริ่มงานได้ทันที ก็เป็นไปได้เช่นกัน


สิ่งสำคัญของเรื่องนี้คือ ไม่มีคำว่าสายเกินไป ในการมองโลกในแง่บวก แม้วันนี้เราจะมองลบมากแค่ไหน ลองเริ่มปรับอารมณ์ตัวเอง เพื่อให้เราเข้าใจ รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง เราสามารถเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเสมอ ได้ทุกเมื่อ


🤩 ประโยชน์ดี ๆ มาบอกต่อกัน 🤩

แอบมาบอกว่าสำหรับใครที่กำลังหา ‘สมุดจด’ ในรูปแบบ Planner ที่จะเป็นสมุดคู่ใจเพื่อหยิบมาเขียนทบทวนตัวเอง และยังสามารถทำ Brain Dump + Prioritization แบบสำเร็จรูปไม่ต้องนั่งตีตารางเองได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทาง CREATIVE TALK เองก็ได้จริงจัง และใส่ใจกับการทำสิ่งที่เรียกว่า…

“The Organice Planner by CREATIVE TALK” โดยเป็นการ Collab กันระหว่าง CREATIVE TALK และ ZEQUENZ เพราะเรารู้ว่าการจัดการเวลาในแต่ละวันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราจะนำเครื่องมือช่วยจัดลำดับความสำคัญ และลับคมความคิด ให้ทุกคนได้กระตุ้นสมอง

Planner ที่จะมาช่วยคุณจัดการความคิดและกระตุกไอเดียสร้างสรรค์ได้ในทุก ๆ วัน ที่มีจำกัดเพียงแค่ 500 เล่มเท่านั้น!!

📖 สมุดเล่มนี้ทำอะไรได้บ้าง? 📖
  • ลับคมความคิด ผ่าน Creative Exercise 12 รูปแบบ เลือกทำเดือนละครั้ง
  • About Yourself คุณรู้จักตัวเองดีแค่ไหน? รู้จักตัวเอง เพื่อทบทวนความคิดอยู่เสมอ
  • ติดตามอารมณ์ บันทึกอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ด้วยการกำหนดสีแทนอารมณ์
  • จัดระเบียบงาน เริ่มต้นด้วยการดึงทุกสิ่งที่อยู่ในสมองของเราออกมาวางไว้ด้านนอก
  • จัดการงานได้มีประสิทธิภาพ ด้วย Brain Dump, Prioritize, Monthly Planner และ Weekly Planner และพื้นที่จดไดอารี่บันทึกเรื่องราวประจำวัน
  • สมุดแพลนเนอร์ แบบไม่ระบุวันที่ ผลิตจากกระดาษคุณภาพดีปราศจากสิ่งปนเปื้อนหรือสารเคมี
  • เปิดกางได้ 360 องศา สันโค้งมน ยืดหยุ่น ตามแบบฉบับ ZEQUENZ
  • มาพร้อม Magnetic Bookmark สำหรับคั่นหน้ากระดาษ มีให้เลือก 2 สี คือ สีขาว (White) หรือ สีชมพู (Magenta)

เปิดให้ทุกคนจับจองกันแล้ว! จำนวนจำกัดเพียง 500 เล่มเท่านั้น
✱ ราคาเล่มละ 750 บาท (ค่าจัดส่งแบบ EMS เริ่มต้นที่ 50 บาท) ✱
สั่งซื้อได้ทาง Facebook inbox : m.me/zequenz


เรา CREATIVE TALK และ ZEQUENZ เชื่อว่า Planner เล่มนี้จะช่วยเปลี่ยนชีวิต ความคิด และการจัดการ ทำให้คุณรู้สึกดีได้ในทุกวัน


เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ

trending trending sports recipe

Share on

Tags