ผู้ฟังที่ดีเขามีอะไร ทำไมคนถึงยอมเปิดใจเล่าเรื่อง

นักจิตบำบัดเขาฟังอย่างไร ถึงทำให้คนเปิดใจ ต้องทำแบบไหน ถึงจะทำให้เราเป็นผู้ฟังที่ดีได้ บทความนี้จะรวม 8 เทคนิคลับที่จะคายตะขาบการเป็นผู้ฟังที่ดี ซึ่งนักจิตบำบัดไม่เคยบอก

Last updated on ก.ค. 3, 2024

Posted on มิ.ย. 20, 2024

หัวหน้าคะ หนูมีเรื่องจะปรึกษา
พี่ครับ ช่วยฟังผมระบายได้ไหม

ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้นำหรือใครก็ตามที่อยากจะเป็นผู้ฟังที่ดี เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะถนัดให้คำปรึกษา ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำตัวเป็นพื้นที่ระบาย ทว่าการฟังที่ดีนั้นจะช่วยทำให้เราเข้าใจคนมากขึ้น รู้ว่าอะไรคือสาเหตุให้พวกเขาเป็นแบบนี้ การเป็นผู้ฟังที่ดีคือจึงเป็นอีกหนึ่งทักษะที่ทุกคนควรฝึกไว้

ในเว็บไซต์ HARLEY THERAPY นั้นจึงได้รวบรวมเทคนิคลับ ที่นักจิตบำบัดมาคายตะขาบ เพื่อให้ช่วยให้เราสามารถเป็นผู้ฟังที่ดีจนสามารถเข้าใจคนตรงหน้าได้มากขึ้น ด้วย 8 เคล็ดลับเหล่านี้

1. ฟังด้วยร่างกายไม่ใช่แค่หู

แน่นอนว่าหูของเราเป็นผู้รับฟัง แต่ร่างกายของเราคือสิ่งที่สะท้อนออกมาว่า ‘เราตั้งใจฟังมากแค่ไหน’ เพราะถ้าหากเรากำลังว่อกแว่กหรือมองไปรอบ ๆ ตลอดเวลา นั่นไม่เพียงแต่แสดงว่าเราไม่เข้าใจอีกฝ่าย แต่มันยังเป็นการส่งสัญญาณว่าเราไม่สนใจพวกเขาด้วย

ดังนั้นแล้วผู้ฟังที่ดีจะใส่ภาษากายที่ดีลงไปเวลาฟัง อาทินั่งนิ่ง ๆ ผ่อนไหล่ และร่างกาย กางขากับแขนออกมา (อย่ากอดอกเพราะแสดงถึงการปิดกั้น) นอกจากนั้นแล้วการโน้มตัวเข้าไปเล็กน้อย ยังช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกสบายใจ เพราะสิ่งนี้ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าเราใส่ใจกับสิ่งที่พวกเขาพูดจริง ๆ

นักจิตบำบัดส่วนใหญ่ ทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ เพราะพวกเขาจะมีสมาธิกับการสนทนาตลอดเวลา ซึ่งมันเป็นเหมือนการแสดงออกว่า พวกเขาเป็นผู้ฟังที่ดีกับคู่สนทนา มากกว่าการแสดงออกทางสีหน้า และพูดว่า 'โอเค', 'ใช่', 'ไปต่อ'


2. อยู่กับปัจจุบันอย่าล่องลอย

ผู้ฟังหลายคนพยายามทำหน้า เพื่อให้ดูเหมือนว่ากำลังเป็นผู้ฟังที่ดี แม้ในใจจะคิดถึงมื้อค่ำว่าจะทานอะไร, การพรีเซนต์งานพรุ่งนี้จะเป็นแบบไหน จนกลายเป็นว่าเราไม่ได้ฟังเลยจริง ๆ ด้วยซ้ำ

ถ้าหากเราพบว่าสิ่งนี้ยาก เราอาจต้องลองเรียนรู้การมีสติ ซึ่งเป็นการฝึกเป็นผู้ฟังที่ดี เพราะเมื่อเวลาผ่านไป จะทำให้เราตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้ามากขึ้น


3. อย่าวางแผนว่าจะพูดอะไร

การฟังเพื่อหาว่าเราจะพูดอะไรออกไป ไม่ใช่การเป็นผู้ฟังที่ดี เพราะมันเป็นแค่การที่เราพยายามจะทำให้บทสนทนาเชื่อมโยงกับตัวเรา ดังนั้นแล้วการเป็นผู้ฟังที่ดี ควรเอาตัวเองออกจากสมการการฟัง และพูดทวนสิ่งที่พวกเขากำลังพูดอีกครั้ง


4. พูดทวนอีกครั้ง

เมื่อผู้พูดหยุดพูดชั่วคราว หรือกล่าวจบแล้ว ให้เราลองถอดความ และพูดซ้ำสิ่งที่พวกเขาเพิ่งพูดออกไป เช่น หากลูกทีมเพิ่งบอกเราว่า เขาไม่สามารถออกไปทำงานช่วงสุดสัปดาห์นี้ได้ เพราะแฟนของเขาต้องไปทำงาน เราก็อาจพูดทวนกลับไปว่า “ถ้าไม่ได้ไปช่วงสุดสัปดาห์นี้ คุณจะเสียใจไหม”

การสะท้อนกลับนั้นให้ผลลัพธ์ที่น่าอัศจรรย์ 2 เรื่อง

  1. อีกพูดรู้สึกได้ทวนสิ่งที่อยู่ในใจ
  2. ทำให้เราหลีกเลี่ยงความสับสน ซึ่งหากเราเข้าใจผิดก็สามารถเคลียร์ได้ทันที

ตัวอย่างเช่น เราอาจจะคิดว่าลูกทีมของเราไม่พอใจที่ไม่ได้ไป แต่เขาอาจจะตอบกลับไปว่า “ไม่ เขาดีใจมาก เพราะจริง ๆ แล้วเขามีเรื่องต้องทำมากมายจริง ๆ ในช่วงนั้น"


5. จงเป็นผู้ถามที่ดี

ผู้ฟังที่ดียังสามารถถามคำถามที่ช่วยให้ ผู้พูดค้นหาคำตอบด้วยตนเองได้เช่นกัน เพราะคำถามที่ดีมักไม่ค่อยเริ่มต้นด้วยคำว่า 'ทำไม' ซึ่งเป็นเหมือนคำตอบที่นำไปสู่ความไม่แน่นอน ซึ่งเราลองถามคำถามที่ขึ้นต้นด้วย 'อย่างไร' หรือ 'อะไร' ยกตัวอย่าง เมื่อจะถามว่า 'ทำไมลูกทีมถึงอยากลาออก' ให้ถามว่า 'น้องจะทำอย่างไร ถ้าจะลาออก' และ 'น้องวางแผนการลาออกอย่างไรบ้าง'


6. มีอารมณ์ร่วมกับเรื่องราว

หากเราเข้าใจสิ่งที่พวกเขากำลังพูดถึงหรือกังวลจริง ๆ ก็ควรแสดงความเห็นอกเห็นใจพวกเขาออกมาตรง ๆ แต่จงพูดในเชิงที่เข้าใจ มากกว่าจะไปตอกย้ำ อาทิ ถ้าจะบอกว่า “คุณคงรู้สึกแย่มาก” เราลองบอกว่า “ปัญหานั้นคงจะหนักหนาจริง ๆ จนฉันแทบจะจินตนาการไม่ออก” เพราะคำเหล่านี้จะมีพลัง และส่งอารมณ์ร่วมที่มากกว่า


7. ถามผู้เล่าก่อน ว่าอยากฟังเรื่องของเราไหม

หากมีสิ่งหนึ่งที่สามารถทำลายการเป็นผู้ฟังที่ดีได้ สิ่งนั้นก็คือการปฏิบัติตามคำแนะนำบางอย่าง ซึ่งทำให้อีกฝ่ายรู้สึกถูกดูหมิ่น เพราะบางคนอยากมานั่งเพียงแค่ระบาย ไม่ได้อยากฟังคำแนะนำจากเรา ซึ่งการเป็นผู้ฟังที่ดีนั้น ไม่ใช่การให้คำแนะนำ แต่คือการช่วยให้ผู้พูด ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง

ก่อนจะแนะนำอะไร เราควรถามก่อนว่า เขาต้องการฟังคำแนะนำของเราเกี่ยวกับเรื่องนี้ไหม และก็จงอย่ารู้สึกโกรธถ้าหากถูกพวกเขาปฏิเสธ เพราะบางทีพวกเขาแค่อยากระบายเท่านั้น


8. เรื่องของเรา อาจทำให้เขาออกทะเล

เวลาผู้พูดมาขอคำแนะนำ บางครั้งเราก็สามารถให้คำตอบที่เป็นแรงบันดาลใจกับพวกเขาได้ แต่ว่าจะดีกว่าไหม ถ้าเราถามเขาก่อนว่าอยากได้ยินหรือเปล่า เพราะการแชร์ประสบการณ์ของเรา บางครั้งมันอาจทำให้บทสนทนายืดเยื้อ และออกทะเลไปสู่เรื่องอื่นได้


แปล เรียบเรียง: พีรพล สดทรัพย์

ที่มา

trending trending sports recipe

Share on

Tags