8 Minutes Future ถอดรหัสจากเฮียวิทย์ เบื้องหลังนวัตกรรมเปลี่ยนโลก ที่ช่วยยกระดับธุรกิจคุณไปอีกขั้น!

Last updated on มิ.ย. 9, 2024

Posted on มิ.ย. 7, 2024

ก่อนมีอนาคต เราเคยมีอดีต คนมากมายในยุคนั้นสร้างนวัตกรรมมากมาย จนมีพวกเราได้ในวันนี้

ซึ่งการจะสร้างอนาคตได้ เราต้องมองย้อนกลับไปหาผู้สร้าง ไปมอง Startup ยุคนั้น เขาคิดอะไร ทำอะไรบ้าง? บางคนสำเร็จ ไม่สำเร็จ บางคนสำเร็ตแต่ไม่รู้ตัวก็มี

อย่างยุคเรเนซองส์ (Renaissance) หรือยุคปฏิวัติวิทยาการ โดยคนในช่วงนั้นพยายามเรียนรู้ทุกอย่างที่เรียนได้ ทั้งดาราศาสตร์ เคมี แคลคูลัส ต่าง ๆ

“แล้วอะไรที่ก่อเกิดเป็นนวัตกรรม ?”

มนุษย์เราตั้งต้นด้วยสิ่งที่เรียกว่า “Pain Point” และบนโลกนี้ก็มี Pain หรือปัญหา ข้อจำกัดมากมายตั้งแต่อดีตกาล ซึ่งคนที่จะเป็นนวัตกรได้ ก็ต้องเป็นคนที่มองเห็น ต่อยอดเป็น ว่าสิ่งที่กำลังจะคิดต่อไป มันตอบโจทย์อะไรให้โลกบ้าง? นวัตกรรมทุกอย่างจึงเกิดมาเพื่อสิ่งนี้

ก่อนจะพาไปสำรวจกรณีศึกษาต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก
ว่าเขามีวิธีคิดอย่างไร? ผ่านสมการที่ว่า
“Pain Point + Imagination + Execution = Solution

1. “พระอาทิตย์เทียมที่จุดประกายโลก” 💡

- ย้อนไปในปี 1841 “ไมเคิล ฟาราเดย์” นักเคมีและนักฟิสิกส์ ชาวอังกฤษ ได้คิดเครื่องปั่นไฟฟ้าที่เรียกว่าไดนาโมต์ ทำให้มีคนคิดว่า “ไฟฟ้าทำอะไรก็ได้” แต่โลกกลับมีแสงอาทิตย์แค่ 12 / 24 ชม. (Pain Point) เลยคิดว่าถ้าอย่างนั้นคงต้องมีพระอาทิตย์เทียม (Imagination) ก่อเกิดเป็นหลอดไฟ ค่อย ๆ ต่อยอดพัฒนา (Execution) มาเรื่อย ๆ พอเจอ Pain ต่ออีกว่า 1 หลอดใช้ได้แค่ 6 ชม. ต้องเปลี่ยนตลอดไม่ไหว

จึงเป็นที่มาของ “โทมัส อัลวา เอดิสัน / นิโคลา เทสลา / จอร์จ เวสติงเฮาส์ จูเนียร์” 3 ยอดนักประดิษฐ์ผู้เข้ามาแก้ไขให้ไฟฟ้าทำงานได้นานขึ้น จนปี 1892 วาระครบ 400 ปี ที่โคลัมบัสค้นพบอเมริกา งานชิคาโกแฟร์จึงถูกจัดขึ้นภายใต้แนวคิดที่อยากบอกทั่วโลกว่าพวกเขามีดวงอาทิตย์ใช้ตลอด 24 ชม. แล้ว

หรือในห้วงเวลาที่เอดิสันแพ้ในสงครามกระแสไฟฟ้า แต่จิตวิญญาณนวัตกรของเขาก็ยังไม่จบ ไม่เคยหยุดคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เมื่อชีวิตบั้นปลายได้ไปจับมือกับ “เฮนรี่ ฟอร์ด” และ “แฮรี่ ไฟร์สโตน” พัฒนาคุณภาพยางยานต์ จนเกิดเป็นยางไฟร์สโตนมาถึงปัจจุบัน


2. “จุดเริ่มต้นแห่ง A.I.” 🤖

ใครจะไปคิดว่าเทคโนโลยีล้ำยุคที่เรากำลังพูดถึงกันเยอะในวันนี้ จะมีจุดเริ่มต้นมาจากเรื่องราวทางการทหาร ในสหราชอาณาจักร ช่วงปี 1950 ณ ตอนนั้นสื่อสารกันด้วย “Enigma” เครื่องเข้ารหัสในตำนาน ที่สื่อสารสารกันด้วยการถอดรหัสกันไปมา จึงเกิดเป็นไอเดียให้มันสามารถดักฟังคู่ต่อสู้ทางสงครามอย่างนาซีเยอรมนี ระดมมาทั้งนักฟิสิกส์ วิศวกร และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพื่อมาแก้ Pain Point ให้รู้ว่าอีกฝ่ายกำลังคิดอะไรอยู่? จึงเกิดเป็นเครื่องถอดรหัส Enigma โดยนักคณิตศาสตร์ “อลัน ทัวริง” บิดาแห่งคอมพิวเตอร์

เกิดเป็นคำถามตามมาว่า แล้วเครื่องคอมฯ สามารถคิดแทนคนได้หรือเปล่า? ซึ่งนี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า “จินตนาการ” ที่ผลักดันโลกนี้ให้ก้าวต่อไป ถ้าไม่มีชายคนนี้ก็ไม่มี A.I. ตามด้วย “วิลเลียม แบรดฟอร์ด ชอกลีย์ จูเนียร์” ศาสตราจารย์ ม.สแตนฟอร์ด นักฟิสิกส์และนักประดิษฐ์สัญชาติอเมริกัน ผู้ร่วมค้นคิดและประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ โดยตอนนั้นฮาร์ดแวร์ยังไม่เอื้อ การส่งสัญญาณยังไปไม่ได้ เลยมองว่าวัตถุนั้นต้องทำจากซิลิกา สร้างชิพและสร้างกึ่งตัวนำให้เชื่อมโยงและสื่อสารกันได้

หรือถ้าใกล้ตัวขึ้นคือ “Apple” เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 1980 ซึ่งมีคนกลุ่มหนึ่งมองว่าคอมพิวเตอร์ตอนนั้นใช้ยาก (Pain Point) เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้ “สตีฟ จ็อบ” และ “สตีฟ วอล” คิดค้น (Imagination) นวัตกรรมคอมใหม่ที่ใช้งาน “ง่ายขึ้น” เกิดเป็น “Macintosh” หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ “Mac” ในวันที่ 24 ม.ค.1984 (Execution to Solutions)

“จินตนาการคนไม่ได้อยู่แค่นั้น จินตนาการสำคัญ แต่ความรู้ก็ต้องมี” เฮียย้ำ

Pain Point ทางการทหาร ยังนำมาซึ่งนวัตกรรมใหม่ ๆ ตามมาอีก เช่น “อินเทอร์เน็ต” และ “อีเมล” เกิดมาจากอเมริกาฉุกคิดว่า “โซเวียตบุกมาถล่มฐานข้อมูล เราจะสื่อสารกันอย่างไร?” เลยเกิดเป็นโครงการ USA DATA NET ผ่าน 4 จุดต่าง ๆ ทั่วโลกคอยเชื่อมต่อทุกคน ถ้าจุดไหนถูกทำลาย ก็ยังมีสำรอง แล้วก็ต่อยอดไปอีกว่าถ้าใช้เชิงทหารอย่างเดียวมันไม่คุ้ม ก็นำมาซึ่งการใช้งานในกิจการพลเรือน


3. ตัวอย่างอื่น ๆ

3.1 เราเชื่อมโยงด้วยสิ่งที่เรียกว่าโมเด็ม จึงต้องมีฐานมีฐานข้อมูลส่งหากันได้ >> Tim Berners Lee จึงสร้างสรรค์เป็น “www” และเปิดตำนาน “Internet Explorer”

3.2 กลุ่มนักพัฒนาชาวอิสราเอลมองว่ามนุษยเราควรส่งข้อความหากันได้ จินตนาการร่วมกันตั้งแต่ตอนอยู่ในค่ายทหาร >> แพลตฟอร์มแชท “icq”

3.3 “Ehud Shabtai” ชายชื่อผู้อยู่เบื้องหลัง “waze” แอปฯ นำทางต้นแบบ โดยแรกเริ่มสร้างมาเพื่อให้ตอบโจทย์ทางการทหาร ให้รู้ว่าพิกัดข้าศึกว่าจะมาจากไหน >> ต่อยอดมาเป็น navigator ช่วยนำทาง ใช้ประโยชน์กับชีวิตด้านอื่นๆ Google เลยซื้อมาเป็น “Google Map” แอปฯ นำทางที่เราขาดไม่ได้ในปัจจุบัน

3.4 ในอดีต การจะฟังเพลงมันไม่ง่าย ต้องแบกวิทยุไปมา ผู้บริหาร Sony ตอนนั้นที่ขึ้นเครื่องบินแล้วอยากฟังเพลง เลยบอกลูกน้องทำอย่างไรก็ได้ ให้มันเกิดขึ้นจริง >> Sony Walkman ตำนานแห่งอุปกรณ์ฟังเพลงแบบเคลื่อนที่ พกพาง่าย

3.5 ในช่วงปี 1991 ญี่ปุ่นผุดไอเดียใส่ไฟล์เสียง .mp3 ในเครื่องเล่น แต่ไม่ได้ทำ เพราะกลัวเทปจะอยู่ไม่ได้ >> เกาหลีใต้เลยชิงทำแทนในชื่อ “iRiver” นำพาชาติให้ยิ่งใหญ่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นเคสที่ทำให้เห็นว่าลำพังแค่จินตนาการอย่างเดียวไม่พอ ถ้าไม่ Execute ออกมา นวัตกรรมใหม่ๆ ก็ไม่เกิด

3.6 สมัยก่อนจะซื้อของต่างประเทศ เราใช้เวลาซื้อนาน กว่าจะได้ของ 2 เดือน >> ฟินเทคยุคนั้น เลยคิดว่าจะทำอย่างไรให้ส่งเงินกันได้โดยไม่ผ่านตัวกลาง เลยเกิด “Paypal” บริการชำระเงินทางออนไลน์ที่ช่วยให้บุคคลและธุรกิจโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ขึ้นมานั่นเอง

“ขณะเดียวกัน ใช่ว่าทุกนวัตกรรมต้องมาจากการลงทุนด้วยเม็ดเงินเสมอไป” เฮียวิทย์เสริม
เช่น ประเทศเล็ก ๆ อย่างสิงคโปร์ที่มีข้อจำกัดหลายอย่างทั้งในเชิงเกษตรกรรม การท่องเที่ยวที่มีพื้นที่น้อย แต่เขากลับสร้างการจดจำที่ดีด้วย “Singapore Airlines” ✈️

เฮียเคยตั้งคำถามว่าทำไมสายการบินนี้ถึงเป็นที่ยอมรับหลายปีติดกัน จนวันหนึ่งได้มีโอกาสนั่ง เวลาเช็คอิน- เช็คเอาท์ โดยปกติทั่วไป ตัวเรากับกระเป๋า เรามาก่อน ต้องรอนาน แต่อันนี้กระเป๋าจะมารอเราเสมอ

หรือเวลาทำมือถือหล่นในเครื่อง ปกติรอต่ำ ๆ 20 นาที-หนึ่งวัน แต่พอเดินไป passenger service แจ้งเครื่องหาย พนง. ถามรายละเอียดไฟลต์ได้ไม่นาน ก็เปิดลิ้นชักเอามือถือเฮียส่งคืนมาอย่างเหลือเชื่อ เบื้องหลัง Solution นี้มาจากการที่เขาเห็น Pain Point ว่าทุกวันมีคนทำของหายบนเครื่อง จึงส่ง จนท. ไปเช็กประจำ และเก็บไว้อย่างดี โดยที่ลูกค้ายังไม่ทันแจ้ง พอถึงเวลาตามหาก็พร้อมคืนทันที นี่คือตัวอย่างความคิดสร้างสรรค์ด้วยมันสมองล้วน ๆ แบบที่ไม่ต้องลงทุนใด ๆ

หรือจีนยกระดับประเทศตัวเอง ด้วยการ “Digitize” นำนวัตกรรมมาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการซื้อขาย จากเดิมทั่วไป ประเทศอื่นจะเริ่มจากใช้เงินสด >> เช็ค >> บัตรเครดิต แต่จีนข้ามไม่ใช้จ่ายผ่านแอปฯ เลยด้วย “Alipay” ระบบ Online Banking ให้ทำธุรกรรมชำระเงินที่โอนง่าย จ่าย จบ

“แต่ไม่ได้แปลว่าทุกสมการ จะสำเร็จได้ดั่งฝันนะครับ”
เฮียวิทย์เบรค เพื่อให้กรณีศึกษาอีกแง่มุม อย่างเยอรมนีช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เคยมี Wirecard ที่พยายามทำแบบ Paypal แต่ก็ล้มเหลว

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าแต่ละชาติ ล้วนมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของตัวเองแตกต่างกันไป ซึ่งไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมอะไรก็ตาม หากมองเผิน ๆ จะเห็นเพียงว่าโลกนี้มีปัจจัยภายนอกเป็นขีดจำกัดขวางกั้นการพัฒนาใหม่ ๆ ของเราอยู่ตลอด แต่มีประโยคหนึ่งของชาวเยอรมันเคยกล่าวไว้ว่า

“สิ่งที่กำหนดทิศทางเรือไม่ใช่ลม แต่เป็นใบเรือ ถ้าคิดว่าปัจจัยภายนอกมากำหนดชะตาชีวิตไปแล้ว เราจะเดินไปไหนไม่ได้เลย ดังนั้นคนกำหนดทิศทางให้เรือแล่นคือพวกเรา”

ก่อนที่เฮียจะเสริมว่า “ประวัติศาสตร์ที่ดีคือ ประวัติศาสตร์ที่มีพลัง มันจะคอยกระตุ้นพวกเราทุกคนว่ามีสิ่งนี้อยู่ในมือ และเช่นกันว่าวันหนึ่งเราจะทำให้พลังไทยกลายเป็นที่โด่งดังไปด้วยกัน”

ดังนั้นปริศนาแห่งความสำเร็จของธุรกิจ คือการคิดที่มัน “ไม่เหมือนเดิม” จากกรอบ
มอง Pain Point รอบด้านให้ออก บวกจินตนาการต่อแล้วนำมาคิด ต่อยอดเป็น Execution
สร้างสรรค์มันออกมาให้สุด

ขอบคุณ “เฮียวิทย์” ที่พาพวกเราท่องเวลากลับไปค้นพบขุมทรัพย์ทางความคิด ร้อยเรียงเรื่องราวในอดีตมาพลิกมุมปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจ ก่อเกิดเป็นสิ่งใหม่ ๆ


“ความคิดสร้างสรรค์” นี่แหละที่เหนือกาลเวลาใดๆ ขอเพียงเราหามุมพลิกดูก็จะเจอมัน”


ใครที่อยากรับชมแบบจัดเต็มสามารถซื้อบัตรรับชมย้อนหลังทุกเซสชันเพิ่มเติมได้ที่

CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 | Zipevent - Inspiration Everywhere
CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 -
trending trending sports recipe

Share on

Tags