THE GLOBAL TECH TALK @ SCBX NEXT TECH งานรวมพลคนสายเทคฯ ระดับโลก ซึ่งในวันที่ 4 ตุลาคม 2023 ที่ผ่านมา ก็ได้มีเหล่าสปีกเกอร์กว่า 20 ชีวิต มาร่วมเปิดตัว ถ่ายทอดแนวคิด ติดอาวุธความรู้ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่อนาคตที่ยั่งยืน โดย CREATIVE TALK จึงไม่พลาดที่จะนำ 50 บทเรียนจากสปีคเกอร์เหล่านี้ มาฝากคุณผู้อ่านกัน
1. Fintech คือการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้ระบบการเงินมันดีขึ้น ซึ่งเข้ามาปฏิรูปการเงิน สิ่งสำคัญคือ ต้องทำให้การเงินเป็นส่วนหนึ่งของทุกคน ไม่ใช่เฉพาะบริษัทใหญ่ ๆ แต่ SMEs ก็ต้องเข้าถึงได้
2. การก้าวสู่สังคมไร้เงินสด ทำให้มนุษย์ปรับตัว และพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายธนาคารแล้วนั้น ‘เงินกู้’ เป็นอะไรที่สำคัญมาก เพราะ 70-80% ของเงินในระบบขับเคลื่อนโดยภาค SMEs ดังนั้นแล้ว ภาคการเงินจึงควรให้ความสำคัญกับ SMEs ด้วย
3. Digital Wallet ช่วยส่งเสริมการเข้าถึงทางการเงินให้ทุกคนเท่ากัน ซึ่งเราจะเห็นว่า ในปัจจุบันคนไทยคุ้นเคยกับระบบ QR code อยู่แล้ว เพราะไทยติด 1 ใน 3 ประเทศที่ใช้การทำธุรกรรมผ่านมือถือมากที่สุด ดังนั้นแล้ว เพื่อส่งเสริมการขยับไปสู่สังคมไร้เงินสด โจทย์ใหญ่จึงเป็นการที่ทำยังไงให้คนย้ายมาทำธุรกรรมผ่านมือถือ โดยปลอดภัยมากที่สุด
4. Alipay แอปชำระเงินจากจีน เป็นตัวขับเคลื่อนวงการธุรกรรมอย่างแท้จริง เพราะพวกเขาเป็นผู้บุกเบิกการชำระเงินผ่าน QR Code ที่เราใช้ ๆ กันอยู่ทุกวันนี้
5. ประเทศจีนใช้ระบบ Blockchain เข้ามาช่วยในด้านธุรกรรม ทำให้ Blockchain จะเป็นอนาคตของการเงินแน่นอน ทว่านอกจากจีนแล้ว กลับยังไม่ค่อยมีคนนำ Blockchain เข้ามาใช้เท่าไหร่ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ว่าถ้าใครเข้าถึงมัน เราก็จะใช้ประโยชน์จาก Blockchain ได้
6. ต่อไปแบงก์จะไม่ใช่แค่สถานที่อีกต่อไป เพราะคนสามารถทำธุรกรรมจากที่ไหนก็ได้ แบงก์ก็จะเปลี่ยนตัวเองไปเป็นออนไลน์แบงก์เต็มที่ รวมถึงวางรากฐานการสร้างแพลตฟอร์มให้คนเข้ามาใช้บริการอย่างอื่น ที่ไม่ใช่แค่การทำ ‘ธุรกรรม’ อย่างเดียว อาทิ เปิด Online Shop
7. “ข้อมูลของเรา ก็ยังเป็นข้อมูลของเรา” แม้ว่ามันจะมีความสำคัญ แต่ผู้บริโภคเองก็ควรมีสิทธิ์ที่จะย้ายข้อมูลให้ Third Party มาดูแลได้
8. เทคโนโลยีที่ปฏิวัติ Fintech คือ Digital Economy และ Infrastructure Technology ซึ่งมันเป็นรูปแบบของอินเทอร์เน็ตที่มีความมากขึ้น เพราะเราใช้ Big Data กับ AI เข้ามาจัดการให้ข้อมูลมีความเป็น Centralized มากขึ้น
9. ตอนนี้ Digital Economy เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าครอบคลุมถึง 40% ของโลก เพราะ Digital Economy เป็นเทรนด์ที่คนทำให้ทุกอย่างเป็นดิจิทัลมากขึ้น ดังนั้นแล้วหัวใจสำคัญของการทำธุรกรรมคือ Digital Currency และพวก KYC ที่ปกป้องบัญชี ฉะนั้นเมื่อการทำธุรกรรมถูกผลักเข้ามาในโลกดิจิทัลมากขึ้น หน่วยงานต่าง ๆ เองก็ควรให้ความสำคัญกับการดูแลในเรื่องนี้
10. ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ประเทศที่มีความก้าวหน้าในเรื่องของ Fintech มาก ๆ จะมีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบหลายล้านดอลลาร์ ซึ่งในอนาคตเราจะเจอ Infrastructure Technology ใหม่ ๆ ใน Digital Economy มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Blockchain หรือการสร้างความเชื่อมั่นทางการชำระเงินเองก็ตาม
11. สำหรับประเทศไทย ภาคส่วนทางการเงินนั้น ตอนนี้เรามีมูลค่า Fintech หมุนเวียนอยู่ประมาณหลักพันล้านดอลลาร์ แน่นอนว่าเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น มูลค่านี้ก็มากขึ้นไปอีก รวมถึงเทคโนโลยีก็จะเติบโตไปมากกว่าเดิม
12. อธิบายให้ SMEs เห็นภาพกับการใช้ระบบ Blockchain ทางการเงิน ซึ่งในสมัยก่อนเวลาธนาคารจะทำธุรกรรมอะไร พวกเขาจะใช้เวลาถึง 3 วันเพื่อตรวจสอบข้อบังคับต่าง ๆ ไปจนถึงความถูกต้อง เวลา 3 วันนี้ SMEs ตัวเล็ก ๆ ก็ตาย เพราะพวกเขาไม่สามารถหาเงินไปหมุนได้ แต่การมี Blockchain จะทำให้เราสามารถลดระยะเวลาจาก 3 วันเหลือไม่ถึง 1 วัน ซึ่งทำให้ SMEs สามารถนำเงินไปใช้ได้ทันที ธุรกิจก็จะเติบโตเร็วขึ้น
13. Fintech ในตอนนี้คือการออกแบบระบบการเงินที่เหมาะกับองค์กรซะมากกว่า แต่ในอนาคตมันจะถูกออกแบบให้สามารถ ‘ปรับ’ ให้เหมาะสมกับความต้องการแบบบุคคลมากขึ้นกว่าเดิม
14. การให้บริการทางการเงินในอนาคตจะดีขึ้นได้ ต้องทำปัจจุบันให้ดีก่อน ซึ่งมันมาจาก 3 เฟส 1) การใช้ QR Code, 2) การทำให้ทุกคนเข้าถึง Digital Wallet และ 3) การนำ AI เข้ามาใช้ในระบบ Digital Economy ซึ่งการที่เรามีข้อมูลต่าง ๆ ในมือจะช่วยให้เราสามารถสร้างระบบเศรษฐกิจที่ดีขึ้นได้
15. ในอนาคต เราจะมี Ecosystem ที่ระบบสามารถคุยกันได้ กล่าวคือตอนนี้ เรามีบิตคอยน์ แต่ยังไม่สามารถแปลงเป็นเงินได้ทันที เพราะระบบทั้ง 2 แบบมันไม่สามารถคอนเน็กต์ได้ โดยตอนนี้พวกเขาตั้งเป้าไว้ว่าถ้าทำให้ Paypal กับ Alipay คุยกันได้ก็จะทำให้ทั้งโลกสามารถสร้างเข้าถึงการเงินได้อย่างแท้จริง
16. ถ้าประเทศไทยอยากสร้าง Startup ที่เป็น Unicorn ทางภาครัฐก็ต้องเข้ามาช่วยเหลือมากขึ้น อาทิ ยอมให้คนจากต่างประเทศเข้ามาทำงานในส่วนนี้ด้วยการให้วีซ่าการทำงานแบบพิเศษ (Talent Visa)
17. แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของ Startup ไทยคือ การให้ต่างชาติเข้ามาช่วยรันวงการ ทว่าตอนนี้ต่างชาติหลายคนยังมีความยากในการเข้ามาลงทุนในประเทศ ฉะนั้นแล้วภาครัฐเองก็ควรสร้างระบบนิเวศที่จะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ด้วยการตั้งเป้า ‘จะทำยังไงให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น’
18. ตอนนี้มีผู้ใช้คริปโตกว่า 200 ล้านคน โดยประเทศไทยมีผู้ถือครองมากสุด หากอยากดึงคนให้เข้ามาใช้มากกว่าขึ้นนั้น แพลตฟอร์มต้องสร้าง Trust ที่ทำให้คนเชื่อมั่น ซึ่งสำคัญพอ ๆ กับความปลอดภัย
19. เกาหลีใต้เป็นผู้บุกเบิกการใช้ Web3 โดยพวกเขาใช้ Web3 มาทำร่วมกับสื่อมีเดียของตน Web3 จึงเป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นเศรษฐกิจบันเทิงของพวกเขา
20. เกาหลีมีประสบการณ์กับดิจิทัลมาเป็นสิบปีพวกเขา ใช้ Web3 มาขับเคลื่อนตลาดเกม นั้นทำให้ตลาดเกมของเกาหลี เติบโตเป็นอันดับที่สอง ซึ่งทำรายได้สูงสดุของตลาดเกมทั่วโลก
21. ถ้าตลาดเกมเติบโตอันดับสอง แน่นอนว่าอุตสาหกรรมที่เติบโตอันดับที่หนึ่ง คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก K-POP ซึ่งมีผู้คนกว่าร้อยล้านคนที่เข้าใช้ Web3 จนฟันรายได้ไปถึง 1.6 พันล้านดอลลาร์
22. ประเทศกับเกาหลี มีจุดแข็งของธุรกิจที่คล้ายกัน ทั้งตลาดบันเทิง และท่องเที่ยว ซึ่งทำให้ประเทศไทยก็มีโอกาสสูงสำหรับการเจริญเติบโตของ Web3 รวมถึงสามารถจับมือเกาหลีเพื่อดำเนินธุรกิจร่วมกันได้
23. เราสามารถลงทุนพัฒนา Web3 ได้ด้วย 3 ขั้นตอน
- R&D ที่คือการทดลองแนวคิดใหม่ ๆ ของสิ่งต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมงานวิจัยที่เกิดขึ้นในตลาดของเราได้
- Training การเทรนในเรื่องวิศวกรรมนั้น จะสอนวิศวกรให้พัฒนาต่าง ๆ พวกเขาสามารถที่จะเข้ามาเรียนรู้ รวมถึงการก้าวหน้าในวิชาชีพได้
- สนับสนุนส่งเสริมการทำ Web3 รวมไปถึงความหลากหลาย และการริเริ่ม
24. NFT คือวัฒนธรรมหนึ่งที่นำความจริง และความเชื่อมั่นมาสู่แบรนด์ ถ้าหากจะอยากให้แบรนด์ใหญ่ลงทุน ผู้สร้างเองก็ควรใช้วัฒนธรรมนี้มาขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ ยิ่งสร้างความเชื่อมั่นมากเท่าไหร่ แบรนด์ก็จะยิ่งลงทุนให้
25. ภาพที่เกิดจาก AI สามารถสร้างความเสียหายให้ธุรกิจถึง 500,000 ดอลลาร์ในเวลาไม่ถึง 30 นาที นั่นทำให้ผู้ทำธุรกิจสื่อจึงควรมีเครื่องมือที่ช่วยตรวจสอบว่า ข่าวหรือภาพที่ออกมา มันเป็นความจริงไหม ซึ่ง ณ ตอนนี้เราก็มีเทคโนโลยีที่ช่วย Proove แล้วว่าสิ่งนั้นเป็นของจริง หรือของปลอม
26. อนาคตของ Metaverse ยังไม่ตาย เพราะเราอยู่ใน Metaverse กันมานานแล้ว ผู้คนสามารถเล่นเกม และสร้างสังคมจากโลกออนไลน์ได้ทันที
27. 75% ของเด็กทุกวันนี้ อยากจะเป็นครีเอเตอร์ นั่นแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้ยังคงรันอยู่อย่างต่อเนื่อง
28. เกม The Sandbox Game ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 5 แสนยูสเซอร์ เป็นส่วนสำคัญของ Web3 มันเป็นโปรดักต์ที่บอกเราได้ว่า เกมที่จำลอง Metaverse เหล่านี้ก็สามารถดึงดูดนักลงทุนจากฝั่งเอนเตอร์เทนเมนต์ มาลงทุนได้ ไม่เพียงเท่านั้น เรายังสามารถเล่น, ครีเอทีฟ, รวมถึงทำเงินจากสิ่งเหล่านี้ได้
29. AI เกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว แต่จุดเปลี่ยนคือ Chat GPT ซึ่งความพิเศษ คือเป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน ทว่ามี UI ที่เข้าใจง่าย ดังนั้นแล้วต่อให้จะมี AI ที่เก่งกว่า แต่ Chat GPT จะเป็นตำนานของ AI ในฐานะจุดเปลี่ยนของวงการ
30. สิ่งที่เราจะได้เห็นในอนาคตก็คือผู้คนจะคาดหวังกับ AI มากขึ้น โดยในภาคธุรกิจนั้น ชาเลนจ์คือเจ้าของธุรกิจ ควรคิดจะหาวิธีทำยังไงให้เราสามารถใช้ Generative AI กับธุรกิจของเราได้
31. Driver of momentum ของปีที่ผ่านมาคือ Data, Compute และ Size and Sophistication
32. Top Capability ของ Chat GPT ที่คนมักนำมาใช้กันคือ 1) การตอบคำถาม, 2) คิดไอเดีย, 3) สร้างสรรค์เนื้อหาคอนเทนต์ และสรุปเนื้อหา โดยสามารถคัดกรองข้อมูลที่สำคัญที่สุดมาไว้ได้ในกรณีที่ไม่มีเวลา
33. ถ้าทุกคนใช้ AI ได้ แล้วอะไรที่จะทำให้ธุรกิจแตกต่าง นั่นคือ Data เพราะ AI ไม่มีตัวเลขชัด ๆ ซึ่งถ้าหากเรามี Data มาก ๆ มันจะกลายเป็นน้ำมันที่ใช้ขับเคลื่อน AI ไปรันธุรกิจ
34. The Next Platform Shift ครั้งต่อคือการที่จะนำ AI มาผสานกับธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า มีการใช้ Chat GPT กับธุรกิจมากมาย ไม่เว้นแม้กระทั่งการขับรถ หรือไลฟ์สดตลอด 24 ชั่วโมงก็ตาม ฉะนั้นต่อไปแต่ละธุรกิจก็ต้องคิดหาแนวทางว่าจะใช้ AI มาร่วมยังไงดี
35. AI คือคู่หูที่เป็นผู้ช่วยสำหรับเรา สำหรับผู้ใช้ AI วิธีง่าย ๆ ในการใช้มันคืออย่าทำให้ AI ทำเรื่องเสียหาย เพราะพวกเขาควรเป็นเครื่องมือที่น่าเชื่อถือ และปลอดภัย ฉะนั้นจะใช้อะไรก็ทำไป แต่ควรให้ AI อยู่ในความ Secure
36. บริษัทต่าง ๆ จะมีการใช้ AI เข้ามา Apply กับระบบ HR มากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่พนักงานระดับปฏิบัติการ เพราะมันจะสะเทือนถึงคนเป็นผู้นำ ภายในปี 2030 ใครที่ยังไม่ปรับตัว อาจทำให้ไม่สามารถที่จะสู้คนอื่นได้
37. พนักงานทุกระดับ ต้องเข้าใจถึงแนวโน้มของเทคโนโลยี ซึ่งเหล่าทาเลนต์จะมีการมูฟไปเพิ่มพูน ‘Soft Skill ’ มากขึ้น นั่นทำให้ทุกคนต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ตลอดเวลา
38. ทักษะเรียนรู้ขั้นพื้นฐานจะเป็นตัวชี้วัดของคน เพราะเราจะเอาแต่คนเก่งทำงานไม่ได้ เราต้องเลือกคนที่เก่งประยุกต์ใช้ เข้ามา Apply กับระบบของเรา
39. ผู้บริหารกว่าครึ่งสนใจที่ลงทุนด้าน AI ให้กับองค์กร และกว่า 70% สนใจที่เรียนรู้วิธีการนำ AI มาใช้ในภาคธุรกิจ
40. AI ไม่สามารถทดแทนจินตนาการของมนุษย์ได้ แต่เป็นเครื่องมือที่จะช่วยทุ่นแรงให้เรามีเวลาไปสร้างสรรค์งานให้ดีขึ้น
41. ในอนาคต HR จะยังคงมีความสำคัญ ซึ่งเราต้องเมเนจคนเก่ง ๆ ไว้กับองค์กรให้ได้
42. HR ต้องเพิ่มพูนทักษะด้าน Data ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ HR เห็นว่า คนทำงานเองก็ก้าวกระโดดได้
43. LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มที่มีประโยชน์มาก คนทำงานทุกคนควรสมัครไว้ใช้ มันไม่เพียงจะช่วยเราหางาน หรือจ้างงานเท่านั้น แต่ปัจจุบันมันเป็นแพลตฟอร์มที่เราสามารถเรียนรู้เรื่อง AI ได้ ยิ่งผู้นำทางธุรกิจแล้ว ยิ่งต้องใช้
44. Soft Skill คือทักษะของผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือ การคิด และการสื่อสาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือทักษะที่ทำให้ลีดเดอร์เข้าใจคนมากขึ้น ฉะนั้นถ้ามีเวลา ลีดเดอร์ก็ควรหาเวลาที่จะคอนเน็กต์กับผู้คน นั่นเพราะ ‘ผู้นำต้องทำงานกับทุกคน’ ให้ได้
45. อยากพัฒนา Skill เราไม่สามารถส่งทุกคนไปเทรนด์ในเรื่องเดียวกันได้ทั้งหมด เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะเหมาะกับการพัฒนาในทางเดียวกัน เราต้องดูว่าใครเหมาะกับอะไร แล้วควรเทรนด์อะไรเพิ่ม
46. คนเป็นลีดเดอร์ต้องพิจารณาว่าลูกทีมอยากเรียนรู้อะไร เราต้องช่วยพนักงานให้มีความก้าวหน้าด้วยการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในองค์กรไปในทางบวก
47. บางครั้ง วิธีประเมิน KPI ก็ไม่ต้องมีมาตราวัดอะไรเลย เพราะเราสามารถวัดด้วย ‘การอยู่นาน’ ได้ หากเขาอยู่นาน เราก็สามารถวัดได้ว่า เขามีความสุขกับเรามากแค่ไหน
48. ถ้าจะเสียเงินให้ Head Hunter เราควรลองปั้นคนในองค์กรดูก่อน เพราะการเพิ่มพูนทักษะนอกจากจะช่วยโปรโมททาเลนต์แล้ว ยังสามารถลด Skill Gap ของคนในองค์กรได้อีกด้วย
49. 3 สิ่งที่ลีดเดอร์ควรพัฒนาในยุคดิจิทัล
- ควรลงทุนเพื่อเพิ่มพูนทักษะทางดิจิทัล
- เพิ่มพูนทักษะ Leadership กับ People Skill
- ควรมีการสร้างคอมมูนิตี้กับคนที่มีการเชื่อมต่อคล้ายกัน (แนวทางการทำงาน และความชอบส่วนตัว)
50. จงอย่าลืมศึกษา AI เพราะอีกไม่นาน มันจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ช่วยเพิ่มพูนทักษะของเราได้
📊 THE GLOBAL TECH TALK @ SCBX NEXT TECH ณ SIAM PARAGON NEXT TECH x SCBX ซึ่งเป็นเทคคอมมูนิตี้เพื่อการเรียนรู้แห่งโลกอนาคต ที่หวังจุดประกายขับเคลื่อนผู้คนเพื่อให้ Smarter, Better และ Richer รวมถึงส่งต่อความรู้ด้านเทคโนโลยีล้ำสมัย โดยงานจัดวันที่ 4-8 ตุลาคม 2566 เวลา 13.00 -19.00 น. ณ ชั้น 4 สยามพารากอน 📊
สำหรับใครที่สนใจงานยังมีจัดอีกเรื่อย ๆ ถึงวันที่ 8 ต.ค. โดยสามารถลงทะเบียนได้ที่
6 ต.ค. 66
https://bit.ly/3RFuits
7 ต.ค. 66
https://bit.ly/48Dn13k
8 ต.ค. 66
https://bit.ly/45r0wMo