ก่อนหน้านี้คนทำงานสายการตลาด คงจะคุ้นเคยกันดี สำหรับคำว่า Call to Action (CTA) แต่ยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่อยู่สำหรับคนทำงานคอนเทนต์ กราฟิกดีไซน์เนอร์ ที่มักจะทำหน้างงเวลาโดนคอมเมนต์มาว่า เพิ่ม Call to Action เข้าไปอีกนิดสิ..
Call to Action คืออะไร?
Call to Action หรือ CTA คือ การกระตุ้นให้เกิดความสนใจ ด้วยการยื่นข้อเสนอให้ผู้รับสารตอบสนองด้วยการทำอะไรบางอย่าง โดยการใช้ดีไซน์เข้ามาเป็นตัวช่วยเสริม ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบปุ่ม แบนเนอร์ หรือกราฟิกในรูปแบบต่าง ๆ ที่ไปปรากฎอยู่ตามแพลตฟอร์มออนไลน์นั่นเอง
มาดู 4 ทริคไม่ลับ ทำ CTA อย่างไรให้ปัง และได้ผลจริง
- บอกให้ทำ คือ การใช้คำที่ตรงไปตรงมา บอกรายละเอียดครบถ้วน เพื่อจูงใจผู้รับสารให้เกิดความพร้อม หรือกระตุ้นความรู้สึกนั้น ๆ
- กระชับ คือ คอนเทนต์ซับพอร์ตต้องมีความน่าสนใจ มีการชักจูง เพื่อให้ผู้รับสารได้ทราบแนวทางก่อนการตัดสินใจ
- สะดุดตา คือ ปุ่ม หรือข้อความ CTA ควรถูกจัดวางอยูในตำแหน่งที่มองเห็นง่าย ไม่มีอะไรบัง มองไปครั้งแล้วแล้วตะดุดตาเลย ด้วยสีสัน และขนาดที่กำลังดี
- ดึงดูดใจ คือ การใช้คำที่ดึงดูดความสนใจ ชวนคลิกให้เข้าร่วม สั้นกระชับได้ใจความ ไม่ยืดเยื้อ เช่น เราต้องการจะให้ผู้รับสารกดปุ่มเพื่อลงทะเบียนสมัครสมากชิก คุณสามารถยื่นข้อเสนอไปได้ว่า “ทดลองใช้ฟรี” เพื่อเกิดการกระตุ้น
แล้วคอนเทนต์แบบไหน เหมาะที่จะทำ CTA?
แน่นอนว่า CTA มีลูกเล่นค่อนข้างเยอะ จึงเหมาะกับคอนเทนต์ประเภทที่ ต้องการยื่นข้อเสนอ, กระตุ้นการขาย, การชวนให้เข้าร่วม และเป็นประโยชน์มาก ๆ สำหรับคอนเทนต์ที่ต้องซื้อโฆษณาบน Facebook, Youtube, Line เหมือนเป็นการกล่อมผู้รับสารให้คล้อยตามเราไปแบบไม่รู้ตัว จนเกิดการแอคชั่นเพื่อเข้าร่วม
ตัวอย่างคำบนปุ่ม CTA ที่ใช้แล้วได้ผลจริง!
ต้องการยื่นข้อเสนอ : ทดลองใช้ฟรี, ลงทะเบีบนฟรี, คลิกเลย, คลิกรับส่วนลด
ต้องการกระตุ้นการขาย : หยิบใส่ตะกร้า, ช้อปเลย, ซื้อตอนนี้, 2 ที่สุดท้าย จองเลย
ชักชวนให้เข้าร่วม : พูดคุยกับเรา, แชทกับเรา, ดาวน์โหลด, ดูข้อมูลเพิ่มเติม
งานนี้ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า CTA ถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้รับสารโดยตรงเลยว่า เมื่อไรที่มีคนผ่านมาเห็นคอนเทนต์ของคุณ พวกเขาจะเกิดการสนใจมากน้อยแค่ไหน …ถึงเวลาต้องกลับไปดูคอนเทนต์ของตัวเองบ้างแล้วว่า มี CTA หรือยัง?