5 เทคนิคสร้างทีมให้เป็นผู้นำด้วยการตั้งคำถาม
กี่ครั้งแล้วที่ความเชื่อว่าการถามคำถามที่ดูไม่ฉลาด ขัดขวางไม่ให้เราเติบโต
กี่ครั้งแล้วที่ครูเห็นเด็กตั้งคำถามเมื่อไหร่ มักกลายเป็นว่าเด็กคนนั้นไม่ใส่ใจการเรียน
กี่ครั้งแล้วที่ความกลัวในการตั้งคำถาม ทำให้เรากลายเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
ความไม่กล้า และอคติเหล่านี้ ทำให้เด็กหลายคนเติบโตขึ้นมาเป็นผู้นำที่ไม่รู้จักตั้งคำถาม เขาว่าอะไรก็ทำไปตามนั้น ทำให้หลายคนละเลยมันจนทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง แต่ทว่าการตั้งคำถามกลับเป็นหนึ่งในสกิลสำคัญของคนทำงานยุคต่อไป นั่นจึงเป็นสิ่งที่แสดงว่าในไม่ช้า การรู้จักตั้งคำถามจะกลายเป็นทักษะสำคัญที่ขาดไม่ได้
เพราะการตั้งคำถาม คือพลังพิเศษที่ติดตัวเหล่าผู้นำมาตั้งแต่เกิด ซึ่งผู้นำไม่ใช่คนที่ตอบได้ทุกคำถาม แต่ต้องเป็นคนที่แน่ใจว่าในทุกงานนั้น ทั้งเรา และทีมสามารถตั้งคำถามกับโปรเจกต์ได้ รวมถึงรับฟังมุมมองคำตอบที่หลากหลาย
นั่นทำให้เราสามารถยกระดับประสิทธิภาพโดยรวมของทีมได้ เพียงแค่รู้จักฝึกให้พวกเขาตั้งคำถาม เพราะ 5 เทคนิคเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เมื่อเกิดข้อถกเถียงในงาน
🤝 1. สร้างวัฒนธรรมของการตั้งคำถาม 🤝
รับรู้ว่าการถามคำถามของผู้อื่น เป็นการองค์สร้างความรู้ให้กับตัวเรา
ผู้นำไม่จำเป็นต้องเก่งทุกอย่าง แต่ผู้นำต้องตระหนักว่าตัวเองถนัดด้านไหน ซึ่งการรู้ว่าตัวเองไม่เก่งอะไรคือก้าวแรกในการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพผล เพราะเราคือคนที่สามารถใช้ประโยชน์จากความรู้ของคนรอบข้าง มาผสานเข้ากับความรู้ของตัวเอง
การเรียนรู้จากทีมเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการขยายความรู้ของเรา เกี่ยวกับงานใดก็ตามที่กำลังทำอยู่ ฉะนั้นแล้วการตั้งคำถาม จะทำให้ผู้นำสามารถขยายความเข้าใจในประเด็นที่ซับซ้อนได้ ยกตัวอย่างเช่น
👉 ใครในพวกเราเคยเผชิญกับปัญหานี้บ้าง แล้วจัดการมันแบบไหน
👉 องค์กรอื่นแก้ปัญหานี้ยังไง เราเรียนรู้อะไรจากพวกเขาได้บ้าง
👉 ในทีมเรามีใครที่มีความเห็นบางมุมไม่ตรงกันไหม เช่น ศาสนาหรือมุมมองทางการเมือง แล้วเราจะทำยังไงไม่ให้มองข้ามปัญหาเหล่านั้น
🗣️ 2. การสร้างบทสนทนาปลายเปิด ให้มีการถกเถียง 🗣️
สร้างพื้นที่ที่เปิดกว้าง และปลอดภัยเพื่อให้ผู้คนตอบคำถามที่สงสัยได้อย่างตรงไปตรงมา
ในฐานะผู้นำ เมื่อเราเริ่มต้นด้วยข้อสรุปของเราเอง โดยพื้นฐานแล้วเรากำลังทำให้ทีมแบ่งเป็นคนที่เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย บางคนอาจรู้สึกมั่นคงพอที่จะไม่เห็นด้วยกับเรา ทว่าบางคนกลับไม่ทำเช่นนั้น ซึ่งแทนที่จะแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาคิด บางคนอาจจะเก็บความคิดของตัวเองไว้ และไปพูดลับหลัง
เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดกั้นมุมมองทางเลือก ผู้นำจึงต้องสร้างพื้นที่เปิดกว้าง และปลอดภัยสำหรับการถกเถียงอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งการเริ่มต้นการสนทนาด้วยจุดยืนของผู้นำจะจำกัดโอกาสในการเกิดแนวคิดใหม่ ๆ ของทีม ดังนั้นแล้วผู้นำควรเริ่มการประชุมด้วยคำถามที่กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองอย่างรอบคอบ เช่น
👉 อะไรคือความเสี่ยง ในการตัดสินใจครั้งนี้
👉 แนวทางปฏิบัติที่เป็นไปได้มีอะไรบ้าง ข้อดี และข้อเสียของแต่ละทางเลือกคืออะไร
สิ่งสำคัญคือวิธีที่เราตอบสนองต่อคำตอบของสมาชิกในทีมนั้น มีความสำคัญพอ ๆ กับการตั้งคำถาม แม้มันจะเป็นเรื่องยาก เพราะต่างคน ต่างเริ่มต้นด้วยความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาก แต่ถ้าได้คำตอบที่มีประสิทธิภาพ มันก็คุ้มค่ากับการลองดู
🫡 3. การให้ลูกทีมมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดคำถาม และถามคำถาม 🫡
ความจริงแล้ว เวลาเป็นผู้นำนั้น เรามักจะมีคำตอบของบางโซลูชั่นในใจกันอยู่แล้ว ทว่าถ้าเรารีบเฉลยมันหรือบอกคำตอบสุดท้ายไป อาจทำให้สมาชิกในทีมรู้สึกไม่เชื่อมั่นในการตัดสินใจ รวมถึงไม่ได้ฝึกกระบวนการครีเอทีฟ ดังนั้นแล้วการบอกพวกเขาว่า เราไปถึงที่นั่นได้อย่างไร นั้นดีกว่าแค่ประกาศว่าคำตอบของเราออกไป
หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุด ในการรวมลูกทีมไว้ในการเดินทางนั้นคือการให้พวกเขามีส่วนร่วมในการกำหนดคำถามที่ต้องถามจากทีม และเชิญชวนให้พวกเขาช่วยค้นหาคำตอบ เมื่อเรารวมทีมไว้ในกระบวนการนี้ พวกเขาจะอยู่ในฐานะที่จะถามคำถามที่สำคัญ รวมถึงรับฟังมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น ท้ายที่สุดเมื่อได้คำตอบออกมา มันจะสร้างความเชื่อมั่นว่า ‘การตัดสินใจครั้งนี้ดูเหมือนจะเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต’
⏰ 4. การคาดคั้นเอาแต่เนื้อ ในเวลาที่จำกัด ⏰
บางครั้งเดดไลน์ที่ใกล้เข้ามา ก็ทำให้เรากับทีมไม่มีเวลามากพอที่จะแชร์ไอเดียกัน
การรู้ว่าเวลาเหลือเท่าไหร่นั้นมีประโยชน์มหาศาล เนื่องจากเวลาที่นับถอยหลัง จะทำให้เรามีเวลาน้อยลงเรื่อย ๆ ในการพิจารณาข้อมูล ศึกษา และข้อควรพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ฉะนั้นแล้ว ถ้าหากเราไม่ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเอง เราอาจจะมีแนวโน้มที่จะทำการตัดสินใจได้ไม่ดี
เราสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ได้ง่ายด้วยการตอบคำถามที่คาดคั้นเอาแต่เนื้อ และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้นำสามารถหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่เร่งรีบในช่วงเดดไลน์ได้
ข้อดีอีกประการหนึ่งของแนวทางนี้คือ ทำให้เราสามารถเรียงลำดับเส้นทางที่เป็นตรรกะ สำหรับกระบวนการตัดสินใจ ด้วยการวาง Journey ในแบบสิ่งแรกที่เราต้องรู้คืออะไร, จากนั้นต้องไปต่อที่ไหน การวางเส้นทางเหล่านี้ ช่วยให้เรากับทีมพัฒนาแผนการที่เป็นระเบียบ สำหรับโปรเจกต์อื่น ๆ ในอนาคตได้
🫂 5. การใช้คำถามเพื่อพัฒนาลูกทีม 🫂
วิธีหนึ่งในการส่งต่อพลังของผู้นำคือการพิจารณาว่า ‘ลูกทีมช่วยให้ผู้อื่นพัฒนาตนเอง ด้วยทักษะผู้นำได้มากแค่ไหน’ แต่ไม่ใช่ ‘พวกเขาพัฒนาตัวเองอย่างไรในฐานะผู้นำ’
เพราะทักษะการตั้งคำถาม เป็นหนึ่งในวิธีที่ทรงพลังที่สุดที่ผู้นำสามารถสร้างสภาพแวดล้อม และโอกาสให้ผู้อื่นได้พัฒนาตนเอง ในขณะเดียวกันก็สร้างกลุ่มทาเลนต์ที่อยู่เคียงข้างเราได้
ในฐานะผู้นำ เราอาจถามคำถามเหล่านี้เพื่อท้าทายลูกทีมให้ไตร่ตรองถึงทักษะผู้นำในตัวของพวกเขา เพื่อให้สามารถค้นหาคำตอบของตนเองในปัญหาที่พวกเขากำลังเผชิญ
👉 คุณขาดความรู้ และทักษะอะไร หรือจำเป็นต้องปรับปรุงทักษะไหน เพื่อให้สามารถจัดการปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่
👉 คุณสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลอ้างอิง หรือบุคคลใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่องาน
👉 คุณต้องการตำแหน่งอะไร เพื่อเข้ามาช่วยในทีมเพิ่มเติม
👉 ใครคือบุคคลหรือกลุ่มคนสำคัญที่คุณจะต้องสื่อสารด้วยตั้งแต่เนิ่น ๆ และบ่อยครั้ง
แปล เรียบเรียง: พีรพล สดทรัพย์
ที่มา
- Asking good questions is a leader’s superpower
- Good Leadership Is About Asking Good Questions
- Good Leadership Is About Asking Good Questions: Unpacking The Power Of Inquisitive Leadership