ทุกวันนี้งานดีไซน์เยอะ แต่สิ่งที่คนต้องการมากกว่าดีไซน์คือความสำเร็จ และในยุคปัจจุบันเราจะพบว่างานดีไซน์ต่าง ๆ สามารถผลิตด้วย AI ได้ แล้วคนทำดีไซน์จะทำยังไงให้ประสบความสำเร็จ
ที่งาน AP Thailand presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 “Creative Generation” ใน Session: Success by Design คุณสมชนะ กังวารจิตต์, ผู้ก่อตั้ง/ผู้บริหารฝ่ายความคิดสร้างสรรค์ Prompt Design ก็ได้ออกมาพูดถึงวิธีการใช้ดีไซน์มาสร้างสรรค์ ในยุคสมัยที่ AI มีอยู่มากมาย
คุณสมชนะเล่าว่าในประเทศญี่ปุ่นเองก็มีการใช้ AI ในการทำงาน ซึ่งพวกเขาใช้ AI ใน 3 งานนี้เป็นหลักนั่นคือ ใช้ในการสร้าง Ideation, ใช้ในการ Research และใช้ในการ Generate งาน ซึ่งถ้าดูดี ๆ แล้วสิ่งที่หลายที่พยายามใช้ก็คือการ Research และ Generate แต่ญี่ปุ่นกลับไม่ได้ทำแบบนั้น นั่นเพราะว่า 2 ข้อด้านหลังคือสิ่งที่ AI ไม่สามารถเลียนแบบวิธีออกแบบดีไซน์เฉกเช่นมนุษย์ได้
🎯 สมการความสำเร็จโดย Design คือ Design = การสื่อสาร และการใช้งาน 🎯
1. การสื่อสารคือ เพิ่มยอดขาย, ส่งสารจากแบรนด์ไปสู่ผู้บริโภค, จัดระบบ, สร้างกระแส, สร้างภาพจำ, เปลี่ยนแปลงสังคม และสิ่งแวดล้อม
Success-> Design
2. การใช้งานคือ เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค
8 ประโยชน์จากความสำเร็จโดย Design
จุดนี้คือสิ่งที่ความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้เรามองได้เฉียบขาดกว่าเดิม และเป็นหัวใจที่ทำให้เราเอาชนะ AI โดยมีดังนี้
👉 วิเคราะห์แบรนด์ตัวเอง (Brand Essence, Brand Architecture, Brand Identity)
👉 วิเคราะห์คู่แข่ง
👉 วิเคราะห์ผู้บริโภค การใช้งาน, การรับรู้, เหตุผลการตัดสินใจซื้อ
👉 วิเคราะห์สินค้าตัวเอง
👉 วิเคราะห์ข้อจำกัดการผลิต
👉 วิเคราะห์ตำแหน่งแวดล้อมที่บรรจุภัณฑ์อยู่
👉 สรรหา Partner ที่จะร่วมพัฒนา (ในกรณีที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ เฉพาะทางเพิ่มเติม)
👉 วิเคราะห์ประเมินภาพรวมของงานที่จะถูก Apply ไปใช้
จากนั้น 8 สิ่งนี้ จะสามารถสร้างไอเดียขึ้นมาได้ และทำให้ Design Outstanding ออกมา
หลายประเทศที่เป็นแบรนด์ Global ใช้วิธีจัดลำดับความสำคัญให้ Packaging ด้วยการเรียงดังนี้
👉 1) Core brand - แบรนด์ของเรา
👉 2) Product position
👉 3) The product itself
👉 4) Product description
ซึ่งช่วยให้เราสามารถหาจุดเด่นของตนเองในการทำ Packetching ได้
ตัวอย่างของ ของ Success By Design
[ การเปลี่ยนพฤติกรรม ]
**🌟 Jele 🌟 **
เติบโตมาจากถ้วย และสินค้าไปไม่ค่อยดี แต่สิ่งที่บริษัททำก็คือย้าย Jele ไปเป็นแบบบีบ จนทำให้ในปัจจุบันพฤติกรรมคนที่ทาน Jele เปลี่ยนมาเป็นแบบดูดแทน
นมข้นหวาน เมื่อก่อนนมข้นเป็นกระป๋องเหล็กเปิดยาก แม้จะเปลี่ยนมาเป็นแบบบีบขวดใหญ่ก็ยังไม่ได้รับความนิยม แต่นมตามะลิเปลี่ยนแพ็กเก็จมาเป็นแบบบีบหลอดเล็ก ทำให้คนหันมาบริโภคมากขึ้น
[ การเพิ่มยอดขาย ]
🌟 Roza 🌟
เมื่อก่อนแพ็กเกจจะเป็นกระป๋องแบน ซึ่ง ณ วันนั้นคู่แข่งของ Roza เป็นกระป๋องสูง และการทำกระป๋องแบนทำให้สินค้าถูกนำไปไว้ด้านล่างของชั้นวาง ซึ่งคุณสมชนะเล่าว่าเขาเปลี่ยนดีไซน์ด้วยการให้สกรีนรูปปลากระป๋อง และน้ำซอสที่เข้มข้นลงไปบนฝา จนทำให้ยอดขายโตขึ้นกว่า 40%
🌟 ปรัชญาเครื่องเทศ 🌟
แบรนด์ขายเครื่องเทศตามร้านโชห่วย ซึ่งมีคู่แข่งเป็นซองเครื่องเทศเจ้าตลาด เขาจึงปรับแพ็กเกจเครื่องเทศให้เป็นซองใหญ่ และใส่สีแดง เพื่อให้คนเห็นแพ็กเกจได้ชัด
[ สร้างภาพจำ ]
🌟 น้ำเชื่อมไซรัปของมิตรผล 🌟
ตอนแรกแบรนด์ อยากโฆษณาที่ทำให้คนรู้ว่า ไม่ได้มีแค่น้ำเชื่อม แต่มีผลไม้จริง จึงสร้างแพ็กเกจออกมาให้เป็นขวดรูปแบบผลไม้ตั้งขึ้น 3 ลูก ซึ่งทำให้ยอดขายชนะแบรนด์น้ำเชื่อมอื่น เพราะตั้งในร้านแล้วสวย
[ การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม ]
🌟 Sprinkle 🌟
เคยได้รางวัลน้ำดื่มซีทรู จึงอยากทำแพ็กเกจที่รักษ์โลก ในขณะนั้น โลก Concern เรื่องน้ำแข็งละลาย คุณสมชนะจึงทำขวดแบบน้ำแข็งละลาย เพื่อให้คนตระหนักถึงความยั่งยืน ซึ่งทำให้ดีไซน์ของสปริงเคิลออกมาเป็นแบบคริสตัล (คล้ายน้ำแข็งแตก) และเป็นแบรนด์ที่สนับสนุนความยั่งยืนในเวลาเดียวกัน
ไม่ว่าจะทำดีไซน์ผลิตภัณฑ์อะไร ไม่ว่าจะทำแพ็กเกจแบบไหน เราก็ควรใส่ลูกเล่น และสิ่งต่าง ๆ ลงไปเพื่อให้หน้าของสินค้ามันน่าดึงดูด เพราะท้ายที่สุดการลงทุนกับสิ่งนี้จะช่วยให้ธุรกิจของเราเติบโตได้มากขึ้น
ใครที่อยากรับชมแบบจัดเต็มสามารถซื้อบัตรรับชมย้อนหลังทุกเซสชันเพิ่มเติมได้ที่