Comfort Zone ช่วยให้เราสบายใจ แต่ไม่ได้ช่วยให้เราพัฒนา

เพิ่มทักษะใหม่ในทุกวัน ด้วยการเข้าใจ Comfort Zone Map

Last updated on ต.ค. 5, 2024

Posted on ก.ย. 28, 2024

ทุกวันนี้เรามักจะได้ยินคำว่า ‘ต้องปรับตัว หรือ ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา’ หลายคนปรับตัวได้ หลายคนรู้สึกกดดันกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหนึ่งในเรื่องที่เป็นอุปสรรคสำคัญคือ ‘กรอบความคิด’ มากกว่าการขาดความรู้ เพราะเมื่อไหร่ที่ความคิดเราสั่งให้หยุด เมื่อนั้นจะกลายเป็นอันตรายต่อการพัฒนาทักษะในอนาคต

ในบทความนี้จะพาทุกคนค่อย ๆ ทำความรู้จักสิ่งที่เรียกว่า Comfort Zone Map หรือการก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัยสู่พื้นที่แห่งการเติบโต (Growth Zone) โดยทฤษฎีนี้ถูกคิดค้นโดย Judith Bardwick (จูดิธ บาร์ดวิค) ซึ่งเขียนหนังสือเรื่อง Danger in the Comfort Zone เพราะบางครั้งการอยู่แต่ในพื้นที่ Comfort Zone ก็ไม่ได้ดีเสมอไป ดังนั้นมาทำความเข้าใจ เพื่อก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัย ไปสู่พื้นที่แห่งการเติบโต

Comfort Zone ช่วยให้เราสบายใจ แต่ไม่ได้ช่วยให้เราพัฒนา

รู้จัก Comfort Zone Map เพื่อก้าวสู่พื้นที่แห่งการเติบโต

1. พื้นที่ปลอดภัย (Comfort Zone)

ในเชิงของการเรียนรู้มักจะเป็นพื้นที่เมื่อเราอยู่แล้วรู้สึกสบายใจ มักจะทำงานที่คุ้นเคย และไม่ต้องใช้ความพยายามมาก ทำให้เรารู้สึกอุ่นใจที่จะอยู่ แต่ด้วยความสบายใจนี่แหละ มักจะทำให้เราพึงพอใจ และเผลอหยุดนิ่ง ไม่คิดจะเรียนรู้สิ่งใหม่ หากเราอยู่ในนั้นนานเกินไป แม้จะเป็นพื้นที่สำคัญในเรื่องพื้นที่ความปลอดภัย แต่การอยู่แต่ในพื้นที่นี้นานเกินไป จะทำให้เราไม่ได้รับความท้าทาย ไม่ได้รับทักษะใหม่ ๆ และไม่เกิดศักยภาพที่แท้จริง


2. พื้นที่แห่งความกลัว (The Fear Zone)

ถัดจากพื้นที่ปลอดภัยคือ ‘พื้นที่แห่งความกลัว’ หรือ Fear Zone โดยพื้นที่นี้มีลักษณะเด่น โดยเฉพาะเรื่องที่ทำให้ตัวเรารู้สึกเครียด วิตกกังวล มีความโลเลไม่แน่ใจ และกลัว แต่ในทางกลับกันพื้นที่นี้มักจะเป็นพื้นที่ทำให้เราเจอประสบการณ์ใหม่ ๆ หรือความท้าทายที่เราไม่เคยเจอมาก่อน การจะก้าวเข้าสู่พื้นที่แห่งความกลัวนี้คุณอาจจะไม่สบายใจ แต่มันเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาตัวเองที่สำคัญ


3. พื้นที่แห่งการเรียนรู้ (The Learning Zone)

เมื่อเราสามารถทลายกำแพงความกลัวได้ เราจะเข้าสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ หรือ Learning Zone จากความกลัวในวันนั้น แปรเปลี่ยนเป็นเรายอมรับความท้าทาย เรามีความอยากรู้อยากเห็น กล้าที่จะเปิดรับประสบการณ์ใหม่ และเต็มใจที่จะเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ และขยายความรู้ เพื่อพัฒนาตัวเอง

เมื่อเราก้าวลึกเข้าไปในพื้นที่แห่งความกลัว เราจะเข้าสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ พื้นที่นี้มีลักษณะเป็นความอยากรู้อยากเห็น เปิดรับประสบการณ์ใหม่ และเต็มใจที่จะเรียนรู้ ที่นี่ เรายอมรับความท้าทาย เรียนรู้ทักษะใหม่ และขยายความรู้ เป็นพื้นที่ของการเติบโตและพัฒนาตนเอง ที่เราแสวงหาโอกาสในการพัฒนาและเจริญก้าวหน้า


4. พื้นที่แห่งการเติบโต (The Growth Zone)

เลยพื้นที่แห่งการเรียนรู้ไปคือพื้นที่แห่งการเติบโต ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของการพัฒนาตนเอง พื้นที่นี้แสดงถึงสภาวะของการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ที่เราท้าทายตัวเอง เอาชนะอุปสรรค และบรรลุศักยภาพสูงสุด ในพื้นที่แห่งการเติบโต เราได้ขยายพื้นที่ปลอดภัยของเราให้รวมทักษะ ประสบการณ์ และมุมมองใหม่ๆ เข้าไป เป็นพื้นที่ของความสำเร็จ ความสมบูรณ์ และความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

เทคนิคสำคัญที่จะทำให้เราหลุดพ้นจาก Comfort Zone โดยในบทความจาก positivepsychology ได้แนะนำเทคนิคที่น่าสนใจ เพื่อให้เราเป็นคนที่ไม่หยุดนิ่ง และก้าวเข้าสู่พื้นที่แห่งการเติบโตได้ในที่สุด


🎯 เทคนิคที่ 1: ทำกิจกรรมแต่ละวันให้แตกต่างไปจากเดิม

หนึ่งในเทคนิคที่ทุกคนอาจไม่เชื่อว่าหากเราทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน นิสัยเล็ก ๆ ที่เราทำติดตัวเป็นประจำอาจจะเปลี่ยนไปได้ ลองเริ่มจากการตื่นมาตอนเช้าเลือกเสื้อผ้าให้เร็วขึ้น หรือแค่เดินช้าลงเพื่อสังเกตสิ่งรอบตัวระหว่างเดิน การลองเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้จะทำให้ตัวคุณเองหลุดออกจากกิจวัตรเดิม ๆ ที่คุ้นเคยได้


🎯 เทคนิคที่ 2: เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพิ่มในทุกวัน

การพัฒนาทักษะของตัวเอง สามารถส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มความมั่นใจในตัวเองได้ รวมทั้งยังเพิ่มโอกาสในการต่อยอดอาชีพ ซึ่งอาจจะลองเริ่มต้นจากทักษะที่เราสนใจก่อนได้ เพราะการลงทุนกับทักษะเหล่านี้สามารถเปิดโอกาสให้กับเราได้ อย่างน้อย ๆ เราก้าวเข้ามาพื้นที่แห่งการเรียนรู้ได้ก่อน เพื่อค่อย ๆ ต่อยอดไปสู่พื้นที่แห่งการเติบโต


🎯 เทคนิคที่ 3: ความซื่อสัตย์สามารถฝึกกันได้

ลองเริ่มจากการเขียนสิ่งใหม่ที่เราอยากทำ เช่น เราอยากออกกำลังกายให้ได้ทุกวัน หรือ เราอยากพัฒนาทักษะการสื่อสารคุยกับใครก็รู้เรื่อง ซึ่งการบังคับตัวเองให้ทำสิ่งเหล่านี้ได้สำเร็จ นั่นหมายถึงการซื่อสัตย์ในเป้าหมายของเรา โดยแรงกระตุ้นที่สำคัญทำให้เราออกจาก Comfort Zone คือการตั้งเป้าหมาย เพื่อทำให้สิ่งเหล่านั้นประสบความสำเร็จ


🎯 เทคนิคที่ 4: ท้าทายความเชื่อในสิ่งที่คิดว่าทำไม่ได้

หลายคนอาจจะตัดความคิดนี้ไปเลย แต่อยากให้ลองกลับมาเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ ก่อนได้ ตัวอย่างง่าย ๆ เลยคือหากเราตั้งเป้าหมายว่าอยากเก่งภาษาอังกฤษ ลองเริ่มต้นอย่างการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ แทนหนังสือภาษาไทย ซึ่งแน่นอนว่าไม่ง่าย! แต่หากเราเชื่อว่าเราทำได้ แล้วเริ่มค่อย ๆ ทำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เราสามารถหลุดออกจาก Comfort Zone ได้ในที่สุด


แปล เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ

ที่มา

trending trending sports recipe

Share on

Tags