🗓️ ทำไมมกราคมถึงยาววว กว่าทุกเดือน” หาคำตอบได้จากเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
ยังไม่หมดเดือนมกราอีกเหรอ!? เชื่อว่าหลายคนรู้สึกว่าเดือนมกราคม 2024 นี้ยาวนานกว่าปกติ มีตั้ง 5 สัปดาห์ ในเชิงเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม อะไรที่ทำให้เรารู้สึกแบบนี้ และเราจะจัดการกับความคิด มุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไรต่อ
🎯 พฤติกรรมศาสตร์ แก่นสำคัญของคำนี้คือ
‘ทำไมมนุษย์ถึงมีพฤติกรรมเหล่านั้น’
บางครั้งก็ดูไม่มีเหตุผล บางครั้งทำไมเขาคนนั้น คนนี้เป็นแบบนี้นะ แล้วพฤติกรรมเหล่านี้จะนำไปสู่กระบวนการอะไรได้บ้าง เรื่องนี้น่าสนใจมาก โดยวันนี้คุณเบียร์ - ณัฐวุฒิ เผ่าทวี Professor of Economics, Nanyang Technological University จะมาเผยเรื่องนี้กัน!
🎯 ทำไม ‘มกราคม’ ถึงยาวนานเหลือเกิน มันมีคำตอบหรือไม่ ?
ก่อนจะคุยเรื่องนี้เราต้องเริ่มเข้าใจก่อนว่า ทุกเดือน ทุกวัน มันเท่ากันปกติ แต่ความรู้สึกต่างหาก ที่มากำหนดเรื่องนี้ คำตอบเรื่องนี้คือ Attention (ความสนใจ) โดยแบ่งออกเป็นอดีต, ปัจจุบัน, อนาคต
😇 [อดีต] 😇
Attention ของอดีต คือการฝังลึกของความทรงจำ เรามักจะจดจำเรื่องพีค ๆ ของตัวเอง หรือสิ่งที่เรียกในเชิงจิตวิทยาว่า “Peak–end rule” ซึ่งเป็นแนวคิดของ Kahneman & Tversky เมื่อใดก็ตามเราไปอยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ แล้วเกิดจุดพีค เช่น คนที่อายุ 40 กว่าก็มักจะไปหาแพทย์ เราอาจจะไปตรวจมะเร็ง ซึ่งแน่นอนว่าความทรงจำนี้จะเจ็บปวดมาก เพราะเราไม่ชอบในช่วงเวลานั้น แต่กลับกันหากวันนั้นเราแฮปปี้มาก ๆ กับการจัดงานคริสต์มาส เราก็มักจะเลือก ‘จดจำจุดพีค’ จากความสุข ดังนั้น Peak–end rule จึงเป็นที่มาของความทรงจำของเรา มักจะจดจำในช่วงที่พีคที่สุด (Peak) หรือช่วงเวลาที่จบแล้ว (End) มันเลยทำให้เรารักอดีต จำอดีตได้แม่น ถ้าอดีตนั้นมีความสุขมาก แต่กลับกันหากอดีตไม่มีความสุข เลย เราก็จะมักจะไม่จดจำเรื่องเหล่านั้น
😊 [ปัจจุบัน] 😊
Attention ปัจจุบัน คือ ช่วงเวลาปัจจุบัน อย่างตอนนี้คือ ‘เดือนมกราคม’ แต่รู้ไหมว่าการเปลี่ยนแปลงระหว่าง มกราคม และธันวาคม มันมีมวลอารมณ์มากมายมหาศาลที่เยอะมาก เพราะธันวาคมมีวันหยุดเยอะ แต่มกรากลับไม่มีวันหยุดเลย ซึ่งเจ้า Attention นี่แหละ ทำให้เราถูกดึงความสนใจ โดยเอาความสนใจในแต่ละวันไปอยู่ตรงไหน เช่น ถ้าในวันนั้นเราเหนื่อย เราเศร้า วันนั้นจะรู้สึกยาว แล้วถ้ามีวันนั้นบ่อยเข้า ก็จะทำให้รู้สึกว่าเดือนนี้ยาวจัง ก็เหมือนเดือนมกราคม ที่ยาวนานเหลือเกิน
🤔 [อนาคต] 🤔
Attention ของอนาคต คือการคาดการณ์ หรือมองไปข้างหน้า หากตั้งต้นเป็นเดือนมกราคม เราจะรู้สึกอยู่ดีว่านานจัง เพราะกว่าจะถึงช่วงเดือนวันหยุดเยอะ ๆ อย่างเมษายน มันนานซะเหลือเกิน เราเลยมักจะจดจำอดีตมากกว่าปัจจุบัน แต่กลับกัน หากปัจจุบันเราแฮปปี้ เราก็จะเลือกจดจำปัจจุบันมากกว่า ขึ้นอยู่กับจุด Peak ของอารมณ์แต่ละคน
🎯 ในเชิงการต่อยอด จะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
👉 เวลาเราไปเที่ยวหรือวางแผนสักอย่าง เราต้องคำนึงถึง ‘เราจะมองย้อนกลับไปในความรู้สึกนั้น ๆ ’ เช่น ครอบครัวเราจะวางแผนไปเที่ยวญี่ปุ่น 3 วัน ซึ่งเราต้องวางแผนทางการเงินสุขให้กับตัวเอง และครอบครัว ดังนั้นกฎ Peak end rule ได้บอกไว้ว่า ให้แบ่งเงินก้อนที่มากที่สุด 1 ก้อนไปใช้กับ 1 วัน เพราะคนเราจะจำจุด Peak และ End เป็นหลัก ดังนั้นมันจะมีวันนึงที่ดีที่สุด และเราจะจดจำวันนั้นดีที่สุด ไม่ใช่แค่ตัวเรา แต่กับครอบครัวก็แฮปปี้ที่สุดเช่นกัน
👉 หรือในเชิงการ Presentation กับลูกค้าเองก็ต้องดีไซน์จุด Peak และ End ให้ดี โดยให้พรีเซนต์งานให้เหมือนข่าว เน้นเฮดไลน์ ดึง Attention อยู่ที่เราก่อน แล้วค่อย ๆ จั่ว Peak ช่วงต้น จบด้วย End ช่วงท้าย อย่าให้ Attention ของเขาหายไป ต้องดึงเขากลับมาตั้งแต่ต้นไปจนจบแบบฟินาเล่
👉 อีกเคสที่น่าสนใจ จากไมเคิล นอตัล เพื่อนของคุณเบียร์ โดยได้เป็นที่ปรึกษาแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทริปฮอริเดย์ โดยเที่ยวเมืองไทยใน 6 วันข้างหน้า ทำไมเขาซื้อแล้วลูกค้ายัง Login เข้าออกดูอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นไมเคิลจึงให้คำอธิบายนี้ว่า The Anticipation Effect อะไรที่เราเสียเงินไปแล้ว เราจะคิดถึงมันมากที่สุด บางครั้งจะสุขมากกว่าตอนที่เราไปเที่ยวซะอีก เรียกง่าย ๆ ว่า แค่จินตนาการ แค่ฝันก็สุขแล้ว ลอตเตอรี่น่าจะเป็นอีกเคสที่ทุกคนเคยเป็น
🎯 แล้วถ้าเราเบื่อ เราจะแก้ไขได้อย่างไร ?
อย่าดูถูกความเบื่อ เพราะเรื่องนี้ทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์นะ ความเบื่อทำให้เกิดการวิวัฒนาการ เพราะคนไม่เบื่อจะทำแต่สิ่งเดิม แต่พอเบื่อก็เลยหาอะไรทำใหม่ ๆ หาสิ่งใหม่ ว่าจะทำอะไรต่อดี ความเบื่อไม่ใช่สิ่งที่แย่ ดังนั้นลองหยิบ Attention ของเราไปต่อยอดได้ ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีถูกมีผิด แต่สิ่งสำคัญคือต้องคิดให้เป็น และหาเส้นทางใหม่เพื่อแก้ปัญหาความเบื่อ หรือหาเรื่องใหม่ ๆ เพื่อคิดค้นนวัตกรรมเพิ่มเติมได้
🎯 หากใครสนใจเรื่องเหล่านี้ คุณเบียร์ ป้ายยาหนังสือ มาให้แล้ว!
👉 Time Smart ความฉลาดทางเวลา (Ashley Whillans)
👉 Stumbling on happiness (Daniel Gilbert)
👉 Miss Behavior (Bernice Bryant)
👉 THINKING, FAST AND SLOW คิด, เร็วและช้า (Daniel Kahneman)
และอีกหนึ่งเล่มแปลไทยโดยคุณเบียร์ ณัฐวุฒิ เผ่าทวี
👉 THE HAPPIEST PERSON IN THE ROOM อยู่เย็นเป็นสูตร
https://www.naiin.com/product/detail/591827
ติดตาม The ORGANICE ในครั้งต่อไปได้ทุกวันพุธ
จัดเต็ม Live ทั้ง 2 ช่องทาง Facebook และ YouTube
แปล เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
ดูอีพีนี้เต็มรูปแบบได้ที่