Wins, Losses, Lessons Learned 7 เทคนิค ที่ผู้นำใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับคนทำงาน

Last updated on มิ.ย. 8, 2024

Posted on พ.ค. 13, 2024

ปัจจุบันหลายองค์กรให้ความสำคัญกับการหา ‘Talents’ แต่เมื่อเราได้คนเข้ามาแล้ว กลับไม่เวิร์กอย่างที่คิด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มองได้หลายมุมมาก ๆ แต่หนึ่งในปัญหาใหญ่ขององค์กรและคนทำงานที่พบเจอคือ เมื่อได้คนเก่งมาแล้ว กลับไม่สามารถดึงประสิทธิภาพให้กับคนทำงาน และงานที่เขาต้องรับผิดชอบได้ ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลถึง ‘Collaborative Work’ ของการทำงานเป็นทีม

มีงานวิจัยที่น่าสนใจจาก HBR ในเรื่องของ Collaborative Work

งานวิจัยนี้ถูกเล่าเรื่องผ่านบทความจากคุณ Martine Haas และ Mark Mortensen ได้พูดถึงการทำงานแบบทีม โดยคำนวณจากคนทำงานในยุคปัจจุบันไม่ว่าจะต้องตอบอีเมล, แชตสนทนา หรือการประชุมวิดีโอคอลต่าง ๆ มีอัตราเพิ่มมากขึ้นถึง 50% หรืออาจจะมากกว่านั้นต่อการทำงานในแต่ละวัน แต่กลับกลายเป็นว่า 85% ในแต่ละสัปดาห์การทำงานทั้งหมด ถูกใช้ไปกับความพยายามเพื่อให้ ‘ทำงานเสร็จให้ทัน’ เท่านั้น นั่นหมายความว่าอัตราของการ Productive ก็จะยิ่งลดน้อยลงเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่องค์กรได้วางไว้

ดังนั้นการจะสร้าง Collaborative Work จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งองค์กร

คุณ Peter Drucker หนึ่งในที่ปรึกษาด้านการจัดการชั้นนำของโลก บอกไว้ว่า การทำงานเสร็จตามงานที่ได้รับมอบหมายไม่ได้ทำให้ทีม ‘มีประสิทธิภาพ’ เสมอไป แต่ต้องอาศัยกระบวนการจัดการ มีการวางแผนกลยุทธ์ในการวัดผลที่ชัดเจน รวมไปถึงการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการสร้างความไว้วางใจ, ความปลอดภัยทางจิตใจ และความร่วมมือกันอย่างแท้จริง เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของทีมได้ ดังนั้นในบทความนี้จะขอนำเสนอ 7 เทคนิคที่จะเป็นรากฐานสำคัญในการต่อยอดให้ทีมประสบความสำเร็จในแบบที่ทุกคนเกิดประสิทธิภาพต่อทั้งตัวเอง ต่อทั้งทีม และนำผลลัพธ์เหล่านั้นเพิ่มการเติบโตให้กับองค์กรได้สำเร็จ

รวม 7 เทคนิค ที่ผู้นำใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับคนทำงาน

😎 1. สร้างขุมกำลังการมีส่วนร่วมให้คนทำงานมี “Ownership” ต่องานที่รับผิดชอบ

ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญ! การกำหนดทิศทางและแรงจูงใจไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากลำดับขั้นบนลงล่าง แต่มันเกิดจากภาวะผู้นำของคุณที่มีต่อทีม การให้ทีมของคุณมีความเป็นเจ้าของ (Ownership) ต่องานที่ทำ ซึ่งอาจจะกำหนดจาก OKR หรือการทำงานแบบ Agile ก็ได้เช่นกัน จะสร้างความรับผิดชอบและความภาคภูมิใจได้ทันที และยิ่งไปกว่านั้นหากงานเหล่านั้นสามารถพัฒนาทักษะใหม่ ๆ หรือมุมมองที่มีต่องานที่ท้าทายมากขึ้น จะยิ่งเป็นโบนัสให้กับคนทำงานได้ทันที

เทคนิค Ownership ที่ผู้นำ…นำไปใช้กับทีมได้ทันที

👉 ผู้นำมีส่วนสำคัญมาก ๆ คุณต้องเปลี่ยนจากผู้นำ เป็นผู้นำทาง ถ้าเกิดกรณีงานต่าง ๆ เป็นเรื่องของการจัดการ ให้เขาได้มีประสบการณ์คอยแนะนำอย่างห่วง ๆ ให้เขาได้ลองผิดลองถูกได้อย่างเหมาะสม

👉 ให้เวลากับคนในทีม การสร้างแรงบันดาลใจเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ทีมเชื่อใจคุณในฐานผู้นำ และจะยิ่งดีไปกว่านั้นถ้าผู้นำรู้ว่างานประเภทไหนเหมาะสม หรือสามารถต่อยอดทักษะของทีมได้


😎 2. Psychological safety มีความสำคัญต่อการทำงานมาก

ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญ! การสำรวจจาก Gallup ระบุว่ามีเพียง 3 ใน 10 ของพนักงานในสหรัฐอเมริการู้สึกว่าความคิดเห็นของพวกเขามีความสำคัญในที่ทำงาน ซึ่งความมั่นใจต่อการทำงานกลับน้อยกว่าที่คิด ดังนั้นประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้หากทีมรู้สึกถึงอิสระที่จะพูด ที่จะลงมือทำ โดยไม่กลัวที่จะถูกดุ, ต่อว่า หรืออายที่จะเสนอไอเดีย

สิ่งนี้เรียกว่าความปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological safety) เพราะทีมที่มีประสิทธิภาพจะไม่ปิดกั้นซึ่งกันและกัน แต่จะรับอุดมการณ์ใหม่ ๆ และสนับสนุนเพื่อนร่วมทีมไปพร้อม ๆ กับเป้าหมายที่วางไว้ร่วมกัน เรื่องนี้ไม่ง่ายสำหรับผู้นำ!

เทคนิค Psychological safety ที่ผู้นำ…นำไปใช้กับทีมได้ทันที

👉 ผู้นำต้องมีทักษะการฟัง และไม่ใช่แค่ฟัง แต่ต้องฟังให้เข้าใจถึงแก่นที่คนตรงข้ามกำลังสื่อสาร อย่าใช้สิ่งที่เรียกว่า ‘ผมเคยทำสิ่งนี้มาแล้วในอดีต’ เพราะมันไม่ได้หมายความว่าสิ่งเหล่านั้นดีที่สุดในวันนี้ คุณต้องเปิดใจรับฟังอย่างเข้าใจ ใช้เวลาไตร่ตรองกับเนื้อหา ไอเดียทุกไอเดียไม่ได้จำเป็นต้องเห็นด้วยทั้งหมด แต่ต้องรับฟังอย่างเข้าใจ เพื่อนำไปสู่ไอเดียใหม่ ๆ


😎 3. Respect their time แสดงให้เห็นว่าคุณเคารพเวลาอันมีค่าของลูกทีม

ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญ! หนึ่งในปัญหาของทีมในยุคนี้ที่เจอคือ ‘การเข้าประชุมที่มากจนเกินไป’ บางครั้งมันจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Collaboration overload คือการที่ทีมร่วมมือกันมากจนเกินไป และไม่มีเวลาได้จัดการงานที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งนับเป็นปัญหาสุดคลาสสิกที่เราต้องให้ความสำคัญมากขึ้น

เทคนิค Respect their time ที่ผู้นำ…นำไปใช้กับทีมได้ทันที

👉 ระมัดระวังเรื่องการจัดตารางประชุม ในฐานะผู้นำสามารถเช็กตารางงานของลูกทีมได้ หรือจะเน้นไปที่พูดคุยกันอย่างให้เกียรติกัน ว่าลูกทีมติดอะไรอยู่ไหม หรือเรื่องที่เราจะคุยสำคัญมากน้อยขนาดไหน การจัดลำดับความสำคัญ พร้อม ๆ ไปกับการให้เกียรติจะทำให้คุณเป็นผู้นำที่น่ารัก และได้ใจลูกทีมอย่างแน่นอน

👉 บางบริษัทก็มีการกำหนดเวลาสำหรับการทำงานโดยเฉพาะ เช่น 13:00 - 15:00 น. คือช่วงเวลาทำงาน ถ้าจะนัดประชุมควรนัดในช่วงเวลาอื่น เป็นต้น เพื่อให้ทีมได้มุ่งสมาธิ แทนที่จะมานั่งเช็กอีเมล หรือตอบแชต แต่ทีมสามารถโฟกัสกับการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่


😎 4. Reward prioritization อย่างมองข้ามเรื่องการจัดลำดับความสำคัญ

ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญ! บางคนทำงานเพื่อส่งงานให้ทัน เพื่อให้ได้รับคำชม (แต่งานกลับไม่มีประสิทธิภาพ) ซึ่งวัฒนธรรมเหล่านี้ในท้ายที่สุดจะสร้างความไม่ยั่งยืนในการทำงานเป็นทีม แต่สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคือผู้นำต้องลำดับความสำคัญให้ได้ และต้องส่งต่อเรื่องนี้ให้กับทีมงานได้ตระหนักรู้ถึงความรับผิดชอบ

โดยให้ทีมมองเห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร งานของเขามีผลต่อคนอื่น ๆ มากน้อยแค่ไหน การแบ่งปันเรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้แค่จะทำให้งานออกมาดีขึ้น แต่ยังช่วยปรับทัศนคติให้กับคนทำงาน ในการมองเห็นถึงความรับผิดชอบต่อผลงานที่ตัวเองได้รับมอบหมาย

เทคนิค Reward prioritization ที่ผู้นำ…นำไปใช้กับทีมได้ทันที

👉 อย่าให้คุณค่ากับงานที่โดดเด่นเพียงอย่างเดียว การที่ทีมงานตอบแชตเร็ว หรือทำงานดึกตลอดเวลา นั่นอาจหมายถึงลูกทีมไม่ได้เห็นถึงความสำคัญสูงสุดของเป้าหมาย

👉 ผู้นำควรแบ่งปันผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อฝึกให้ทีมได้เข้าใจปัญหาและนำไปสู่การแก้ไขปัญหา อย่ามองว่าปัญหาเป็นปัญหา แต่ต้องฝึกทัศนคติของทีมให้แก้ปัญหาให้เป็น และรับรู้ถึงความรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเอง


😎 5. แบ่งปันประสบการณ์ 3 Share (Win, Losses, Lessons Learned) ร่วมกันภายในทีม

ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญ! ทีมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจะเรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เจอ เพื่อค้นพบแนวทางการปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ทีมมีประสิทธิภาพน้อยจะหลีกเลี่ยงการพูดถึงปัญหา หรือบิดเบือนปัญหาเหล่านั้น จงจำไว้ว่ามีเพียงแค่ 40% ของโปรเจกต์ทั้งหมดที่ประสบความสำเร็จ แต่อีก 60% แม้จะไม่สำเร็จแต่มันคือโอกาสในการเรียนรู้ ดังนั้นการแบ่งปันช่วงเวลาแห่งความสำเร็จสำคัญ แต่ช่วงเวลาที่ล้มเหลวก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะนั่นคือโอกาสที่เราในฐานะผู้นำ และทีมจะได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน

เทคนิค 3 Share (Win, Losses, Lessons Learned) ที่ผู้นำ…นำไปใช้กับทีมได้ทันที

👉 ในทุกครั้งที่มีการเริ่มโปรเจกต์อะไรก็ตาม ในตอนท้ายควรกำหนดการวิเคราะห์หลังจบโปรเจกต์เสมอ โดยต้องทำสิ่งเหล่านี้ให้เป็นประจำเพื่อหารือเกี่ยวกับบทเรียนที่ได้รับ อะไรที่สำเร็จ อะไรที่พลาดไป แล้วเราทุกคนจะปรับปรุงอย่างไรให้ดีขึ้น หรือมีไอเดียใหม่ ๆ อะไรบ้างเพื่อทำให้ครั้งหน้าไม่เกิดข้อผิดพลาดเดิมอีก


😎 6. แก่นของนวัตกรรมที่ดีเกิดจาก Diversity และ Inclusion

ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญ! โครงสร้างทีมเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ ทุกทีมในบริษัทจะไม่มีทางเหมือนกันและไม่มีสูตรสำเร็จว่าทีมแบบไหนที่ดีที่สุด แต่สิ่งสำคัญมาก ๆ ของคำว่าทีมเวิร์กคือ ทุกคนในทีมต้องเห็นเป้าหมายร่วมกัน กล้าคิด กล้าทำ กล้าเสี่ยง ตามรายงานของ McKinsey ระบุไว้ว่า Diversity และ Inclusion หรือความหลากหลายโดยไม่แบ่งแยกว่าสิ่งนั้นถูก สิ่งนั้นผิด จะนำไปสู่การกระตุ้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดแรงจูงใจ และการตัดสินใจที่เฉียบคมขึ้นของทีมงาน รวมไปถึงคุณภาพของงานก็จะสูงตามขึ้นไปด้วยเช่นกัน

เทคนิค Diversity และ Inclusion ที่ผู้นำ…นำไปใช้กับทีมได้ทันที

👉 ความซื่อสัตย์ของคนในทีมสำคัญมาก อะไรที่ทีมรู้ว่ายังขาด หรือไม่เก่ง ต้องเติมทักษะเหล่านั้นผู้นำต้องมองให้ออก รวมถึงคนในทีมต้องกล้าที่จะเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทักษะไปพร้อม ๆ กัน

👉 การไม่ตัดสิน และรับฟังความคิดเห็นสำคัญมาก ผู้นำต้องสื่อสารกับทีมให้มากพอ รับฟังความคิดเห็น เติมเต็มสิ่งที่ทีมขาดหาย และแนะนำแนวทางให้กับทีมในการต่อยอดไอเดีย หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ นั่นเอง


😎 7. Lead by example ผู้นำต้องทำให้เห็น!

ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญ! ประสิทธิภาพของทีมก็เปรียบเสมือนทีมกีฬา การที่คุณเป็นกัปตันไม่สำคัญเลยว่าคุณจะพูดอะไร ถ้าการกระทำของคุณไม่สอดคล้องไปด้วยกัน ดังนั้นกัปตันที่ดีควรเป็นแบบอย่างทั้งการมีส่วนร่วมกับโครงสร้างทีม, ทิศทางของทีม, การสนับสนุนอื่น ๆ ทำให้ลูกทีมเห็นว่าเราเป็นกัปตันที่เขาฝากความหวัง ฝากชีวิตได้ เพื่อให้ทีมสามารถไว้ใจกัปตัน และพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ การเปลี่ยนแปลง

เทคนิค Lead by example ที่ผู้นำ…นำไปใช้กับทีมได้ทันที

👉 ให้ความสำคัญกับ ‘คน’ ก่อน ‘โปรเจกต์ใหม่’ เรียนรู้ที่จะฟังและเปลี่ยนโฟกัสของคุณ จากการทำให้ทันเวลาที่กำหนด มาเป็นการสร้างทีมที่ดีเพื่อให้เกิดงานที่มีประสิทธิภาพที่สุด

👉 เปิดรับฟังความคิดเห็นใหม่ ๆ อยู่เสมอ และอนุญาตให้ทีมได้ทดลองจัดการกับไอเดียเหล่านั้น โดยมีคุณเป็นผู้ซับพอร์ตคอยแนะนำอยู่ห่าง ๆ อย่างเชื่อใจ


หวังว่าไอเดียทั้ง 7 ข้อนี้ผู้นำทุกคน หรือลูกทีมเองก็ตาม จะนำไปปรับใช้จริง คงไม่มีอะไรดีกว่าไปกว่า เมื่อได้เรียนรู้ แล้วเริ่มปรับใช้ การลองผิดลองถูกเป็นเรื่องที่ทีมต้องเรียนรู้ร่วมกัน 😎 👍 🎯


สำหรับคนที่อยากพัฒนาธุรกิจ มองหาไอเดียใหม่ ๆ มาร่วมไขทุกมุมมองกันที่งาน AP Thailand presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2024

พบกันวันที่ 7-8 มิถุนายน ที่ไบเทค บางนา
ในราคาเพียง 1,890 บาท! ด่วน จำนวนจำกัด

CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 | Zipevent - Inspiration Everywhere
CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 -

สำหรับท่านใดที่สนใจออกบูธ และสปอนเซอร์ หรือซื้อบัตรองค์กรสามารถติดต่อได้ที่

👉 mkt@rgb72.com
👉 083-262-6923 (คุณจูน)
👉 095-465-2582 (คุณมุก)

สำหรับท่านใดที่สนใจเข้าร่วมเป็น Media Partner ติดต่อได้ที่

👉 chayanis@creativetalklive.com
👉 089-223-6996 (คุณต้นรัก)


แปล เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ

ที่มา

trending trending sports recipe

Share on

Tags