เปลี่ยนคำวิจารณ์ เป็นโอกาสในการพัฒนา เจาะ 4 เทคนิครับมือกับ Negative Feedback ในสไตล์ผู้นำสุดแกร่ง

คำติชม และคำวิจารณ์คือสิ่งที่คนทุกคนล้วนได้รับ แต่เราจะทำยังไงเพื่อเปลี่ยนสิ่งนั้นมาเป็นโอกาสในการพัฒนาตัวเองให้เป็นผู้นำที่ดีได้ และจะทำอย่างไรเพื่อส่งต่อความสามารถที่ทำให้คนเติบโตนี้ไปสู่ลูกทีม

Last updated on ก.ค. 3, 2024

Posted on มิ.ย. 17, 2024

การโดนวิจารณ์เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโต ไม่ว่าจะจูเนียร์หรือผู้นำ เราทุกคนล้วนได้รับคำวิจารณ์กันเป็นปกติ

สำหรับผู้นำแล้ว หากไม่มีใครมาให้ Feedback หรือวิจารณ์ความเป็นผู้นำของเรา นั่นหมายความว่าเราเป็นผู้นำที่ไม่ถูกต้อง เพราะความเป็นผู้นำไม่ใช่การแข่งขันว่าใครได้รับความนิยม แต่เป็นการแข่งขันว่าใครที่สามารถสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้มากกว่า

การวิจัยของ National Management Association พบว่า 98% ของผู้นำเชื่อว่าการเปิดกว้าง และรับฟังคำวิจารณ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทำงาน แต่ความจริงคือ มันกลับเป็นสิ่งที่พูดง่ายกว่าทำ

เพราะความเป็นผู้นำต้องใช้ความเข้มแข็งทางจิตใจ หากเราไม่ถูกเคยโดนวิจารณ์ แสดงว่าเราไม่ได้เป็นผู้นำที่สามารถชี้นำองค์กรให้เติบโตได้ เพราะผู้นำที่ดีต้องเปิดกว้างต่อทุกคำวิพากษ์วิจารณ์ใดที่ผู้คนใช้โจมตีเรา

ทำไมผู้นำต้องฝึกรับมือกับคำวิจารณ์

นั่นก็เพราะคำวิจารณ์คือสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมของเรา และมันอาจทำให้เราไขว้เขว ทว่าหากเราสามารถเห็นสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น เราจะพบวิธีที่จะรับมือกับคำวิจารณ์ได้ดี ซึ่งช่วยให้เราสามารถเติบโตขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมอันกดดันนี้

เพราะเมื่อผู้นำรับมือกับคำวิจารณ์ได้ ก็มีแนวโน้มที่ลูกทีมจะแข็งแกร่ง และยินดีที่จะรับฟังคำวิจารณ์เช่นกัน โดยต่อจากนี้จะเป็น 4 วิธีรับมือกับคำวิจารณ์เพื่อช่วยให้เราเป็นผู้นำที่ดีขึ้น และส่งสิ่งนี้ไปสู่การพัฒนาลูกทีมได้

1. อย่าเล่นบทเหยื่อ

เมื่อถูกวิจารณ์ จงอย่าแสดงทัศนคติว่าตนถูกกลั่นแกล้งออกมา การเล่นบทเหยื่อนั้น จะทำให้ลูกทีมเห็นว่าเราเป็นผู้นำที่ขาดความเข้มแข็ง และใจไม่นิ่งพอที่จะเป็นผู้นำ

เมื่อเราเล่นบทเหยื่อ มันจะแสดงให้เห็นว่าเราเป็นคนที่ขาดวุฒิภาวะ และความสงสัยจะเริ่มเข้ามาในจิตใจของทีมอย่างรวดเร็ว จนคนสงสัยว่าเราอาจไม่สามารถที่จะทนต่อแรงกดดัน และความไม่แน่นอนที่เผชิญได้

แทนที่จะนั่งฟูมฟายกับปัญหา จงเปิดใจรับคำวิจารณ์ และเปลี่ยนมันให้เป็นโอกาสใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เพราะการทำให้งานเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลง จะทำให้เราสามารถเติบโตได้อย่างไม่สิ้นสุด ไม่ว่าจะในฐานะพนักงานหรือผู้นำก็ตาม นวัตกรรม


2. รักษาความเป็นกลาง เมื่อต้องวิจารณ์กลับ

แม้จะโกรธ แต่จงอย่าใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง เพราะตามหลักการแล้ว การวิจารณ์หรือการให้ฟีดแบ็กในที่ทำงานจะมีประสิทธิภาพมาก เมื่อเรากล่าวด้วยน้ำเสียงตามความเป็นจริง อีกทั้งการแสดงออกด้วยสีหน้าที่ผ่อนคลาย และภาษากายที่เป็นกลางก็ช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกถูกจูงใจได้มากขึ้น

การแสดงออก แต่ไม่แสดงอารมณ์เป็นการส่งข้อความว่าคำวิจารณ์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำงาน และเราก็ต้องพูดสิ่งนี้ออกไปเพื่อให้อีกฝ่ายพัฒนาเช่นกัน


3. อย่าเอาเรื่องส่วนตัวมาปน

‘จงอย่าไปใส่ใจกับสิ่งที่คนอื่นพูดนัก’

นี่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรรับฟังเสียงของใครเลย แต่หมายความว่า ‘จงอย่าเก็บคำวิจารณ์มาคิดเป็นการส่วนตัว’ เพราะในฐานะผู้นำ เราไม่ควรยึดติดกับประเด็นต่าง ๆ มากเกินไป เพราะเมื่อเรายึดติดกับอะไรในระดับส่วนตัวแล้ว จะทำให้การทำงานกับผู้อื่นนั้นยากยิ่งขึ้น

การเป็นผู้นำจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการรับมือกับคำวิจารณ์เป็นกฎที่ไม่ได้เขียนไว้ใน Job description และมันก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้นหากเราต้องการชัยชนะ และพัฒนาลูกทีมต่อไป ผู้นำเองก็ควรคาดหวังคำวิจารณ์ และรู้วิธีจัดการกับมันได้ เพราะผู้นำที่ยึดติดประเด็นส่วนตัวนั้น จะทำให้บทบาทความเป็นผู้นำของพวกเขามีอายุสั้นลง


4. เปลี่ยนคำวิจารณ์ให้เป็นโอกาส

การถูกวิจารณ์เป็นอีกวิธีหนึ่งในการใช้คำว่า ‘ช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้’ ได้ดีมาก เพราะแม้ว่าเราจะไม่มีทางเป็นคนที่สมบูรณ์แบบเมื่อได้เป็นผู้นำ แต่เราต้องเปิดใจกว้างพอที่จะแก้ไขไปพร้อมกัน ซึ่งการเป็นผู้นำนั้น เราจำเป็นปรับเปลี่ยน สร้างตัวเองใหม่ แม้ว่าเราอาจเคยประสบความสำเร็จมาแล้วในอดีตก็ตาม แต่ความเป็นผู้นำจะบังคับให้เราต้องเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนที่ดีขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ และองค์กรของพวกเขามักถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ ดังสุภาษิตที่ว่า “การขึ้นไปสู่จุดสูงสุดนั้นยากแล้ว แต่การรักษามันไว้นั้นยากยิ่งกว่า”

มันง่ายที่เราจะปีนไปสู่ยอด แต่มันก็เป็นการยากที่เราทนต่อคำวิจารณ์ที่คนมากมายติมาถึงเรา ฉะนั้นแล้วความมุ่งมั่นจึงเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเราเป็นผู้นำ เพราะการเติบโตอยู่เสมอนี่แหละ คือวิธีเดียวที่จะทำให้เราสามารถตอกกลับคำวิจารณ์


ท้ายที่สุด คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเป็นผู้นำที่ดีก็คือการเป็นผู้ฟังที่ดี และมันก็เป็นทักษะที่ใช้ได้เมื่อเราถูกวิจารณ์เช่นกัน จงอย่าพยายามที่จะปิดหู เพราะการตั้งใจเงี่ยหูฟังสิ่งที่คนอื่นพูดถึงเรานั้น ทำให้เราสามารถเรียนรู้สิ่งที่ควรปรับปรุงจากคนอื่นได้ แม้ว่าการการรับฟังคำวิจารณ์ จะเป็นความรับผิดชอบของผู้นำที่ไม่มีใน Job description แต่การตั้งใจฟัง ก็ช่วยให้เราเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ และน่าเชื่อถือมากขึ้นได้


แปล เรียบเรียง: พีรพล สดทรัพย์

ที่มา

trending trending sports recipe

Share on

Tags