🎯 #รู้จัก ‘Message Box Canvas’ เทคนิคสื่อสารอย่างไรให้รู้เรื่อง
💬 ใครที่….อยากสื่อสารได้ชัดเจน
💬 ใครที่….อยากสื่อสารให้ได้ใจ และได้ความ
💬 ใครที่….อยากทำให้ผู้ฟัง ฟังแล้วอยากเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง
เชื่อว่ามนุษย์ทำงานทุกคนต้องเคยเจอ คือเวลาเราเตรียมเรื่องที่อยากมาพูด เมื่อสื่อสารออกไป เราสื่อสารแบบนี้ แต่คนฟังกลับได้ข้อความที่เราสื่อสารคนละแบบกัน หรือมีคนในห้องประชุม 10 คน ทำไมทุกคนเข้าใจไม่เหมือนกันสักคน!
🎯 องค์ประกอบอะไรบ้าง ? ที่ทำให้การสื่อสารไม่ดี
เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน อย่าเพึ่งคิดว่าตัวเองสื่อสารไม่เก่งเชียว!
💬 1. External Factors หรือปัจจัยภายนอก
บางครั้งสถานการณ์รอบตัวไม่เอื้ออำนวย เช่น เมื่อเราพูดอยู่ดี ๆ ไฟดับ, เน็ตหลุด, รถผ่านเสียงดัง, โทรศัพท์สายเข้า สิ่งเหล่านี้มักจะเข้ามารบกวนทำให้สารส่งไปไม่ถึง
💬 2. ความเข้าใจพื้นฐานของผู้ส่ง และผู้รับแตกต่างกัน
มักเกิดจากสถานการณ์ คนที่บรรยายมักชอบใช้คำทับศัพท์ หรือศัพท์เทคนิคเยอะเกินไป ในทางกลับกันผู้รับไม่คุ้นเคยกับศัพท์เทคนิคเหล่านั้น ก็จะยิ่งทำให้การสื่อสารส่งไปไม่ถึง และนำไปสู่การไม่เข้าใจในที่สุด
💬 3. คนที่สื่อสารไม่ได้เรียงลำดับการพูดคุย
เรื่องนี้สำคัญมากนั่นคือคุณต้องทำการบ้านให้พร้อม เตรียมให้พร้อมซ้อมให้ดี เรียงลำดับการพูดอะไรมาก่อน อะไรอยู่ตรงกลาง และควรปิดท้ายอย่างไร เรามักจะเจอเรื่องนี้ได้บ่อย เพราะเป็นเทคนิคที่คนพูดมักมองข้ามในการเล่าเรื่อง แต่กลับเป็นเทคนิคที่สำคัญมาก!
ดังนั้นถ้าไม่อยากให้เกิดปัญหาเหล่านี้
‘Message Box Canvas’ สามารถช่วยเพื่อน ๆ ให้สามารถสื่อสารได้ ต่อให้เราจะพูดไม่เก่ง แต่เมื่อเรียนรู้เทคนิคนี้ไปและกลับไปฝึกซ้อม เชื่อเลยว่าเพื่อน ๆ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน 🎯
Message Box Canvas คืออะไร ?
เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้เราสื่อสารจากคนต้นทาง ไปจนถึงปลายทางได้อย่างเข้าใจ โดยพื้นฐานจะมี 6 องค์ประกอบ ดังนี้
🌟 1. Audience:
คือการเริ่มจากเราต้องตั้งหลัก หาให้เจอว่าคนที่เราจะไปคุยด้วยคือใคร เช่น วันนี้เราจะไปคุยกับลูกค้าการตลาด, เราจะไปบรรยายนักศึกษาชั้นปี 1 เป็นต้น
🌟 2. Issue ? (จากภาพ: ช่องตรงกลาง)
Topic หรือประเด็นที่เราจะไปคุยกับคนฟัง เราต้องตั้งหลักเสมอว่าในทุก ๆ การคุย หรือ บรรยาย เราต้องตั้งหลักประเด็นเสมอ
🌟 3. Problem(s) ? (จากภาพ: มุมด้านบน)
ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากอะไร โดยย้ำว่าต้องเป็นการระบุแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ถ้าเป็นเรื่องเว็บไซต์เกี่ยวข้องกับดีไซเนอร์โดยตรง อย่าระบุแค่ว่ายอดขายไม่มา แต่ต้องหาต้นตอให้เจอว่า มีการได้รับ feedback มาแล้วว่าอาจจะเกิดจากการดีไซน์ที่เข้าถึงลูกค้ายากเกินไป ทำให้ลูกค้าไม่สามารถตัดสินใจซื้อได้ เพื่อนำไปสู่การแก้ไข หรือหาวิธีการต่อไป
🌟 4. So What ? (จากภาพ: มุมด้านขวา)
คือการระบุว่าปัญหาเหล่านั้น (Problem) ก่อให้เกิดปัญหาอะไรตามมาอีก เช่น เมื่อลูกค้าตัดสินใจซื้อไม่ได้ จึงนำไปสู่การไม่ซื้อ และเมื่อดูลงมาลึกขึ้นอีกจะเห็นว่าลูกค้าบางคนหาเมนูจ่ายเงินไม่เจอ หรือสับสนกับการออกแบบของเว็บไซต์นี้ จึงนำไปสู่การไม่ซื้อ ดังนั้นบริษัทก็ไม่มีรายได้ เป็นต้น
🌟 5. Solution ? (จากภาพ: มุมด้านล่าง)
คือวิธีการแก้ปัญหา เราจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ซึ่งข้อนี้เน้นย้ำว่าเราต้องมีไอเดียประมาณหนึ่งไปก่อนเสมอ เพราะเมื่อไหร่ที่เราเดินไปหาดีไซเนอร์ให้แก้ทันที ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาตามมาเพิ่ม คือเหมือนเราไปสั่งเขา แต่กลับกันถ้าคุณช่วยกัน ทำการบ้านไปก่อนส่วนหนึ่ง แล้วมาหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน รับฟังมุมมองซึ่งกันและกัน เพื่อหาการแก้ปัญหาในที่สุด
🌟 6. Benefits ? (จากภาพ: มุมด้านซ้าย)
คือผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่เราสื่อสาร เขาจะได้ประโยชน์อะไรจากเรื่องนี้ เช่น เมื่อเราสื่อสารแบบเป็นขั้นเป็นตอนมาทั้งหมด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากเรื่องนี้คือ ‘ดีไซเนอร์’ จะเข้าใจง่ายขึ้น และยังทำให้เขาได้แสดงเสนอความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหา ดึงศักยภาพออกมาผลงานต่าง ๆ ที่ทำก็จะเป็นหนึ่งในชิ้นงานลงพอร์ตของเขา เกิดความภูมิใจที่ได้แก้ปัญหานี้สำเร็จ ที่สำคัญองค์กรก็มีรายได้เข้ามา ลูกค้าใช้งานง่ายขึ้นกับดีไซน์ใหม่ และนำไปสู่เกิดการซื้อมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
🎯 สรุปตัวอย่างในการใช้งาน Message Box Canvas
ตัวอย่างเช่น เราต้องประชุมเกี่ยวกับ “ปัญหาดีไซน์บนเว็บไซต์” จากจุดนี้ให้ List ออกมาทุกครั้งเสมอ ดังนี้
💬 Audience: ใครที่ต้องคุยด้วย
เราต้องไปคุยกับ ‘ดีไซเนอร์ หรือ คนทำกราฟิก’ เพราะปัญหาที่เจอคือด้านดีไซน์เป็นหลัก
💬 Issue: ประเด็นที่คุย
เว็บไซต์ของบริษัท ในส่วนของดีไซน์เกิดปัญหา ระหว่างผู้ใช้งานและการออกแบบ
💬 Problem(s): ระบุปัญหา
ดีไซน์ทำให้คนไม่สามารถตัดสินใจซื้อได้! เพราะมี Feedback จากลูกค้าเข้ามาว่าหาปุ่มซื้อสินค้าไม่เจอ และการใช้งานค่อนข้างยาก หาสินค้าที่จะซื้อไม่ค่อยจะเจอ
💬 So What: ปัญหาเหล่านี้ส่งผลอะไรอีกบ้าง
ลูกค้าส่วนใหญ่สับสนกับการใช้งานบนหน้าเว็บไซต์ และหาปุ่มจ่ายเงินไม่เจอ
💬 Solution: แก้ปัญหาได้อย่างไร
ทำชุดข้อมูลเพื่อไปนำเสนอให้ดีไซเนอร์ในเบื้องต้น หลังจากนั้นรับฟังไอเดียจากผู้ฟัง เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
💬 Benefits: ประโยชน์ในการคุยกันครั้งนี้คืออะไร
ดีไซเนอร์เก่งขึ้น ภูมิใจกับผลงานที่ร่วมกันแก้ปัญหา รวมถึงบริษัทก็ได้ลูกค้าเข้ามามากขึ้น
🎯 เทคนิค Message Box Canvas สามารถนำไปปรับใช้กับทุกการสื่อสารได้ทั้งหมด เช่น เราอาจจะใช้เวลาคุยกับเจ้านาย หรือเราใช้เพื่อไปบรรยายกับคนในองค์กร, บรรยายกับคนในงาน Conference ต่าง ๆ ก็ได้เช่นกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนที่ต้องการสื่อสารแบบมืออาชีพกันน๊า
❤️ ฝากอีกหนึ่งงานสำหรับใครที่อยากยกระดับทักษะ ปรับประสิทธิภาพ เปลี่ยนคุณให้เป็นคนใหม่ กับงาน PEOPLE PERFORMANCE CONFERENCE 2024 พัฒนาคน พัฒนาตน พัฒนาองค์กร ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานธรรมดา, เหล่า HR, กลุ่มผู้บริหาร, เจ้าของธุรกิจ หรือกระทั่ง CEO ก็สามารถมาร่วมสนุกในงานพัฒนาคนแห่งปีนี้ได้ด้วยกัน พร้อมหลากเซสชันสุดสนุก ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเราให้ดีขึ้นกว่าเดิม
สามารถซื้อบัตรงาน PEOPLE PERFORMANCE CONFERENCE 2024 ได้แล้ววันนี้
บัตรราคา 1,500 บาท (ราคานี้ยังไม่รวม vat 7%)
✨ พิเศษ โปรโมชันบัตรเหมา ๆ แบบ ‘ทีม’
สามารถซื้อบัตรสำหรับ 4 ท่านในราคา 5,000 (ไม่รวม vat 7%) เท่านั้น!
🔥 ซื้อบัตรได้ที่: https://bit.ly/49eaxPH
PEOPLE PERFORMANCE CONFERENCE 2024
📍งานจัดวันที่ 4 เมษายน 2024
📍สามย่าน มิตรทาวน์ ฮอลล์
สำหรับใครที่สนใจออกบูธ และสปอนเซอร์ หรือซื้อบัตรเหมาสำหรับองค์กรสามารถติดต่อได้ที่
📧 mkt@rgb72.com
🤙🏻 083-262-6923 (คุณจูน)
เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
ดูอีพีนี้เต็มรูปแบบได้ที่