เทคนิคเข้าใจลูกค้าอย่างรู้ใจลูกค้า ด้วย Problem Reframing Template

Problem Reframing Template เทคนิคเข้าใจลูกค้าอย่างรู้ใจลูกค้า หนึ่งใน Framework ที่จะช่วยลดปัญหาที่ลูกค้ามักพบเจอปัญหาอยู่บ่อยครั้งได้ดี และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง

Last updated on เม.ย. 20, 2024

Posted on เม.ย. 16, 2024

ทำไมเรื่องการสร้างประสบการณ์ลูกค้าถึงสำคัญ ?

โดยสถิติอ้างอิงจากข้อมูลจากคุณทิป Digital Tips ในงาน CTC2023 FESTIVAL ซึ่งมีความน่าสนใจมาก ๆ

  • 86% ของผู้บริโภคระบุว่ายินดีจ่ายมากขึ้น เพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่ดีขึ้น
  • 64% ของผู้บริโภคยินดีแนะนำบอกต่อสินค้าและบริการหากได้รับประสบการณ์ที่ดี
  • 95% ของผู้บริโภคบอกต่อประสบการณ์ที่ไม่ดี
  • 66% ของผู้บริโภคระบุว่า พวกเขามี Loyalty มากขึ้นหาได้รับประสบการณ์ที่ดี

เรื่องนี้กำลังจะบอกว่า

เราไม่ได้อยู่ในยุคที่จะทำของดี แล้วรอดเสมอไป

คำเตือนสำคัญในการจะสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

“อย่าเริ่มจากการ Delight Customers”

เพราะการจะรู้ใจลูกค้าแฮปปี้สำคัญก็จริง แต่การเริ่มต้นก็ไม่ได้หมายความว่าจะถูกต้องเสมอไป ยกตัวอย่าง เช่น วันนี้คุณไปร้านนวดได้รับการบริการที่ดี มี Welcome Drink มีขนมทาน, ตอนนวดก็รู้สึกดีเขานวดเก่ง แถมตอนก่อนจะจ่ายเงิน ก็มีของขวัญมามอบให้สำหรับคุณที่เหนื่อยมาตลอดเป็นของน่ารัก ๆ แต่ท้ายที่สุดตอนไปจ่ายเงิน พนักงานกลับคิดราคาเกินจริง แถมระบบจ่ายเงินช้า แน่นอนว่าเราเองก็จะรู้สึกหงุดหงิดในฐานะลูกค้า ทำไมต้องมามีปัญหาตอนจบ สุดท้ายแทนที่จะมีความสุข กลับมีความทุกข์มากกว่าเดิมด้วยซ้ำ!

ดังนั้นมาดูกันดีกว่าว่า แล้วถ้าเราจะเริ่มต้นออกแบบการสร้างประสบการณ์ที่ดีอย่างรู้ใจลูกค้า จะต้องทำอย่างไร ควรเริ่มต้นให้ลูกค้าแฮปปี้มีความสุขก่อนไหม หรือมันมีขั้นตอนที่มากกว่านั้นอีกบ้าง ? เพราะแน่นอนว่าก่อนลูกค้าจะมีความสุขได้ เราต้องไม่ลืมที่จะจัดการปัญหาก่อนเสมอ เพื่อลดอุปสรรคในการทำธุรกิจ และทำให้ลูกค้ารู้ถึงคุณค่าที่คุณตั้งใจจะมอบให้


หนึ่งใน Framework ที่จะช่วยลดปัญหาที่ลูกค้ามักพบเจออยู่บ่อยครั้งได้ดี และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง เราเรียกสิ่งนี้ว่า ‘Problem Reframing Template’ หนึ่งในเทคนิคที่ดีของการเข้าใจอย่างรู้ใจลูกค้า คือการเข้าใจเรื่องของจิตวิทยา เพื่อเข้าใจและนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ให้เราได้ลอง Reframe ธุรกิจตัวเองปรับความคิดขยับกรอบความคิดสักนิด เพราะของบางเรื่องไม่ได้ใช้เงินแก้ปัญหา เพียงอย่างเดียว แต่มันสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยความเข้าใจ!

Problem Reframing Template เทคนิคเข้าใจลูกค้าอย่างรู้ใจลูกค้า

ประกอบไปด้วยกรอบ 4 เรื่องสำคัญ ดังนี้

  1. ปัญหา (Problem)
  2. วิธีแก้ปัญหา (Solution)
  3. ตีความปัญหาใหม่ (Reframe problem)
  4. วิธีแก้ปัญหา (Solutions)

แต่ก่อนเราจะตีความปัญหาใหม่ (Reframe problem) ได้นั้น เราต้องรู้สาเหตุหรือที่มีของปัญหาเหล่านั้นก่อน ลองเช็กลิสต์ออกมาทีละข้อว่าตอนนี้เรากำลังเจอเรื่องไหนอยู่ เช่น

🤔 ปล่อยให้ลูกค้ารอคอยนานเกินไป (นับเป็นปัญหาสุดคลาสสิก)
🤔 ต้องให้ข้อมูลเดิม ๆ ซ้ำ ๆ กับลูกค้า
🤔 ปัญหามากมายที่ดองไว้ ไม่ได้รับการแก้ไข
🤔 การชำระเงินยุ่งยาก
🤔 ผิดหวังกับคุณภาพสินค้า และบริการ
🤔 การบริการของพนักงาน etc.

ลองยกตัวอย่างกรณีปัญหารอคอยนานเกินไป ซึ่งน่าจะเป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ของหลายคนที่กำลังเป็นเจ้าของกิจการ หรือเป็นลูกค้าเวลาไปใช้บริการ วิธีแก้ที่ดีที่สุด คือคุณต้องเข้าใจเรื่องนี้อย่างแท้จริง ในทางจิตวิทยามีสิ่งที่เรียกว่า Psychology of waiting หรือจิตวิทยาการรอคอย เพราะการรอคอยเป็นเรื่องไม่สนุกของหลายคน เช่น การรอไม่มีอะไรจะทำ กับการรอมีอะไรจะทำก็ต่างกัน หรือการรอแบบไร้จุดหมาย กับรอแบบมีจุดสิ้นสุด ก็แตกต่างกัน ถ้าเราเข้าใจจิตวิทยาแห่งการรอ เราจะเข้าใจอย่างรู้ใจลูกค้าได้ดีขึ้น


ตัวอย่างธุรกิจที่ออกแบบการรอคอยได้น่าสนใจ

👍 Disneyland ขึ้นชื่อว่ารู้ใจลูกค้าเป็นที่สุด เวลาเราไปสวนสนุกอย่าง Disneyland เราจะเห็นตัวเลขบนป้ายบอร์ด ซึ่งทุกคนจะรับรู้ได้ว่า “เราต้องรอคิวอีกกี่คิว” แม้การรอจะไม่น้อยลง แต่เราในฐานะลูกค้าจะรู้สึกดีขึ้น เพราะเรารู้ว่าการรอนี้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่ ในทางจิตวิทยาเรียกว่า “Finite waits” ซึ่งจะตรงข้ามกับ Uncertain waits ซึ่งแปลว่าไม่รู้ว่าการรอจะไปสิ้นสุดเมื่อไหร่

👍 ถ้าเรามีปัญหาเรื่อง รออาหารนาน! ก็แก้ปัญหาได้เช่นกัน
เหมือนเดิมถ้าเราเข้าใจจิตวิทยามากขึ้น เราอาจจะสามารถลดต้นทุน และแก้ปัญหาได้ง่ายกว่านั้น ในกรณีที่เราไม่ได้มีเงินถุงเงินถัง เพิ่มจำนวนเชฟไม่ได้, ลงทุนกับอุปกรณ์มากขึ้นไม่ได้ หรือเพิ่มจำนวนพนักงานเสิร์ฟไม่ได้ เราจะทำอย่างไร ?

หนึ่งในจิตวิทยาที่แก้ได้คือ ‘Keep your customer busy’ อย่าให้ลูกค้าว่าง ลองเสิร์ฟขนมปัง, มีสลัดบาร์, มีเกมสนุก ๆ เล่น, มีน้ำฟรีขนมฟรีให้ลองเอนจอยก่อนอาหารจานหลักมา ซึ่งเป็นวิธีที่แก้ปัญหาได้ง่าย และทำได้จริง เราจะเห็นตัวอย่างจากร้านอาหารที่รู้ใจลูกค้าอย่าง Sizzler หรือ Haidilao ที่ทำได้ดีมาก ๆ

👍 อีกหนึ่งตัวอย่างคือการอยู่ในลิฟต์ไม่ใช่เรื่องสนุก ยิ่งลิฟต์ไหนช้าก็ยิ่งเซงเข้าไปกันใหญ่ ถ้าเกิดแก้ปัญหาลิฟต์ช้า ส่วนใหญ่วิศวกรก็จะแนะนำให้ลงทุน ทำลิฟต์ให้ไวขึ้น แต่สิ่งนี้ก็อาจจะแก้ปัญหาได้ไม่ทั้งหมด หรือบางครั้งก็อาจจะใช้เงินจำนวนมหาศาลมากจนเกินไป ดังนั้นลองมาคิดกันใหม่ถ้าคุณเข้าใจเรื่องจิตวิทยา Occupied Time คือการรอ แต่รอแล้วมีอะไรให้ทำ! ถือเป็นการแก้ปัญหาที่น่าสนใจ

หากเรามาลอง List ปัญหาของเรื่องนี้จริง ๆ จะพบว่า

การที่ลิฟต์ช้า และเปลี่ยนใหม่ใช้เงินมากขึ้นไม่ใช่คำตอบเดียวของแก้ปัญหา แต่ปัญหาจริง ๆ คือ “คนที่รออยู่ในลิฟต์เขาเบื่อ! มันทำอะไรไม่ได้ อึดอัด” ดังนั้นการแก้ปัญหาง่าย ๆ คือ ใส่กระจกเข้าไป เมื่อมีกระจกคนก็จะส่องกระจก ลูกค้าจะมีอะไรให้ทำทันที หรือในประเทศจีนบางที่วิศวกรทำลิฟต์มีดิสโก้เทค, มีเกม, มีดนตรีในกระจกให้ Interactive ในลิฟต์ได้ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าไม่รู้สึกว่ารอนานมาก กลายเป็นความสนุกแทน นี่คือหนึ่งในตัวอย่างของการรู้ใจลูกค้า เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี


ยกตัวอย่างกรณี: ปัญหาเรื่องลิฟต์ช้า เมื่อเรารู้ปัญหาแล้ว ก็สามารถเริ่มกำหนด Problem Reframing Template ได้ดังนี้

1. ปัญหา (Problem)

👉 จากโจทย์ด้านบนคือ → ลิฟต์ช้ามาก ลูกค้ารอนาน

2. วิธีแก้ปัญหา (Solution)

👉 ถ้าลิฟต์ช้า โดยปกติเราก็จะแก้ปัญหาด้วยการ ‘ทำลิฟต์ความเร็วสูง’

3. ตีความปัญหาใหม่ (Reframe problem)

👉 ลองรีเฟรมเปลี่ยนกรอบความคิดใหม่ นั่นคือการอยู่ในลิฟต์ไม่ใช่แค่เรื่องความช้า แต่ในมุมคนที่อยู่ในลิฟต์เขารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ (เข้าใจจิตวิทยา Occupied Time คือการรอ แต่รอแล้วมีอะไรให้ทำ!)

4. วิธีแก้ปัญหา (Solutions)

👉 นำไปสู่การแก้ปัญหาได้ดีกว่า และคุมต้นทุน คุมค่าใช้จ่ายได้ แม้ลูกค้าจะรอเท่าเดิม แต่รอแล้วรู้สึกดีขึ้นกว่าเดิม เช่น ติดกระจกในลิฟต์ หรือใส่เพลงเข้าไป, เปิดวิดีโอสนุก ๆ ระหว่างการรอในลิฟต์ เป็นต้น


หากในอนาคตอันใกล้นี้เราเจอ “Complain” หรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ลองหยิบเฟรมเวิร์กตัวนี้ไปใช้กันได้ เพราะ Problem Reframing Template คือหนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจปัญหาที่ลูกค้า กลับกันก็ทำให้เรารู้ใจลูกค้า มากยิ่งขึ้น โดยที่เราไม่ได้คิดไปเอง หรือมองข้ามปัญหาเหล่านั้น และที่สำคัญยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดการใช้เงินในการแก้ปัญหา!


เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ

ที่มา

  • CTC2023 - How to use marketing psychology to enhance customer experience สร้างประสบการณ์ลูกค้าด้วยจิตวิทยาการตลาด
trending trending sports recipe

Share on

Tags