มีบทความที่น่าสนใจจาก Harvard Business Review ถึงเรื่องของ “คำถามสัมภาษณ์งาน” ที่เรามักพบเจออยู่บ่อยครั้งเวลาสัมภาษณ์งาน ซึ่งเทคนิคเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับคนกำลังจะต้องใช้ในการสัมภาษณ์งาน และช่วยให้ทั้งผู้ถูกสัมภาษณ์ประทับใจ รวมถึงเพิ่มความมั่นใจให้กับการสัมภาษณ์งาน
โดยเทคนิคนี้ถูกถ่ายทอดผ่าน คุณ วิกกี้ โอลิเวอร์ (Vicky Oliver) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอาชีพการงานชั้นนำ (leading career development) และเป็นผู้แต่งหนังสือ 301 Smart Answers to Tough Interview Questions ซึ่งติดอันดับท็อป 10 ในรายการ "หนังสือเตรียมสอบสัมภาษณ์งานที่ดีที่สุด"
8 เทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลก เปลี่ยนคำตอบธรรมดา ให้เป็นการเล่าเรื่องที่ผู้สัมภาษณ์งานประทับใจ
🎯 1. บอกเล่าประวัติของตัวเอง เป็นใครมาจากไหนโดยสังเขป ?
หนึ่งในคำถามสัมภาษณ์งานที่ทุกคนต้องเจอ โดยวัตถุประสงค์ของผู้สัมภาษณ์คือต้องการทราบเรื่องราวจากผู้สมัคร ดังนั้นเทคนิคที่เราต้องฝึกฝนบ่อย ๆ คือฝึกการเล่าเรื่องให้น่าติดตาม ตั้งแต่มีจุดเริ่มต้นที่ดี ส่วนกลางที่น่าติดตาม และตอนท้ายของเรื่องที่ทำให้ผู้สัมภาษณ์งานรู้สึกประทับใจ
เทคนิคการสัมภาษณ์งาน
👉 สิ่งสำคัญของคำถามแรกคือ ‘การเล่าเรื่อง’ ถึงความสนใจในอาชีพของตัวเอง
👉 เชื่อมด้วยประวัติการศึกษา หรือเรื่องราวที่เราเคยอบรม, workshop จากประสบการณ์ที่ผ่านมา
👉 มีประสบการณ์อะไรบ้าง แล้วประสบการณ์เหล่านั้นจะเข้ามาแก้ไข หรือพัฒนาให้กับองค์กรได้บ้าง
🎯 2. คุณทราบตำแหน่งงานนี้จากที่ไหน ?
อีกหนึ่งคำถามที่ดูธรรมดา ๆ แต่กลับมีความคาดหวังจากนายจ้าง เพราะนายจ้าง หรือผู้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่มักจะอยากรู้ข้อมูลข่าวสารว่าตัวเรานั้นเข้ามาสมัครงานที่นี่ได้อย่างไร มีเส้นทางในการเข้ามาจากที่ไหน
เทคนิคการสัมภาษณ์งาน
👉 หากเราได้รับคำแนะนำจากเพื่อน หรือใครก็ตามในองค์กรนั้น ควรระบุชื่อเขาให้ผู้สัมภาษณ์ทราบ รวมถึงอธิบายเพิ่มเติมเล็กน้อยถึงบุคคลที่แนะนำมา เพื่อเสริมความน่าเชื่อถือให้กับตัวเรา
👉 กลับกันหากเราหาตำแหน่งนี้ด้วยตัวเอง อย่าเพียงแค่บอกว่าเจอจากช่องทางไหน แต่ต้องบอกถึงความชัดเจนว่าทำไมเราถึงสนใจมาทำงานที่นี่ ยิ่งการพูดตรงกับพันธกิจ หรือเป้าหมายของบริษัท จะยิ่งเป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก การทำการบ้านก่อนมาสมัครงานก็นับว่าสำคัญมาก
🎯 3. ท่านชื่นชอบสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบใด ?
ระหว่างการสัมภาษณ์งานเราอาจจะเจอคำถามที่เกี่ยวข้องกับบรรยากาศของการทำงาน เช่น ผู้สัมภาษณ์อาจจะพูดภาพรวม ๆ ว่าองค์กรของเราภายนอกดูจริงจัง แต่ภายในกลับสนุกสนานเราเล่นสุด ทำงานก็สุด ซึ่งบางครั้งผู้สัมภาษณ์ก็อาจจะคาดหวังคำตอบของเรา เพื่ออยากจะรู้ว่าถ้าเป็น วัฒนธรรมองค์กรแบบนี้จะเข้ากับเราหรือไม่
เทคนิคการสัมภาษณ์งาน
👉 การเป็นคนช่างสังเกตด้วยการศึกษาข้อมูลมาก่อน เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรจากโซเชียลมีเดียขององค์กร หรือเว็บไซต์ก็เป็นอีกทางที่จะช่วยให้เราในฐานะคนสมัครงานเข้าใจธรรมชาติขององค์กรนั้น ๆ
👉 หากมีคำถามลักษณะนี้เกิดขึ้น อย่าปล่อยให้ผู้สัมภาษณ์เล่าเรื่องเพียงฝ่ายเดียว เราในฐานคนสัมภาษณ์ควรแชร์ในมุมมองของตัวเองด้วยเช่นกัน ว่าเราจะมีความเข้ากันกับวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร แล้วบรรยากาศเหล่านั้นส่งผลให้เราเป็นคนแบบใด รวมถึงการมีเราอยู่ในองค์กร จะส่งผลให้องค์กรดีขึ้นได้อย่างไร
🎯 4. คุณสามารถจัดการกับความกดดัน หรือสถานการณ์ตึงเครียดได้อย่างไร ?
อีกหนึ่งคำถามปราบเซียนในแง่ของการจัดการ ที่นายจ้างหรือผู้สัมภาษณ์งานจะสังเกตความคิด หรือทัศนคติของผู้สัมภาษณ์ หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ คุณจะมีวิธีรับมืออย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดภาวะสับสนที่จะส่งผลเสียกับงาน เพราะนี่คือหนึ่งในทักษะที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง
เทคนิคการสัมภาษณ์งาน
👉 การแบ่งปันประสบการณ์สำคัญมาก ผู้สัมภาษณ์งานมักจะอยากรู้ว่าคุณเคยผ่านสถานการณ์แบบนี้มาได้อย่างไร แล้วคุณมีวิธีรับมือกับความตึงเครียด หรือแรงกดดันได้อย่างไร การตอบคำถามแบบตรงประเด็นสำคัญมาก ไม่ควรอ้อมค้อมหรือเบี่ยงประเด็นเด็ดขาด
👉 กรณีที่ไม่มีประสบการณ์ หรือไม่เคยรับมือความกดดันเหล่านี้ได้ บางบริษัทก็อาจจะตั้งคำถามมาให้คุณท้าทาย สิ่งที่เราต้องชูให้เห็นคือ Mindset ที่พร้อมจะเรียนรู้ บางครั้งผู้สัมภาษณ์งานอาจจะไม่ได้มองว่าเราแก้ปัญหาเก่งที่สุด แต่เขาอยากเห็นว่าถ้าเจอสถานการณ์ที่เรากำลังกดดัน เราจะมีทัศนคติแบบใดเพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์ตรงหน้า สติและความมั่นใจที่จะพร้อมจะเรียนรู้สำคัญสำหรับเรื่องนี้มาก
🎯 5. คุณชอบทำงานอย่างอิสระ หรือชอบทำงานเป็นทีม ?
ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง 100% และไม่มีคำตอบไหนที่ผิดเช่นกัน แต่สิ่งสำคัญของคำถามนี้คือ การวัดว่าคุณเข้าใจวัฒนธรรมองค์กร หรือตัวเราได้ศึกษามาดีมากพอหรือไม่ ว่าองค์กรเหล่านั้น หรือทีมที่คุณจะเข้ามาอยู่ มีความเข้ากันกับการทำงานมากน้อยขนาดไหน เพราะบางตำแหน่ง บางทีมก็จะเน้นทำงานอย่างอิสระ สามารถทำงานคนเดียวได้ แต่บางตำแหน่งก็จะเน้นทำงานเป็นทีม โดยการแบ่งความรับผิดชอบเป็นสัดส่วนกันไป
เทคนิคการสัมภาษณ์งาน
👉 เทคนิคที่น่าสนใจของคำถามนี้คือ การบอกข้อดี - ข้อเสีย บางครั้งเราอาจจะไม่ได้ถนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่การที่เรารู้จักจุดแข็ง จุดอ่อนของตัวเอง จะเป็นการโชว์ศักยภาพให้ผู้สัมภาษณ์งานรับรู้ว่า คุณเป็นคนที่มีหลักการคิดวิเคราะห์ และรู้ว่าตัวเองถนัดอะไร และอะไรที่เป็นจุดอ่อน และจะยิ่งดีไปกว่านั้นคือคุณเป็นคนที่จะเรียนรู้ แก้จุดอ่อนให้กลายเป็นจุดแข็งได้ในที่สุด
🎯 6. เมื่อต้องรับผิดชอบโปรเจกต์พร้อมกัน คุณจะมีวิธีจัดการระบบการทำงานอย่างไร ?
โดยปกติแล้วนายจ้าง หรือผู้สัมภาษณ์งานมักต้องการรู้ว่าเรามีวิธีการอย่างไรในการจัดการ และยังมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการทำงาน หรือเราจะแก้ไขสถานการณ์เหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง
เทคนิคการสัมภาษณ์งาน
👉 การเล่าเรื่องด้วยการอธิบายให้นายจ้าง ‘เห็นภาพ’ ถึงกระบวนการจัดการที่เราเคยทำมาก่อน เรามีเทคนิคอย่างไร เรามีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาอย่างไร แล้วการแก้ไขครั้งนั้นนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้อย่างไร
🎯 7. ใน 1 ปีที่ผ่านมา คุณได้พัฒนาทักษะ, ความรู้อะไรบ้าง ?
คำถามนี้มักถูกหยิบมาพูดในช่วงสถานการณ์ Covid-19 มากยิ่งขึ้น เพราะนายจ้างและผู้สัมภาษณ์งานส่วนใหญ่ต้องการทราบว่าเรามีไลฟ์สไตล์การเรียนรู้แตกต่างจากเดิมอย่างไร
เทคนิคการสัมภาษณ์งาน
👉 ตอบความเป็นจริงว่าเราได้พัฒนาทักษะอะไรมาบ้าง หรือเรื่องไหนที่เราเก่งขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่หากว่าเราได้ลงเรียนคอร์สควรระบุด้วยว่าการเรียนออนไลน์นั้นวิชาอะไร และสถาบันไหน (ระบุให้ชัดเจน)
👉 ในกรณีที่เราอาจจะไม่ได้ลงเรียนคอร์สพัฒนาทักษะ แต่เรามีความสนใจแล้วความสนใจนั้นกลับต่อยอดให้เราเป็นคนที่เก่งขึ้น เช่น หลังจากที่เรามีเวลาเพิ่มมากขึ้นไม่ต้องเดินทางไปออฟฟิศ ผมจึงใช้เวลานั้นในการทำสิ่งที่ผมรักอย่างการฝึกซ้อมเล่นกีตาร์ ซึ่งช่วยให้ผมสามารถรับงานนอกเป็นรายได้เพิ่มเติม และยังช่วยเรื่องสุขภาพจิตให้ดีขึ้น และทำให้เรามีสมาธิเพื่อนำไปปรับใช้กับการทำงานได้ เป็นต้น
🎯 8. ท่านคาดหวังเงินเดือนเท่าไหร่ (Salary Expectations)
คำถามที่น่าจะทำให้หลายคนสะดุ้ง และเคอะเขินในการตอบ แต่กลับกลายเป็นคำถามวัดใจที่ต้องการประเมินถึงความรู้ของผู้สัมภาษณ์ว่า “ความสามารถของคุณเหมาะกับเงินเดือนที่จะได้รับมากน้อยแค่ไหน”
เทคนิคการสัมภาษณ์งาน
👉 ก่อนมาสัมภาษณ์งานทุกครั้ง การรู้เรทค่าจ้างในตลาดสำคัญมาก เราอาจจะตรวจสอบจากเว็บไซต์หางานทั่วไป เพื่อเข้าใจค่าจ้างในตำแหน่งงานที่เราสมัคร
👉 หากจำเป็นต้องระบุตัวเลขที่สูง คำแนะนำของคุณ วิกกี้ โอลิเวอร์ คือระมัดระวังตัวเลขที่สูงเกินไป เพราะการเจรจาส่วนใหญ่อัตราเงินเดือนจะลดลงเสมอ แนะนำว่าควรจะใส่ตัวเลขที่สูงกว่าตลาด ถ้าคุณมั่นใจในความสามารถ พร้อมเหตุผลประกอบว่าเรามีความสามารถพอในการทำงานที่บริษัทแห่งนี้
หวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้ทุกคนมีความมั่นใจมากขึ้นในการเริ่มต้นการเดินทางครั้งใหม่ของทุกคน แล้วอย่าลืมมาแชร์กันได้น๊า หากเทคนิคเหล่านี้ทำให้ทุกคนได้งานที่ทุกคนต้องการ 😎 👍
สำหรับคนที่อยากพัฒนาธุรกิจ มองหาไอเดียใหม่ ๆ มาร่วมไขทุกมุมมองกันที่งาน AP Thai presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2024
พบกันวันที่ 7-8 มิถุนายน ที่ไบเทค บางนา
บัตรราคาเพียง 1,790 บาท!
สำหรับท่านใดที่สนใจออกบูธ และสปอนเซอร์ หรือซื้อบัตรองค์กรสามารถติดต่อได้ที่
👉 mkt@rgb72.com
👉 083-262-6923 (คุณจูน)
👉 095-465-2582 (คุณมุก)
สำหรับท่านใดที่สนใจเข้าร่วมเป็น Media Partner ติดต่อได้ที่
👉 chayanis@creativetalklive.com
👉 089-223-6996 (คุณต้นรัก)
แปล เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
ที่มา